แผนเดินหน้าประเทศไทย
"ปฏิรูปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ" ของ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีอะไรใหม่
ถ้าใช้ภาษาแบบ
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ก็ต้องบอกว่า
"ไม่มีอะไรในกอไผ่" และ "
ผิดที่-ผิดทาง"
เพราะอย่างไรเสีย จุดยืนของอภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง อันเป็นกลไกที่ใช้รับฟัง
เสียงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมที่สุด เป็นลำดับแรก
สังคมการเมืองที่ดีในทรรศนะของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังต้องยึดโยงอยู่กับข้อเสนอการจัดตั้ง
สภาปฏิรูป อันกอปรขึ้นมาจากคณะบุคคลซึ่งไม่ได้มีที่มายึดโยงอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
สังคมการเมืองที่ดีดังกล่าว ยังต้องเกิดขึ้นหลังจากการชำระล้างนักการเมืองออกไปจากระบบการเมือง
เป็นการชั่วคราว
เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะกาล มีนายกฯคนกลาง ที่ได้รับการสรรหาจากประธานวุฒิสภา และเป็น
บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
ไปๆ มาๆ อภิสิทธิ์ จึงยังคง
"ผลิตซ้ำ" แนวคิดที่ว่านักการเมืองเป็นบ่อเกิดของความเลวร้ายต่างๆ นานา
ส่วนผู้ที่จะลงมาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ก็กลับกลายเป็นบรรดาคนดีใสสะอาด ผู้ดำรงตนอยู่เหนือ
ระบบการเมืองอันโสโครกฟอนเฟะ
คำถามข้อแรกมีอยู่ว่า เฮ้ย! สังคมไทยมันยังมีคนดี คนกลาง ซึ่งเป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
หลงเหลืออยู่อีกเหรอ คุณอภิสิทธิ์?
คำถามต่อมา คือ เราเชื่อกันจริงๆ หรือ ว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ก่อตัวขึ้นและดำเนินมา
จนเกือบจะครบทศวรรษนั้นเกิดจากนักการเมืองในสนามเลือกตั้งล้วนๆ แต่เพียงฝ่ายเดียว?
คนดี คนกลาง คนที่เคยได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ที่บางส่วนจะเข้าร่วมเป็นมันสมองในการปฏิรูป
ตามข้อเสนอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ถือเป็นบุคคลอีกกลุ่มก้อนหนึ่งซึ่งมีส่วนกระทืบซ้ำให้ปัญหาการเมืองระลอกนี้ มันลุกลาม เรื้อรัง หนักขึ้น
ด้วยหรือไม่?
คำถามอีกข้อ คือ ต่อให้สุดท้าย มีการปฏิรูปประเทศภายใต้กรอบเนื้อหาที่สภาปฏิรูปวางเอาไว้เกิดขึ้นจริง
ตามข้อเสนอของอภิสิทธิ์
เราจะแน่ใจได้เพียงใดว่า "ปัญหาสำคัญทางการเมือง" ทุกประการของสังคมไทย จะถูกนำมาพิจารณา
อภิปราย ถกเถียง และหาทางแก้ไขให้ลุล่วง ในกระบวนการปฏิรูปดังกล่าว?
และคณะบุคคลกลุ่มเล็กๆ ที่เข้ามาจัดทำกรอบกติกาในการปฏิรูป ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นตัวแทนของ
ประชาชน ขณะเดียวกัน
ก็อาจไม่ได้เป็นตัวแทนของชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เต็ม 100%
จะสามารถรับผิดชอบได้ไหวหรือไม่ หาก "ปัญหาสำคัญ" ทุกประการของสังคม ถูกนำมาพิจารณา
ในกระบวนการทำงานของพวกตน?
ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื้อรัง
ทางการเมืองไทย ให้สำเร็จเสร็จสิ้นในเวลาอันรวดเร็ว
แต่อย่างน้อย หากทุกพรรคการเมืองพยายามนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ ผ่านนโยบาย
หาเสียงของตนเอง
แล้วมอบหมายให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่ง ในขั้นตอนสุดท้ายที่
คูหาเลือกตั้ง
ผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อกระบวนการปฏิรูปก็จะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งยังถือเป็นพลัง
ต่อรองอันไพศาลที่จะผลักดันแผนการปฏิรูปดังกล่าวให้ไปถึงเป้าหมาย
นอกจากนั้น คะแนนเสียงของประชาชนที่แสดงผ่านบัตรเลือกตั้ง ยังสามารถถูกนำไปอ่านและตีความ
เพื่อหานัยยะทางการเมืองอื่นๆ
ซึ่งซับซ้อนมากไปกว่าเรื่องการเลือกผู้นำหรือนโยบายของพรรคการเมือง อันปรากฏชัดเป็นรูปธรรม
เช่น คะแนนเสียงมหาศาลของพรรคเพื่อไทยในปี 2554 อาจมิได้เกิดจากความนิยมต่อตัว
"ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" หรือนโยบายประชานิยมเพียงเท่านั้น
ทว่า ยังอาจสื่อถึงความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อเหล่าผู้มีอำนาจที่ร่วมกันสั่งการให้ทหารสังหาร
ประชาชนในปี 2553 ด้วย
......................
