
“ลูกจ้างขี่มอไซค์ เจ้านายขี่ม้า”
มาลิคเป็ผู้กำกับที่ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดบรรยากาศ ฉากๆหนึ่ง เขาไม่ได้ถ่ายเพียงแค่ตัวละครที่ต้องออกแสดงในฉากนั้น เขายังเก็บบรรยากาศที่ล้อมรอบตัวละครขณะนั้น นั่นหมายถึงทั้งภาพและเสียงที่ถูกบันทึกอย่างบรรจง แต่ก็ใช่ว่าเขาถ่ายเล่นๆ เพื่อให้หนังของเขาเป็นที่เพลิดเพลินสายตา เพราะสิ่งที่เขาถ่ายล้วนแล้วแต่มีความหมายแฝงเร้น สิงห์สาราสัตว์ สายน้ำที่ไหลริน สายลมที่พัดทุ่งหญ้า การละเล่นรอบกองไฟของเหล่าคนงาน ภาพเหล่านั้นถูกถ่ายทอดอย่างมีมิติ เสมือนว่าเราได้ไปมีส่วนร่วมกับตัวละคร ไม่ใช่เพียงแค่ภาพที่ตั้งอยู่ตรงหน้าเราที่กลวงเปล่าระนาบเดียว
Days of Heaven เป็นเรื่องราวการดิ้นรนของผู้คนในยุคต้นๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 บิล ชายหนุ่มชนชั้นแรงงาน เป็นแฟนกับแอบบี้ ส่วนลินดาเป็นน้องสาวต่างวัยของแอบบี้ พวกเขาน่าจะมีรกรากมาจากชิคาโก้ เมืองใหญ่ที่กำลังกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรม บิลมีเรื่องกับคนในโรงงานหลอมเหล็ก และต้องหนีคดีไปทำงานในไร่ข้าว ที่มีเจ้าของเป็นชายหนุ่มที่ป่วยด้วยโรคปริศนาและเหลือเวลาให้ชีวิตอีกไม่นาน

บิลและแอบบี้เมื่ออยู่ในสังคมคนงานในไร่ พวกเขาก็ไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นแฟนกัน เพื่อปกกันการเป็นที่ซุบซิบนินทาของเพื่อนร่วมงาน เจ้าของไร่ตกหลุมรักแอบบี้และจะขอเธอแต่งงาน เธอเอาเรื่องนี้ไปบอกบิล ตกลกให้เธอแต่งงาน จนแล้วจนรอด เจ้าของไร่ก็จับได้ว่าพวกเขาเป็นแฟนกัน นำไปสู่เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลด
บิลมาจากเมืองใหญ่ เป็นตัวแทนของสังคมอเมริกันที่เปลี่ยนแปลงจากรากฐานเดิมของพวกเขาคือเกษตรกรรมกลายไปเป็นสังคมสมัยใหม่ (อุตสาหกรรม) เข้าดูจริงใจ แต่เจ้าเล่ห์ เห็นแก่เงิน ยอมแลกแฟนที่ตนเองรักเพื่อจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภาพงานแต่งงาน บ้านหลังใหญ่ เตียงนอนนุ่มสบาย ชีวิตที่ไม่ต้องดิ้นรน สิ่งเหล่านี้คือความต้องการของเขา การที่แอบบี้ได้แต่งงานกับเจ้าของไร่ก็เหมือนเป็นภาพความฝันที่เขาหวังว่าจะได้ทำอย่างนั้นกับแอบบี้

แอบบี้เปรียบได้กับคนที่กำลังสับสน ว้าวุ่นกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ตอนแรกเธอชอบบิล แต่แล้วด้วยความสุขสบายอย่างที่เธอไม่เคยสัมผัสมาก่อนในชีวิตเมื่อได้อยู่กับเจ้าของไร่ เธอก็หลงรักเขา แต่ก็ไม่อาจทิ้งบิลไปได้ ราวกับเธอหลงทางอยู่ในสังคมที่วุ่นวาย ไม่กล้าที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือกลับไปตั้งหลัก
เจ้าของไร่เปรียบได้กับรากหญ้าวัฒนธรรมของอเมริกัน เขามั่งคั่งจากธุรกิจไร่ของเขา มีบ้านใหญ่โต แต่ก็โดเดี่ยว นั่นอาจหมายถึงว่า แนวโน้นคนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมน้อยลง ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านไม่มี เขาใช้ชีวิตที่ผ่านมากับการสร้างฐานะ ไม่มีเวลาให้กับความรัก ดังนั้นแอบบี้สำหรับเขาคือที่พึ่งสุดท้าย เป็นประสบการณ์ใหม่ เช่นเดียวกับแอบบี้ที่ได้ลิ้มรสความสุขสบายจากเงินทอง

