เยอรมนียังต้องรับมือหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่ดำมืด ศาลตัดสินจำคุกอดีตยามค่ายมรณะ
ศาลที่เยอรมนีตัดสินจำคุกยามรักษาการณ์ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ของนาซีเยอรมนีในโปแลนด์เมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) เป็นเวลา 5 ปี โทษฐานมีส่วนพัวพันกับการสังหารชาวยิวอย่างน้อย 170,000 คน ทั้งนี้ นายไรน์โฮล์ด แฮนนิ่ง ผู้ต้องหาวัย 94 ปี เป็นอดีตสมาชิกของหน่วยรบพิเศษ SS ของเยอรมนีที่ทำหน้าที่ดูแลค่ายกักกันมรณะดังกล่าวในช่วงระหว่างปี 2485 ถึง 2487 ซึ่งที่ค่ายกักกันแห่งนี้ มีชาวยิวเสียชีวิตจากน้ำมือของนาซีไปถึงประมาณ 1,100,000 คน
ผู้สื่อข่าวชี้ว่า คดีนี้ มิได้มีความหมายสำคัญเพียงแค่การควาญหาตัวคนผิดมาลงโทษหรือการพิสูจน์ว่าผู้ต้องหาเป็นฟันเฟืองของระบบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเท่านั้น ที่สำคัญมากกว่าอยู่ที่ว่าการพิจารณาคดีนี้ อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เยอรมนีจะได้สำรวจและบันทึกช่วงเวลาที่ดำมืดที่สุดของประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งทั้งเหยื่อที่เสียชีวิตไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ต่างต้องทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยจุดประสงค์หนึ่งของการมาขึ้นศาล ก็เพื่อให้เหยื่อเหล่านั้น ได้มีโอกาสเปิดเผยเรื่องราวความเจ็บปวดเพื่อค้นหาความยุติธรรม ญาติของเหยื่อบางคนกล่าวชัดเจนว่า แม้จะมีคำขอโทษจากคนที่เกี่ยวข้อง แต่ความโหดร้ายจากการกระทำทำให้พวกเขาไม่อาจให้อภัยแทนเหยื่อเหล่านั้นได้ แม้หลายคนจะระบุว่า พวกเขาไม่ได้โกรธเคืองอีกต่อไปก็ตาม
ฮีดี้ โบฮ์ม เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากค่ายมรณะเอาชวิทซ์ เธอเล่าว่ายังจำเหตุการณ์วันแรกที่เดินทางไปถึงค่ายแห่งนี้อย่างชัดเจนแม้อยากจะลืมภาพแห่งความเจ็บปวดเหล่านั้นก็ตาม “มีทั้งเสียงตะโกน เสียงร้องไห้และโหยหวน เสียงเด็กและเสียงสุนัขเห่า…และรอบ ๆ มีรั้วลวดหนามกว้างใหญ่ ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหนหรือมาทำอะไรที่นี่ มันสับสนไปหมด” ฮีดี้เล่าต่อว่า เธอถูกแยกออกจากพ่อแม่ในวันนั้น และไม่เคยได้พบพ่อแม่อีกเลยตลอดชีวิต ตอนนั้นเธออายุเพียง 14 ปี
อังเกล่า โอรอสซ์-ริกช์ เหยื่อผู้รอดชีวิตอีกรายเล่าว่า เธอไม่เคยยอมให้ครอบครัวโยนเปลือกมันฝรั่งทิ้ง เธอบอกให้พวกเขากินมันเพราะเปลือกมันฝรั่ง ทำให้แม่และตัวเธอรอดชีวิตมาได้จากเอาชวิทซ์
