สร้างถนน สะพาน อุโมงค์ ให้สัตว์ป่า

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Five Crazy Bridges for Animals



บ่อยครั้งมากที่ถนนหนทางตัดผ่านพื้นที่ป่าเดิม
ต้องสังเวยด้วยชีวิตเลือดเนื้อของสัตว์ป่า
เพราะอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่เฉี่ยวชนสัตว์ป่าเหล่านั้น
จากผลการที่คนเราขาดการดูแลเอาใจใส่เหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับสัตว์ป่า
เพราะคิดว่าชีวิตสัตว์ป่ามีคุณค่าเล็กน้อยมาก

เส้นทางเดินของสัตว์ป่ามีมานมนานมากแล้ว
เป็นการเดินทาง/อพยพไปหาอาหารอีกฟากหนึ่งของป่า
ที่ต่อมาถูกถนนหนทางตัดผ่าน/ตัดขาดเส้นทางเดิมของสัตว์ป่า
มนุษย์จึงเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายชีวิตธรรมชาติสัตว์ป่า
คนที่มีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของสัตว์ป่า
จึงเริ่มมีแนวคิดจะสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์
เพื่อให้เป็นทางเดินเท้า/ทางอพยพของสัตว์ป่า

หมายเหตุ  นิยามคำว่าสัตว์ป่า
หลักกฎหมายอังกฤษ  สัตว์ป่า คือ สัตว์ที่ไม่มีคนเลี้ยง
การกำจัดหรือนำมาเป็นอาหารจึงชอบด้วยกฎหมาย
เว้นแต่สัตว์ป่าที่มีกฎหมายคุ้มครองพิเศษโดยเฉพาะ
ที่มา ศาตราจารย์ ประพนธ์  ศาตะมาน



photo credit: Mario Hagen / Shutterstock


บางครั้งแม้ดูเหมือนว่าวิธีการที่ดี คือ การโยกย้ายสัตว์ป่า
ไปอยู่ในที่ป่าอีกแห่งหนึ่งที่มีขอบเขตจำกัดหรือกว้างขวางกว่าเดิม
แต่แน่นอนไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ดีในระยะยาวแต่อย่างใดเลย
เพราะการที่สัตว์ป่าเดินทาง/อพยพหากินไปรอบ ๆ บริเวณป่าดั้งเดิม
จะดีกว่าการที่ถูกจำกัดบริเวณไว้ในพื้นที่จำกัด
เพราะการจำกัดพื้นที่เป็นการทำลายความหลากหลาย
ทางพันธุกรรม/ชีวพันธุ์ของพืชผลไม้และสัตว์ป่า
สัตว์ป่า/พืชผลไม้จะมีสายเลือดชิดกันมากเกินไป
จะเป็นการทำลายเผ่าพันธุ์สัตว์ป่า/พืชผลไม้อย่างเลือดเย็น
มีผลให้ปริมาณและคุณภาพพืชผลไม้
และจำนวนสัตว์ป่าลดน้อยถอยลงในที่สุด
จนเป็นหายนะทางธรรมชาติในระยะยาว



B38 – Birkenau, Germany  Photograph via h4m on Reddit


จากวิดีโอ MinuteEarth’s video ได้เสนอข้อมูลดังกล่าว
ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน  ในการสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ สำหรับสัตว์ป่า
เพราะเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรม/ชีวพันธุ์นั้น
การแก้ไขปัญหาให้กับสัตว์ป่าโดยใช้ทางเลือกทางหนึ่ง
อาจจะไม่เป็นประโยชน์กับสัตว์ป่าชนิดอื่น
ที่ไม่ได้ประโยชน์จากทางเลือกนี้เช่นกัน



The Borkeld, The Netherlands  Photograph via The World Geography


การผสานประโยชน์ในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
ถนนหนทางที่ยาวไกลหลายล้านไมล์ทั่วโลกนั้น
ที่ผ่านมานานแล้วยังไม่มีการแก้ปัญหาทางเดินเท้า/อพยพของสัตว์ป่า
แต่เริ่มมีความก้าวหน้าและพัฒนาการมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ด้วยเหตุผลการที่คนเราเอาใจใส่กับชีวิตสัตว์ป่ามากขึ้นกว่าเดิม



Scotch Plains, New Jersey, USA  Photograph via Google Maps


เฉพาะในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวมีการประมาณการกันว่า
มีสัตว์ป่ามากกว่า 1 ล้านตัวที่ตายเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์
แน่นอนไม่ได้นับรวมจำนวนแมลงที่ตายเพราะแสงไฟรถยนต์
ถ้าสัตว์ป่ามีขนาดที่ใหญ่มากอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้คนได้
รวมทั้งชีวิต/ทรัพย์สินคนขับและคนที่โดยสารไปพร้อมกับคนขับได้
หรือถ้าเป็นสัตว์ป่าขนาดเล็กก็ยังมีผลกระทบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
เช่น การซ่อมแซมรถยนต์ การแก้ไขปัญหาเรื่องการเฉี่ยวชนสัตว์ป่า เบี้ยประกันภัย
ไม่รวมถึงการเสียชีวิตของสัตว์ป่าและการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ



