อัยการสั่งไม่ฟ้อง'บรรยิน-พริตตี้' คดีโอนหุ้นชูวงษ์ 300 ล้านบาท
http://www.dailynews.co.th/crime/520195
ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 29 ส.ค. นายเสกสรร เสนาชู ทนายความของ น.ส.กัญฐณา ศิวาธนพล อดีตพริตตี้ ผู้ต้องหาที่ 2 ถูกกล่าวหาร่วม พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิการโอนหุ้น ของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง นักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ รวมมูลค่า 300 ล้านบาท เดินทางมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึง ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด ภายหลังมีข่าวทางสื่อมวลชนว่า อัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ที่รับผิดชอบสำนวนมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยมี ร.ท.สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายเสกสรร กล่าวว่า ทราบข่าวว่า อัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องในคดีดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงไปยื่นคำร้องที่สำนักงานอัยการกรุงเทพใต้ เพื่อขอทราบคำสั่ง แต่ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการว่า ได้ส่งสำนวนมาที่อัยการสูงสุดตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาอัยการเจ้าของสำนวนยังไม่เคยแจ้งให้ผู้ต้องหาไปรับทราบคำสั่งคดี ดังนั้นวันนี้จึงขอทราบรายละเอียดคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าว พร้อมทั้งขอให้อัยการสูงสุด ส่งสำนวนคดีไปถึง ผบ.ตร.เพื่อพิจารณาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ต่อไป โดยที่ผ่านมาฝ่ายครอบครัวของนายชูวงษ์ ผู้เสียหาย ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ และอัยการสูงสุด จึงเกรงว่าอัยการสูงสุดจะลำบากใจในการสั่งคดี ทั้งนี้ยืนยันว่าลูกความตนได้รับโอนมาโดยสุจริต ไม่มีนิติกรรมอำพราง
ด้าน ร.ท.สมนึก กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่าอัยการสูงสุด ได้เรียกสำนวนคดีมาตรวจสอบ แต่ไม่ทราบว่าสำนวนมาถึงหรือยัง โดยอัยการสูงสุด ได้มอบให้รองอัยการสูงสุดพิจารณา หากมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องตามที่อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้เสนอมา ก็ต้องส่งสำนวนไปให้ ผบ.ตร. พิจารณาทำความเห็นมาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ถ้า ผบ.ตร.เห็นแย้งให้ฟ้อง ก็ต้องส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด หรือถ้า รองอัยการสูงสุด มีความเห็นให้ฟ้อง ก็จะดำเนินการนำตัวผู้ต้องหายื่นฟ้องศาล ดังนั้น คดีนี้จึงยังไม่จบขั้นตอน
ด้าน นายประยุทธ รองอัยการสูงสุด กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่า อัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 เจ้าของสำนวน มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง แต่รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีความเห็นแย้งให้ฟ้อง โดยเมื่ออธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ พิจารณาแล้วจึงสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งฝ่ายผู้เสียหายก็ได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด จึงต้องรอให้ รองอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายพิจารณาและมีความเห็นก่อน
ต่อมา นางศิริรัตน์ แซ่ตั๊ง และนางวันเพ็ญ ธนธรรมสิริ ภรรยาและพี่สาวของนายชูวงษ์ พร้อมด้วย นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ ก็ได้มายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดเช่นกัน แต่เป็นคดีที่ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ และอดีต สส.นครสวรรค์ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่านายชูวงษ์ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภรรยาและพี่สาวนั้นเคยมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมคดีโอนหุ้นแล้ว
ด้านนายอเนก กล่าวว่า วันนี้มายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด สำนวนคดีเรื่องการตายของนายชูวงษ์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับคดีปลอมเอกสารการโอนหุ้น ครอบครัวผู้เสียหายเห็นว่า เมื่อเรื่องมีความเกี่ยวพันกันน่าจะมีการกลั่นกรองที่ดีกว่านี้ จึงขอให้อัยการสูงสุดกลั่นกรองสำนวนคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวพันคดีโอนหุ้นด้วย
เมื่อถามถึงคดีโอนหุ้น ที่เบื้องต้นอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สั่งไม่ฟ้อง นายอเนก กล่าวว่า ครอบครัวเชื่อมั่นสำนวนที่พนักงานสอบสวนทำ แต่ก็ไม่ก้าวล่วงความเห็นของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ครอบครัวยังไม่เห็นคำสั่งทางการจึงยังไม่สบายใจ ขณะที่มูลค่าความสูญเสียมีมากถึง 300 ล้านบาท โดยคดียังมีอีกหลายขั้นตอนที่เราสามารถร้องขอความเป็นธรรม ดังนั้น ต้องรอดูคำสั่งของอัยการก่อนถ้าอัยการสั่งฟ้อง ครอบครัวก็จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่ถ้าสุดท้ายแล้วสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด ทางครอบครัวก็จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมายยื่นฟ้องเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีปลอมเอกสารโอนหุ้นนั้น มีผู้ต้องหา 4 ราย ประกอบด้วย พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมว.พาณิชย์และอดีต ส.ส.นครสวรรค์ , น.ส.กัญฐณา ศิวาธนพล อดีตพริตตี้ , น.ส.อุรชา วชิรกุลฑล อาชีพโบรกเกอร์ และน.ส.ศรีธรา พรหมา มารดาของ น.ส.อุรชา ซึ่งพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม มีความเห็นสมควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาฐานร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร , ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมการโอนหุ้น
