งบฯ ทหาร แห่ง "อุษาคเนย์" ไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่???
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 13:32:00 น.
เทศมองไทย
งบฯ ทหาร แห่ง "อุษาคเนย์"
มติชนสุดสัปดาห์ 5-11 มิถุนายน 2558
ผมเป็นคน "ไม่คล่องแคล่ว" เรื่องตัวเลขครับ แต่พยายามให้ความสนใจตัวเลขอยู่เหมือนกัน เพราะเข้าใจดีว่า หลายครั้งหลายคราว "ตัวเลข" ก็อมความ อมพะนำอะไรๆ เอาไว้ในตัวมันมากมายไม่ใช่น้อย
อย่างเช่น ตัวเลขเรื่องงบประมาณทางด้านการทหาร หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "งบฯ ทหาร" หรือ "งบฯ กลาโหม" นั่นแหละครับ
สถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพนานาชาติแห่งสตอกโฮล์ม (เอสไอพีอาร์ไอ บางคนก็เรียกว่า ซิปรี) เขาจัดทำฐานข้อมูลเรื่องงบประมาณทางทหารของแต่ละประเทศออกมาเป็นประจำทุกปี
ล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาเมื่อราวต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซิปรีให้ตัวเลขงบประมาณทางด้านการทหารออกมาจนกระทั่งถึงงบฯ ประจำปี 2014 มีตัวเลขหลากหลายด้านให้ทำความเข้าใจเต็มพรืดไปหมด
ดร.ซาคารีอาบูซานักวิชาการด้านความมั่นคงและการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวอเมริกัน จับตัวเลขทั้งหลายมาเรียงกันเข้าไว้ให้เห็นภาพและเข้าใจได้ถึง "เทรนด์" ของงบฯ ทหารในภูมิภาคอุษาคเนย์ได้อย่างน่าสนใจ จนต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง
ดร.อาบูซา จับงบฯ ตั้งแต่ปี 2010 เรื่อยมาจนถึงปี 2014 มาเทียบเคียงเข้าด้วยกันแล้วพบว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มงบฯ ทหารกันทุกประเทศ เฉลี่ยแล้วแต่ละประเทศเพิ่มขึ้นราว 37.6 เปอร์เซ็นต์ ที่ทำให้งบฯ รวมทั้งภูมิภาคในปี 2014 ทะยานพรวดเป็น 38,200 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยกลมๆ 1.26 ล้านล้านบาท
ข้อมูลของซิปรีแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เวียดนาม เพิ่มงบฯ ทหารขึ้นมากที่สุด 59.1 เปอร์เซ็นต์ ต่อด้วยกัมพูชา 56.2 เปอร์เซ็นต์ และอินโดนีเซีย 50.6 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนั้นเป็นการเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาค
แต่ในเวลาเดียวกันก็น่าสังเกตว่าเกิดอาการ"เพิ่มพรวด"ของงบฯ ทหารในช่วงระหว่างปี 2013 กับ 2014 เทียบกับปี 2013 ในหลายประเทศ
ที่น่าสนใจคือบรูไนเพิ่มมากสุด 28.2 เปอร์เซ็นต์, กัมพูชา 14.4 เปอร์เซ็นต์, เวียดนาม 14.1 เปอร์เซ็นต์
ถ้าถามว่า ประเทศไหนในอุษาคเนย์ ใช้งบฯ ทหารมากที่สุดในปี 2014 คำตอบคือ "สิงคโปร์" ครับ งบประมาณด้านกลาโหมของสิงคโปร์ประเทศเดียวปาเข้าไปราว 1 ใน 4 ของงบฯ ทหารทั้งภูมิภาค
หรือเท่าๆ กับการเอางบฯ ของ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และพม่า 3 ประเทศรวมกัน
สิงคโปร์ใช้งบประมาณไปในกิจการทหารเมื่อปี 2014 สูงถึง 9,841 ล้านดอลลาร์ (26 เปอร์เซ็นต์ของภูมิภาค) รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย 7,020 ล้านดอลลาร์ (18 เปอร์เซ็นต์) แล้วจึงเป็นไทย (15 เปอร์เซ็นต์) ต่อด้วยมาเลเซีย (13 เปอร์เซ็นต์)
