ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ไม่ใช่ได้มาเพราะโชคช่วย

กระทู้สนทนา
ปี 2496 รายได้หลักของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษีข้าว 32% ข้าวมีความสำคัญมาก ภาคกลางจึงมีโครงการชลประทานมากมาย
โครงการที่ใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ เขื่อนเจ้าพระยา
เขื่อนเจ้าพระยา แนะนำโดย Sir Thomas Ward ปี พ.ศ.2458 เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารและความแน่นอนในการผลิต
แต่ได้สร้างจริงๆและเปิดเขื่อนในปี พ.ศ. 2500 ทำให้พื้นที่ภาคกลางตอนล่างทั้งหมดไม่ต้องรอฝนอีกต่อไป แก้ปัญหาน้ำท่วมได้ด้วย
และเพิ่มผลผลิตข้าวอีกปีละ 500,000 ตันต่อปี พอถึงปี 2506 เราจึงแซงพม่าเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกด้วยยอดเกือบ 2 ล้านตัน

น้ำท่วม ฝนแล้ง เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ทำลายธรรมชาติ จริงหรือ?
ก่อนปี พ.ศ.2500 ประเทศไทยประสบภัยธรรมชาติบ่อยจนเป็นเรื่องปกติ
ทุกปีจะแล้งปลายฝน ต้องรอนาน กว่าจะถึงหน้าฝนถัดไป ทำได้แค่นาปี คือต้องรอฝนอย่างเดียว
บางปีฝนจะมาเร็ว/มากกว่าปกติ น้ำจะท่วม ผลผลิตเสียหาย เช่นปี 2460, 2485, 2501
โดยที่ผืนป่ามากกว่า 80% ไม่ได้ช่วยอะไรเลย น้ำป่าไหลหลากยังคงมี ภัยแล้งยังคงมี ราวกับเป็นวัฏจักรธรรมชาติ
แม่น้ำจากภาคเหนือทั้งหมดที่ไหลลงสู่ภาคกลางมีปริมาณ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หากผิดจากนี้สัก 5 - 10 % ก็ท่วม/แล้ง แล้ว
เช่นปี 2501 ปริมาณน้ำมากเกินกว่าที่แม่น้ำในภาคกลางจะรับได้เพียง 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็ล้นตลิ่ง ก็ท่วมผลผลิตเสียหายหมด
การที่แต่ละปี ฝนจะมากบ้างน้อยบ้าง 10-20% เป็นเรื่องปกติ หากควบคุมได้แม้เพียง 10-20% ก็จะจัดการปัญหาได้เกือบหมด
หลังจากมีเขื่อนภูมิพลซึ่งมีความจุถึง 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่ปี 2504 น้ำป่าไหลหลากที่สเกลนี้ไม่เกิดอีกเลย
ภัยธรรมชาติหายไป นอกจากจะเกิดขึ้นจากการจัดการที่ผิดพลาดของมนุษย์

เขื่อนทำลายป่าจริงหรือ
แม่น้ำปิงส่งน้ำมายังภาคกลางปีละ 6600 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ 33800 ตารางกิโลเมตร เป็นป่า 26000 ตารางกิโลเมตร
เขื่อนภูมิพลมีพื้นที่อ่างเพียง 300 ตารางกิโลเมตร เท่ากับว่าสูญเสียป่าไป 1.1% แต่เก็บน้ำได้ถึง 12000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นการสูญเสียที่คุ้มค่า
ลุ่มน้ำปิงยังมีความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนแต่ละปี มากและน้อยกว่าปกติถึง 40% ทำให้ยามแล้ง แล้งหนัก ยามท่วม ท่วมหนักถึงภาคกลาง
ข้อมูลในยุคเก่าแสดงให้เห็นว่า ป่าไม่ได้เป็นสิ่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง หรือชะลอไม่ให้น้ำท่วมในปีที่ฝนตกมาก อย่างที่เข้าใจกัน
ปัจจุบันเรามีความมั่นคงทางน้ำมากเป็นผลมาจากการทำงานหนักของกรมชลฯในอดีต ซึ่งยังไม่มี NGO
ป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด มีสัตว์ป่าชุกชุมที่สุด คือพื้นที่รอบอ่างเหนือเขื่อน แม้แต่นกหายากที่อพยพประจำปียังแวะเวียนอ่างเก็บน้ำไม่ยอมไปไหน
จึงเป็นเรื่องที่ขาดข้อมูลอย่างยิ่งที่จะบอกว่า เขื่อนทำลายป่า เขื่อนเพียงแต่ขอพื้นที่อันน้อยนิด เพื่อช่วยป่าที่เหลืออยู่ให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นต่างหาก

