นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลวาเนียได้พัฒนาสารเคลือบพิเศษที่ช่วยให้ผ้าที่ฉีกขาดซ่อมแซมตัวเองเมื่ออยู่ใต้น้ำ ความลับเบื้องหลังเวทมนต์นี้ไม่ใช่กาวหรือสิ่งยึดติดใดๆ แต่เป็นฟันของปลาหมึก
ตามที่ Popular Science อธิบาย นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าวงฟันของปลาหมึก ซึ่งเป็นฟันเล็กๆ ที่พบตามปุ่มดูดบนหนวมปลาหมึกนั้น มีโปรตีนในรูปแบบของเหลวจากยีสต์และแบคทีเรียที่สามารถช่วยให้ผ้าอย่างผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ซ่อมแซมตัวเองได้ สิ่งจำเป็นที่ต้องมีคือน้ำและแรงดันเพียงเล็กน้อยซึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งนาที
มันอาจไม่ใช้การซ่อมแซมที่สมบูรณ์แบบซึ่งยังคงมองเห็นตะเข็บอยู่แต่ก็เป็นเรื่องง่ายที่จินตนาการถึงประโยชน์ของมันในการใช้งานบนโลกความจริง
ศาสตราจารย์ Melik C. Demirel จากรัฐเพนน์ ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่ามีหลายวิธีที่เราจะนำมันมาใช้ อุตสาหกรรมสิ่งทอสามารถผลิตผ้าจากของเหลวพิเศษนี้เพื่อทำเครื่องแต่งกายที่ซ่อมแซมตัวเองได้ แน่นอนว่าเราจะสามารถใช้ปลาหมึกในจำนวนที่จำกัดซึ่งหมายความว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องคิดหาวิธีเลียนแบบโปรตีนในห้องปฏิบัติการต่อไป
ที่มา
TechSpot
นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบโปรตีนในฟันปลาหมึกที่ช่วยให้เนื้อผ้าซ่อมแซมตัวเองได้
นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลวาเนียได้พัฒนาสารเคลือบพิเศษที่ช่วยให้ผ้าที่ฉีกขาดซ่อมแซมตัวเองเมื่ออยู่ใต้น้ำ ความลับเบื้องหลังเวทมนต์นี้ไม่ใช่กาวหรือสิ่งยึดติดใดๆ แต่เป็นฟันของปลาหมึก
ตามที่ Popular Science อธิบาย นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าวงฟันของปลาหมึก ซึ่งเป็นฟันเล็กๆ ที่พบตามปุ่มดูดบนหนวมปลาหมึกนั้น มีโปรตีนในรูปแบบของเหลวจากยีสต์และแบคทีเรียที่สามารถช่วยให้ผ้าอย่างผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ซ่อมแซมตัวเองได้ สิ่งจำเป็นที่ต้องมีคือน้ำและแรงดันเพียงเล็กน้อยซึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งนาที
มันอาจไม่ใช้การซ่อมแซมที่สมบูรณ์แบบซึ่งยังคงมองเห็นตะเข็บอยู่แต่ก็เป็นเรื่องง่ายที่จินตนาการถึงประโยชน์ของมันในการใช้งานบนโลกความจริง
ศาสตราจารย์ Melik C. Demirel จากรัฐเพนน์ ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่ามีหลายวิธีที่เราจะนำมันมาใช้ อุตสาหกรรมสิ่งทอสามารถผลิตผ้าจากของเหลวพิเศษนี้เพื่อทำเครื่องแต่งกายที่ซ่อมแซมตัวเองได้ แน่นอนว่าเราจะสามารถใช้ปลาหมึกในจำนวนที่จำกัดซึ่งหมายความว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องคิดหาวิธีเลียนแบบโปรตีนในห้องปฏิบัติการต่อไป
ที่มา TechSpot