ดร.อาบูซา ยังคำนวณสัดส่วนของงบฯ ทหารต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของแต่ละประเทศเอาไว้ด้วย ประเทศที่ใช้งบทางด้านการทหารสูงที่สุดเมื่อเทียบสัดส่วนกับจีดีพีของประเทศ คือ พม่า สัดส่วนสูงถึง 4.3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีทั้งหมด รองลงมาเป็นสิงคโปร์ (3.3 เปอร์เซ็นต์) บรูไน (3 เปอร์เซ็นต์) เวียดนาม 2.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไทยอยู่ที่ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
เมื่อเทียบงบฯ ทหารกับสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของรัฐบาลในปี 2014 สิงคโปร์ นำโด่งเป็นอันดับ 1 เหมือนเดิม ที่ 18.3 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายของรัฐทั้งหมด ต่อด้วย พม่า 13 เปอร์เซ็นต์ บรูไน 9.3 เปอร์เซ็นต์ และเวียดนาม 8.3 เปอร์เซ็นต์
ทีนี้ขอโฟกัสไปที่เรื่องของไทยเราโดยเฉพาะข้อมูลวิเคราะห์ของดร.อาบูซา โดยอาศัยฐานข้อมูลจากซิปรี ว่าเอาไว้อย่างนี้ครับ
ก่อนหน้าการรัฐประหารในปี 2006 งบฯ ทหารของไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ค่อยมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังการรัฐประหาร "ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยมีภัยคุกคามที่มีนัยสำคัญ" หลังการรัฐประหาร 2006 เรื่อยมา งบฯ ทหารเพิ่มขึ้น 44.3 เปอร์เซ็นต์
ระหว่างปี 2008-2014 ที่เป็นช่วงของรัฐบาลพลเรือน งบฯ ทหารยังคงเพิ่มขึ้น 28.3 เปอร์เซ็นต์ (ในความเห็นของ ดร.อาบูซา ชี้ว่าเป็นเพราะต้องเอาใจไม่ให้ทหารปฏิวัติ) แต่ถ้าเทียบระหว่างปี 2006 กับปี 2014 สัดส่วนการเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 4 เท่าตัว
งบประมาณด้านการทหารของไทยในปี 2014 รวม 5,730 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน หรือคิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของงบฯ ทหารทั้งอาเซียน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 4.9 เปอร์เซ็นต์
แต่ถ้าเทียบกับเมื่อปี 2010 แล้ว สัดส่วนของการเพิ่มจะสูงขึ้นเป็น 15.5 เปอร์เซ็นต์
ที่น่าสนใจก็คือ งบฯ ทหารของไทยในปี 2014 ยังคิดเป็นเพียงแค่ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 2.2 เปอร์เซ็นต์ และคิดเป็นเพียง 6.6 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด
ดร.อาบูซา บอกว่า ในปี 2015 (ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลของซิปรี) สัดส่วนงบฯ ทหารของไทยยังคงอยู่ที่ระดับ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่เพิ่มสัดส่วนเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด
ค่าเฉลี่ยรายจ่ายด้านการทหารต่อหัวประชากรของไทยอยู่ที่85.30ดอลลาร์ (ราว 2,815 บาท) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่เท่ากับ 392 ดอลลาร์ต่อคน แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย เมื่อไม่นับประเทศเศรษฐีอย่างบรูไนและสิงคโปร์ ที่จะทำให้ค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่เพียง 60 ดอลลาร์ต่อคน เท่านั้นเอง
ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม วันนี้ต่อมความเห็นหยุดทำงานชั่วคราวครับ (ฮา)
งบทหารของไทยก็ไม่ได้สูงมากมายเลยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 13:32:00 น.