ป่าปัจจุบันหายไปไหนหมด (โปรดดูกูเกิลเอิร์ธประกอบ)
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเพียง 20% จากที่เคยมีถึง 80% ในอดีต เป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าถึง 98% เป็นเขื่อนเพียง 2%
ส่วนใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากประชากรที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีประชากรเกือบคงที่ พื้นที่ป่าเริ่มคงตัวแล้วยังมีการปลูกอีก
แต่การจัดการน้ำยังไม่ 100% เรามีพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 43000 ตารางกิโลเมตร จากจำนวนพื้นที่มีศักยภาพ 91000 ตารางกิโลเมตร
เท่ากับว่า มี่พื้นที่เพียง 47% ที่ได้ประโยชน์จากเขื่อน กรมชลฯยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก คงสำเร็จภายใน 20-30 ปีนี้หากไม่มีการต่อต้าน
การสร้างเขื่อนจึงมีผลกระทบน้อยมากต่อการลดพื้นที่ป่า ดังนั้น NGO ควรตื่นตัวกับคนลักลอบตัดไม้ทำลายป่ามากกว่าที่จะต่อต้านเขื่อน
การเอาภาพเขื่อนกับป่ามาเป็นศัตรูกันจึงเป็นเรื่องจับแพะชนแกะ คนที่เชื่อในเรื่องนี้ควรมีความละอายในความไม่รู้และหาข้อมูลมากกว่านี้

พื้นที่ชลประทาน กับพื้นที่นอกชลประทาน ชีวิตเกษตรกรต่างกันมากแค่ไหน
ขอไม่พูดยาวเรื่องนี้ หากคุณผู้อ่านมีใจเป็นธรรมคงเข้าใจว่าทำไมคนอีสานจึงยากจน และอพยพเข้าเมืองมาทำงานตามฤดูกาล
อยากให้ดูแผนที่ชลประทานและแผนที่น้ำฝนพร้อมกัน
ภาคใต้มีธรรมชาติประทานฝนมาให้ เพราะพื้นที่แคบยาวยื่นไปในทะเล ไม่ว่าลมร้อนหรือลมหนาวก็พัดผ่านทะเลพาฝนมาให้ตลอดปี
ภาคกลางก็มีโครงการชลประทานมาต่อเนื่องถึง 100 ปีแล้ว ส่วนภาคเหนือพัฒนามาแล้ว 50 ปี เพราะมีภูเขาเยอะจึงถูกพิจารณาสร้างเขื่อนก่อน
ส่วนภาคอีสานนอกจากมีภูมิประเทศเป็นดินทรายจำนวนมากแล้ว ยังไม่ค่อยมีภูเขาให้สร้างเขื่อน ถึงสร้างได้ก็เก็บน้ำได้ไม่มาก
การลงทุนชลประทานในภาคอีสานจึงมีครอบคลุมพื้นที่ชลประทานได้น้อย เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ของพื้นที่
หากคุณเลือกเกิดได้ คงไม่อยากเป็นชาวนา แต่หากคุณเป็นชาวนาคุณคงเลือกเกิดในพื้นที่มีชลประทาน เพราะทำนาได้ปีละสามครั้ง
ย่อมมีรายได้เป็นสามเท่าของเกษตรกรนอกพื้นที่ชลประทาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่