คนงานที่ผ่านไปมา ผลัดเปลี่ยนวนเวียนกันมารับงาน ก็เปรียบกับผู้คนในยุคสมัยใหม่ที่ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ขายที่นาให้นายทุนเองไปสร้างโรงงาน ขาดความมั่นคงในชีวิต ร่อนเร่ และฝันลมๆ แล้งๆกับความร่ำรวยจากการเป็นลูกจ้าง
ฝูงตั๊กแตนที่มาบุกไร่ของเขา พร้อมกับเพลิงใหม่และความตายของเจ้าของไร่ นั่นจึงสื่อถึงการล่มสลายของระบบเกษตรกรรม อเมริกันเข้าสู่ระบอบทุนนิยมอย่างสมบูรณ์แบบ หนังยังเหน็บแนมว่าระบอบนี้นำชาติเข้าสู่การรบในสงครามโลก สุดท้ายแอบบี้ก็ไปกับพวกทหาร (ออกจะเป็นในเชิงโสเภณี)
ในหนังยังมีช่วงที่เหล่าคณะละครสัตว์มาฉายหนังของชาลี แชปลินซึ่งเขาเป็นผู้กำกับหนังที่มักเสียดสีถึงประเด็น Modernization อย่างใน Modern Times (1936), City Lights (1931) และอีกหลายๆ เรื่อง
ลินดา น้องสาวแอบบี้จึงเป็นตัวแทนของเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นมาในยุคสมัยที่เงินเป็นพระเจ้า เธอดูโตกว่าวัย สูบบุหรี่ ตอนจบพี่สาวเธอก็เอาเธอไปฝากไว้น่าจะเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งเรารู้สึกว่าเธอดูโตกว่าจะอยู่ที่นั่นมาก เธอเล่าให้เราฟังว่า “บางครั้งเธอก็รู้สึกว่าแก่แล้ว เหมือนกับผ่านอะไรมาเยอะ” สุดท้ายเธอกับสาวรุ่นก็แอบหนีออกมาจากสถานรับเลี้ยง แล้วเดินไปบนเส้นทางรถไฟ สายเดียวกันกับที่พาเหล่าทหารและแอบบี้ไปสู่สงคราม ความอัปยศของอเมริกันชน
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: Days of Heaven {Terrence Malick} [USA], 1978
“ลูกจ้างขี่มอไซค์ เจ้านายขี่ม้า”
มาลิคเป็ผู้กำกับที่ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดบรรยากาศ ฉากๆหนึ่ง เขาไม่ได้ถ่ายเพียงแค่ตัวละครที่ต้องออกแสดงในฉากนั้น เขายังเก็บบรรยากาศที่ล้อมรอบตัวละครขณะนั้น นั่นหมายถึงทั้งภาพและเสียงที่ถูกบันทึกอย่างบรรจง แต่ก็ใช่ว่าเขาถ่ายเล่นๆ เพื่อให้หนังของเขาเป็นที่เพลิดเพลินสายตา เพราะสิ่งที่เขาถ่ายล้วนแล้วแต่มีความหมายแฝงเร้น สิงห์สาราสัตว์ สายน้ำที่ไหลริน สายลมที่พัดทุ่งหญ้า การละเล่นรอบกองไฟของเหล่าคนงาน ภาพเหล่านั้นถูกถ่ายทอดอย่างมีมิติ เสมือนว่าเราได้ไปมีส่วนร่วมกับตัวละคร ไม่ใช่เพียงแค่ภาพที่ตั้งอยู่ตรงหน้าเราที่กลวงเปล่าระนาบเดียว
Days of Heaven เป็นเรื่องราวการดิ้นรนของผู้คนในยุคต้นๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 บิล ชายหนุ่มชนชั้นแรงงาน เป็นแฟนกับแอบบี้ ส่วนลินดาเป็นน้องสาวต่างวัยของแอบบี้ พวกเขาน่าจะมีรกรากมาจากชิคาโก้ เมืองใหญ่ที่กำลังกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรม บิลมีเรื่องกับคนในโรงงานหลอมเหล็ก และต้องหนีคดีไปทำงานในไร่ข้าว ที่มีเจ้าของเป็นชายหนุ่มที่ป่วยด้วยโรคปริศนาและเหลือเวลาให้ชีวิตอีกไม่นาน
บิลและแอบบี้เมื่ออยู่ในสังคมคนงานในไร่ พวกเขาก็ไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นแฟนกัน เพื่อปกกันการเป็นที่ซุบซิบนินทาของเพื่อนร่วมงาน เจ้าของไร่ตกหลุมรักแอบบี้และจะขอเธอแต่งงาน เธอเอาเรื่องนี้ไปบอกบิล ตกลกให้เธอแต่งงาน จนแล้วจนรอด เจ้าของไร่ก็จับได้ว่าพวกเขาเป็นแฟนกัน นำไปสู่เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลด
