อกาลิโก ต้องแปลว่า ไม่มีเรื่องเวลามาครั่นกลาง จึงจะถูกต้อง

อกาลิโก ต้องแปลว่า ไม่มีเรื่องเวลามาครั่นกลาง หรือ ปฏิบัติเมื่อไรก็ได้ผลเมื่อนั้นจึงจะถูกต้อง

ไม่ใช่แปลว่า ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้ ไม่ขึ้นอยู่กับยุคสมัย  ถ้าแปลอย่างนี้มันก็แสดงว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นมันก็เป็นคำสอนธรรมดาๆเหมือนคำสอนของศาสนาอื่น

อย่างเช่น คำว่า นรก ถ้าหมายถึง ทำชั่ววันนี้ ตายไปแล้วถึงจะไปตกนรก,  ส่วนสวรรค์ ถ้าหมายถึง ทำดีวันนี้ ตายไปแล้วถึงจะได้ไปขึ้นสวรรค์บนฟ้า, หรือ นิพพาน ถ้าหมายถึง ปฏิบัติชาตินี้ เมื่อตายแล้วจะไม่เกิดอีก เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเวลาทั้งสิ้น คือไม่เกิดผลในทันทีที่กระทำอยู่ (ไม่เป็นอกาลิโก) รวมทั้งไม่เป็นสันทิฏฐิโก (เห็นแจ้งเอง) อีกด้วย

นรก สวรรค์ และนิพพาน ที่เป็นสันทิฏฐิโก (เห็นแจ้งเอง) อะกาลิโก (ไม่มีเวลาครั่นกลาง) ที่เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านั้นก็คือ เมื่อทำผิด ทำชั่ว แล้วร้อนใจอย่างกับถูกไฟเผา ก็เรียกว่า นรก เมื่อทำดีแล้วสุขใจ อิ่มใจ ก็เรียกว่า สวรรค์ เมื่อจิตไม่มีกิเลส (แม้เพียงชั่วคราว) ก็เรีกยว่า นิพพาน เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่