เทศมองไทย
งบฯ ทหาร แห่ง "อุษาคเนย์"
มติชนสุดสัปดาห์ 5-11 มิถุนายน 2558
ผมเป็นคน "ไม่คล่องแคล่ว" เรื่องตัวเลขครับ แต่พยายามให้ความสนใจตัวเลขอยู่เหมือนกัน เพราะเข้าใจดีว่า หลายครั้งหลายคราว "ตัวเลข" ก็อมความ อมพะนำอะไรๆ เอาไว้ในตัวมันมากมายไม่ใช่น้อย
อย่างเช่น ตัวเลขเรื่องงบประมาณทางด้านการทหาร หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "งบฯ ทหาร" หรือ "งบฯ กลาโหม" นั่นแหละครับ
สถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพนานาชาติแห่งสตอกโฮล์ม (เอสไอพีอาร์ไอ บางคนก็เรียกว่า ซิปรี) เขาจัดทำฐานข้อมูลเรื่องงบประมาณทางทหารของแต่ละประเทศออกมาเป็นประจำทุกปี
ล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาเมื่อราวต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซิปรีให้ตัวเลขงบประมาณทางด้านการทหารออกมาจนกระทั่งถึงงบฯ ประจำปี 2014 มีตัวเลขหลากหลายด้านให้ทำความเข้าใจเต็มพรืดไปหมด
ดร.ซาคารีอาบูซานักวิชาการด้านความมั่นคงและการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวอเมริกัน จับตัวเลขทั้งหลายมาเรียงกันเข้าไว้ให้เห็นภาพและเข้าใจได้ถึง "เทรนด์" ของงบฯ ทหารในภูมิภาคอุษาคเนย์ได้อย่างน่าสนใจ จนต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง
ดร.อาบูซา จับงบฯ ตั้งแต่ปี 2010 เรื่อยมาจนถึงปี 2014 มาเทียบเคียงเข้าด้วยกันแล้วพบว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มงบฯ ทหารกันทุกประเทศ เฉลี่ยแล้วแต่ละประเทศเพิ่มขึ้นราว 37.6 เปอร์เซ็นต์ ที่ทำให้งบฯ รวมทั้งภูมิภาคในปี 2014 ทะยานพรวดเป็น 38,200 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยกลมๆ 1.26 ล้านล้านบาท
ข้อมูลของซิปรีแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เวียดนาม เพิ่มงบฯ ทหารขึ้นมากที่สุด 59.1 เปอร์เซ็นต์ ต่อด้วยกัมพูชา 56.2 เปอร์เซ็นต์ และอินโดนีเซีย 50.6 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนั้นเป็นการเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาค
แต่ในเวลาเดียวกันก็น่าสังเกตว่าเกิดอาการ"เพิ่มพรวด"ของงบฯ ทหารในช่วงระหว่างปี 2013 กับ 2014 เทียบกับปี 2013 ในหลายประเทศ
ที่น่าสนใจคือบรูไนเพิ่มมากสุด 28.2 เปอร์เซ็นต์, กัมพูชา 14.4 เปอร์เซ็นต์, เวียดนาม 14.1 เปอร์เซ็นต์
ถ้าถามว่า ประเทศไหนในอุษาคเนย์ ใช้งบฯ ทหารมากที่สุดในปี 2014 คำตอบคือ "สิงคโปร์" ครับ งบประมาณด้านกลาโหมของสิงคโปร์ประเทศเดียวปาเข้าไปราว 1 ใน 4 ของงบฯ ทหารทั้งภูมิภาค
หรือเท่าๆ กับการเอางบฯ ของ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และพม่า 3 ประเทศรวมกัน
สิงคโปร์ใช้งบประมาณไปในกิจการทหารเมื่อปี 2014 สูงถึง 9,841 ล้านดอลลาร์ (26 เปอร์เซ็นต์ของภูมิภาค) รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย 7,020 ล้านดอลลาร์ (18 เปอร์เซ็นต์) แล้วจึงเป็นไทย (15 เปอร์เซ็นต์) ต่อด้วยมาเลเซีย (13 เปอร์เซ็นต์)
