
อาตมา ได้เห็น ส. ศิวลักษณ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่า เป็น "ปราชญ์ชนสยาม" คือชนผู้รอบรู้ในดินแดนสยาม ได้คุยในรายการ "ต่างคนต่างคิด" กับ ดร. เสถียร ก็ใคร่อยาก ชน ซึ่งแปลว่า "โดนแรง ๆ หรือ ชิดจนติด และ ให้ต่อสู่กัน" กับชนผู้รอบรู้ในดินแดนสยาม บ้าง
ประเด็นที่ ๑ ประชาชนชาวพุทธ ปฏิรูปพระพุทธศาสนา ตอบว่า มีสิทธิ์แต่เป็นเพียงผู้อุปถัมภก เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นศาสนูปถัมภก แต่ถ้าอยากเข้ารวมในการปฎิรูปพระพุทธศาสนา ต้องดูว่า แนวทางที่จะปฎิรูป และขอบเขตของการปฏิรูป และสำคัญคือ บุคคลที่จะเข้ารวมต้องเป็นผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเป็นผู้ไม่มีอคติ ๔ คือ ๑. ลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ ๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบ เรียกว่า โทสาคติ
๓. ลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ ๔. ลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ แต่ก็ต้องมี องค์คณะสงฆ์ หรือตัวแทน ทั่วทั้ง สังฆปริมณฑล เข้าร่วมด้วย
ประเด็นที่ ๒ พระพุทธเจ้าไม่เคยเรียก ใครว่า "พุทธศาสนิก" จริงหรือไม่ ตอบว่า จริง แต่พระองค์ จะใช่คำว่า ปริสา แปลว่า บริษัท, หมู่คน , ชุมนุมชน หมายถึง บริษัท ๔ ของพระองค์นั้นเอง
ประเด็นที่ ๓ ถาม ดร. เสถียร ว่า คุณรู้ไม่ว่ามหายานเกิดขึ้นจากอะไร เกิดจาก วิมลเกีรติสุตร ซึ่ง ฆราวาส เขียนขึ้นสามารถชนะ พระสารีบุตรได้ ตอบ
ไม่เป็นความจริงเลย ความจริงคือ พระพุทธศาสนาที่มีนิกายใหญ่ๆอยู่๑๘นิกาย นิกายที่สำคัญ คือนิกายมหาสังฆิกะกับนิกายเถรวาท มูลเหตุของการแตกแยก มีสมุฏฐานจากความขัดแย้งในทางปฏิบัติพระวินัยและคำอธิบายในพระพุทธวจนะไม่ตรงกัน สงฆ์ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรแก้ไขผ่อนปรนในการปฏิบัติวินัยบางข้อ โดยอ้างพระพุทธานุญาตที่มีไว้กับพระอานนท์ในสมัยจวนดับขันธปรินิพพานว่า
"ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็ให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้"
สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นพ้องด้วย โดยอ้างเหตุผลว่า คำว่าสิกขาบทเล็กน้อย ไม่อาจทราบพระพุทธประสงค์ได้ว่า หมายความถึงสิกขาบทข้อไหน พระอานนท์เองก็มิได้ทูลถามให้ชัดเจนว่า ได้แก่สิกขาบทหมวดไหน ฉะนั้น อย่าเพิกถอนสิกขาบททั้งหมดเลยแหละดี ควรจะรักษาเอาไว้ทุกข้ออย่างเคร่งครัด
อีกประการหนึ่ง การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะนั้น ย่อมอาศัยอาจารย์เป็นผู้สั่งสอนอธิบาย อาจารย์กับอาจารย์ด้วยกันเกิดมีทัศนะอรรถาธิบายพระพุทธมติไม่ตรงกัน ก็เป็นสาเหตุอีกข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดแบ่งแยกกันออกไป สงฆ์ฝ่ายนิกายมหาสังฆิกะ เป็นพวกที่ต้องการแก้ไขผ่อนปรนในการปฏิบัติพระวินัย และถืออรรถาธิบายพระพุทธวจนะของพระอาจารย์เป็นใหญ่ สงฆ์ฝ่ายเถรวาทถือเคร่งครัดในการรักษาจารีตแบบแผนดังเดิม ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเป็นหลักใหญ่
