ความจริงเรื่องสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ต้องทน (ทุกขัง) และไม่ใช่ตัวตนอมตะ (อนัตตา) นี้ ธรรมชาติก็แสดงให้เราได้พบเห็นหรือสัมผัสอยู่แล้วตลอดเวลา แต่เราตาบอดคือไม่รู้จักสังเกตุหรือพิจารณากันเอง เราจึงมองเห็นแต่สิ่งที่ธรรมชาติหลอกไว้ว่า มีสิ่งที่เที่ยง (นิจจัง) มีสิ่งที่สุขไม่ต้องทน (สุขัง) และมีสิ่งที่เป็นตัวตนอมตะ (อัตตา)
ความไม่เที่ยงนั้นเห็นง่าย เพราะทุกสิ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายไม่ช้าก็เร็วสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็ต้องแตก (ใช้กับวัตถุ) หรือดับ (ใช้กับจิต)ไปในที่สุด ถ้ายังไม่เห็นอนิจจังก็จะไม่เห็นทุกขัง แต่ถ้าเห็นว่าทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมโทรมอยู่ทุกขณะ เราก็เห็นได้ว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นก็ต้องมีสภาวะที่ต้องทนประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ตลอดเวลา ซึ่งนี่คือลักษณะของทุกขัง และสิ่งใดที่ไม่เที่ยง และต้องทนอยู่ สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ตัวตนอมตะที่จะเป็นของใครได้จริง
ถ้าสิ่งใดจะเป็นตัวตนอมตะแล้ว สิ่งนั้นจะต้องเที่ยง คือเกิดขึ้นมาแล้วจะตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดร (ไม่มีการแตกดับ)ไม่ต้องทนประคับประคองตัวตนของตนเอง (มีแต่ความสุข) ซึ่งนี่คือคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่สอนว่า จิต หรือ วิญญาณ ของเรานี้เป็นอัตตา หรือเป็นตัวเรา ที่ไม่มีวันดับหายไปแม้ร่างกายจะตายไปแล้ว ซึ่งความเชื่อนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่อง นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า ผี เทวดา นางฟ้า รวมทั้งเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติด้วย เป็นต้น ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้ปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนาระดับศีลธรรมมานานแล้วโดยชาวพุทธไม่รู้ตัว
ถ้าจะถามว่า ร่างกายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? เราก็ต้องตอบว่า ไม่เที่ยง เมื่อร่างกายไม่เที่ยง มันก็ต้องทนอยู่ และไม่ใช่ร่างกายจริงๆ (ไม่ใช่ร่างกายอมตะ) เมื่อร่างกายตาย จึงไม่มีการที่ร่างกายเก่าจะเกิดขึ้นมาได้ใหม่อีกเหมือนเดิม (ส่วนการโคลนนิ่งนั้นเป็นแค่การก็อปปี้ร่างกายขึ้นมาใหม่ให้เหมือนร่างกายเก่าเท่านั้น)
ถ้าจะถามว่า จิตเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ใครๆก็ต้องตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อจิตไม่เที่ยง มันก็ต้องทนอยู่ และไม่ใช่ตัวตนจริงๆ (ไม่ใช่ตัวตนอมตะ) เมื่อร่างกายตาย จิตก็ย่อมที่จะดับหายตามไปด้วยทันที เพราะจิตมันต้องอาศัยร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อเกิดขึ้น (ถ้าจิตเป็นอัตตาหรือตัวตนอมตะ มันจะไม่ดับหายไปอย่างเด็ดขาด หรือจะเกิดจิตขึ้นมาได้ใหม่เหมือนเดิม ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์)
สรุปได้ว่า สิ่งที่ชาวพุทธกำลังเข้าใจผิดกันอยู่อย่างมากก็คือ เข้าใจว่า จิตหรือวิญญาณของเรานี้เป็นอัตตา (เป็นสิ่งอมตะ) คือไม่มีวันดับหายไปอย่างเด็ดขาด แม้ร่างกายจะตายแต่จิตจะไม่ตาย หรือแม้ร่างกายจะตายแต่ก็จะเกิดจิตที่เป็นจิตของเราขึ้นมาได้ใหม่ในร่างกายใหม่อีกเรื่อยไป แต่ความจริงมันก็แสดงให้เราพบเห็นอยู่แล้วว่า จิตมีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการเกิดและดับอยู่เสมอ (คือเวลาหลับสนิทและไม่ฝันจิตก็จะดับ แต่พอเวลาตื่น จิตก็จะเกิดขึ้นมา) อีกทั้งเมื่อจิตเกิดขึ้น มันก็ยังมีความรู้สึกที่ต้องทนอยู่ตลอเวลา (เมื่อจิตเกิดความยึดถือว่ามีตนเอง มันก็จะเกิดความรู้สึกที่ทนได้ยาก ที่เรียกว่า ทุกข์ แต่เวลาที่จิตไม่มีความยึดถือว่ามีตนเอง มันก็จะเกิดความรู้สึกที่ทนได้ง่าย ที่เรียกว่า นิพพาน) ซึ่งนี่คือการแสดงให้เราได้เข้าใจได้ว่า จิตนี้เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนที่เป็นตัวตนจริงๆของเราเลย จิตเป็นเพียงตัวตนมายา หรือตัวตนชั่วคราว หรือตัวตนสมมติเท่านั้น ซึ่งนี่คือหัวใจของปัญญาที่จะนำมาใช้ประกอบกับสมาธิ เพื่อใช้ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
