มอไซค์พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน กับจักรกลปั่นไฟพลังแรงโน้มถ่วง เกี่ยวกับหลักการที่อธิบายง่ายๆ

http://pantip.com/topic/34806720


จากกระทู้ด้านบน ในฐานะที่ผมเป็นคนไปดู และได้ถามแบบชัดเจน ขอสรุปได้ว่า

รถมอเตอร์ไซค์พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน

เท่าที่ดู หลายๆคนจะมีปัญหาให้ถามมากมาย แต่ขอตอบประเด็นใหญ่ๆก่อน

1..มันถอดแบทแล้ววิ่งได้ไหม
คำตอบ-ไม่ได้ครับ

2..มันฟรีตรงไหน
คำตอบ- ฟรีในที่นี้ หมายถึงไม่ต่อปลั๊กชาร์จไฟครับ คุณเอารถมอไซค์คันนี้ไปวิ่งข้ามจังหวัด วิ่งไป4ชั่วโมงแบทหมด คุณจอด แล้วปล่อยให้มันชาร์จด้วยตนเองไม่ต้องไปเสียบปลั๊กที่ไหนสักหลายชั่วโมง พอมันชาร์จเต็ม ก็วิ่งต่อได้

3..แล้วเรียกว่าพลังงานฟรีได้ไหม

คำตอบ- หากไม่นับเรื่อง เงินที่ต้องซื้อรถมอไซค์ ก็คงถือว่าฟรี เพราะหากเอามาใช้แล้ว มันไม่จำเป็นต้องเสียบปลํ๊กชาร์จอีก


หลักการ คร่าวๆคือ

มันจะมีมอเตอร์ตัวเล็ก1ตัว(มอเตอร์A) มอเตอร์ตัวนี้ จะ ต้องใช้ไฟ1หน่วย(แบท A)ในการทำให้มันหมุน

การหมุนของมอเตอร์ตัวนี้ จะถูกนำไปต่อกับเครื่องปั่นไฟ2ตัว ตัวหนึ่งจะผลิตไฟเพื่อนำกลับมาชาร์จแบทของตัวแบทเตอร์รี่ที่สำหรับใช้ปั่นมอร์เตอร์ตัวนี้(แบท A)
ตัวที่2 จะสร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อนำไปชาร์จ  แบทที่ใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนของมอเตอร์ล้อ(แบท B )

ดังนั้นเวลารถวิ่ง จะใช้พลังงานจาก ( แบท B )     และรถมันจะวิ่งไปเรื่อยๆ จนกว่า ( แบท B) จะหมด
หากหมดแล้ว ก็ต้องเปิดเคริ่อง มอเตอร์ปั่นไฟ เพื่อชาร์จพลังงาน โดยพลังงานจาก การหมุนมอเตอร์นี้จะได้มาจาก ( แบท A )


เคล็ดลับและความยากของ งานนี้คือ การพันขดลวดทองแดง การสรา้งแม่เหล็ก และการวางขดลวดทองแดง ให้เวลาที่มอเตอร์ ตัวเล็ก(มอเตอร์A) หมุนแล้ว มันจะเกิดไฟฟ้าพอที่จะป้อนกลับมาที่(แบท A)   และเหลือนำไปชาร์จไฟ

----
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวผมเองไม่ได้ไปดูทดสอบการทำงานของ มอเตอร์ไซค์จนถึงที่สุด ดูแค่ตัวปั่นไฟตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น หากวิจารณ์โดยเป็นธรรม ผมเองก็ไม่ได้เห็นส่วน ที่ใช้มอเตอร์เล็ก เพื่อปั่นไฟชาร์จแบทสำหรับมอเตอร์ขับเคลื่อน บทสรุปทั้งหมด ถามจากกกรมการ และ ผู้ผลิต






ส่วนอีกอันคือ เครื่องปั่นไฟพลังงานแรงโน้มถ่วง นั้น ผมได้ไปทดสอบ และดูมากกว่า มอไซค์พลังงานไฟฟ้า รวมถึงได้ดูด้วยว่าพลังงานที่จ่าย จะมากกว่าพลังงานที่ได้ออกมาหรือป่าว

หลักการของเครื่องปั่นไฟพลีงแรงโน้มถ่วง มีหลักการดังนี้


โดยใช้หลักการที่ว่ามอเตอร์ตัวเล็กนี้ กินไฟ1หน่วย ซึ่งพอมันทำงานแล้วทำให้กังหันขยับ พอกังหันขยับมันก็จะไปปั่นไฟ ให้ไฟออกมาเมทียบเท่าที่กังหันลมสามารถให้ได้ตอนหมุน( ณ ตอนนี้คือ 300 วัตท์) พูดง่ายๆคือ ใช้พลังงาน1หน่วยป้อนใส่มอเตอร์ให้มันไปขยับเครื่องปั่นไฟ ได้ไฟออกมา100หน่วย ซึ่งส่วนนี้ มันได้พลังงานจาก แรงโน้มถ่วงเข้าช่วยด้วย

ประโยชน์ของมันคือสามารถปั่นไฟในที่ ที่ไม่มีลม ไม่มีแดด ไม่มีความร้อน ในถ้ำปิดตาย หากมีเครื่องนี้ มันก็จะสามารถปั่นไฟไปเรื่อยๆตราบที่เครื่องยังไม่พัง แบทไม่เสื่อม และสอเตอร์ไม่ไหม้



แรงที่ช่วยปั่นคือแรงโน้มถ่วง โดยหลักการคือใช้มอเตอร์ตัวเล็ก ทำให้ กังหันที่มีน้ำหนักถ่วงนั้นเสียสมดุล เทียบให้เห็นง่ายๆคือ เหมือนเราใช้คานงัดหินที่ตั้งอยู่ปลายหน้าผาให้ตกลงไป เราออกแรงงัดหินนิดเดียว แต่หินมันจะตกลงไปตามแรงโน้มถ่วง

กังหันนี้ก็เช่นกัน หากทำให้มันเสียสมดุลด้วยแรงเพียงเล็กน้อย มันจะหมุนไป90องศา โดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่า ใช้แรงสำหรับให้มันขยับแค่1องศา ส่วนอีก89องศานั้นคือพลังงานที่ได้จากแรงดึงดูด เครื่องจักรนี้จะใช้พลังงานที่ได้มาปล่าว(จริงๆคือพลังแรงโน้มถ่วง) มาปั่นเครื่องปั่นไฟ

ซึ่งเครื่องนี้ ผมได้ดูแม้กระทั่งตอนที่ปิดเครื่องมอเตอร์ตัวเล็ก แต่ตัวไดนาโม ก็ยังหมุนและให้กระแสไฟฟ้ามาอีกครู่ใหญ่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่