Vespa รถทรงคลาสสิคที่คุณไม่ลืม



เอาละวันนี้ทางทีมงาน BLACK TIGER จัดไป เรื่องราวความเป็นมาและรุ่นรถต่างๆไปอ่านกันเลย
ในไทยเราให้ใจกลางเมืองยังมีความฮิตนิยมในการขับขี้อยู่ Piaggio Group มีตัวแทนจำหน่ายรถเวสป้า ดำเนินธุรกิจโดย บริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) จำกัด มีตัวแทนจำนายในไทย
ประวัติ
“เวสป้า” (Vespa) คือ ต้นแบบแห่งยานพาหนะที่ผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเข้าไว้ด้วยกัน คำว่าเวสป้าในภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึง “แมลงตัวต่อ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 Piaggio ที่แต่เดิมมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนของเรือและส่วนเครื่องบิน หันมาผลิตเครื่องยนต์แบบง่ายในแบบ Four - Part P 108 ให้กับรถเวสป้า ที่โรงงาน Pontedera จึงเกิดความคิดที่สร้างยานพาหนะเล็กๆไว้เดินทางขนส่งและสำรวจใน โรงงานคือ MP5 หรือโดนัลดัค ซึ่งในรุ่นนี้ทำจากซากชิ้นส่วนของเครื่องบิน มันคือสกู๊ตเตอร์ หรือ รถจักรยานยนต์คันเล็กๆ ที่มีล้อต่ำๆ ช่วยต่อการขับขี่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมันและราคาไม่แพง
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1945 รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆ ถ้าในเวลาขับขี่รถติดก็มีที่กำบังกันน้ำกระเด็นใส่ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า"มันเหมือนตัวต่อร้องเลย" ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อ (Wasp)
รุ่นแรกเป็นสกู๊ตเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียว หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมา รถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของ Vespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ 1990 สกู๊ตเตอร์รุ่นแรกมีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98 cc. ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125 cc., 150 cc. และ 200 cc. ตามลำดับ

Vespa คืออัตลักษณ์เชิงงานรังสรรค์ในแบบฉบับของอิตาเลียน ที่ทั่วโลกต่างยอมรับและเป็นที่รู้จัก
ค.ศ. 1884
ก่อตั้งที่เมืองเจนัว ในปี ค.ศ. 1884 โดย รินัลโด้ พิอาจิโอ ด้วยวัยยี่สิบปี ในฐานะบริษัทต่อเรือสำราญ
ก่อนจะขยายกิจการมาเป็นผลิตรางรถไฟ รถตู้ขนสินค้า รถโดยสารหรู เครื่องยนต์ เรื่อยไปจนถึงตัวถังรถบรรทุก
ค.ศ. 1917
สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ Piaggio มากมาย
เมื่อทางบริษัทหันมาจับการผลิตเครื่องบินประเภทต่างๆ
ปิอาจิโอ ได้ซื้อโรงงานใหม่ที่ ปิซ่า ตามด้วยโรงงานเล็กๆ แห่งหนึ่งใน ปอนเตเดร่า ในอีกสี่ปีต่อมา
ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตอากาศยานแห่งแรกของประเทศ ด้วยเหตุนี้ Piaggio
ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตอากาศยานชั้นนำของอิตาลี
ค.ศ. 1946
ภายหลังสงครามสิ้นสุด เอนริโก้ และ อาร์มานโด บุตรชายของ รินัลโด้ ปิอาจิโอ
ได้ช่วยกันพลิกฟื้นบริษัทขึ้นมาใหม่ คอร์ราดิโน ดัสคานิโอ นักออกแบบอากาศยาน
ออกแบบให้มันเป็นพาหนะที่ตัวถังแข็งแรง ทนทาน และใช้การประสานเฟืองแทนโซ่เหล็ก
ติดก้านเกียร์ไว้บนคันบังคับเพื่อให้ง่ายต่อการขับขี่ เปลี่ยนจากตะเกียบเป็นแขนยึดเหมือนเครื่องบิน
ตบท้ายด้วยการออกแบบตัวถังรถ เพื่อปกป้องคนขี่จากความสกปรกและน่ารำคาญ
1946-Vespa98cc Prima Serie " Bacchetta3v "
รถ Vespa รุ่นแรก เครื่องยนต์ 98 ซีซี ส่งกำลัง 3.2 แรงม้า ที่รอบหมุน 4,500 รอบ/นาที
ทำความเร็วสูงสุด 60 กม./ ชม. ระยะการผลิตสองปี: ปี 1946 รุ่น 464
ตามด้วย 465 จนถึงรุ่น 18 (079) ในปี 1947
ค.ศ.1947
ปลายปี 1947 ผลิตภัณฑ์รถเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น กระทั่งในปีต่อมา Vespa 125
ก็ถูกปล่อยออกจำหน่ายเพื่อสานความสำเร็จต่อจาก Vespa 98 รุ่นแรก
ค.ศ.1948
ที่ Fiera Campionaria เมืองมิลาน ในปี 1948 ทาง Italian Vespa Clubs
ได้จัดให้มีการแข่งขันรายการ “Silver Swarm” ขึ้น ภายหลังการออกจำหน่ายรถรุ่นแรก
ตัวถังสีเงิน-เขียว อันเป็นเครื่องหมายการค้า Vespa
1948-Vespa 125cc V1T " Bacchetta3v "
Vespa 125 ซีซี รุ่นแรก ต่างจากรุ่น 98 ตรงขนาดเครื่องยนต์และมีการใช้ระบบรองรับหลัง
เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบรองรับหน้า
ค.ศ.1950
เพียงสี่ปีหลังการออกจำหน่าย Vespa ได้รับการประกอบในประเทศเยอรมนีโดย
Hoffman-Werke of Lintorf
ตามด้วยในประเทศอังกฤษ (Douglas of Bristol) และฝรั่งเศส (ACMA of Paris)
การผลิตในสเปนเริ่มต้นในปี 1953
ที่ Moto Vespa of Madrid (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Piaggio Espana)
ตามด้วย Jette ในบรัสเซลส์, เบลเยี่ยม มีการสร้างโรงงานแห่งใหม่ใน บอมเบย์, บราซิล
ข้ามไปจนถึงในสหรัฐฯ ความโด่งดังของมันสามารถเรียกความสนใจจากนิตยสาร รีเดอร์ส์ ไดเจสต์
ซึ่งถึงขนาดลงตีพิมพ์เป็นบทความชิ้นยาว แต่นั่นก็เป็นเพียงบทเริ่มของความอัศจรรย์เท่านั้น

