สวัสดีค่าาาาาา วันนี้เราจะพาไปเที่ยวกับแบบมีความรู้และมีสาระแบบเศรษฐกิจพอเพียงกันดีกว่า หลังจากที่เอาแต่รีวิวร้านอาหาร วันนี้เรามีรีวิว –วัฒนธรรม และ วัด ของคนในบริเวณ วัดดาวเรืองกันค่า
วันนี้เราจะกันที่ วัดดาวเรือง ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองแม่น้ำอ้อมด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
• การเดินทาง เราจะตั้งต้นทางที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต *
เมื่อเดินทางมาถึง เราจะพบกับวัดดาวเรือง หลังจากจอดรถแล้วก็ลงมาถ่ายรูปกันค่า
หลังจากสอบถามแม่ค้าขายธูป เจ้าอาวาสและพระลูกวัดภายในวัด รวมถึงข้อมูลต่างๆที่หาได้นั่น ทำให้เราได้ข้อมูลของวัดและหลวงปู่ไปล่มาพอสังเขปค่ะ (ยาวหน่อยนะคะ) (ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือและอินเตอร์เน็ตค่ะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประวัติวัดดาวเรือง
วัดดาวเรือง ตั่งอยู่ริมฝั่งคลองแม่น้ำอ้อมด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม ในเนื้อที่ 16 ไร่ ตามทะเบียนราษฎร์ เลขที่ 131 บ้านบางพูด หมู่ที่ 6 ตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาณาเขตทิศเหนือยาว 80วา ติดต่อกับคลองอ้อม ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว 85 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชนและที่สวน ทิศตะวันตกยาว 125 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน
พื้นที่ตั่งวัดเป็นที่ราบล่มน้ำจะท่วมในฤดูน้ำหลากมาทั้งนี้เพราะอยู่ริม คลองแม่น้ำอ้อม ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ อุโบสถหลังใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ตั้งอยู่คู่กับอุโบสถหลังเก่า ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว กุฏิสงฆ์ จำนวน 11 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารไม้ ศาลาการเปรียญหลังเก่า และหลังใหม่ หอสวดมนต์หลังใหม่ ฌาปนสถาน (เมรุ)
วัดดาวเรือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2423 โดยมี นายดาวเรือง กับ ญาติมิตรเป็นผู้ถวายที่ดิน ซึ่งตามประวัติที่คนเก่าแก่และผู้ใหญ่ในสมัยนั้นได้เล่ากันต่อๆ มาว่า นายดาวเรืองได้สร้างบ้านเรือนอยู่บนเนื้อที่ผืนนี้ โดยปลูกบ้านไว้หลายหลัง มีข้าทาสไว้ใช้สอยมาก นายดาวเรืองประกอบอาชีพทำนาและทำสวน และจัดว่าเป็นผู้ร่ำรวยมากในสมัยนั้น แต่ไม่มีบุตร
ต่อมาบ้านของนายดาวเรืองถูกโจนปล้น นายดาวเรืองและภรรยาถูกฆ่าตาย ข้าทาสชายหญิงก็ได้หนีไปหมด หมู่ญาติมิตรพี่น้องของนายดาวเรือง จึงยกบ้านและที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้เป็นที่สร้างวัด และได้ให้ชื่อว่า “วัดดาวเรือง”
เดิมทีเดียวในตำบลนี้เรียกว่า ตำบลท้ายโกลน ต่อมาเมื่อมีวัดดาวเรืองเกิดขึ้นซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าสำนักสงฆ์โกลน ก็เสื่อมและร้างไปในที่สุด
วัดดาวเรือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 และได้ผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน
สำหรับปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดดาวเรือง ก็มี พระศรีอาริยเมตไตร 2 องค์ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตรเนื้อดินผสมทาชาดลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยลพบุรี พระพุทธโสธรจำลอง หม้อกรักและธรรมมาสน์ประดับมุข
การศึกษา ทางวัดดาวเรืองได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม โดยเริ่มมาตั้งแต่แ พ.ศ. 2495 นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย ชั้น 2 และเป็นศูนย์อบรมประชาชนของตำบลบางพูดอีกด้วย
ลำดับเจ้าอาวาส
วัดดาวเรือง ตั้งแต่ก่อสร้างเป็นวัดมาถึงปัจจุบัน มีอายุ 106 ปี มีเจ้าอาวาสปกครองตามลำดับ ดังนี้
1. พระอธิการทองพูน เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก มีตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ มีเรือเก๋งประจำวัด สำหรับ
ไปสมบทพระตามวัดต่างๆ อีกด้วย
