ย้อนอดีต สถานีเรดาห์เกาะคา (Ko Kha Radar Site)

ในยุคสงครามเวียดนาม ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการวางกำลังรบของอเมริกา
อาวุธยุทโธปกรณ์ประดามีมาเต็มกำลังรบ

     ลำปางเป็นอีกจุดหนึ่งที่อเมริกามาวางกำลังส่วนที่มีความสำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับภาพเสาอากาศดักรับสัญญานวิทยุขนาดใหญ่โตที่ค่ายรามสูรมากกว่า
บางคนมองว่าเป็นสถานีเรดาห์  แต่ที่จริงสถานีที่ค่ายรามสูรเป็นสถานีดักจับข้อมูลการสื่อสาร
ค้นหาที่ตั้งสถานีส่งสัญญานวิทยุต่างๆ

     สถานีเรดาห์ ที่มีประสิทธภาพสูงมากในขณะนั้นถูกสร้างขึ้นที่อำเภอเกาะคา บริเวณด้านหลังศูนย์จำหน่ายสินค้าเซรามิค
ริมถนนสายเอเซียบริเวณเกาะคา ลำปางนั่นเอง


หน้าประตูในอดีต

U.S. Army - Air Force Radar & Communication Sites - Thailand
สถานีเกาะคามีหน่วยงานทางทหารของอเมริกามาตั้งอยู่หลายส่วนคือ

General Electric
17th Radar Squadron (RADRON) (ADC)
17th Space Surveillance Squadron

1985th Communications Squadron Detachment B (CS)
1985th Communications Squadron Detachment 1
1985th Communications Squadron Detachment 6

621st Tactical Control Squadron (TCS)
6300th Aerospace Support Squadron

6201st Air Base Squadron
6201st Combat Support Group (CSG)
6201st Security Police Squadron (SPS)

46th Special Forces Co (SF)

หากแบ่งเป็นกลุ่มๆ ก็มี

กลุ่มของสถานีเรดาห์ ประจำการปี พ.ศ.2514 - 2519


สถานีเรดาห์นี้ทำหน้าที่ตรวจจับการยิงขีปนาวุธได้ถึงรัสเซียและจีน รวมถึงอากาศยานต่างๆด้วย
(Space Surveillance)

สถานีระบบนำร่องอากาศยาน LORAN-C (LONG RANGE NAVIGATION) ประจำการปี พ.ศ.2509 - 2519
มาก่อนสถานีเรดาห์  หน่วยนี้ดูแลโดย US Coast Guard
เสาส่งสัญญาน LORAN

แก้ไขชื่อของสายอากาศ
23 พค.65
จาก:สถานีทวนสัญญาน
จานไมโครเวฟ
เป็น TROPOSPHERIC SCATTER ANTENNA
เป็นระบบการสื่อสารที่รองรับการติดต่ ระยะทางไกล
ผ่านการสะท้อนที่บรรยากาศชั้น โทรโพสเฟียร์

โดยจะทวนสัญญานของระบบโทรศัพท์จากภาคเหนือไปจนถึงสถานีอื่นในเครือข่ายที่หันทิศทางตรงกัน
คาดว่าอาจเป็นสถานีบางพระ
ระบบนี้สร้างขึ้นเป็นเครือข่ายเฉพาะของอเมริกาไม่ต้องใช้ของระบบพื้นฐานในไทย
หน่วยงานไทยสามารถใช้ได้(แต่ชั้นแอบฟังนะ ยิ้ม )

กลุ่มบังคับการ และ กลุ่มรักษาความปลอดภัย
(รวมทั้งหมดเราเรียกว่า CIA Electronics Stations)
เบ็ดเสร็จมีชาวอเมริกันอยู่ประมาณ 250 ชีวิต และลูกจ้างไทยจำนวนหนึ่ง

สาวเกาะคา น่าฮักแม่นก่อล่ะ

การทำงานของระบบ LORAN คือ ระบบช่วยเดินอากาศของอากาศยาน จะมีสถานีส่งสัญญานเป็นเครือข่าย
ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสถานีอยู่ที่ลำปาง ,สัตหีบ และเกาะ CON SON เวียดนามใต้ สามที่ทำงานร่วมกัน
อากาศยานจะรับสัญญานจากสามสถานี และประมวลผลตำแหน่ง ทิศทางของตนเอง

Con Son Station เวียดนาม

ภาพขณะทีมงานจากบริษัทเจนเนอรอลอีเลคทริค (GE)ติดตั้งระบบเรดาห์

ลงวงจรบนกระดานดำนี่แหละ

ติดตั้ง


ควันจากโรงปั่นไฟนะครับ ไม่ใช่ไฟไหม้เรดาห์

เครื่องติดละ ควันหายไปแล้ว

ทดสอบการทำงาน

เครื่องบันทึกข้อมูลระบบดิจิตอล
เครื่องบันทึกคลื่นสัญญาน
แหล่งกำเนิดพลังงานหรือโรงเจนเนอร์เรเตอร์

ผมนำภาพมาจากอีกสถานีหนึ่งมา ด้านในจะคล้ายๆกัน คือเป็นเครื่องยนต์ไปหมุนเจนเนอเรเตอร์ขนาดใหญ่

Klystron tube อธิบายง่ายๆคือ ตัวขยายพลังงานเหมือนหลอดขยายสัญญานเลย แต่ตัวนี้ขยายสัญญานไมโครเวฟ
เพื่อส่งสัญญานเรดาห์ออกไปนั่นเอง
ติดตั้งเสร็จขอภาพคู่จานเรดาห์เป็นที่ระทึกหน่อย

ร่วมไว้อาลัยกับ Clystron tube ที่จากไป

เลิกงานก็ปาร์ตี้บ้าง  เอ๊ะ! แม่ญิงเสื้อแดงนี่ของแต้ก่อ

ยามเช้า ท่ามกลางสายหมอก


ยังไม่จบ  มีภาคสอง เดี๋ยวมาต่อครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่