สรุปแล้วก็คือ
๑.เพราะการปฏิบัติพระวินัยไม่สม่ำเสมอเหมือนกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งสีลสามัญญตา
๒.เพราะทัศนะในหลักธรรม อธิบายไม่ตรงกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา
ทั้ง๒ประการนี้เป็นสมุฏฐานให้แบ่งเป็นนิกายขึ้น
จำเดิมแต่พระพุทธศาสนาในอินเดียได้แบ่งออกเป็นนิกายถึง๑๘นิกายใหญ่ จำเนียรกาลล่วงมาในรารวต้นพุทธศตวรรษที่๕ จึงได้เกิดมีขบวนการใหม่ขึ้นอีกขบวนการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ขบวนการนี้เรียกตนเองว่า ลัทธิมหายาน ลัทธินี้ค่อยๆฟักตัวเองขึ้นมาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพระพุทธศาสนาอื่นๆ ทั้ง๑๘นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดขึ้นเป็นลัทธิมหายาน
คำว่า มหายาน มาจากธาตุศัพท์ มหา+ยาน แปลว่าพาหนะที่กว้างขวางใหญ่โตซึ่งสามารถขน สัตว์โลก ให้ข้ามวัฏฏสงสารได้มาก หลักธรรมของนิกายนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับนิกายเถรวาท คือสอนเรื่องอริยสัจ และมีข้อปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือความหลุดพ้นทุกข์ แต่ส่วนที่แตกต่างกันนั้นอยู่ตรงที่นโยบายเผยแผ่กับทั้งวิธีการเผยแผ่เท่านั้น
พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นจุดสำคัญ แต่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถือปริมาณเป็นจุดสำคัญ คือเขาถือว่า เมื่อมีปริมาณมากแล้ว คุณภาพก็ค่อยๆตามมาด้วยการอบรมบ่มนิสัยได้ ฉะนั้น ฝ่ายมหายานจึงบัญญัติพิธีกรรมและจารีตแบบแผนต่างๆชนิดที่ฝ่ายเถรวาทไม่มีขึ้น เพื่อให้เป็นอุปายโกศลชักจูงประชาชนให้มาเลื่อมใส และมีการลดหย่อนพระวินัยได้ตามกาลเทศะ
อุดมคติของฝ่ายมหายาน สอนให้ทุกคนบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อที่จะได้ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ของสัตว์โลกได้กว้างขวาง พระโพธิสัตว์หมายถึงผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งในฝ่ายเถรวาทก็รับรอง แต่ฝ่ายมหายานหยิบยกเอาเรื่องพระโพธิสัตว์ขึ้นมาเน้นเป็นพิเศษ ฝ่ายเถรวาทประกาศเรื่องหลักอริยสัจ๔เป็นสำคัญ แต่ฝ่ายมหายานประกาศเรื่องทศบารมีเป็นสำคัญ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าฝ่ายเถรวาทจะไม่มีเรื่องทศบารมี หรือฝ่ายมหายานจะไม่มีหลักอริยสัจก็หาไม่ เป็นเพียงแต่ว่า ต่างฝ่ายต่างหยิบเอาหลักธรรมทั้ง๒มายกขึ้นเป็นจุดเด่นสำคัญเหมือนหลักธรรมข้ออื่นๆ ที่มีอยู่เท่านั้น
อนึ่ง หลักทศบารมีฝ่ายมหายานได้ย่อลงมาเหลือบารมี๖ คือ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา ทานกับศีลเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โลภะ ขันติกับวิริยะเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โทสะ ฌานกับปัญญาเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โมหะ พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบารมี๖ให้สมบูรณ์ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ ๓ ข้อใหญ่คือ
