คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
มันมีคำต่อรึเปล่าคะ อย่างลักษณ์เฉยๆ อ่านเป็นลัก เพราะมีทัณฑฆาตทำให้กลายเป็นตัวการันต์(ไม่ออกเสียง) แต่ถ้าจะสมาสหรือสนธิกับคำอื่น ต้องเอาทัณฑฆาตออกแล้วทำตามหลักการสมาสหรือสนธิ เหมือนคุ้นๆว่าถ้าท้ายคำหน้าเป็นสระกับต้นคำหลังเป็นสระ ต้องมีการเปลี่ยนสระเพื่อเอาสองคำมาเชื่อมกัน เป็นหลักคำสนธิ แต่ประวัติศาสตร์คาดว่าน่าจะเอาประวัติ กับ ศาสตร์ มาสมาสกัน ทำให้ วัติ อ่านเป็นหวัดติ แต่ปฏิวัติ เป็นพยางค์ท้าย ก็เป็นเสียงเงียบเหมือนภาษาฝรั่งเศสที่มี silent ตัวอย่างอีกคำ เกียรติ อ่านว่าเกียด แต่พอเป็น เกียรติศักดิ์ กลายเป็น เกียด-ติ-สัก เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมคำให้ต่อเนื่อง
แสดงความคิดเห็น
ทำไม "ประวัติศาสตร์" อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด ทำไม "ปฏิวัติ" อ่านว่า ปะ-ติ-วัด
สอนไวยากรณ์ สอนออกเสียง สอนเขียน หลักการออกเสียงจนตอนนี้นักเรียนเก่งแล้วค่ะ
ซึ่งเวลาเราสอนเขียนก็จะมีกฎของการประสมเสียงแบบที่เข้าใจง่ายสำหรับชาวต่างชาติไว้อ้างอิงค่ะ
นักเรียนของเราเป็นคนช่างสังเกตมาก เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเรากำลังให้เค้าฝึกเขียนตามคำบอกนักเรียนก็เขียนได้ดี
จนมาถึงคำว่า ""ประวัติศาสตร์" กับ "ปฏิวัติ"
ถ้าตามกฎแล้ว "วัติ" จะออกเสียงเป็น "วัด" เช่น ปฏิวัติ อนุวัติ
หมายความว่า โดยปกติ ถ้าเป็นรูปแบบตามนี้
"พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ+สระเสียงสั้น+ตัวสะกดเป็นแม่กด"
ผลลัพท์หลังประกอบกันออกมาจะได้เป็น "คำศัพท์เสียงไม้ตรี"
เช่น วัติ = ว (อักษรต่ำ) + สระ อะ + ด = วัด อันนี้คือตามกฏค่ะ
แต่ทำไม "ประวัติศาสตร์" ถึงได้ออกเสียงเป็น ประ-หวัด-ติ-สาด คะ
ทำไมไม่เป็นไปตามกฎคือออกเสียงเป็น ประ-วัด-ติ-สาด อ่ะ
อาทิตย์ที่แล้วพยายามนึกหาเหตุผลบอกนักเรียนไม่ได้เลยขอติดเป็นการบ้านไว้ค่ะวันนี้จะต้องไปสอน
ใครพอทราบขอความกรุณาชี้แนะด้วยค่ะ T_T
ขอบคุณมากค่ะ