เธอเล่าว่าตอนแม่ถูกจับส่งไปที่ค่าย แม่กำลังตั้งท้องเธอ แม่ของอังเกล่าอาศัยเศษอาหารโดยเฉพาะเปลือกมันฝรั่งจากครัวประทังชีวิตของตัวเองและลูกในท้อง นอกจากนั้น แม่ของเธอยังเป็นหนูทดลองของดร.โจเซฟ แม็งเกเล่ ผู้ได้รับฉายาว่าเทพเจ้าแห่งความตายอีกด้วย โดยแม่ถูกฉีดยาทดลองทางมดลูกเข้าทางปากช่องคลอด ทำให้เด็กในท้องซึ่งคือตัวเธอ ย้ายไปอยู่อีกข้างของมดลูก วันต่อมา เขาก็ฉีดยาอีกเข็ม ผลปรากฏว่าเด็กในท้องย้ายกลับไปข้างเดิม แต่โชคดีที่หลังจากนั้น ดร. แม็งเกเล่ ลืมแม่เธอไปและไม่ได้ทดลองกับแม่ของเธออีก หลังจากที่เธอเกิดเมื่อเดือนธ.ค. 2487 เพียงไม่กี่ชั่วโมง แม่ต้องซ่อนเธอเอาไว้ที่บนเตียงชั้นบนเพื่อไปยืนเท้าเปล่าเข้าแถวตรวจเป็นเวลา 3 ชั่วโมงท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บและความหวาดกลัวว่าลูกอาจถูกยามมาพบเข้าหรืออาจถูกหนูที่หิวโหยมาลากเอาไป อังเกล่าบอกว่า แม่ของเธอต้องทนทรมานกับฝันร้ายจากประสบการณ์ในค่ายเอาชวิทซ์ไปตลอดชีวิต
การค้นหาตัวผู้ร่วมกระทำผิดไปขึ้นศาลนับว่าเป็นเรื่องยากเย็น เจนส์ รอมเมล ‘นักล่านาซี’ ชี้ว่า มันเป็นเรื่องสำคัญที่สังคมต้องรับรู้และเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นที่ค่ายกักกัน เขาและทีมงานค้นหาบุคคลเหล่านั้นจากเอกสารเก่าที่ถูกบันทึกเอาไว้ และประสบความสำเร็จส่งเรื่องให้กับศาลพิจารณาเกือบ 60 คดีแล้ว เขาบอกว่า กว่าจะตรวจค้นและติดตามหาตัวตนพบ ก็ต้องใช้ทั้งเวลาและความอดทน โดยหนึ่งในสมาชิกนาซีเยอรมนีที่เขาและทีมค้นพบคือนายไรน์โฮล์ด แฮนนิ่ง
ผู้สื่อข่าวบอกว่า เห็นได้ว่าเยอรมนีเริ่มเปลี่ยนทัศนคติต่อการจัดการกับเหตุการณ์ในอดีตเหล่านี้ ก่อนหน้านี้ มักจะมองไปที่ตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงให้เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับล่างนั้นเคยมองกันว่าไม่ควรจะต้องรับผิดชอบเพียงเพราะรับคำสั่งและปฏิบัติไปตามหน้าที่เท่านั้น แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเห็นกันว่า หากไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับล่างคอยทำให้กลไกต่างๆทำงาน นาซีก็คงไม่สามารถสังหารชาวยิวเหล่านั้นได้มากขนาดนั้น ที่ผ่านมาจึงมีอดีตยามคุ้มกันค่ายกักกันมรณะถูกตัดสินว่ามีความผิดโทษฐานอำนวยความสะดวกต่อการสังหารหมู่ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ในค่ายไปแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ภายใน 10 ปีข้างหน้า คงไม่มีสมาชิกนาซีเยอรมนีหลงเหลือที่จะนำมาชดใช้ความผิดทางศาลอีกต่อไป เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นคงเสียชีวิตด้วยความชรากันไปหมด สำหรับนายไรน์โฮล์ด แฮนนิ่งเอง ถึงแม้จะถูกตัดสินว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหา แต่คงเป็นไปได้ยากที่เขาจะถูกส่งตัวไปรับโทษในคุกเนื่องจากวัยที่ชราและสังขารที่ร่วงโรย
BBC Thai