๑.มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส
๒.มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์
๓.มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำอบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจจธรรม
คุณสมบัติทั้ง๓ข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง๒ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผุ้อื่น
อุดมคติของชาวพุทธบริษัทฝ่ายมหายานมี๔ประการดังนี้
๑.เราจะละกิเลสให้หมด
๒.เราจะศึกษาสัจจธรรมให้จบ
๓.เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
๔.เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด
สำหรับประวัติความเป็นมาของวิมลเกียรติสุตร พอจะกล่าวได้ว่าพระสูตรนี้มีกำเนิดราวปลายพุทธศตวรรษที่๕ เมื่อพระนาคารชุนรจนาอรรถกถามหาปรัชญาปารมิตาสูตร ก็ได้อ้างข้อความในวิมลเกียรตินิทเทสสูตรนี้หลายตอน เป็นที่น่าเสียดายว่า ต้นฉบับสันสกฤตของพระสูตรนี้ ปัจจุบันหายสาบสูญค้นหาไม่พบ แม้ในคัมภีร์ศึกษาสมุจจัยของ พระสันติเทวะ (รจนาในราวพุทธศตวรรษที่๑๓) ได้ยกข้อความในพระสูตรนี้มาอ้างไว้มากแห่ง ทำให้เราสามารถเห็นเค้าโครงพระสูตรนี้ในรูปภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่พระสูตรนี้ทั้งสูตร
อย่างไรก็ดี เป็นโชคดีของวรรณคดีพระพุทธศาสนามหายานที่ได้มีผู้แปลถ่ายทอดรักษาไว้ในพากย์จีนพากย์ธิเบตครั้งบุราณกาล เฉพาะวิมลเกียรตินิทเทสสูตรในพากย์จีนแปลกันไว้ถึง ๗ สำนวนด้วยกัน แต่เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันเพียง๓สำนวนเท่านั้น คือ
๑.ฉบับแปลของอุบาสกจีเหลียน ในพุทธศตวรรษที่๗
๒.ฉบับแปลของพระกุมารชีพ ในพุทธศตวรรษที่๙
๓.ฉบับแปลของพระสมณะเฮี่ยงจัง ในพุทธศตวรรษที่๑๑
ซึ่งหลังจากที่พระสารีบุตร ปรินิพพานไปแล้ว เกือบ ห้าร้อยกว่าปี ที่บอกว่าสามารถเอาชนะพระสารีบุตรได้นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ ฝ่ายมหายานแต่งขึ้นใหม่ เพื่อให้กำลังใจ ฆราวาส ในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น ซึ่ง นำโครงเรื่องของ จิตตคฤหบดี ในปกรณ์ฝ่ายบาลีมาก ท่านจิตตคฤหบดีเป็นชาวมัจฉิกาสัณฑนคร ได้บรรลุอนาคามิผล มีปัญญาปฏิภาณแตกฉานในอรรถธรรม ได้รับยกย่องเป็นอุบาสกผู้เลิศในทางแสดงธรรม มาแต่งเพิ่มขยาย เป็นท่านใหม่ คือ ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี นั้นเอง ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมากล่าวในที่นี้เลย ด้วยเหตุ ๑.เพราะการปฏิบัติพระวินัยไม่สม่ำเสมอเหมือนกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งสีลสามัญญตา
๒.เพราะทัศนะในหลักธรรม อธิบายไม่ตรงกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา เหล่านี้มีนานแล้ว นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด และมีรูปดังเดิมที่สุด อยู่เอาคัมภีร์อีกนิกายหนึ่งซึ่งมีความเห็นต่างกันมาเป็นพันปีอ้าง นอกจากจะสร้างความสับสนยังจะทำให้เกิดการขัดแย่งได้ เช่น เพราะพระสารีบุตร ต้องให้ ฆราวาส สอนนั่งสมาธิ พระโมคัลลานะ ต้องให้ ฆราวาส สอนการแสดงธรรม พระมหากัสสปะ ต้องให้ ฆราวาส สอนการบิณบาตร ในพระไตรปิฏก นิกายเถรวาท จะไม่มีข้อความแบบนี้อยู่แน่นอน เพราะเป็นแค่ คำแต่งใหม่ ยอมจะสร้างความสับสนยังจะทำให้เกิดการขัดแย่งได้