ค.ศ.1951
ในปี 1951 แฟนรถ Vespa กว่า 20,000 คน ได้เข้าไปมีส่วนร่วมที่งาน Italian Vespa Day
ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1950 มีการจัดการแข่งขันขึ้นมากมายทั้งภายในอิตาลีเองและต่าง ประเทศ
การขับขี่รถเวสป้าเริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพและการเข้าสังคม
กล่าวโดยสั้นคือ รถเวสป้ากลายมาเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม
ที่มีหลักฐานปรากฏยืนยันด้วยรูปถ่าย วรรณกรรม โฆษณา และภาพยนตร์อีกนับไม่ถ้วน
เรื่อยไปจนถึงพฤติกรรมที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม
นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

ค.ศ.1952
ปี 1952 จอร์จส์ โมแนเร่ต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ประกอบรถ “เวสป้าสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก”
เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ปารีส-ลอนดอน และประสบความสำเร็จในการข้ามช่องแคบอังกฤษ
หนึ่งปีก่อนหน้านั้น Piaggio ก็ได้ประกอบรถ Vespa 125 ซีซี รุ่นต้นแบบ
เพื่อใช้ในการแข่งขันทำความเร็ว กระทั่งสร้างสถิติโลกด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 171.102 กม./ชม.

ค.ศ.1953
Vespa ผ่านหลักชัยที่ 17 ล้านคัน Vespa: over 17 million units produced
ในวันที่ Lambretta เพิ่งจะเริ่มลิ้มรสความสำเร็จ Vespa
ได้ถูกนำไปสำเนาและเลียนแบบเป็นพันๆ ครั้ง
ทว่าคือความเป็นเอกลักษณ์ที่ส่งให้พาหนะของ Piaggio คงความสำเร็จมาได้อย่างยาวนาน
นานจนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 1953 รถคันที่ 500,000
ได้ถูกปล่อยออกจากสายการผลิต ตามด้วยคันที่หนึ่งล้านในเดือนมิถุนายนปี 1956

