ทานอุปบารมี ของพระเวสสันดร หมายถึงอะไร ? ชาวพุทธ จะหลับหูหลับตา มโน กันต่อไป หรือไม่ครับ ?

ที่จริงประเด็น อุปบารมีนี้ ถ้าหากรู้จักใช้สติปัญญาพิจารณาให้เต็มประสิทธิภาพ ก็น่าจะสามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ไม่ยากนะครับท่าน
แต่ดูเหมือนว่า ท่านชาวพุทธ บางกลุ่มบางพวก จะทำได้แค่ เสิร์ชหาข้อความที่ต้องการ แล้วรีบเร่งด่วนสรุปแบบจับแพะชนแกะ ซึ่งไร้เหตุไร้ผล เท่านั้นเอง นะครับท่าน

เอาหละ ในเมื่อพวกท่านเป็นผู้มีสติปัญญาน้อยนัก ก็คงพิจารณาหลักฐานอย่างสมเหตุผลด้วยตนเองไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงขออนุญาต อธิบายข้อเท็จจริงให้ฟัง ก็แล้วกันนะครับ

1 ท่านเอิงเอย เป็นผู้พูดเองนะครับว่า การจำแนก บารมี อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี มีอยู่หลายนัย ผมก็แค่ถามคำถามง่ายๆ
ว่า แล้วท่านเอิงเอย ทราบหรือไม่ว่า หลักฐานที่ท่านยกมาแสดงว่า พระเวสสันดร บำเพ็ญทานอุปบารมีนั้น หมายถึงอุปบารมี นัยอะไร ?

การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้ จัดเป็นบารมี
๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือการบำเพ็ญทานในภพที่ตถา
คตเป็นพระเจ้าสิวิราชผู้ประเสริฐเป็นทานบารมี ในภพที่เราเป็น
เวสสันดรและเป็นเวลามพราหมณ์ เป็นทานอุปบารมี
ในภพที่เรา
เป็นอกิติดาบสอดอาหารนั้น เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เราเป็น
พระยาไก่ป่า สีลวนาคและพระยากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมี



ประเด็นนี้ พิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่ยาก ครับท่าน เพราะหลักฐานจากอรรถกถา ได้อธิบายกรณีนี้ เอาไว้เสร็จสรรพแล้วว่า .......




    ลำดับนั้น  พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงเคาะพระทวารนั้น  จึงตรัสทัก
ถามว่า  นั่นใคร  พระนางทูลสนองว่า  หม่อมฉันมัทรี  พระเจ้าค่ะ  พระเวส-
สันดรตรัสว่า  แน่ะนางผู้เจริญ  เธอทำลายกติกาวัตรของเราทั้งสองเสียแล้ว
เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาอันไม่สมควร  พระนางมัทรีกราบทูลว่า  ข้าแต่สมมติ
เทพ  หม่อมฉันมิได้มาเฝ้าด้วยอำนาจกิเลส  ก็แต่ว่าหม่อมฉันฝันร้าย  พระเวส-
สันดรตรัสว่า  ถ้าอย่างนั้นเธอจงเล่าไป  พระนางมัทรีก็เล่าถวายโดยทำนองที่
ทรงสุบินทีเดียว  พระมหาสัตว์ทรงกำหนดพระสุบินนั้นแล้วทรงดำริว่า  ทาน
บารมีของเราจักเต็มรอบ
  พรุ่งนี้จักมียาจกมาขอบุตรี  เราจักยังนางมัทรีให้อุ่น
ใจแล้วจึงกลับไป  ทรงดำริฉะนี้แล้วตรัสว่า  แน่ะมัทรี  จิตของเธอขุ่นมัว
เพราะบรรทมไม่ดี  เสวยอาหารไม่ดี  เธออย่ากลัวเลย  แล้วตรัสโลมเล้าเอา
พระทัย  ให้อุ่นพระหทัยแล้วตรัสส่งให้เสด็จกลับไป.



