มีคำกล่าวว่า ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเป็นนิร้นตร์ เป็นจริงเสมอไม่ว่ายุคใดสมัยใด ธรรมสำหรับคู่สามีภรรยาก็เช่นกันไม่ว่าจะผ่านมากี่ร้อยกี่พันปี ธรรมมะก็ยังคงเป็นธรรมมะอยู่เช่นนั้น สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตได้เสมอไม่ว่าจะเป็นสมัยใด (คัดลอกมาจากพระสูตรต่างๆ ครับ)
คู่บุพเพสันนิวาส
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียว
พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน
มีศีลเสมอกัน
มีจาคะเสมอกัน
มีปัญญาเสมอกัน
ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.
ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๑/๕๖.
หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามีพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ด้วยการยกย่อง ๑
ด้วยการไม่ดูหมิ่น ๑
ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ๑
ด้วยการให้เครื่องประดับ ๑
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามีปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
จัดแจงการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๑
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ๑
ขยันขันแข็งในการงานทั้งปวง ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหลังนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้น ปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
ปา. ที. ๑๑/๑๓๙-๑๔๗/๑๗๔–๒๐๕.
วิสาขสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรวิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหาความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ฯลฯ เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทานดูกรวิสาขา มาตุคามประกอบ ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
สุภาพสตรีผู้มีปรีชา
ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ
ให้ความปรารถนาทั้งปวง
ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคำแสดงความหึงหวง และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี
เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อม
ประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้
นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๐๙/๑๓๗.
ภรรยา ๗ จำพวก
ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า คหบดี เหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์ของท่าน จึงส่งเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.
อนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นางสุชาดาคนนี้ ข้าพระองค์นำมาจากตระกูลมั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อถือ แม่ผัว พ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มีพระภาค นางก็ไม่สักการะเคารพนับถือบูชา”.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกนางสุชาดา หญิงสะใภ้ในเรือนว่า “มานี่แน่ะ ! สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้ ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ :-
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑
เสมอด้วยโจร ๑
เสมอด้วยนาย ๑
เสมอด้วยแม่ ๑
เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑
เสมอด้วยเพื่อน ๑
เสมอด้วยทาสี ๑
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล เธอเป็นจำพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น.
นางสุชาดากราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันยังไม่รู้ทั่วถึงความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน โดยที่หม่อมฉันจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด”
สุชาดา ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือน ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า :-
(๑) ภริยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า วธกาภริยา ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต.
(๒) สามีของหญิงประกอบด้วยศิลปกรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดมา ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์ แม้มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า โจรภริยา ภริยาเสมอด้วยโจร.
(๓) ภริยาที่ไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบ ข่มขี่ผัวผู้ขยันขันแข็ง ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า อัยยาภริยา ภริยาเสมอด้วยนาย.
(๔) ภริยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า มาตาภริยา ภริยาเสมอด้วยมารดา.
(๕) ภริยาที่เป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน เป็นคนละอายบาป เป็นไปตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ภคินีภริยา ภริยาเสมอด้วยพี่สาว น้องสาว.
(๖) ภริยาใดในโลกนี้เห็นสามีแล้วชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีศีล มีวัตร ปฏิบัติสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า สขีภริยา ภริยาเสมอด้วยเพื่อน.
(๗) ภริยาใดสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก ก็ไม่โกรธ ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ เป็นไปตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ทาสีภริยา ภริยาเสมอด้วยทาสี.
ภริยาที่เรียกว่า
วธกาภริยา ๑, โจรีภริยา ๑, อัยยาภริยา ๑
ภริยาทั้ง ๓ จำพวกนั้น ล้วนแต่เป็นคนทุศีล หยาบช้า ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก.
ส่วนภริยาที่เรียกว่า
มาตาภริยา ๑, ภคินีภริยา ๑
สขีภริยา ๑, ทาสีภริยา ๑
ภริยาทั้ง ๔ จำพวกนั้น เพราะตั้งอยู่ในศีล ถนอมรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ.