Flathead Indian Reservation, Montana, USA Photograph via The World Geography


เพื่อชีวิตสัตว์ป่าร่วมโลกมนุษย์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ถนน สะพาน อุโมงค์ จึงได้สร้างขึ้นเป็นทางเดินเท้า/อพยพของสัตว์ป่า
ไม่ใช่เป็นการปกป้องธรรมชาติเท่านั้น
แต่ยังเป็นการถนอมชีวิตสัตว์ป่าด้วยเช่นกัน
แม้ว่าจะต้องใช้เงินส่วนหนึ่งจากกระเป๋าของผู้คน(ภาษีเงินได้)เช่นกัน



E314 in Belgium Photograph via Jarrl on Reddit



Banff National Park, Alberta, Canada Photograph via Izismile


เรียบเรียง/ที่มา  http://bit.ly/1zuOrzZ




เพื่อสัตว์โลกตัวน้อย ๆ ด้วยเช่นกัน




อุโมงค์ลอดใต้ถนนเพื่อคางคก/กบ Germany  credit : http://bit.ly/17l9SMv



อุโมงค์คางคก/กบ United Kingdom  http://bit.ly/1BxpARN



คางคก/กบ กำลังใช้เส้นทางอุโมงค์สายใหม่ http://bbc.in/1EfzpDZ





เพื่อปลาได้โจนไปวางไข่บนเหนือน้ำ

1.



บันไดปลาโจน [PICTURED: the John Day Dam fish ladder] (Photo : USACE)

2.



การอพยพของปลาเฮอร์ริงอเมริกันรุ่นเยาว์ที่เขื่อนทำพลังงานไฟฟ้า (Photo Larinier)

3.



ด้านบนของเขื่อนพลังงานไฟฟ้า Loch Ness ใน Scotland (Photo Travade)
สังเกตด้านหลังจะเห็นบันไดปลาโจนขึ้นมาบนเขื่อนนี้

4.



บันไดปลาโจนที่ Turner Falls เหนือแม่น้ำ Connecticut River (Photo Larinier)

5.



บันไดปลาโจนที่เขื่อน Clunie ใน Scotland (Photo Larinier)

6.



ลิฟท์ยกปลาที่เขื่อน Tuilières Dam บริเวณแม่น้ำ Dordogne River (France)
ปลาที่ต้องอพยพไปวางไข่ด้านบนเหนือน้ำเช่น ปลาแซลมอล  ปลาเฮอริง Allis
ตอนนี้สามารถว่ายน้ำต่อไปยังตอนบนของแม่น้ำได้แล้ว (Photo Larinier)


ที่มาของภาพ/ข้อมูล http://bit.ly/1LsjPa6




ท่อลมส่งปลาโจน





ที่มาของ 2 ภาพ http://bit.ly/18e0340

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Salmon cannon shoots fish upstream for spawning





โครงการอนาคตของไทย





ที่มาของภาพ http://bit.ly/1CVjpma



ที่มาของภาพ http://bit.ly/1zuPdNE


ข้อมูลเพิ่มเติม ความคิดเห็นเรื่องโครงการอนาคตของไทย (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)
http://bit.ly/1vVYIns
http://bit.ly/17Houpr
http://bit.ly/1AwKUUJ
http://bit.ly/1DJBd7x






สะพานกวาง  บันไดลิง  ทางเดินปู



อุโมงค์ช้างลอด



สายพานลำเลียง/ท่อส่งลมปลาแซลมอน



ปรับปรุงแก้ไขท่อก๊าซ/ท่อน้ำขวางทางเดินกวางป่า


ที่มาของภาพ http://bit.ly/1LpAh8U




ที่ดูลิงบริเวณเขาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา



ที่มาของภาพ http://bit.ly/1voP41R







ที่มาของภาพ 3 ชุดนี้ http://bit.ly/1FcDQ05




หมายเหตุเพิ่มเติม

นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล  ปรมาจารย์ด้านดูนกกับสัตว์ป่าเมืองไทย
กับหนังสือเรื่อง เพชรพระอุมา ที่แต่งโดย พนมเทียน
หรือ นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ
สมัยเด็ก/วัยรุ่นเคยติดตามพ่อกับอาไปทำเหมืองทองโต๊ะโม๊ะ
ที่อำเภอสุคีริน (เดิมอำเภอแว้ง) จังหวัดนราธิวาส
จึงเรียนรู้การล่าสัตว์และการดำรงชีวิตในป่า