ก็เป็นอันว่า เราทราบแล้วนะครับ ว่า กรณีพระเวสสันดร จัดเป็นอุปบารมี ด้วยนัยยะใด และด้วยเหตุผลแบบไหน ?
เรื่องนี้ ไม่ต้องจิ้น ไม่ต้องเดา ไม่ต้องจับแพะชนแกะ นะครับท่าน



บารมีเฉยๆ  เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญอภินิหารในบารมีเหล่านั้น  ประกอบด้วยอัธยาศัยน้อมไปในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น.  
อุปบารมีเป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ.  
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า  ปรมัตถบารมีเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว.  

หรือบารมีบำเพ็ญในกาลเริ่มต้น.  
อุปบารมี  บำเพ็ญเต็มแล้วในภูมิของพระโพธิสัตว์.  
ปรมัตถบารมี  บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงในพุทธภูมิ.
  
ฯลฯ

อนึ่งการบริจาคบุตรภรรยาและอุปกรณ์มีทรัพย์เป็นต้นเป็นทานบารมี.  
การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี.
การบริจาคชีวิตของตนเป็นทานปรมัตถบารมี.



2 ประเด็นที่จะต้อง คิด ต่อก็คือ แล้วทานอุปบารมี นัยยะ ดังกล่าวนี้ สามารถนำมาเชื่อโยงกับ ทานอุปบารมี ที่หมายถึง บารมีที่เป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ ได้หรือไม่ ?

ผมขออนุญาตตอบสั้นๆก่อนว่า ไม่ได้ ครับท่าน

เพราะถ้าท่านพิจารณาให้ดีๆ ด้วยสติปัญญาเท่าที่มีอยู่ ก็จะทราบว่า อุปบารมี ที่หมายถึง บำเพ็ญเต็มแล้วในภูมิของพระโพธิสัตว์  เป็นการจำแนกเชิงปริมาณ
ส่วน อุปบารมีเป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ เป็นการจำแนกเชิงคุณภาพ ครับท่าน ดังนั้น จึงไม่สามารถนำมาเทียบกันแล้วสรุปว่า ทานอุปบารมีทั้งสองนัยยะ มีค่าเท่ากัน น่ะครับ



บารมีบำเพ็ญในกาลเริ่มต้น.  ตรงนี้ หมายถึง การบำเพ็ญทานในช่วงเริ่มต้น ซึ่งจำนวนยังไม่มาก
อุปบารมี  บำเพ็ญเต็มแล้วในภูมิของพระโพธิสัตว์.  ตรงนี้ หมายถึง ในชาติที่เป็นพระเวสสันดร ซึ่งทำทานครบเต็มจำนวนพอดี ไม่มีทานชนิดใด ที่ไม่เคยทำอีกต่อไปแล้ว
ปรมัตถบารมี  บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงในพุทธภูมิ. ตรงนี้ หมายถึง หลังจากชาติที่เป็นพระเวสสันดร ไปแล้ว ครับท่าน



ความหมายของประเด็นนี้ ก็คือ การที่จัดว่า พระเวสสันดร เป็น ทานอุปบารมี ในนัยยะที่ว่า บำเพ็ญทานบารมีเต็ม คือ ครบเต็มตามจำนวน ไม่สามารถทำให้สรุปว่า
ทานที่พระเวสสันดรทำนั้น เป็นกรรมขาวล้วนๆ เป็นธรรมขาวล้วนๆ เพราะมันเป็นการจำแนกด้วยเกณฑ์คนละอย่างกัน จึงนำมาเทียบเคียง แล้วสรุปส่งเดชไม่ได้ ครับท่าน


3 แต่เมื่อพิจารณา สองกรณี ที่อ้างถึงนี้ คือ ........

บารมีเฉยๆ  เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญอภินิหารในบารมีเหล่านั้น  ประกอบด้วยอัธยาศัยน้อมไปในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น.  
อุปบารมีเป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ.  
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า  ปรมัตถบารมีเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว.  