ประเด็นที่ ๔ พระที่รับเงินรับทองไม่ใช่พระ แต่เป็นพรามหณ์ ตอบ ที่อาตมาใช่ชื่อว่า พราหณ์ชนปราชญ์ ก็เพราะคำว่า พระ มาจาก วร ธาตุ ในความประเสริฐ ฉนั่น คำว่า พระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ คำว่า พราหมณ์ มาจาก (พฺรหฺม บทหน้า แปลว่า ประเสริฐ,เจริญ,พระพรหม,พระพุทธเจ้า ณ ปัจจัย ลบ ณ ลง น อาคม แปลง น เป็น ณ ฑีฆะ อ เป็นอา) พฺรหฺมุโน อปจฺจํ พฺราหมโณ แปลว่า ผู้เป็นเหล่าก่อของผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า) อาตมา มีหลักฐานว่าพระพุทธเจ้า ก็เคยเรียกพระสารีบุตรว่า พราหมณ์ มาแล้ว ในเรื่องของพระสารีบุตร ไปบิณฑบาตร มีพราหมณ์ มาตีท่าน
กถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ ว่า
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อว่าประหารพราหมณ์ ย่อมไม่มี แต่พราหมณ์ผู้สมณะจักเป็นผู้ถูกพราหมณ์คฤหัสถ์ประหารได้ ขึ้นชื่อว่า ความโกรธนั่นย่อมถึงความถอนขึ้นได้ ด้วยอนาคามิมรรค" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ.
น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย
ยทานิเสโธ มนโส ปิเยหิ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ.
พราหมณ์ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์(พระสารีบุตร) ไม่ควร
จอง (เวร) แก่เขา, น่าติเตียนพราหมณ์(พระสารีบุตร)ผู้จอง (เวร) ยิ่ง
กว่าพราหมณ์ผู้ประหารนั้น. ความเกียดกันใจ จาก
อารมณ์อันเป็นที่รักทั้งหลายใด, ความเกียดกันนั่น
ย่อมเป็นความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์(พระสารีบุตร),
ใจอันสัมปยุตด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับได้
จากวัตถุใดๆ, ความทุกข์ย่อมสงบได้ เพราะวัตถุนั้นๆ
นั่นแล.
เพราะฉนั้น อาตมา ก็ได้ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ และพระ มีความหมาย แทบจะเป็นอันเดียวกัน คือ พระ แปลว่าผู้ประเสริฐ ส่วน พราหมณ์ แปลว่า ผู้เป็นเหล่าก่อของผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า) ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนาได้ชื่อว่า เป็นเครือญาติกับพระพุทธเจ้านั้นเอง (โดยธรรม)
อนึง การปรับโทษ
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม เรียกว่า
อาบัติ. คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔
เสขิยะ ๗๕ รวมเป็น ๒๒๐ นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น ๒๒๗.
ปาราชิกนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากภิกษุ. สังฆาทิเสสนั้น
ต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้. อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น ภิกษุ
ต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึง
พ้นได้.