เยอรมนียังต้องรับมือหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่ดำมืด ศาลตัดสินจำคุกอดีตยามค่ายมรณะ
เยอรมนียังต้องรับมือหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่ดำมืด ศาลตัดสินจำคุกอดีตยามค่ายมรณะ
ศาลที่เยอรมนีตัดสินจำคุกยามรักษาการณ์ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ของนาซีเยอรมนีในโปแลนด์เมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) เป็นเวลา 5 ปี โทษฐานมีส่วนพัวพันกับการสังหารชาวยิวอย่างน้อย 170,000 คน ทั้งนี้ นายไรน์โฮล์ด แฮนนิ่ง ผู้ต้องหาวัย 94 ปี เป็นอดีตสมาชิกของหน่วยรบพิเศษ SS ของเยอรมนีที่ทำหน้าที่ดูแลค่ายกักกันมรณะดังกล่าวในช่วงระหว่างปี 2485 ถึง 2487 ซึ่งที่ค่ายกักกันแห่งนี้ มีชาวยิวเสียชีวิตจากน้ำมือของนาซีไปถึงประมาณ 1,100,000 คน
ผู้สื่อข่าวชี้ว่า คดีนี้ มิได้มีความหมายสำคัญเพียงแค่การควาญหาตัวคนผิดมาลงโทษหรือการพิสูจน์ว่าผู้ต้องหาเป็นฟันเฟืองของระบบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเท่านั้น ที่สำคัญมากกว่าอยู่ที่ว่าการพิจารณาคดีนี้ อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เยอรมนีจะได้สำรวจและบันทึกช่วงเวลาที่ดำมืดที่สุดของประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งทั้งเหยื่อที่เสียชีวิตไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ต่างต้องทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยจุดประสงค์หนึ่งของการมาขึ้นศาล ก็เพื่อให้เหยื่อเหล่านั้น ได้มีโอกาสเปิดเผยเรื่องราวความเจ็บปวดเพื่อค้นหาความยุติธรรม ญาติของเหยื่อบางคนกล่าวชัดเจนว่า แม้จะมีคำขอโทษจากคนที่เกี่ยวข้อง แต่ความโหดร้ายจากการกระทำทำให้พวกเขาไม่อาจให้อภัยแทนเหยื่อเหล่านั้นได้ แม้หลายคนจะระบุว่า พวกเขาไม่ได้โกรธเคืองอีกต่อไปก็ตาม
ฮีดี้ โบฮ์ม เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากค่ายมรณะเอาชวิทซ์ เธอเล่าว่ายังจำเหตุการณ์วันแรกที่เดินทางไปถึงค่ายแห่งนี้อย่างชัดเจนแม้อยากจะลืมภาพแห่งความเจ็บปวดเหล่านั้นก็ตาม “มีทั้งเสียงตะโกน เสียงร้องไห้และโหยหวน เสียงเด็กและเสียงสุนัขเห่า…และรอบ ๆ มีรั้วลวดหนามกว้างใหญ่ ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหนหรือมาทำอะไรที่นี่ มันสับสนไปหมด” ฮีดี้เล่าต่อว่า เธอถูกแยกออกจากพ่อแม่ในวันนั้น และไม่เคยได้พบพ่อแม่อีกเลยตลอดชีวิต ตอนนั้นเธออายุเพียง 14 ปี
อังเกล่า โอรอสซ์-ริกช์ เหยื่อผู้รอดชีวิตอีกรายเล่าว่า เธอไม่เคยยอมให้ครอบครัวโยนเปลือกมันฝรั่งทิ้ง เธอบอกให้พวกเขากินมันเพราะเปลือกมันฝรั่ง ทำให้แม่และตัวเธอรอดชีวิตมาได้จากเอาชวิทซ์