กับ

อนึ่งการบริจาคบุตรภรรยาและอุปกรณ์มีทรัพย์เป็นต้นเป็นทานบารมี.  
การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี.
การบริจาคชีวิตของตนเป็นทานปรมัตถบารมี.

ท่านชาวพุทธ จะเห็นว่า เป็นการจำแนก ทานอุปบารมี ในเชิงคุณภาพ เหมือนกัน ดังนั้น จึงมีแต่กรณีแบบนี้เท่านั้น ที่จะสามารถนำมาเทียบเคียงกัน แล้วสรุปความอย่างถูกต้องได้ว่า

การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี. =  อุปบารมีเป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ.  
การบริจาคบุตรภรรยาและอุปกรณ์มีทรัพย์เป็นต้นเป็นทานบารมี. =  บารมีเฉยๆ  เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำ


4 ทีนี้ ชาวพุทธบางท่าน อาจยังสับสนในประเด็น กรรมขาวกรรมดำ ธรรมขาวธรรมดำ ก็ขอให้ท่านชาวพุทธ จงตั้งสติ แล้วระลึกให้ดีๆว่า
บุญทานที่เราทำ จะเป็นธรรมขาวเจือธรรมดำ หรือ กรรมขาวปนกรรมดำ หรือไม่ แท้ที่จริงต้องพิจารณา ทาน ควบคู่กับ ศีล นะครับท่าน
ซึ่งเมื่อพิจารณาตามหลักฐาน จะพบว่า ศีลบารมี จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วย ........ “การไม่ก้าวล่วงเหตุแม้ทั้งสามอย่าง มีบุตรและภรรยาเป็นต้น”



    อนึ่ง  อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า  บุญสมภาร  ญาณสมภาร  อันนำ
ภวสุขมาให้เป็นบารมี.  การนำนิพพานสุขมาให้แก่ตนเป็นอุปบารมี.  การนำ
สุขทั้งสองอย่างนั้นมาให้เป็นปรมัตถบารมี.  อนึ่งการบริจาคบุตรภรรยาและ
อุปกรณ์มีทรัพย์เป็นต้นเป็นทานบารมี
.  การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี.
การบริจาคชีวิตของตนเป็นทานปรมัตถบารมี.  อนึ่งศีลบารมี ๓  อย่างด้วยการ
ไม่ก้าวล่วงเหตุแม้ทั้ง ๓ อย่าง  มีบุตรและภรรยาเป็นต้น.




ดังนั้น คำถามที่เป็นพื้นฐานที่สุดในกรณีนี้ ก็คือ การบริจาคบุตรภรรยา เป็นทานบารมีขั้นต้นแน่ๆ แต่ปัญหาที่พึงพินิจพิเคราะห์ให้ถี่ถ้วน ก็คือ
การยกลูกเมียให้ไปเป็นทาสของผู้อื่น จะถือว่าเป็นการก้าวล่วง เป็นการเบียดเบียน หรือไม่ ?
ถ้าถามผม ผมตอบได้ทันทีว่า การกดขี่ให้คนด้วยกัน ต้องกลายไปเป็นข้าทาสของผู้อื่น ก็ต้องถือว่าเป็นการเบียดเบียนอยู่แล้ว
เพียงแต่ว่า ชาวพุทธหลงยุค บางพวก เขาเห็นว่า การยกลูกเมียให้เป็นข้าทาสผู้อื่น ไม่ผิดบาป ไม่เป็นการเบียดเบียนอะไร
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่า คนในสมัยนี้ ยังมีความคิดล้าหลังแบบนั้นอยู่ได้อย่างไรเหมือนกันนะครับ อันนี้ ท่านชาวพุทธทั้งหลาย ก็คงจะต้องช่วยกันพิจารณาแล้วหละครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่