ปปง.ส่งเรื่องยึดทรัพย์อดีตผู้บริหารธนาคารมหานครให้อัยการแล้ว

กระทู้สนทนา
แม้คดีทุจริตธนาคารมหานคร ที่มีมูลค่าความเสียหายกว่า 4 พันล้านบาท จะไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล เนื่องจาก 1 ในผู้ต้องหาหลบหนี กระทั่งคดีขาดอายุความ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมปีที่แล้ว
แต่ยังมีมาตรการยึดทรัพย์สินตามกฎหมายการฟองเงิน ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ง.ได้ส่งเรื่องให้อัยการ เพื่อส่งคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งยึดทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน    เป็นการคำชี้แจ้งถึงขั้นตอนการยึดทรัพย์สิน จากความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงทรัพย์สิน       

ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่ระบุให้ เลขาธิการ ป.ป.ง.ส่งเรื่องนั้นให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำ ร้องขอให้ศาลมีคำ สั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว   กรณีคดีทุจริตธนาคารมหานคร มูลค่าความเสียหายกว่า 4,100 ล้านบาท หมดอายุความก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคมปีที่แล้ว

เนื่องจากนางภคินี สุวรรณภักดี ภรรยาของนางสมพงศ์ อดีตอัยการ และเป็นมารดาของนายอรรถวิชช์ สวรรณภักดี ส.ส.กรุงเทพ เขต 9 พรรคประชาธิปัตย์  ผู้ต้องหาที่ 3 อดีต รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อธนาคารมหานคร หลบหนีระหว่างขั้นตอนอัยการนำสำนวนส่งฟ้องต่อศาล   แม้ที่ผ่านมา ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ ปอศ. ในฐานะพนักงานสอบสวนในคดี ได้ใช้ความพยายามในการจับกุม   คดีนี้ มีตอบโต้กันอย่างดุเดือดระหว่าง ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กับนายอรรถวิชชย์ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ช่วงกระทู้ถามสด เรื่องการดำเนินการกับอาชญากรทางเศรษฐกิจการเงินวันที่ 11 ตุลาคมปีที่แล้ว    ในรายงานการสอบสวนคดีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนางภคินี และพวกรวม 4 คน ระบุถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา 307 , 311 , 313 และ 315 ในฐานะผู้ดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  เหตุเกิดระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2538 ถึง 30 ตุลาคม 2540 ต่อเนื่องกัน  ผู้ต้องหาที่ 1-3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้ต้องหาที่ 4 และบริษัทในเครือ และบุคคลอื่นที่เปิดบัญชีไว้แทนผู้ต้องหาที่ 4 ทั้งหมด 7 บัญชี จำนวน 33 ครั้ง จ่ายเงินไป 144 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,195 ล้านบาท โดยผู้ตรวจการของธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบพบว่า ผู้ต้องหาที่ 4 มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียง 47 ล้านบาท และยังพบว่า เป็นการอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจของผู้ต้องหา รวมทั้งได้จ่ายสินเชื่อไปก่อนที่คณะกรรมการบริหารธนาคารจะอนุมัติ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนและสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนต่ออัยการเมื่อปี 2548 แต่ในช่วงที่อัยการจะส่งสำนวนฟ้องต่อศาล นางภคินี ผู้ต้องหาที่ 3 ได้หลบหนี กระทั่งคดีขาดอายุความก่อนเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ความผิดในชั้นศาล
by Veeraporn20 กันยายน 2556 เวลา 17:55 น.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่