บิลมาจากเมืองใหญ่ เป็นตัวแทนของสังคมอเมริกันที่เปลี่ยนแปลงจากรากฐานเดิมของพวกเขาคือเกษตรกรรมกลายไปเป็นสังคมสมัยใหม่ (อุตสาหกรรม) เข้าดูจริงใจ แต่เจ้าเล่ห์ เห็นแก่เงิน ยอมแลกแฟนที่ตนเองรักเพื่อจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภาพงานแต่งงาน บ้านหลังใหญ่ เตียงนอนนุ่มสบาย ชีวิตที่ไม่ต้องดิ้นรน สิ่งเหล่านี้คือความต้องการของเขา การที่แอบบี้ได้แต่งงานกับเจ้าของไร่ก็เหมือนเป็นภาพความฝันที่เขาหวังว่าจะได้ทำอย่างนั้นกับแอบบี้
แอบบี้เปรียบได้กับคนที่กำลังสับสน ว้าวุ่นกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ตอนแรกเธอชอบบิล แต่แล้วด้วยความสุขสบายอย่างที่เธอไม่เคยสัมผัสมาก่อนในชีวิตเมื่อได้อยู่กับเจ้าของไร่ เธอก็หลงรักเขา แต่ก็ไม่อาจทิ้งบิลไปได้ ราวกับเธอหลงทางอยู่ในสังคมที่วุ่นวาย ไม่กล้าที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือกลับไปตั้งหลัก
เจ้าของไร่เปรียบได้กับรากหญ้าวัฒนธรรมของอเมริกัน เขามั่งคั่งจากธุรกิจไร่ของเขา มีบ้านใหญ่โต แต่ก็โดเดี่ยว นั่นอาจหมายถึงว่า แนวโน้นคนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมน้อยลง ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านไม่มี เขาใช้ชีวิตที่ผ่านมากับการสร้างฐานะ ไม่มีเวลาให้กับความรัก ดังนั้นแอบบี้สำหรับเขาคือที่พึ่งสุดท้าย เป็นประสบการณ์ใหม่ เช่นเดียวกับแอบบี้ที่ได้ลิ้มรสความสุขสบายจากเงินทอง
คนงานที่ผ่านไปมา ผลัดเปลี่ยนวนเวียนกันมารับงาน ก็เปรียบกับผู้คนในยุคสมัยใหม่ที่ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ขายที่นาให้นายทุนเองไปสร้างโรงงาน ขาดความมั่นคงในชีวิต ร่อนเร่ และฝันลมๆ แล้งๆกับความร่ำรวยจากการเป็นลูกจ้าง
ฝูงตั๊กแตนที่มาบุกไร่ของเขา พร้อมกับเพลิงใหม่และความตายของเจ้าของไร่ นั่นจึงสื่อถึงการล่มสลายของระบบเกษตรกรรม อเมริกันเข้าสู่ระบอบทุนนิยมอย่างสมบูรณ์แบบ หนังยังเหน็บแนมว่าระบอบนี้นำชาติเข้าสู่การรบในสงครามโลก สุดท้ายแอบบี้ก็ไปกับพวกทหาร (ออกจะเป็นในเชิงโสเภณี)
ในหนังยังมีช่วงที่เหล่าคณะละครสัตว์มาฉายหนังของชาลี แชปลินซึ่งเขาเป็นผู้กำกับหนังที่มักเสียดสีถึงประเด็น Modernization อย่างใน Modern Times (1936), City Lights (1931) และอีกหลายๆ เรื่อง
ลินดา น้องสาวแอบบี้จึงเป็นตัวแทนของเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นมาในยุคสมัยที่เงินเป็นพระเจ้า เธอดูโตกว่าวัย สูบบุหรี่ ตอนจบพี่สาวเธอก็เอาเธอไปฝากไว้น่าจะเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งเรารู้สึกว่าเธอดูโตกว่าจะอยู่ที่นั่นมาก เธอเล่าให้เราฟังว่า “บางครั้งเธอก็รู้สึกว่าแก่แล้ว เหมือนกับผ่านอะไรมาเยอะ” สุดท้ายเธอกับสาวรุ่นก็แอบหนีออกมาจากสถานรับเลี้ยง แล้วเดินไปบนเส้นทางรถไฟ สายเดียวกันกับที่พาเหล่าทหารและแอบบี้ไปสู่สงคราม ความอัปยศของอเมริกันชน
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยนะครับ https://www.facebook.com/survival.king