กระทู้นี้ต่อเนื่องมาจากกระทู้แรกตามลิ้งนี้
http://pantip.com/topic/30781248
-------------------------------------------------------------------------------------------
ความเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวงจรของสายเกิดอันเป็นปัจจัยแห่งการเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่าย ตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยปฏิจจสมุปบาทแต่ละองค์มีความเกี่ยวข้องกันดังต่อไปนี้
1.อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หมายความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำบุญทำบาป คือ
อวิชชา → สังขาร → กรรม (ดี-ชั่ว) → วิบาก (ดี-ชั่ว)
ดังที่ทราบแล้วว่า กรรมทางกาย วาจา ใจ ของมนุษย์เริ่มต้นจากเจตนา เจตนานี้มีทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งส่งผลให้เกิดการคิดดี พูดดี ทำดี หรือ คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ซึ่งเป็นส่วนของสังขาร เจตนานี้เองก็มีอวิชชาเป็นมูลฐาน ทำให้ประกอบสิ่งที่เป็น กุศล หรือ อกุศล ซึ่งอธิบายในรายละเอียดดังนี้
(1)อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำดี โดยความดีนี้มี 3 ระดับ คือ
ระดับกามาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้ได้มนุษยสมบัติและสวรรค์สมบัติ ความดีระดับนี้แบ่งออกเป็นความดีทางกาย วาจาและใจ ความดีทางกายและวาจาเริ่มต้นมาจากความดี ทางใจเป็นพื้นฐาน เมื่อมีความดีทางใจ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความดีทางกายและทางวาจาติดตามมา จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะทำโดยปรารถนาให้ได้มนุษยสมบัติ คือ เกิดเป็นมนุษย์ถึงพร้อมด้วยลาภยศเป็นเครื่องตอบแทน ยังปรารถนาการเวียนว่ายตายเกิดเพราะไม่รู้แจ้งนามรูปตามที่เป็นจริง
ระดับรูปาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้เกิดเป็นพรหมมีรูปร่าง ได้แก่ การได้รูปฌาน 4 จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะผู้ทำทำพร้อมทั้งปรารถนาการได้เกิดเป็นรูปพรหม นับว่ายังข้องอยู่ในนามรูป
ระดับอรูปาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้เกิดเป็นอรูปพรหม ได้แก่ การได้อรูปฌาน 4 จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะปรารถนาการได้เป็นอรูปพรหม คือ พรหมไม่มีรูป ยังข้องอยู่ในนาม16)
(2)อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำชั่ว ความชั่วนี้มีทั้งความชั่วทางกาย วาจา และใจ โดยเริ่มต้นมาจากความชั่วทางใจเป็นพื้นฐาน โดยมีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะไม่รู้จึงทำชั่ว ทั้งทางกาย วาจา และใจ
อวิชชาเป็นปัจจัยแก่การทำชั่วหรือบาปอันส่งผลให้เกิดความทุกข์ และยังผลให้สัตว์ไปเกิดในอบายภูมิเป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยธรรมดา ส่วนอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดการทำดีหรือบุญซึ่งเป็นวัฏคามี คือ เพื่อจะได้ท่องเที่ยวเสวยสุขในวัฏสงสาร เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะฝืนความรู้สึก คล้ายกับว่าอวิชชาเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่พึงปรารถนา ส่วนบุญกุศล การเกิดในสวรรค์ ในพรหมโลก ถือว่าเป็นสิ่งพึงปรารถนา ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า สิ่งที่ดีจะเกิดจากสิ่งที่ไม่ดีได้อย่างไร หรือสิ่งที่พึงปรารถนาจะเกิดจากสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาได้อย่างไร คำตอบนั้นมีปรากฏให้เราเห็นอยู่ในสังคมทั่วไป เช่น ถ้าสมมติว่ากฎหมายเป็นสิ่งดีทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุข ก่อนจะมีกฎหมายก็จะต้องมีคนไม่ดีก่อกวนสังคมมาก่อนกฎหมายจึงเกิดขึ้น เจตนาในการสร้างกฎหมายก็เพื่อป้องกันมิให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ตำรวจเกิดมีขึ้นก็เพราะมีโจรผู้ร้าย ศาลยุติธรรมเกิดมีขึ้นเพราะมีการทุจริต ในกรณีนี้สิ่งไม่ดีจึงเป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งที่ดี17)
บุญ สวรรค์ หรือพรหมโลก เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่ออยู่ในภพภูมิที่ดีได้เสวยสุข แต่ในแง่ของการตัดวงจรสังสารวัฏ ในฐานะของพระอรหันต์ผู้หมดกิเลส การมีบุญ สวรรค์ หรือพรหมโลก ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะพระอรหันต์คือผู้ละบุญและบาปได้แล้ว ดังที่พุทธพจน์ที่ว่า
“ ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาปได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลี รู้โลกนี้และโลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คงที่เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นสมณะ”18)
สรุปแล้ว อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หมายถึง ความไม่รู้ทำให้คนทำดีทำชั่ว การทำดีทำชั่วนั้นย่อมต้องมีวิบาก เพราะฉะนั้น สังขาร คือ เจตนา จึงเป็นทั้งกรรมและวิบาก แล้วสังขารฝ่ายวิบาก(เจตนาฝ่ายวิบาก) นี้เองที่เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณต่อไป
2.สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เมื่อมีสังขารหรือเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ (ความคิด) เกิดขึ้นตามที่ได้เคยสั่งสมไว้ ในกระบวนการทางจิตจักมีวิญญาณมารับรู้สังขารหรือเจตนานั้น วิญญาณจึงทําหน้าที่คล้ายๆ ระบบประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกาย จิต และสิ่งแวดล้อม พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ” หมายความว่า สังขาร คือ บุญหรือบาปที่เราได้ทำไว้ จะเป็นชนกผู้ให้กำเนิดปฏิสนธิวิญญาณ พระพุทธองค์ยังได้กล่าวว่า เมื่อเวลาใกล้จะตาย สังขาร คือ บุญหรือบาปที่เป็นชนกนั้นก็จะมาปรากฏเป็นอารมณ์ โดยเป็นกรรมนิมิตหรือคตินิมิต ปรากฏในมโนทวาร จุติจิต คือ จิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพก็จะเกิดขึ้น พอจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตจะถูกกรรมผลักดันให้เกิดขึ้นในภพใหม่ทันที
ที่กล่าวมานั้นเป็นสังขารทำให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ สำหรับสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดปวัตติวิญญาณ คือ สังขารฝ่ายวิบากที่ดีเป็นปัจจัยให้เกิดการรับรู้ที่ดี คือ เจตนาฝ่ายวิบากที่ดีทำให้เกิดการรับรู้ผ่านทวารต่างๆ เป็นการรับรู้ที่ดี สังขารฝ่ายวิบากที่ชั่วเป็นปัจจัยให้เกิดการรับรู้ที่ไม่ดี คือ เจตนาฝ่ายวิบากที่ชั่ว ทำให้เกิดการรับผ่านทวารต่างๆ ที่ไม่ดี
3.วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป คือ ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ในภพใหม่ นั่นคือส่วนของรูป ซึ่งจะค่อยๆ มีการพัฒนาไปตามลำดับ จนกระทั่งเติบโตดังที่ พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ รูปนี้เป็นกลละก่อน จากกลละเป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น 5 ปุ่ม(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ(เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์ บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น”19)
กลละนี้ คือ ส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่ ในอรรถกถากล่าวว่า กลละมีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ 3 เส้น มีสีใสไม่ขุ่นมัว เหมือนหยาดน้ำมันงาหรือเนยใส20)
เมื่อมนุษย์เจริญเติบโตขึ้นตามลำดับวัย ปวัตติวิญญาณสามารถทำหน้าที่ทางทวาร 6 ได้อย่างเต็มที่ ช่วงนี้ทำให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ของกรณีที่ว่า สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป ได้อย่างชัดเจน สังขาร คือ เจตนาทางกาย วาจา ใจ วิญญาณ ได้แก่วิญญาณ 6 นามได้แก่ เจตสิก รูป ได้แก่ร่างกายส่วนที่เป็นรูปพร้อมทั้งคุณลักษณะอาการของรูปทั้งหมด เมื่อมนุษย์ทำสิ่งใดลงไป วิญญาณทางทวาร 6 ทางใดทางหนึ่งก็เกิดขึ้น พร้อมกับองค์ประกอบของตน เช่นนี้ วิญญาณจึงเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
4.นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เมื่อมีนามรูปครบองค์ของชีวิต คือ ทําหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ย่อมทําให้สฬายตนะ คือ อวัยวะส่วนต่างๆ ของนามรูป ที่ใช้สื่อกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 หรือเรียกว่า อายตนะภายใน อันเกิดร่วมมาด้วยโดยธรรมชาติ มีการเริ่มทําหน้าที่ของตน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดหรือมีสฬายตนะ หรือก็คืออายตนะ 6 นี้มีอยู่แล้ว แต่เริ่มทํางานตามหน้าที่คือ กระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ร่วมกับวิญญาณ ทำให้เกิดการรับรู้
