หากย้อนไปในอดีต เมื่อประมาณพันกว่าปีที่ผ่านมา
“ เมืองพระประแดง “ หรือ
“ เมืองบาแดง “ ในภาษาขอม เคยเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญมากของแคว้นสุวรรณภูมิ ที่ขอมสร้างไว้รักษาปากน้ำ (สมัยนั้นเรียกว่า
“ ปากน้ำพระประแดง “)
คำว่า
“ พระประแดง “ มาจากคำว่า
“ บาแดง “ หรือ
“ ประแดง “ แปลว่า
" คนนำสาร คนเดินหมาย หรือ คนนำข่าว " ดินแดนบริเวณนี้ ในอดีต คือ ปากน้ำทางทะเล ดินแดนขอมเรืองอำนาจ ซึ่งหากเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (เมืองละโว้ หรือ เมืองลพบุรี) รู้โดยเร็ว
เมืองพระประแดง เป็นเมืองที่เก่าแก่มากอีกแห่งหนึ่ง ในยุคของขอมเรืองอำนาจ เชื่อกันว่า เก่าแก่กว่าอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยาเสียอีก ในสมัยกรุงธนบุรี มีชาวมุสลิม(เชื้อสายมะละกา)จากอินเดีย เรียกกันว่า
“ แขกเก่า “ เป็นกลุ่มแรกสุด ที่เข้ามาปักหลักค้าขายแถวฝั่งตลาดปากลัดกับคนไทยในท้องถิ่น และการเข้ามาของชาวมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่ง(เชื้อสายมลายู)จากปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2329 ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านศาสนาอิสลามมากที่สุด จนกระทั่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ทรงให้ตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2358 ได้โปรดเกล้าให้บุตรชายของ เจ้าพระยามหาโยธา(เจ่ง) ผู้นำมอญ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในอาณาจักรสยาม เป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งสืบต่อกันมาถึง 8 รุ่นด้วยกัน ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นชาวจีนที่นับถือศาสนาคริสต์(คริสตัง) อพยพเข้ามาอยู่อาศัยและค้าขายที่ตลาดปากลัด บางส่วนมีอาชีพเป็นชาวประมง
ดังนั้น ที่นี่จึงมีทั้งชุมชนคนไทย มอญ อิสลาม จีน อยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน มีทั้งวัดไทย วัดไทยรามัญ มัสยิด หรือแม้แต่โบสถ์คริสต์ จึงนับว่า เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และการนับถือทางศาสนา อีกแห่งหนึ่งในสยามประเทศ
ด้วยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจนี้ ทำให้อดใจไม่ไหว ต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาเดินย้อนอดีตกันที่นี่ คราวนี้ ขอสลับเปลี่ยนบรรยากาศจากในกรุงเทพฯ ข้ามมาเดินเที่ยวนอกเขตกรุงเทพฯกันบ้าง แต่ก็ยังใช้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการเดินทางเที่ยวเช่นเดิม
[CR] เที่ยวนอกกรุง 360 องศา พระประแดง ตำนานเมืองหน้าด่าน คนเดินสาร ขอมผู้สร้าง
หากย้อนไปในอดีต เมื่อประมาณพันกว่าปีที่ผ่านมา “ เมืองพระประแดง “ หรือ “ เมืองบาแดง “ ในภาษาขอม เคยเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญมากของแคว้นสุวรรณภูมิ ที่ขอมสร้างไว้รักษาปากน้ำ (สมัยนั้นเรียกว่า “ ปากน้ำพระประแดง “)
คำว่า “ พระประแดง “ มาจากคำว่า “ บาแดง “ หรือ “ ประแดง “ แปลว่า " คนนำสาร คนเดินหมาย หรือ คนนำข่าว " ดินแดนบริเวณนี้ ในอดีต คือ ปากน้ำทางทะเล ดินแดนขอมเรืองอำนาจ ซึ่งหากเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (เมืองละโว้ หรือ เมืองลพบุรี) รู้โดยเร็ว
เมืองพระประแดง เป็นเมืองที่เก่าแก่มากอีกแห่งหนึ่ง ในยุคของขอมเรืองอำนาจ เชื่อกันว่า เก่าแก่กว่าอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยาเสียอีก ในสมัยกรุงธนบุรี มีชาวมุสลิม(เชื้อสายมะละกา)จากอินเดีย เรียกกันว่า “ แขกเก่า “ เป็นกลุ่มแรกสุด ที่เข้ามาปักหลักค้าขายแถวฝั่งตลาดปากลัดกับคนไทยในท้องถิ่น และการเข้ามาของชาวมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่ง(เชื้อสายมลายู)จากปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2329 ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านศาสนาอิสลามมากที่สุด จนกระทั่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ทรงให้ตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2358 ได้โปรดเกล้าให้บุตรชายของ เจ้าพระยามหาโยธา(เจ่ง) ผู้นำมอญ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในอาณาจักรสยาม เป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งสืบต่อกันมาถึง 8 รุ่นด้วยกัน ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นชาวจีนที่นับถือศาสนาคริสต์(คริสตัง) อพยพเข้ามาอยู่อาศัยและค้าขายที่ตลาดปากลัด บางส่วนมีอาชีพเป็นชาวประมง
ดังนั้น ที่นี่จึงมีทั้งชุมชนคนไทย มอญ อิสลาม จีน อยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน มีทั้งวัดไทย วัดไทยรามัญ มัสยิด หรือแม้แต่โบสถ์คริสต์ จึงนับว่า เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และการนับถือทางศาสนา อีกแห่งหนึ่งในสยามประเทศ
ด้วยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจนี้ ทำให้อดใจไม่ไหว ต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาเดินย้อนอดีตกันที่นี่ คราวนี้ ขอสลับเปลี่ยนบรรยากาศจากในกรุงเทพฯ ข้ามมาเดินเที่ยวนอกเขตกรุงเทพฯกันบ้าง แต่ก็ยังใช้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการเดินทางเที่ยวเช่นเดิม