ดร.อาบูซา ยังคำนวณสัดส่วนของงบฯ ทหารต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของแต่ละประเทศเอาไว้ด้วย ประเทศที่ใช้งบทางด้านการทหารสูงที่สุดเมื่อเทียบสัดส่วนกับจีดีพีของประเทศ คือ พม่า สัดส่วนสูงถึง 4.3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีทั้งหมด รองลงมาเป็นสิงคโปร์ (3.3 เปอร์เซ็นต์) บรูไน (3 เปอร์เซ็นต์) เวียดนาม 2.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไทยอยู่ที่ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
เมื่อเทียบงบฯ ทหารกับสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของรัฐบาลในปี 2014 สิงคโปร์ นำโด่งเป็นอันดับ 1 เหมือนเดิม ที่ 18.3 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายของรัฐทั้งหมด ต่อด้วย พม่า 13 เปอร์เซ็นต์ บรูไน 9.3 เปอร์เซ็นต์ และเวียดนาม 8.3 เปอร์เซ็นต์
ทีนี้ขอโฟกัสไปที่เรื่องของไทยเราโดยเฉพาะข้อมูลวิเคราะห์ของดร.อาบูซา โดยอาศัยฐานข้อมูลจากซิปรี ว่าเอาไว้อย่างนี้ครับ
ก่อนหน้าการรัฐประหารในปี 2006 งบฯ ทหารของไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ค่อยมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังการรัฐประหาร "ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยมีภัยคุกคามที่มีนัยสำคัญ" หลังการรัฐประหาร 2006 เรื่อยมา งบฯ ทหารเพิ่มขึ้น 44.3 เปอร์เซ็นต์
ระหว่างปี 2008-2014 ที่เป็นช่วงของรัฐบาลพลเรือน งบฯ ทหารยังคงเพิ่มขึ้น 28.3 เปอร์เซ็นต์ (ในความเห็นของ ดร.อาบูซา ชี้ว่าเป็นเพราะต้องเอาใจไม่ให้ทหารปฏิวัติ) แต่ถ้าเทียบระหว่างปี 2006 กับปี 2014 สัดส่วนการเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 4 เท่าตัว
งบประมาณด้านการทหารของไทยในปี 2014 รวม 5,730 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน หรือคิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของงบฯ ทหารทั้งอาเซียน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 4.9 เปอร์เซ็นต์
แต่ถ้าเทียบกับเมื่อปี 2010 แล้ว สัดส่วนของการเพิ่มจะสูงขึ้นเป็น 15.5 เปอร์เซ็นต์
ที่น่าสนใจก็คือ งบฯ ทหารของไทยในปี 2014 ยังคิดเป็นเพียงแค่ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 2.2 เปอร์เซ็นต์ และคิดเป็นเพียง 6.6 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด
ดร.อาบูซา บอกว่า ในปี 2015 (ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลของซิปรี) สัดส่วนงบฯ ทหารของไทยยังคงอยู่ที่ระดับ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่เพิ่มสัดส่วนเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด
ค่าเฉลี่ยรายจ่ายด้านการทหารต่อหัวประชากรของไทยอยู่ที่85.30ดอลลาร์ (ราว 2,815 บาท) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่เท่ากับ 392 ดอลลาร์ต่อคน แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย เมื่อไม่นับประเทศเศรษฐีอย่างบรูไนและสิงคโปร์ ที่จะทำให้ค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่เพียง 60 ดอลลาร์ต่อคน เท่านั้นเอง
ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม วันนี้ต่อมความเห็นหยุดทำงานชั่วคราวครับ (ฮา)