
ดูก่อนมหาบพิตร เสียงที่ ๘ เป็นเสียงเปล่งอุทาน คือ
ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่าจักไปแดนมนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุบำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้ แล้วเหาะมาด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ โดยปลงขันธภาระเปล่งอุทานแสดงเมืองแก้วคือนิพพาน ดังนี้
แล้วกล่าวคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-
เราเห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสารเพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก....
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1129

ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า
พระแม่เจ้าชอบใจจะปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉันทั้ง
หลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-
อนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม ดิฉันทั้งหลาย
ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้
กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้ว
ได้ออกจากสำนักนางภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้ง
นั้น พระปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายว่า ขอทวย
เทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักนางภิกษุณี จงอดโทษแก่ดิฉันเถิด
การเห็นสำนักนางภิกษุณีของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใด
ไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอัน
ไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก......
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=4471&Z=4887

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา
ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา
เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย
คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ
ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยม
ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา
ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น
เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก.....
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=25&A=7102
หลักฐาน นิพพานคือเมืองแก้ว จากพระไตรปิฏก
ดูก่อนมหาบพิตร เสียงที่ ๘ เป็นเสียงเปล่งอุทาน คือ
ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่าจักไปแดนมนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุบำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้ แล้วเหาะมาด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ โดยปลงขันธภาระเปล่งอุทานแสดงเมืองแก้วคือนิพพาน ดังนี้
แล้วกล่าวคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-
เราเห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสารเพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก....http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1129
ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า
พระแม่เจ้าชอบใจจะปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉันทั้ง
หลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-
อนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม ดิฉันทั้งหลาย
ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้
กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้ว
ได้ออกจากสำนักนางภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้ง
นั้น พระปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายว่า ขอทวย
เทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักนางภิกษุณี จงอดโทษแก่ดิฉันเถิด
การเห็นสำนักนางภิกษุณีของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใด
ไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอัน
ไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก......http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=4471&Z=4887
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา
ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา
เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย
คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ
ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยม
ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา
ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น
เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก.....http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=25&A=7102