1955-Vespa150cc GranSport VS1T “Cavi 4v”
หลายคนบอกว่ามันคือ “โมเดลรุ่นที่ดัง ถูกเลียนแบบ และเป็นที่จดจำได้มากที่สุด”
พัฒนาขึ้นหลายจุด เครื่องยนต์ 150 ซีซี, เกียร์ 4 จังหวะ, อานเบาะยาวมาตรฐาน,
ปรับทรงไฟหน้า, ล้อขนาด 10 นิ้ว ทำความเร็วสูงสุดได้ 100 กม./ ชม.
ปรับดีไซน์ตัวถังให้ลู่ลมดีขึ้น

ค.ศ.1957
ในวันที่ 9 มิถุนายน 1957 Izvestiรายงานข่าวการเริ่มต้นผลิตรถ Viatka 150 ซีซี
ที่เมืองคีรอฟ, สหภาพโซเวียต ที่ลอกแบบรถเวสป้าแทบทุกรายละเอียด
ก่อนที่ทาง Piaggio จะหันมาขยายสายรุ่นลงสู่พาหนะขนาดเล็ก ในปี 1948
หลังการเปิดตัวของ Vespa ได้มีการประกอบรถแวนสามล้อ Ape
(ภาษาอิตาเลียนแปลว่า “ผึ้ง”) วางทรงมาจากรถสกู๊ตเตอร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

1962-Vespa160cc GranSport VSB1T    
สานต่อความสำเร็จจาก GS รุ่นแรก พร้อมดีไซน์ใหม่
หม้อลดเสียงไอเสีย, คาร์บูเรเตอร์ และระบบรองรับ
กำลังส่งสูงสุด 8.2 แรงม้า ที่รอบหมุน 6,500

1963-Vespa 150cc GranLusso VLA1T
ดีไซน์ใหม่ที่เรียกกันว่า “หนึ่งในรถเวสป้าที่สวยที่สุดที่ผลิตโดยนัก ออกแบบของ Piaggio”
คันบังคับเลี้ยว, ไฟหน้าทรงสี่เหลี่ยมคางหมู, บังโคลนหน้าและฝาครอบท้ายล้วนเป็นของใหม่

ค.ศ.1964
Vespa 50 เปิดตัวในปีถัดมา (1963) พร้อมๆ กับกฎหมายบังคับให้รถจักรยานยนต์ขนาดเกิน 50 ซีซี
ต้องติดป้ายทะเบียน รถสกู๊ตเตอร์คันใหม่ได้รับการยกเว้นจากกฎหมายดังกล่าว
และประสบความสำเร็จในทันที ในปี 1965 ยอดขายรถพร้อมป้ายทะเบียนในอิตาลีตกลง 28%
เมื่อเทียบกับปี 1964 ทว่า Vespa พร้อมกับรถซีรี่ส์ 50 รุ่นใหม่ กลับประสบความสำเร็จอย่างสูง
นับจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นรถเวสป้าขนาด 50 ซีซี
รุ่นแรกที่ใช้เครื่องยนต์สี่จังหวะ สามารถวิ่งได้ไกลกว่า 500 กม. จากการเติมน้ำมันเต็มถัง

1965-Vespa180cc Super-Sport VSC1T
ขยายขนาดความจุเครื่องยนต์ (181.14 ซีซี) 10 แรงม้า สำหรับทำความเร็วสูงสุด 105 กม./ชม.
180 SS (Super Sport) เข้ามาทดแทนรุ่น GS 150/ 160 ซีซี
ทาง Piaggio ได้ทำการปรับปรุงในส่วนของโครงกระจังหน้าใหม่
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามหลักอากาศพลศาสตร์
และความสะดวกสบาย ตลอดจนสมรรถนะการควบคุมและการเกาะถนน

1966-Vespa125cc GranTurismo VNL2
Vespa 125, 1966 - หรือ “125 รุ่นใหม่” รื้อแนวทางการออกแบบใหม่ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นโครงรถ, เครื่องยนต์ (เอียง 45° องศา) และระบบรองรับ

1966-Vespa50cc L VSA1T
ซีรี่ส์พิเศษที่พัฒนามาจากรถ Vespa รุ่น 50/90 ซีซี และ 125 “รุ่นใหม่”
ปรับตำแหน่งอานเบาะและคันบังคับเลี้ยว เพื่อให้ขับขี่ได้สะดวกขึ้น คันบังคับเลี้ยวคอดต่ำ
บังโคลนและกระบังหน้าเพรียวลม ด้วยความจุเครื่องยนต์เพียง 90 ซีซี ทำความเร็วได้ 93 กม/ชม.