ที่มา:มติชนรายวัน 5 พ.ค.2557)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1399301767&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ปราปต์ บุนปาน : ปฏิรูป? คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่12 มติชนออนไลน์
ถ้าใช้ภาษาแบบ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ก็ต้องบอกว่า "ไม่มีอะไรในกอไผ่" และ "ผิดที่-ผิดทาง"
เพราะอย่างไรเสีย จุดยืนของอภิสิทธิ์ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง อันเป็นกลไกที่ใช้รับฟัง
เสียงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมที่สุด เป็นลำดับแรก
สังคมการเมืองที่ดีในทรรศนะของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังต้องยึดโยงอยู่กับข้อเสนอการจัดตั้ง
สภาปฏิรูป อันกอปรขึ้นมาจากคณะบุคคลซึ่งไม่ได้มีที่มายึดโยงอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
สังคมการเมืองที่ดีดังกล่าว ยังต้องเกิดขึ้นหลังจากการชำระล้างนักการเมืองออกไปจากระบบการเมือง
เป็นการชั่วคราว
เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะกาล มีนายกฯคนกลาง ที่ได้รับการสรรหาจากประธานวุฒิสภา และเป็น
บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
ไปๆ มาๆ อภิสิทธิ์ จึงยังคง "ผลิตซ้ำ" แนวคิดที่ว่านักการเมืองเป็นบ่อเกิดของความเลวร้ายต่างๆ นานา
ส่วนผู้ที่จะลงมาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ก็กลับกลายเป็นบรรดาคนดีใสสะอาด ผู้ดำรงตนอยู่เหนือ
ระบบการเมืองอันโสโครกฟอนเฟะ
คำถามข้อแรกมีอยู่ว่า เฮ้ย! สังคมไทยมันยังมีคนดี คนกลาง ซึ่งเป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
หลงเหลืออยู่อีกเหรอ คุณอภิสิทธิ์?
คำถามต่อมา คือ เราเชื่อกันจริงๆ หรือ ว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ก่อตัวขึ้นและดำเนินมา
จนเกือบจะครบทศวรรษนั้นเกิดจากนักการเมืองในสนามเลือกตั้งล้วนๆ แต่เพียงฝ่ายเดียว?
คนดี คนกลาง คนที่เคยได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ที่บางส่วนจะเข้าร่วมเป็นมันสมองในการปฏิรูป
ตามข้อเสนอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ถือเป็นบุคคลอีกกลุ่มก้อนหนึ่งซึ่งมีส่วนกระทืบซ้ำให้ปัญหาการเมืองระลอกนี้ มันลุกลาม เรื้อรัง หนักขึ้น
ด้วยหรือไม่?
คำถามอีกข้อ คือ ต่อให้สุดท้าย มีการปฏิรูปประเทศภายใต้กรอบเนื้อหาที่สภาปฏิรูปวางเอาไว้เกิดขึ้นจริง
ตามข้อเสนอของอภิสิทธิ์
เราจะแน่ใจได้เพียงใดว่า "ปัญหาสำคัญทางการเมือง" ทุกประการของสังคมไทย จะถูกนำมาพิจารณา
อภิปราย ถกเถียง และหาทางแก้ไขให้ลุล่วง ในกระบวนการปฏิรูปดังกล่าว?
และคณะบุคคลกลุ่มเล็กๆ ที่เข้ามาจัดทำกรอบกติกาในการปฏิรูป ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นตัวแทนของ
ประชาชน ขณะเดียวกัน
ก็อาจไม่ได้เป็นตัวแทนของชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เต็ม 100%
จะสามารถรับผิดชอบได้ไหวหรือไม่ หาก "ปัญหาสำคัญ" ทุกประการของสังคม ถูกนำมาพิจารณา
ในกระบวนการทำงานของพวกตน?
ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื้อรัง
ทางการเมืองไทย ให้สำเร็จเสร็จสิ้นในเวลาอันรวดเร็ว
แต่อย่างน้อย หากทุกพรรคการเมืองพยายามนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ ผ่านนโยบาย
หาเสียงของตนเอง
แล้วมอบหมายให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่ง ในขั้นตอนสุดท้ายที่
คูหาเลือกตั้ง
ผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อกระบวนการปฏิรูปก็จะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งยังถือเป็นพลัง
ต่อรองอันไพศาลที่จะผลักดันแผนการปฏิรูปดังกล่าวให้ไปถึงเป้าหมาย
นอกจากนั้น คะแนนเสียงของประชาชนที่แสดงผ่านบัตรเลือกตั้ง ยังสามารถถูกนำไปอ่านและตีความ
เพื่อหานัยยะทางการเมืองอื่นๆ
ซึ่งซับซ้อนมากไปกว่าเรื่องการเลือกผู้นำหรือนโยบายของพรรคการเมือง อันปรากฏชัดเป็นรูปธรรม
เช่น คะแนนเสียงมหาศาลของพรรคเพื่อไทยในปี 2554 อาจมิได้เกิดจากความนิยมต่อตัว
"ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" หรือนโยบายประชานิยมเพียงเท่านั้น
ทว่า ยังอาจสื่อถึงความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อเหล่าผู้มีอำนาจที่ร่วมกันสั่งการให้ทหารสังหาร
ประชาชนในปี 2553 ด้วย
......................
ที่มา:มติชนรายวัน 5 พ.ค.2557)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1399301767&grpid=&catid=02&subcatid=0207