2. พระอธิการทองจุ้ย สมภารรูปนี้ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ มีความถนัดในการทำพลุและลูกหนู ในงานเผาศพ
พระที่วัดต่างๆ ด้วย
3. พระอธิการขาว (ครั้งแรก) เป็นอดีตสมภารที่เรืองวิทยาคม สร้างเชือกคาดเอว ดังอย่าบอกใคร ปัจจุบันหายาก
และราคาแพง ต่อมาท่านถูกฟ้องและต้องอธิการณ์ ทางคณะสงฆ์จึงถอดท่านออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นพระลูกวัดธรรมดา
4. พระอธิการเผือก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่เป็นเจ้าอาวาสได้ไม่นาสน ท่านก็มรณภาพ
5. พระอธิการขาว (ครั้งที่ 2) พระอธิการขาวซึ่งถูกถอดจากตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ชำระอธิกรณ์ เรื่องราวของ
ท่านจนบริสุทธิ์ ท่านจึงได้รับการแต่งตั่งเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง ท่านปกครองวัดมีคนเกรงกลัวท่านมาก เพราะท่านดุ ต่อมาท่านชราภาพมากสุขภาพไม่ดี ไม่สามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้ ทางคณะสงฆ์จึงยกท่านเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์
6. พระอธิการไปล่ ปญฺญาพโล ได้รับการแต่งตั่งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ถึงปี พ.ศ. 2528
7. พระภิกษุเผื่อนอชิโต เป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดาวเรืองอยู่ในขณะนี้ และเป็นผู้จัดการในเรื่องงาน
หลังจากที่ได้สอบถามเพิ่มเติม ทำให้เราทราบถึงประวัติของ หลวงปู่ไปล่
ร่ำลือกันจนทั่วตำบลบางพูด ว่า ท่านพระครูปัญญาพลคุณ หรือที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปเรียกท่านว่า “พระครูไปล่”
เป็นพระแท้ มีคุณธรรมสูง มีพรหมวิหาร 4 มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี มีอารมณ์แจ่มใสอยู่เสมอมีแต่ความเมตาแก่บรรดาศิษย์ทุกคนเสมอเหมือนกันหมด ชาวบางพูดยกย่องท่านเป็น เทพเจ้าแห่งความเมตตา ท่านไม่เคยดุหรือกล่าวว่าใคร
จนกระทั่งมีคำกล่าวกันว่า “ท่านมีปากพระร่วง” หรือ “มีวาจาศักดิ์สิทธิ์” ถ้าลองได้ดุหรือว่าใครแล้ว ผู้ที่ถูกว่าจะถึงกับอับโชคไปนานทีเดียว หรือหากมีใครต้องถูกตำหนิจากท่านแล้ว ก็มักจะต้องเป็นจริงตามนั้นเสมอ
หลวงปู่ไปล่ หรือ ท่านพระครูไปล่ ท่านเป็นผู้ที่มีความเกรงใจคนมาก มีความมักน้อย พอใจเพียงสมณสารรูป ไม่มีความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูงในลาภ ยศ สรรเสริญ
คำสอนที่ได้ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ก็จัดว่าเป็นคำสั่งสอนที่เป็นสัจจวาจา และอมตะตลอกกาล เช่น ท่านจะสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอๆ ว่า “จงอย่าลืมตนอย่าหลงงมงายในลาภ ยศสรรเสริญ มีลาภก็มีเสื่อมลาภมียศก็มีเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา มีสุขก็มีทุกข์ เป็นธรรมดาโลก คนเราถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ในทางที่ดีแล้วแม้จะมีพระศักดิ์สิทธิ์ เพียงใดห้อยคอ ก็ไม่สามารถจะปกปักรักษาหรือให้คุณแก่เจ้าของได้เลย จงรู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ แล้วจะไม่มีวันตกอับในชีวิตเลย” ดังนั้นบรรดาศิษย์ที่ได้ผ่านการอบรมสั่งสอนจากหลวงปู่ส่วนมากจะพบกับความ สำเร็จในชีวิต มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวเพราะบารมีของหลงปู่นั่นเอง
หลวงปู่ไปล่ เมื่อเยาว์วัย บิดา-มารดา ได้นำไปฝากกับพระให้อยู่ที่วัดดาวเรืองเพื่อศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยหลวง ปู่ได้เล่าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ที่เก่งหนังสือไทยหลายรูป โดยเฉพาะ พระอาจารย์เปรม และท่านเจ้าอาวาสขณะนั้น หลวงปู่ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยจนเก่งและมีความชำนาญมาก
เมื่อเรียนหนังสือไทยจนเก่งและแตกฉานแล้ว หลวงปู่ก็หันมาเรียนหนังสือขอม กับพระอาจารย์ที่เก่งหนังสือขอมในวัดดาวเรื่อง ท่านมีความวิริยะอุตสาหพยายามศึกษาเล่าเรียนจนเก่งหนังสือขอมสามารถอ่าน และเขียนหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี สามารถเขียนและลงจารอักขระขอมได้