ทั้งคู่ต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า
ทางเดินสัตว์ป่าจะมีไม่กี่เส้นทาง
ในเมืองไทยกับชาติที่มีช้างอยู่ในป่า
ธรรมชาติของช้างเดินไปพลาง กินพืชผลไม้ใบไม้ พร้อมกับถ่ายเป็นระยะ ๆ
สัตว์ต่าง ๆ จะเดินตามรอยเท้า/ทางเดินช้าง
สัตว์มังสะวิรัติ(กินพืช)ได้พลอยอาหาร
ที่ช้างทำตกหล่นไว้ส่วนหนึ่งด้วย
กับทางสะดวกรวดเร็วไม่ค่อยมีหนามแหลมหรือลาดชัน
ส่วนสัตว์นักล่าเหยื่อก็ใช้เส้นทางนี้หากินสัตว์อื่น ๆ
แต่ก็ต้องระมัดระวังช้างทำร้าย
เพราะมันหงุดหงิดรำคาญง่าย กับโมโหร้าย
เวลาที่หากินกับมีลูกอ่อนติดตาม
สัตว์ต่าง ๆ เลยได้พึ่งใบบุญทางเดินช้าง
การตัดเส้นทางเดินสัตว์ให้สอดคล้องกับทางเดินช้าง  จะไม่มีปัญหา

สมัยพระยารัษฏานุประดิษฐ์(คอซิมบี้) สายสกุล ณ ระนอง
อดีตเจ้าเมืองตรัง ผู้นำยางพารามาปลูกในไทย
ได้หาทางสร้างถนนสายเขาพับผ้า เพื่อไปซื้อข้าวซื้อปลาจากพัทลุง
ปลาบก(น้ำจืด)ในทะเลน้อย ปลาทะเลในทะเลสาบสงขลา
ช่วงมรสุมฝั่งอันดามัน ทางอ่าวไทยจะไม่เป็นมรสุม(สลับกัน)
อู่ข้าวอู่ปลา แต่ชุมโจรา หนังปานบอด ยอดนักกลอน
โต้ตอบในเพลงบอกที่วัดโคกสมานคุณ ห.ใ
ก่อนมาเล่นหนังตะลุงภายหลัง

ท่านจะใช้โจรเก่า/โจรร้ายในคุก  มานำทางตัดเส้นทางจากตรังไปพัทลุง
โจรอาศัยทางช้างเดิน/สัตว์ป่าเดินเป็นทางหลัก
ในการหลบหนีเจ้าหน้าที่ราชการกับชาวบ้านที่ไล่ติดตามจับกุม
ในการสร้างทางจะให้วัวเทียมเกวียนขนข้าวสารแล้วเดินตามทางที่ตัดข้ามเขา
ถ้าวัวเดินวนขึ้นไปไม่รอดก็จะตัดให้ชันน้อยลงเผื่อการขนข้าวของวันหลัง
หินก้อนใหญ่ ๆ จะจุดกองไฟเผาจนร้อนจัด แล้วเอาน้ำราดให้แตกกระจาย
เพราะสมัยนั้นยังไม่มีระเบิดหรือ Backhoe แบบปัจจุบัน

ข้อมูลและภาพเส้นทางเขาพับผ้าเดิม http://bit.ly/1w2MjxZ

ส่วนบันไดปลาโจนของเมืองนอก
มีเอกสารหลายฉบับยืนยัน
การกลับมาของปลาหลายสายพันธุ์
ที่ต้องไปวางไข่ออกลูกเหนือแม่น้ำด้านบน
ตาม link ภาษาต่างด้าวและมีอ้างอิงหลายรายการ

ส่วนที่เมืองไทยที่ไม่ได้ผลเพราะการออกแบบโดยมืออาภัพ
Copy and Paste มาจากของฝรั่งจึงมีปัญหาตลอดมา
ไม่ยอมถามปราชญ์ชาวบ้าน/ชาวประมงพื้นบ้านเรื่องประเภทชนิดปลา
จริง ๆ ถ้าพัฒนาบันไดปลาโจนใช้แบบยกยอ/สายพานลำเลียง
ใช้มือกลแรงงานคน  หมุน/กว้านลิฟท์ยกฝูงปลาข้ามเขื่อนก็ได้
แต่ชาวบ้านไม่ยอมทำกัน เพราะธุระไม่ใช่ ถือเป็นหน้าที่/รอแต่ทางราชการ
ขอจับขอผลาญทรัพยากรธรรมชาติให้ได้มากที่สุด จะได้เก่งที่สุด โอ้อวดได้มากที่สุด
ถนัด/ชอบใช้วาทะกรรมดูดี ค้านเก่ง แถเก่ง ใช้แต่ตรรกะวิบัติ
ทุก ๆ เรื่องมีแต่ปัญหา ไม่มีทางออก/ทางแก้ปัญหา คิดเชิงลบตลอด

เขื่อนปากมูลเวลาปิดเขื่อน กุ้งผี(ตัวใหญ่มาก) ไหลจากไทยไปลาว
ลาวได้ประโยชน์มากสุดเลยขนานนามว่า กุ้งผีจากไทย
ข้อมูลจากประมงพื้นบ้านฝั่งลาว
หนังสืออ้างอิงหายไปกับสายน้ำหลายปีแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่