1968-Vespa125cc Primavera VMA2T
พร้อมด้วยรุ่น PX ที่ออกตามหลัง ถือเป็นรถรุ่นที่ใช้งานได้ทนทานที่สุดของ Vespa
พัฒนามาจาก 125 “รุ่นใหม่” แต่สมรรถนะเครื่องยนต์ที่ต่างกัน
ทำความเร็วได้สูงกว่ากัน 10 กม./ชม. ลงลึกทุกรายละเอียด
ไม่เว้นแม้แต่ตัวขอเกี่ยวกระเป๋าสุดคลาสสิค

1968-Vespa180cc Rally VSD1T
ทาง Piaggio ได้นำเอาระบบปรับจังหวะการสูบเชื้อเพลิงแบบโรตารี่มาใช้
เครื่องยนตเป็นรุ่นใหม่ให้กำลังสูงขึ้น เช่นเดียวกับโคมไฟหน้า
โครงรถต่อยอดมาจาก Vespa 150 Sprint ทรงคอดเพรียวและลู่ลมกว่ารุ่น

1970-Vespa50cc Elestart V5A3T
ใช้ระบบจุดระเบิดอัตโนมัติ รูปทรงดูทันสมัยและสวยขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่น 50

1972-Vespa200cc Rally
รถ Vespa ที่ใช้เครื่องยนต์ใหญ่สุด ให้กำลังส่ง 12.35 แรงม้า ที่รอบหมุน 5,700
ทำความเร็วได้ถึง 116 กม./ชม.

1976-Vespa125cc Primavera ET3
ET3 นั้นย่อมาจาก “Electronic 3 intake ports” พร้อมการเปลี่ยนแปลงสำคัญภายในเครื่องยนต์
ซึ่งให้พลกำลังสูงและมีชีวิตชีวาขึ้น รูปทรงดูทันสมัยกว่า Primavera รุ่นปกติ

1978Vespa125cc P 125 X
เรียกย่อๆ ว่า “PX” โดดเด่นในเรื่องการวางรูปทรง (ปรับดีไซน์งานตัวถังใหม่หมด)
และสมรรถนะ ตามด้วย P 200 E ที่ออกมาในปีเดียวกัน
พร้อมระบบหล่อลื่นและอุปกรณ์ตรวจจับทิศทางติดตั้งมากับตัวรถ
สามปีถัดมา PX 150 E ก็ได้รับการเปิดตัว ด้วยสมรรถนะที่ก้ำกึ่งระหว่างสองโมเดลแรก

ค.ศ.1980
น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในปี 1980 รถ Vespa PX 200 สองคันที่ขี่โดย เอ็ม. ซิโมโน่ต์ และบี. เชอร์เนียวสกี
วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับสองในรายการ ปารีส-ดาการ์
ด้วยความช่วยเหลือจากแชมป์ Le Mans 24 Hours เฮนรี่ เปสคาโรโล่

1983-Vespa125cc PK
เข้ามาแทนที่ Vespa Primavera (รุ่นมาตรฐานและ ET3) ซึ่งยังคงอยู่ในสายการผลิต
บวกงานตัวถังแบบ “คลาสสิค” สำหรับตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ปรับเปลี่ยนสไตล์ใหม่
บวกตัวถังที่แตกต่างจากรถสกู๊ตเตอร์ที่แล้วๆ มา
โดยเฉพาะในส่วนของรอยเชื่อมต่อที่ประสานกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว


เนื้อหายังมีต่อเข้าไปอ่านได้ที่
https://web.facebook.com/253757701332541/photos/a.300414156666895.64425.253757701332541/1094510750590561/?type=3&ref=notif¬if_t=notify_me_page¬if_id=1459933285258171&_rdr

______________________________________
ผิดพลาดประการ ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ
จัดทำโดย แอดมิน P'Nack BLACK TIGER
______________________________________
[ BLACK TIGER CLASSIC BIKE ]
เราพร้อมจะเป็นเพื่อนร่วมทางและที่ปรึกษากับให้คุณ

ร่วมเป็นกำลังใจให้กับเราไดที่
https://web.facebook.com/BLACK-TIGER-253757701332541/?fref=ts
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่