ธรรมชาติแสดงธรรมอยู่แล้วตลอดเวลา แต่เราตาบอดมองไม่เห็น
ความไม่เที่ยงนั้นเห็นง่าย เพราะทุกสิ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายไม่ช้าก็เร็วสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็ต้องแตก (ใช้กับวัตถุ) หรือดับ (ใช้กับจิต)ไปในที่สุด ถ้ายังไม่เห็นอนิจจังก็จะไม่เห็นทุกขัง แต่ถ้าเห็นว่าทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมโทรมอยู่ทุกขณะ เราก็เห็นได้ว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นก็ต้องมีสภาวะที่ต้องทนประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ตลอดเวลา ซึ่งนี่คือลักษณะของทุกขัง และสิ่งใดที่ไม่เที่ยง และต้องทนอยู่ สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ตัวตนอมตะที่จะเป็นของใครได้จริง
ถ้าสิ่งใดจะเป็นตัวตนอมตะแล้ว สิ่งนั้นจะต้องเที่ยง คือเกิดขึ้นมาแล้วจะตั้งอยู่ไปชั่วนิรันดร (ไม่มีการแตกดับ)ไม่ต้องทนประคับประคองตัวตนของตนเอง (มีแต่ความสุข) ซึ่งนี่คือคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่สอนว่า จิต หรือ วิญญาณ ของเรานี้เป็นอัตตา หรือเป็นตัวเรา ที่ไม่มีวันดับหายไปแม้ร่างกายจะตายไปแล้ว ซึ่งความเชื่อนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่อง นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า ผี เทวดา นางฟ้า รวมทั้งเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติด้วย เป็นต้น ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้ปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนาระดับศีลธรรมมานานแล้วโดยชาวพุทธไม่รู้ตัว
ถ้าจะถามว่า ร่างกายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? เราก็ต้องตอบว่า ไม่เที่ยง เมื่อร่างกายไม่เที่ยง มันก็ต้องทนอยู่ และไม่ใช่ร่างกายจริงๆ (ไม่ใช่ร่างกายอมตะ) เมื่อร่างกายตาย จึงไม่มีการที่ร่างกายเก่าจะเกิดขึ้นมาได้ใหม่อีกเหมือนเดิม (ส่วนการโคลนนิ่งนั้นเป็นแค่การก็อปปี้ร่างกายขึ้นมาใหม่ให้เหมือนร่างกายเก่าเท่านั้น)
ถ้าจะถามว่า จิตเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ใครๆก็ต้องตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อจิตไม่เที่ยง มันก็ต้องทนอยู่ และไม่ใช่ตัวตนจริงๆ (ไม่ใช่ตัวตนอมตะ) เมื่อร่างกายตาย จิตก็ย่อมที่จะดับหายตามไปด้วยทันที เพราะจิตมันต้องอาศัยร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อเกิดขึ้น (ถ้าจิตเป็นอัตตาหรือตัวตนอมตะ มันจะไม่ดับหายไปอย่างเด็ดขาด หรือจะเกิดจิตขึ้นมาได้ใหม่เหมือนเดิม ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์)
สรุปได้ว่า สิ่งที่ชาวพุทธกำลังเข้าใจผิดกันอยู่อย่างมากก็คือ เข้าใจว่า จิตหรือวิญญาณของเรานี้เป็นอัตตา (เป็นสิ่งอมตะ) คือไม่มีวันดับหายไปอย่างเด็ดขาด แม้ร่างกายจะตายแต่จิตจะไม่ตาย หรือแม้ร่างกายจะตายแต่ก็จะเกิดจิตที่เป็นจิตของเราขึ้นมาได้ใหม่ในร่างกายใหม่อีกเรื่อยไป แต่ความจริงมันก็แสดงให้เราพบเห็นอยู่แล้วว่า จิตมีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการเกิดและดับอยู่เสมอ (คือเวลาหลับสนิทและไม่ฝันจิตก็จะดับ แต่พอเวลาตื่น จิตก็จะเกิดขึ้นมา) อีกทั้งเมื่อจิตเกิดขึ้น มันก็ยังมีความรู้สึกที่ต้องทนอยู่ตลอเวลา (เมื่อจิตเกิดความยึดถือว่ามีตนเอง มันก็จะเกิดความรู้สึกที่ทนได้ยาก ที่เรียกว่า ทุกข์ แต่เวลาที่จิตไม่มีความยึดถือว่ามีตนเอง มันก็จะเกิดความรู้สึกที่ทนได้ง่าย ที่เรียกว่า นิพพาน) ซึ่งนี่คือการแสดงให้เราได้เข้าใจได้ว่า จิตนี้เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนที่เป็นตัวตนจริงๆของเราเลย จิตเป็นเพียงตัวตนมายา หรือตัวตนชั่วคราว หรือตัวตนสมมติเท่านั้น ซึ่งนี่คือหัวใจของปัญญาที่จะนำมาใช้ประกอบกับสมาธิ เพื่อใช้ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า