จะเห็นได้ว่า ภิกษุรับเงินรับทองต้องอาบัติปาจิตตีย์ ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึง
พ้นได้. การจะพ้นจากความเป็นพระนั้น ต้องอาบัติ ปราชิก เท่านั้น แต่ ส. ศิวลักษณ์ บอกว่าไม่ใช่พระ กำลังทำตัวเป็นศาสดาเลย
ถามว่า พระควรรับเงินหรือไม่ ตอบไม่ควร แต่ก็ไม่ควรให้ฆราวาส มาจัดการเงินทั้งหมด เพราะจำทำให้เกิดการ คอรัปชั่นอย่างมากมายเพราะทุกวันนี้หลายวัดก็มีปัญหา เรื่องกรรมการครึ่งหนึงวัดครึ่งหนึง แต่ควรถวยเป็นสิ่งของ หรือ ใบปวารณา
พราหมณ์ชนปราชญ์ 1
อาตมา ได้เห็น ส. ศิวลักษณ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่า เป็น "ปราชญ์ชนสยาม" คือชนผู้รอบรู้ในดินแดนสยาม ได้คุยในรายการ "ต่างคนต่างคิด" กับ ดร. เสถียร ก็ใคร่อยาก ชน ซึ่งแปลว่า "โดนแรง ๆ หรือ ชิดจนติด และ ให้ต่อสู่กัน" กับชนผู้รอบรู้ในดินแดนสยาม บ้าง
ประเด็นที่ ๑ ประชาชนชาวพุทธ ปฏิรูปพระพุทธศาสนา ตอบว่า มีสิทธิ์แต่เป็นเพียงผู้อุปถัมภก เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นศาสนูปถัมภก แต่ถ้าอยากเข้ารวมในการปฎิรูปพระพุทธศาสนา ต้องดูว่า แนวทางที่จะปฎิรูป และขอบเขตของการปฏิรูป และสำคัญคือ บุคคลที่จะเข้ารวมต้องเป็นผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเป็นผู้ไม่มีอคติ ๔ คือ ๑. ลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ ๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบ เรียกว่า โทสาคติ
๓. ลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ ๔. ลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ แต่ก็ต้องมี องค์คณะสงฆ์ หรือตัวแทน ทั่วทั้ง สังฆปริมณฑล เข้าร่วมด้วย
ประเด็นที่ ๒ พระพุทธเจ้าไม่เคยเรียก ใครว่า "พุทธศาสนิก" จริงหรือไม่ ตอบว่า จริง แต่พระองค์ จะใช่คำว่า ปริสา แปลว่า บริษัท, หมู่คน , ชุมนุมชน หมายถึง บริษัท ๔ ของพระองค์นั้นเอง
ประเด็นที่ ๓ ถาม ดร. เสถียร ว่า คุณรู้ไม่ว่ามหายานเกิดขึ้นจากอะไร เกิดจาก วิมลเกีรติสุตร ซึ่ง ฆราวาส เขียนขึ้นสามารถชนะ พระสารีบุตรได้ ตอบ
ไม่เป็นความจริงเลย ความจริงคือ พระพุทธศาสนาที่มีนิกายใหญ่ๆอยู่๑๘นิกาย นิกายที่สำคัญ คือนิกายมหาสังฆิกะกับนิกายเถรวาท มูลเหตุของการแตกแยก มีสมุฏฐานจากความขัดแย้งในทางปฏิบัติพระวินัยและคำอธิบายในพระพุทธวจนะไม่ตรงกัน สงฆ์ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรแก้ไขผ่อนปรนในการปฏิบัติวินัยบางข้อ โดยอ้างพระพุทธานุญาตที่มีไว้กับพระอานนท์ในสมัยจวนดับขันธปรินิพพานว่า
"ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็ให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้"
สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นพ้องด้วย โดยอ้างเหตุผลว่า คำว่าสิกขาบทเล็กน้อย ไม่อาจทราบพระพุทธประสงค์ได้ว่า หมายความถึงสิกขาบทข้อไหน พระอานนท์เองก็มิได้ทูลถามให้ชัดเจนว่า ได้แก่สิกขาบทหมวดไหน ฉะนั้น อย่าเพิกถอนสิกขาบททั้งหมดเลยแหละดี ควรจะรักษาเอาไว้ทุกข้ออย่างเคร่งครัด