เธอเล่าว่าตอนแม่ถูกจับส่งไปที่ค่าย แม่กำลังตั้งท้องเธอ แม่ของอังเกล่าอาศัยเศษอาหารโดยเฉพาะเปลือกมันฝรั่งจากครัวประทังชีวิตของตัวเองและลูกในท้อง นอกจากนั้น แม่ของเธอยังเป็นหนูทดลองของดร.โจเซฟ แม็งเกเล่ ผู้ได้รับฉายาว่าเทพเจ้าแห่งความตายอีกด้วย โดยแม่ถูกฉีดยาทดลองทางมดลูกเข้าทางปากช่องคลอด ทำให้เด็กในท้องซึ่งคือตัวเธอ ย้ายไปอยู่อีกข้างของมดลูก วันต่อมา เขาก็ฉีดยาอีกเข็ม ผลปรากฏว่าเด็กในท้องย้ายกลับไปข้างเดิม แต่โชคดีที่หลังจากนั้น ดร. แม็งเกเล่ ลืมแม่เธอไปและไม่ได้ทดลองกับแม่ของเธออีก หลังจากที่เธอเกิดเมื่อเดือนธ.ค. 2487 เพียงไม่กี่ชั่วโมง แม่ต้องซ่อนเธอเอาไว้ที่บนเตียงชั้นบนเพื่อไปยืนเท้าเปล่าเข้าแถวตรวจเป็นเวลา 3 ชั่วโมงท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บและความหวาดกลัวว่าลูกอาจถูกยามมาพบเข้าหรืออาจถูกหนูที่หิวโหยมาลากเอาไป อังเกล่าบอกว่า แม่ของเธอต้องทนทรมานกับฝันร้ายจากประสบการณ์ในค่ายเอาชวิทซ์ไปตลอดชีวิต
การค้นหาตัวผู้ร่วมกระทำผิดไปขึ้นศาลนับว่าเป็นเรื่องยากเย็น เจนส์ รอมเมล ‘นักล่านาซี’ ชี้ว่า มันเป็นเรื่องสำคัญที่สังคมต้องรับรู้และเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นที่ค่ายกักกัน เขาและทีมงานค้นหาบุคคลเหล่านั้นจากเอกสารเก่าที่ถูกบันทึกเอาไว้ และประสบความสำเร็จส่งเรื่องให้กับศาลพิจารณาเกือบ 60 คดีแล้ว เขาบอกว่า กว่าจะตรวจค้นและติดตามหาตัวตนพบ ก็ต้องใช้ทั้งเวลาและความอดทน โดยหนึ่งในสมาชิกนาซีเยอรมนีที่เขาและทีมค้นพบคือนายไรน์โฮล์ด แฮนนิ่ง
ผู้สื่อข่าวบอกว่า เห็นได้ว่าเยอรมนีเริ่มเปลี่ยนทัศนคติต่อการจัดการกับเหตุการณ์ในอดีตเหล่านี้ ก่อนหน้านี้ มักจะมองไปที่ตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงให้เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับล่างนั้นเคยมองกันว่าไม่ควรจะต้องรับผิดชอบเพียงเพราะรับคำสั่งและปฏิบัติไปตามหน้าที่เท่านั้น แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเห็นกันว่า หากไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับล่างคอยทำให้กลไกต่างๆทำงาน นาซีก็คงไม่สามารถสังหารชาวยิวเหล่านั้นได้มากขนาดนั้น ที่ผ่านมาจึงมีอดีตยามคุ้มกันค่ายกักกันมรณะถูกตัดสินว่ามีความผิดโทษฐานอำนวยความสะดวกต่อการสังหารหมู่ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ในค่ายไปแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ภายใน 10 ปีข้างหน้า คงไม่มีสมาชิกนาซีเยอรมนีหลงเหลือที่จะนำมาชดใช้ความผิดทางศาลอีกต่อไป เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นคงเสียชีวิตด้วยความชรากันไปหมด สำหรับนายไรน์โฮล์ด แฮนนิ่งเอง ถึงแม้จะถูกตัดสินว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหา แต่คงเป็นไปได้ยากที่เขาจะถูกส่งตัวไปรับโทษในคุกเนื่องจากวัยที่ชราและสังขารที่ร่วงโรย
BBC Thai