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล เธอเป็นภริยาจำพวกไหน ใน ๗ จำพวกนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำ หม่อมฉันว่า เป็นภริยาของสามีผู้เสมอด้วยทาสี.
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๖/๖๐.
ไม่น่าเผือกแต่น่าอ่าน ธรรมมะสำหรับคู่ครอง
คู่บุพเพสันนิวาส
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียว
พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน
มีศีลเสมอกัน
มีจาคะเสมอกัน
มีปัญญาเสมอกัน
ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.
ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๑/๕๖.
หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามีพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
ด้วยการยกย่อง ๑
ด้วยการไม่ดูหมิ่น ๑
ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ๑
ด้วยการให้เครื่องประดับ ๑
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามีปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-
จัดแจงการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๑
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ๑
ขยันขันแข็งในการงานทั้งปวง ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหลังนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้น ปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.
ปา. ที. ๑๑/๑๓๙-๑๔๗/๑๗๔–๒๐๕.
วิสาขสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรวิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหาความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ฯลฯ เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทานดูกรวิสาขา มาตุคามประกอบ ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
สุภาพสตรีผู้มีปรีชา
ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ
ให้ความปรารถนาทั้งปวง
ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อยคำแสดงความหึงหวง และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี
เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อม
ประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้
นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ฯ
อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๐๙/๑๓๗.
ภรรยา ๗ จำพวก
ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า คหบดี เหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์ของท่าน จึงส่งเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.
อนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นางสุชาดาคนนี้ ข้าพระองค์นำมาจากตระกูลมั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อถือ แม่ผัว พ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มีพระภาค นางก็ไม่สักการะเคารพนับถือบูชา”.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกนางสุชาดา หญิงสะใภ้ในเรือนว่า “มานี่แน่ะ ! สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้ ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ :-
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑
เสมอด้วยโจร ๑
เสมอด้วยนาย ๑
เสมอด้วยแม่ ๑
เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑
เสมอด้วยเพื่อน ๑
เสมอด้วยทาสี ๑
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล เธอเป็นจำพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น.
นางสุชาดากราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉันยังไม่รู้ทั่วถึงความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน โดยที่หม่อมฉันจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด”
สุชาดา ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือน ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า :-
(๑) ภริยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า วธกาภริยา ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต.
(๒) สามีของหญิงประกอบด้วยศิลปกรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดมา ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์ แม้มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า โจรภริยา ภริยาเสมอด้วยโจร.
(๓) ภริยาที่ไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบ ข่มขี่ผัวผู้ขยันขันแข็ง ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า อัยยาภริยา ภริยาเสมอด้วยนาย.
(๔) ภริยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า มาตาภริยา ภริยาเสมอด้วยมารดา.
(๕) ภริยาที่เป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน เป็นคนละอายบาป เป็นไปตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ภคินีภริยา ภริยาเสมอด้วยพี่สาว น้องสาว.
(๖) ภริยาใดในโลกนี้เห็นสามีแล้วชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีศีล มีวัตร ปฏิบัติสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า สขีภริยา ภริยาเสมอด้วยเพื่อน.
(๗) ภริยาใดสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก ก็ไม่โกรธ ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ เป็นไปตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ทาสีภริยา ภริยาเสมอด้วยทาสี.
ภริยาที่เรียกว่า
วธกาภริยา ๑, โจรีภริยา ๑, อัยยาภริยา ๑
ภริยาทั้ง ๓ จำพวกนั้น ล้วนแต่เป็นคนทุศีล หยาบช้า ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก.
ส่วนภริยาที่เรียกว่า
มาตาภริยา ๑, ภคินีภริยา ๑
สขีภริยา ๑, ทาสีภริยา ๑
ภริยาทั้ง ๔ จำพวกนั้น เพราะตั้งอยู่ในศีล ถนอมรักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ.
สุชาดา ! ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล เธอเป็นภริยาจำพวกไหน ใน ๗ จำพวกนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำ หม่อมฉันว่า เป็นภริยาของสามีผู้เสมอด้วยทาสี.
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๖/๖๐.