อะไรนะ กินน้ำอัญชันแล้วฉี่ม่วง????

เงิบไปเลยทีเดียว เมื่อมีคนออกมาพูดว่า "ดื่มน้ำอัญชัญ ฉี่เลยเป็นสีม่วง"
ด้วยความเคารพ กลัวเด็กและเยาวชนเข้าใจผิด จึงอยากนำความรู้เรื่องนี้มาแชร์กัน

๑  ทำไมถึงเรียกว่าฉี่สีม่วง?

๒  หลักการของชุดตรวจ?

การตรวจฉี่สีม่วงตามผับ หรือสถานบันเทิง มักใช้ ๒ วิธี
๑ CCR TEST (Chemical Color Reaction) : เอากระบอกไปกรอกฉี่ แล้วหยดสารตรวจสอบหาเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า ยาไอซ์) มีความแม่นยำ ร้อยละ 60 – 85

๒ CICA Technique (Color Immunochrommatographic Assay) หรือ Strip test :

หลักการของชุดตรวจปัสสาวะเรียก "Strip test" คือมีแถบกระดาษจุ่มลงในของเหลว
- ใช้ปฏิกิริยาแอนติเจนกับแอนติบอดี้ (หมายความว่า ถ้าจะตรวจว่าคนนี้เสพยามาหรือเปล่า ก็ต้องตรวจจากสารที่เกิดจากการเสพ บนแผ่นกระดาษจะมีตัวจับเฉพาะ***กับสารนี้เท่านั้น  ถ้าไปจับสารอื่นก็ไม่ขึ้นขีด) เทคนิคเดียวกับแผ่นตัวการตั้งครรภ์
- จะมีขีด ๒ ขีด
***ขอแก้ข้อมูลตรงนี้นิดนึง
      (จำสลับกับแผ่นตรวจตั้งครรภ์ที่ต้องขึ้น 2 ขีด)


cr. http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/Biochemistry/webboard/dept_wbdetail.asp?wq_id=43
    ขีดที่ ๑  เป็น Control แปลว่า แผ่นตรวจนี้ใช้ได้ จะขึ้นกับฉี่ของทุกคน
    ขีดที่ ๒  เป็นขีดที่มีแอนติบอดี้จับกับเมตาบอไลท์ปกติ  แปลว่า  ถ้าขึ้นขีดแสดงว่าในฉี่ของคุณไม่มีสารทำให้เกิดสีม่วง ฉะนั้น รอด!

    แต่ถ้าไม่ขึ้นสักขีดแปลว่าแผ่นเสีย

    มีความแม่นยำร้อยละ 95

๓  ความแม่นยำของการตรวจ

    ซึ่งมียาบางประเภท (เช่น ยาแก้ไอเรื้อรัง  ยาลดความอ้วนบางประเภท) ทำให้ตรวจพบได้เหมือนกัน ซึ่งถ้าเป็นผู้บริสุทธิ์จริง ก็ต้องหาข้อมูลมาอ้างอิงกับตำรวจ
    
    วิธีหยดสารเคมีตรวจจากกระบอก  มีความแม่นยำ ร้อยละ 60 – 85
    วิธีใช้ชุดแผ่นตรวจ มีความแม่นยำ ร้อยละ 95

    มีวิธีที่ความแม่นยำเป็น 100%  ที่ไม่สามารถแก้ต่างได้เลย คือใช้เครื่อง GCMS (Gas Chromatography/Mass Spectrometry)

    หลักการของเครื่องมือ คือ เผาตัวอย่างฉี่ให้เกิดความร้อน ค่าที่ได้จากไอระเหยของมันจะบ่งบอกเลยว่าในฉี่คุณมีสารอะไรบ้าง  บอกแม้กระทั่งว่าพบกี่นาโนกรัม สามารถคำนวณย้อนกลับไปได้ว่าคุณเสพมาจำนวนเท่าไหร่
    

๔  โอกาสพบ

     สำหรับคนที่กรวยไตทำงานปกติ  ถ้าไม่ได้เสพยาเกิน ๑๕ วัน ถึง ๑ เดือนก็จะไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะ


๕  สารสีม่วงในดอกอัญชัน เป็นสารพวกฟลาโวนอยด์ (Anthocyanins, aurones, chalcones, flavonols and proanthocyanidins) คล้ายๆ กับพวก คลอโรฟิลด์  ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคนละเรื่องกับเมทแอมเฟตามีนเลย


ตัวอย่างภาพโมเลกุลตระกูลเมทแอมเฟตามีน



ตัวอย่างภาพโมเลกุลตระกูลฟลาโวนอยด์



ซึ่งในกรณีนี้ ถ้าจะฉี่ม่วงเพราะน้ำอัญชันคงไม่ใช่  นอกจากจะมีอะไรผสมอยู่

เล่นซะน้ำอัญชันของเราดาร์กเลย!!


cr ภาพน้ำอัญชันสวยๆ จากครัวปีกไม้ เว็บ wongnai
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่