อีกประการหนึ่ง การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะนั้น ย่อมอาศัยอาจารย์เป็นผู้สั่งสอนอธิบาย อาจารย์กับอาจารย์ด้วยกันเกิดมีทัศนะอรรถาธิบายพระพุทธมติไม่ตรงกัน ก็เป็นสาเหตุอีกข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดแบ่งแยกกันออกไป สงฆ์ฝ่ายนิกายมหาสังฆิกะ เป็นพวกที่ต้องการแก้ไขผ่อนปรนในการปฏิบัติพระวินัย และถืออรรถาธิบายพระพุทธวจนะของพระอาจารย์เป็นใหญ่ สงฆ์ฝ่ายเถรวาทถือเคร่งครัดในการรักษาจารีตแบบแผนดังเดิม ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเป็นหลักใหญ่
สรุปแล้วก็คือ
๑.เพราะการปฏิบัติพระวินัยไม่สม่ำเสมอเหมือนกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งสีลสามัญญตา
๒.เพราะทัศนะในหลักธรรม อธิบายไม่ตรงกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา
ทั้ง๒ประการนี้เป็นสมุฏฐานให้แบ่งเป็นนิกายขึ้น
จำเดิมแต่พระพุทธศาสนาในอินเดียได้แบ่งออกเป็นนิกายถึง๑๘นิกายใหญ่ จำเนียรกาลล่วงมาในรารวต้นพุทธศตวรรษที่๕ จึงได้เกิดมีขบวนการใหม่ขึ้นอีกขบวนการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ขบวนการนี้เรียกตนเองว่า ลัทธิมหายาน ลัทธินี้ค่อยๆฟักตัวเองขึ้นมาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพระพุทธศาสนาอื่นๆ ทั้ง๑๘นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดขึ้นเป็นลัทธิมหายาน
คำว่า มหายาน มาจากธาตุศัพท์ มหา+ยาน แปลว่าพาหนะที่กว้างขวางใหญ่โตซึ่งสามารถขน สัตว์โลก ให้ข้ามวัฏฏสงสารได้มาก หลักธรรมของนิกายนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับนิกายเถรวาท คือสอนเรื่องอริยสัจ และมีข้อปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือความหลุดพ้นทุกข์ แต่ส่วนที่แตกต่างกันนั้นอยู่ตรงที่นโยบายเผยแผ่กับทั้งวิธีการเผยแผ่เท่านั้น
พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือคุณภาพของศาสนิกชนเป็นจุดสำคัญ แต่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถือปริมาณเป็นจุดสำคัญ คือเขาถือว่า เมื่อมีปริมาณมากแล้ว คุณภาพก็ค่อยๆตามมาด้วยการอบรมบ่มนิสัยได้ ฉะนั้น ฝ่ายมหายานจึงบัญญัติพิธีกรรมและจารีตแบบแผนต่างๆชนิดที่ฝ่ายเถรวาทไม่มีขึ้น เพื่อให้เป็นอุปายโกศลชักจูงประชาชนให้มาเลื่อมใส และมีการลดหย่อนพระวินัยได้ตามกาลเทศะ
อุดมคติของฝ่ายมหายาน สอนให้ทุกคนบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อที่จะได้ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ของสัตว์โลกได้กว้างขวาง พระโพธิสัตว์หมายถึงผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งในฝ่ายเถรวาทก็รับรอง แต่ฝ่ายมหายานหยิบยกเอาเรื่องพระโพธิสัตว์ขึ้นมาเน้นเป็นพิเศษ ฝ่ายเถรวาทประกาศเรื่องหลักอริยสัจ๔เป็นสำคัญ แต่ฝ่ายมหายานประกาศเรื่องทศบารมีเป็นสำคัญ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าฝ่ายเถรวาทจะไม่มีเรื่องทศบารมี หรือฝ่ายมหายานจะไม่มีหลักอริยสัจก็หาไม่ เป็นเพียงแต่ว่า ต่างฝ่ายต่างหยิบเอาหลักธรรมทั้ง๒มายกขึ้นเป็นจุดเด่นสำคัญเหมือนหลักธรรมข้ออื่นๆ ที่มีอยู่เท่านั้น
อนึ่ง หลักทศบารมีฝ่ายมหายานได้ย่อลงมาเหลือบารมี๖ คือ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา ทานกับศีลเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โลภะ ขันติกับวิริยะเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โทสะ ฌานกับปัญญาเป็นคู่ปรับทำลายกิเลสคือ โมหะ พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญบารมี๖ให้สมบูรณ์ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ ๓ ข้อใหญ่คือ
