วันนี้ขอพาไปชมโครงการชลประทานภาคเหนือบ้างเป็นไร ?
เป็นฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแม่แฝก) สร้างกั้นแม่น้ำปิงที่บ้านสหกรณ์ ต.แม่แฝก อ.สันทราย หรือที่บ้านหนองกอก ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ลักษณะเป็นฝายหินก่อสูง ๓.๑๐ เมตร สันฝายยาว ๘๙.๓๐ เมตร เป็นฝายแรกที่กรมชลประทานสร้างขึ้นในภาคเหนือเพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการแม่แฝก ๗ หมื่นไร่ (ปัจจุบันลดพื้นที่ลงเหลือ ๔๔,๓๖๐ ไร่) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ โดยส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกที่มีระบบส่งน้ำซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในขณะนั้นเป็นต้นมา ค่าก่อสร้างทั้งโครงการ เป็นเงิน ๑.๒ ล้านบาท
ต่อมา ความต้องการใช้น้ำของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ในพื้นที่โครงการมีมากขึ้น ทางการได้ก่อสร้างเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านแม่วะ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยเริ่มก่อสร้างปี พ.ศ.๒๕๒๐ เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ.๒๕๒๘ รวมค่าก่อสร้างทั้งโครงการเป็นเงิน ๑,๑๔๐ ล้านบาท สามารถอำนวยประโยชน์เพื่อการชลประทาน โดย ส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในที่ราบเชิงเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่งัด อยู่ในท้องที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่ชลประทานรวมทั้งหมด ๒๖,๘๑๐ ไร่ และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่แน่นอนให้แก่พื้นที่ชลประทานโครงการแม่ปิงเก่า ๔๙,๐๐๐ ไร่ และพื้นที่ชลประทานของฝายราษฎรในลำน้ำแม่ปิงจำนวน ๑๖ แห่ง มีพื้นที่ชลประทานรวม ๖๒,๐๐๐ ไร่
ต่อมา ทาง กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในปี พ.ศ.๒๕๒๘ แล้วเสร็จในปีเดียวกัน โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๔,๕๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๒ เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๙,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ ๑๙ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ ๒๔.๕๐ ล้านกิโลวัตต์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๙ และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๙
ว่าจะพูดเรื่องฝายสินธุกิจปรีชา ทำไมมาลงท้ายที่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลได้ก็ไม่รู้ ? เรื่องชักจะยาว เลยขอหยุดไว้เพียงแค่นี้
...................................................
ข้อมุลจากเวบไซต์ กาญจนาภิเษก และ wikithai.com
กระทู้ก่อนนอน (๘๘)
เป็นฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแม่แฝก) สร้างกั้นแม่น้ำปิงที่บ้านสหกรณ์ ต.แม่แฝก อ.สันทราย หรือที่บ้านหนองกอก ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ลักษณะเป็นฝายหินก่อสูง ๓.๑๐ เมตร สันฝายยาว ๘๙.๓๐ เมตร เป็นฝายแรกที่กรมชลประทานสร้างขึ้นในภาคเหนือเพื่อทดน้ำส่งให้พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการแม่แฝก ๗ หมื่นไร่ (ปัจจุบันลดพื้นที่ลงเหลือ ๔๔,๓๖๐ ไร่) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ โดยส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกที่มีระบบส่งน้ำซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในขณะนั้นเป็นต้นมา ค่าก่อสร้างทั้งโครงการ เป็นเงิน ๑.๒ ล้านบาท
ต่อมา ความต้องการใช้น้ำของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ในพื้นที่โครงการมีมากขึ้น ทางการได้ก่อสร้างเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านแม่วะ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยเริ่มก่อสร้างปี พ.ศ.๒๕๒๐ เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ.๒๕๒๘ รวมค่าก่อสร้างทั้งโครงการเป็นเงิน ๑,๑๔๐ ล้านบาท สามารถอำนวยประโยชน์เพื่อการชลประทาน โดย ส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในที่ราบเชิงเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่งัด อยู่ในท้องที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่ชลประทานรวมทั้งหมด ๒๖,๘๑๐ ไร่ และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่แน่นอนให้แก่พื้นที่ชลประทานโครงการแม่ปิงเก่า ๔๙,๐๐๐ ไร่ และพื้นที่ชลประทานของฝายราษฎรในลำน้ำแม่ปิงจำนวน ๑๖ แห่ง มีพื้นที่ชลประทานรวม ๖๒,๐๐๐ ไร่
ต่อมา ทาง กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในปี พ.ศ.๒๕๒๘ แล้วเสร็จในปีเดียวกัน โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๔,๕๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๒ เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๙,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ ๑๙ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ ๒๔.๕๐ ล้านกิโลวัตต์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๙ และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๙
ว่าจะพูดเรื่องฝายสินธุกิจปรีชา ทำไมมาลงท้ายที่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลได้ก็ไม่รู้ ? เรื่องชักจะยาว เลยขอหยุดไว้เพียงแค่นี้
...................................................
ข้อมุลจากเวบไซต์ กาญจนาภิเษก และ wikithai.com