ในสมัยเป็นเด็ก หลวงปู่เป็นคนขี้โรค ไม่ค่อยจะแข็งแรง รูปร่างผอมบาง ท่านจึงอยู่วัดนานที่สุด จนโตเป็นหนุ่มภายในวัด และเมื่อมีอายุครบกำหนดเกณฑ์ทหารหลวงปู่ออกจากวัดดาวเรืองไปรับราชการทหาร เป็นทหารมหาดเล็กหลวง ในรัชกาลที่ 6 รักษาพระองค์ เมื่อพ้นจากราชการทหารแล้วก็กลับมาอยู่วัดบ้าง อยู่บ้านบ้าง
ในที่สุด บิดา-มารดา ก็ได้จัดการสู่ขอภรรยา ให้สมรสกับ นางทองอยู่ ซึ่งเป็นธิดาของนายฉิม-นางชุ่ม นามสกุล บุญมี ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2465 ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 25 ปี เมื่อสมรสแล้วหลวงปู่ได้ประกอบอาชีพทำส่วนผัก ในตำบลเชียงรากใหญ่ บ้านเกิด อยู่นานถึง 6 ปี มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน คือ
1. นางทองสุข เนิดน้อย
2. นายปรุยุทธ์ ภูมิจันทร์
พ.ศ. 2469 ตัดสินใจอุปสมบท
ระหว่างปี พ.ศ. 2469-2470 เกิดโรคระบาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า “โรคห่า” (อหิวาตกโรค) หรือโรคท้องร่วง โรคดัง
กล่าวนี้ในสมัย พ.ศ.2469 การแพทย์ยังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน จึงเป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะได้คร่าชีวิตของผู้คนไปมากมาย โดยไม่ละเว้นว่าเป็นคนดีหรือคนไม่ดี เด็กหรือผู้ใหญ่ คนแก่ หรือคนหนุ่มสาว
นางทองอยู่ ภรรยาของหลวงปู่ ถึงแก่กรรมด้วยโรคร้ายนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2469 ทิ้งบุตร ซึ่งยังเล็กมากไว้ 2 คน หลวง
ปู่ขณะนั้นมีความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากภรรยาถึงแก่กรรมได้เพียง 13 วัน หลวงปู่จึงตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดาวเรือง ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านคลุกคลีและเคยอาศัยอยู่มานานกว่าอยู่บ้านตัวเอง
หลวงปู่ได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. 2469 ขณะนั้นมีอายุได้ 29 ปี โดยมี พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์
อำเภอเมืองปทุมธานี และเจ้าคณะตำบลบ้านกลาง เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการเปลื้อง วัดโพธิ์เลื่อน อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเท่ง วัดบางขันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปทีโป” ในเรื่องฉายาของท่าน ท่านได้เล่าให้ฟังว่า เดิมพระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ได้ตั้งไว้ว่า “ปทีโป” หลวงปู่ท่านก็เจ็บออดๆ แอดๆ มาตลอดจนในที่สุด หลวงปู่เทียนได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า “ปญฺญาพโล” ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่ไหล่ก็ได้หายจากการเจ็บป่วย จึงนับว่าฉายา “ปญฺญาพโล” เป็นนามมงคลของหลวงปู่เมื่อหลวงปู่อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดดาวเรืองมาโดยตลอด ท่านมีความขยันอุตสาหะ ท่องบ่นสวดมนต์ศึกษาเล่าเรียนทั้งพระปริยัติธรรม และปฏิบัติ รวมทั้งเรียนเวทมนต์ คาถา อยู่โดยมิได้ขาดมีศิลาจารวัตรเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความสงบเสงี่ยมในสมณเพศ
เดี๋ยวมาต่อในคอมเม้นท์ต่อไปนะคะ อย่างที่บอกแต่ต้นว่า นี่เป็นการเที่ยวแบบมีสาระและเชิงเศรษฐกิจพอเพียง จะยาวหน่อยนะคะ><
*- เที่ยวชมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจพอเพียงใน วัดดาวเรือง -*
วันนี้เราจะกันที่ วัดดาวเรือง ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองแม่น้ำอ้อมด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
• การเดินทาง เราจะตั้งต้นทางที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต *
เมื่อเดินทางมาถึง เราจะพบกับวัดดาวเรือง หลังจากจอดรถแล้วก็ลงมาถ่ายรูปกันค่า
หลังจากสอบถามแม่ค้าขายธูป เจ้าอาวาสและพระลูกวัดภายในวัด รวมถึงข้อมูลต่างๆที่หาได้นั่น ทำให้เราได้ข้อมูลของวัดและหลวงปู่ไปล่มาพอสังเขปค่ะ (ยาวหน่อยนะคะ) (ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือและอินเตอร์เน็ตค่ะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เดี๋ยวมาต่อในคอมเม้นท์ต่อไปนะคะ อย่างที่บอกแต่ต้นว่า นี่เป็นการเที่ยวแบบมีสาระและเชิงเศรษฐกิจพอเพียง จะยาวหน่อยนะคะ><