๑.มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส
๒.มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์
๓.มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำอบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจจธรรม
คุณสมบัติทั้ง๓ข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง๒ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผุ้อื่น
อุดมคติของชาวพุทธบริษัทฝ่ายมหายานมี๔ประการดังนี้
๑.เราจะละกิเลสให้หมด
๒.เราจะศึกษาสัจจธรรมให้จบ
๓.เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
๔.เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด
สำหรับประวัติความเป็นมาของวิมลเกียรติสุตร พอจะกล่าวได้ว่าพระสูตรนี้มีกำเนิดราวปลายพุทธศตวรรษที่๕ เมื่อพระนาคารชุนรจนาอรรถกถามหาปรัชญาปารมิตาสูตร ก็ได้อ้างข้อความในวิมลเกียรตินิทเทสสูตรนี้หลายตอน เป็นที่น่าเสียดายว่า ต้นฉบับสันสกฤตของพระสูตรนี้ ปัจจุบันหายสาบสูญค้นหาไม่พบ แม้ในคัมภีร์ศึกษาสมุจจัยของ พระสันติเทวะ (รจนาในราวพุทธศตวรรษที่๑๓) ได้ยกข้อความในพระสูตรนี้มาอ้างไว้มากแห่ง ทำให้เราสามารถเห็นเค้าโครงพระสูตรนี้ในรูปภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่พระสูตรนี้ทั้งสูตร
อย่างไรก็ดี เป็นโชคดีของวรรณคดีพระพุทธศาสนามหายานที่ได้มีผู้แปลถ่ายทอดรักษาไว้ในพากย์จีนพากย์ธิเบตครั้งบุราณกาล เฉพาะวิมลเกียรตินิทเทสสูตรในพากย์จีนแปลกันไว้ถึง ๗ สำนวนด้วยกัน แต่เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันเพียง๓สำนวนเท่านั้น คือ
๑.ฉบับแปลของอุบาสกจีเหลียน ในพุทธศตวรรษที่๗
๒.ฉบับแปลของพระกุมารชีพ ในพุทธศตวรรษที่๙
๓.ฉบับแปลของพระสมณะเฮี่ยงจัง ในพุทธศตวรรษที่๑๑
ซึ่งหลังจากที่พระสารีบุตร ปรินิพพานไปแล้ว เกือบ ห้าร้อยกว่าปี ที่บอกว่าสามารถเอาชนะพระสารีบุตรได้นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ ฝ่ายมหายานแต่งขึ้นใหม่ เพื่อให้กำลังใจ ฆราวาส ในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น ซึ่ง นำโครงเรื่องของ จิตตคฤหบดี ในปกรณ์ฝ่ายบาลีมาก ท่านจิตตคฤหบดีเป็นชาวมัจฉิกาสัณฑนคร ได้บรรลุอนาคามิผล มีปัญญาปฏิภาณแตกฉานในอรรถธรรม ได้รับยกย่องเป็นอุบาสกผู้เลิศในทางแสดงธรรม มาแต่งเพิ่มขยาย เป็นท่านใหม่ คือ ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี นั้นเอง ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำมากล่าวในที่นี้เลย ด้วยเหตุ ๑.เพราะการปฏิบัติพระวินัยไม่สม่ำเสมอเหมือนกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งสีลสามัญญตา
๒.เพราะทัศนะในหลักธรรม อธิบายไม่ตรงกัน เรียกว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา เหล่านี้มีนานแล้ว นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด และมีรูปดังเดิมที่สุด อยู่เอาคัมภีร์อีกนิกายหนึ่งซึ่งมีความเห็นต่างกันมาเป็นพันปีอ้าง นอกจากจะสร้างความสับสนยังจะทำให้เกิดการขัดแย่งได้ เช่น เพราะพระสารีบุตร ต้องให้ ฆราวาส สอนนั่งสมาธิ พระโมคัลลานะ ต้องให้ ฆราวาส สอนการแสดงธรรม พระมหากัสสปะ ต้องให้ ฆราวาส สอนการบิณบาตร ในพระไตรปิฏก นิกายเถรวาท จะไม่มีข้อความแบบนี้อยู่แน่นอน เพราะเป็นแค่ คำแต่งใหม่ ยอมจะสร้างความสับสนยังจะทำให้เกิดการขัดแย่งได้