อัยการสั่งไม่ฟ้อง'บรรยิน-พริตตี้' คดีโอนหุ้นชูวงษ์ 300 ล้านบาท
http://www.dailynews.co.th/crime/520195
ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 29 ส.ค. นายเสกสรร เสนาชู ทนายความของ น.ส.กัญฐณา ศิวาธนพล อดีตพริตตี้ ผู้ต้องหาที่ 2 ถูกกล่าวหาร่วม พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิการโอนหุ้น ของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง นักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ รวมมูลค่า 300 ล้านบาท เดินทางมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึง ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด ภายหลังมีข่าวทางสื่อมวลชนว่า อัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ที่รับผิดชอบสำนวนมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยมี ร.ท.สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายเสกสรร กล่าวว่า ทราบข่าวว่า อัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องในคดีดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงไปยื่นคำร้องที่สำนักงานอัยการกรุงเทพใต้ เพื่อขอทราบคำสั่ง แต่ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการว่า ได้ส่งสำนวนมาที่อัยการสูงสุดตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาอัยการเจ้าของสำนวนยังไม่เคยแจ้งให้ผู้ต้องหาไปรับทราบคำสั่งคดี ดังนั้นวันนี้จึงขอทราบรายละเอียดคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าว พร้อมทั้งขอให้อัยการสูงสุด ส่งสำนวนคดีไปถึง ผบ.ตร.เพื่อพิจารณาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ต่อไป โดยที่ผ่านมาฝ่ายครอบครัวของนายชูวงษ์ ผู้เสียหาย ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ และอัยการสูงสุด จึงเกรงว่าอัยการสูงสุดจะลำบากใจในการสั่งคดี ทั้งนี้ยืนยันว่าลูกความตนได้รับโอนมาโดยสุจริต ไม่มีนิติกรรมอำพราง
ด้าน ร.ท.สมนึก กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่าอัยการสูงสุด ได้เรียกสำนวนคดีมาตรวจสอบ แต่ไม่ทราบว่าสำนวนมาถึงหรือยัง โดยอัยการสูงสุด ได้มอบให้รองอัยการสูงสุดพิจารณา หากมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องตามที่อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้เสนอมา ก็ต้องส่งสำนวนไปให้ ผบ.ตร. พิจารณาทำความเห็นมาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ถ้า ผบ.ตร.เห็นแย้งให้ฟ้อง ก็ต้องส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด หรือถ้า รองอัยการสูงสุด มีความเห็นให้ฟ้อง ก็จะดำเนินการนำตัวผู้ต้องหายื่นฟ้องศาล ดังนั้น คดีนี้จึงยังไม่จบขั้นตอน
ด้าน นายประยุทธ รองอัยการสูงสุด กล่าวว่า เบื้องต้นทราบว่า อัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 เจ้าของสำนวน มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง แต่รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ มีความเห็นแย้งให้ฟ้อง โดยเมื่ออธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ พิจารณาแล้วจึงสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งฝ่ายผู้เสียหายก็ได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด จึงต้องรอให้ รองอัยการสูงสุดที่ได้รับมอบหมายพิจารณาและมีความเห็นก่อน
ต่อมา นางศิริรัตน์ แซ่ตั๊ง และนางวันเพ็ญ ธนธรรมสิริ ภรรยาและพี่สาวของนายชูวงษ์ พร้อมด้วย นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ ก็ได้มายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุดเช่นกัน แต่เป็นคดีที่ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ และอดีต สส.นครสวรรค์ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่านายชูวงษ์ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภรรยาและพี่สาวนั้นเคยมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมคดีโอนหุ้นแล้ว
ด้านนายอเนก กล่าวว่า วันนี้มายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด สำนวนคดีเรื่องการตายของนายชูวงษ์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับคดีปลอมเอกสารการโอนหุ้น ครอบครัวผู้เสียหายเห็นว่า เมื่อเรื่องมีความเกี่ยวพันกันน่าจะมีการกลั่นกรองที่ดีกว่านี้ จึงขอให้อัยการสูงสุดกลั่นกรองสำนวนคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวพันคดีโอนหุ้นด้วย
เมื่อถามถึงคดีโอนหุ้น ที่เบื้องต้นอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สั่งไม่ฟ้อง นายอเนก กล่าวว่า ครอบครัวเชื่อมั่นสำนวนที่พนักงานสอบสวนทำ แต่ก็ไม่ก้าวล่วงความเห็นของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ครอบครัวยังไม่เห็นคำสั่งทางการจึงยังไม่สบายใจ ขณะที่มูลค่าความสูญเสียมีมากถึง 300 ล้านบาท โดยคดียังมีอีกหลายขั้นตอนที่เราสามารถร้องขอความเป็นธรรม ดังนั้น ต้องรอดูคำสั่งของอัยการก่อนถ้าอัยการสั่งฟ้อง ครอบครัวก็จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่ถ้าสุดท้ายแล้วสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด ทางครอบครัวก็จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมายยื่นฟ้องเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีปลอมเอกสารโอนหุ้นนั้น มีผู้ต้องหา 4 ราย ประกอบด้วย พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมว.พาณิชย์และอดีต ส.ส.นครสวรรค์ , น.ส.กัญฐณา ศิวาธนพล อดีตพริตตี้ , น.ส.อุรชา วชิรกุลฑล อาชีพโบรกเกอร์ และน.ส.ศรีธรา พรหมา มารดาของ น.ส.อุรชา ซึ่งพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม มีความเห็นสมควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาฐานร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร , ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมการโอนหุ้น