ประเด็นที่ ๔ พระที่รับเงินรับทองไม่ใช่พระ แต่เป็นพรามหณ์ ตอบ ที่อาตมาใช่ชื่อว่า พราหณ์ชนปราชญ์ ก็เพราะคำว่า พระ มาจาก วร ธาตุ ในความประเสริฐ ฉนั่น คำว่า พระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ คำว่า พราหมณ์ มาจาก (พฺรหฺม บทหน้า แปลว่า ประเสริฐ,เจริญ,พระพรหม,พระพุทธเจ้า ณ ปัจจัย ลบ ณ ลง น อาคม แปลง น เป็น ณ ฑีฆะ อ เป็นอา) พฺรหฺมุโน อปจฺจํ พฺราหมโณ แปลว่า ผู้เป็นเหล่าก่อของผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า) อาตมา มีหลักฐานว่าพระพุทธเจ้า ก็เคยเรียกพระสารีบุตรว่า พราหมณ์ มาแล้ว ในเรื่องของพระสารีบุตร ไปบิณฑบาตร มีพราหมณ์ มาตีท่าน
กถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ ว่า
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อว่าประหารพราหมณ์ ย่อมไม่มี แต่พราหมณ์ผู้สมณะจักเป็นผู้ถูกพราหมณ์คฤหัสถ์ประหารได้ ขึ้นชื่อว่า ความโกรธนั่นย่อมถึงความถอนขึ้นได้ ด้วยอนาคามิมรรค" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ.
น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย
ยทานิเสโธ มนโส ปิเยหิ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ.
พราหมณ์ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์(พระสารีบุตร) ไม่ควร
จอง (เวร) แก่เขา, น่าติเตียนพราหมณ์(พระสารีบุตร)ผู้จอง (เวร) ยิ่ง
กว่าพราหมณ์ผู้ประหารนั้น. ความเกียดกันใจ จาก
อารมณ์อันเป็นที่รักทั้งหลายใด, ความเกียดกันนั่น
ย่อมเป็นความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์(พระสารีบุตร),
ใจอันสัมปยุตด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับได้
จากวัตถุใดๆ, ความทุกข์ย่อมสงบได้ เพราะวัตถุนั้นๆ
นั่นแล.
เพราะฉนั้น อาตมา ก็ได้ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ และพระ มีความหมาย แทบจะเป็นอันเดียวกัน คือ พระ แปลว่าผู้ประเสริฐ ส่วน พราหมณ์ แปลว่า ผู้เป็นเหล่าก่อของผู้ประเสริฐ (พระพุทธเจ้า) ผู้ที่ได้รับการอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนาได้ชื่อว่า เป็นเครือญาติกับพระพุทธเจ้านั้นเอง (โดยธรรม)
อนึง การปรับโทษ
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม เรียกว่า
อาบัติ. คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔
เสขิยะ ๗๕ รวมเป็น ๒๒๐ นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น ๒๒๗.
ปาราชิกนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากภิกษุ. สังฆาทิเสสนั้น
ต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้. อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น ภิกษุ
ต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึง
พ้นได้.
จะเห็นได้ว่า ภิกษุรับเงินรับทองต้องอาบัติปาจิตตีย์ ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึง
พ้นได้. การจะพ้นจากความเป็นพระนั้น ต้องอาบัติ ปราชิก เท่านั้น แต่ ส. ศิวลักษณ์ บอกว่าไม่ใช่พระ กำลังทำตัวเป็นศาสดาเลย
ถามว่า พระควรรับเงินหรือไม่ ตอบไม่ควร แต่ก็ไม่ควรให้ฆราวาส มาจัดการเงินทั้งหมด เพราะจำทำให้เกิดการ คอรัปชั่นอย่างมากมายเพราะทุกวันนี้หลายวัดก็มีปัญหา เรื่องกรรมการครึ่งหนึงวัดครึ่งหนึง แต่ควรถวยเป็นสิ่งของ หรือ ใบปวารณา