5.สฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เมื่อมีสฬายตนะแล้ว ย่อมต้องมีการผัสสะ คือ การประจวบกระทบกันกับสิ่งที่ถูกรู้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ทั้ง 6 หรือเรียกว่า อายตนะภายนอก และมีการรับรู้ (วิญญาณ) เกิดขึ้น เช่น
ตา + รูป + จักขุวิญญาณ กระทบกัน »> ผัสสะ
สังเกตให้ดีว่า เป็นขบวนการธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรสสัมผัส กายกระทบสัมผัส ย่อมเกิดวิญญาณการรู้แจ้งในสิ่งที่สัมผัสหรือกระทบนั้นเป็นอาการธรรมดา แต่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดทุกข์ขึ้น
6.ผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น คือมีการกระทบกันของอายตนะภายในและภายนอก และมีการรับรู้ คือ วิญญาณ ก็จะบังเกิดเป็นเวทนา คือการเสวยอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (โผฏฐัพพะ) ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ โดยมีความจํา (สัญญา) มาจําแนกการรับรู้นั้นว่าเป็นถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆ จึงแยกเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข หรือเฉยๆ ตามมาเป็นธรรมชาติ ผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท 2
-------------------------------------------------------------------------------------------
ความเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวงจรของสายเกิดอันเป็นปัจจัยแห่งการเกิดสังสารวัฏ การเวียนว่าย ตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยปฏิจจสมุปบาทแต่ละองค์มีความเกี่ยวข้องกันดังต่อไปนี้
1.อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หมายความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำบุญทำบาป คือ
อวิชชา → สังขาร → กรรม (ดี-ชั่ว) → วิบาก (ดี-ชั่ว)
ดังที่ทราบแล้วว่า กรรมทางกาย วาจา ใจ ของมนุษย์เริ่มต้นจากเจตนา เจตนานี้มีทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งส่งผลให้เกิดการคิดดี พูดดี ทำดี หรือ คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ซึ่งเป็นส่วนของสังขาร เจตนานี้เองก็มีอวิชชาเป็นมูลฐาน ทำให้ประกอบสิ่งที่เป็น กุศล หรือ อกุศล ซึ่งอธิบายในรายละเอียดดังนี้
(1)อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำดี โดยความดีนี้มี 3 ระดับ คือ
ระดับกามาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้ได้มนุษยสมบัติและสวรรค์สมบัติ ความดีระดับนี้แบ่งออกเป็นความดีทางกาย วาจาและใจ ความดีทางกายและวาจาเริ่มต้นมาจากความดี ทางใจเป็นพื้นฐาน เมื่อมีความดีทางใจ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความดีทางกายและทางวาจาติดตามมา จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะทำโดยปรารถนาให้ได้มนุษยสมบัติ คือ เกิดเป็นมนุษย์ถึงพร้อมด้วยลาภยศเป็นเครื่องตอบแทน ยังปรารถนาการเวียนว่ายตายเกิดเพราะไม่รู้แจ้งนามรูปตามที่เป็นจริง
ระดับรูปาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้เกิดเป็นพรหมมีรูปร่าง ได้แก่ การได้รูปฌาน 4 จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะผู้ทำทำพร้อมทั้งปรารถนาการได้เกิดเป็นรูปพรหม นับว่ายังข้องอยู่ในนามรูป
ระดับอรูปาวจร คือ ความดีที่ส่งผลให้เกิดเป็นอรูปพรหม ได้แก่ การได้อรูปฌาน 4 จัดว่ามีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะปรารถนาการได้เป็นอรูปพรหม คือ พรหมไม่มีรูป ยังข้องอยู่ในนาม16)
(2)อวิชชาเป็นปัจจัยให้ทำชั่ว ความชั่วนี้มีทั้งความชั่วทางกาย วาจา และใจ โดยเริ่มต้นมาจากความชั่วทางใจเป็นพื้นฐาน โดยมีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะไม่รู้จึงทำชั่ว ทั้งทางกาย วาจา และใจ
อวิชชาเป็นปัจจัยแก่การทำชั่วหรือบาปอันส่งผลให้เกิดความทุกข์ และยังผลให้สัตว์ไปเกิดในอบายภูมิเป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยธรรมดา ส่วนอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดการทำดีหรือบุญซึ่งเป็นวัฏคามี คือ เพื่อจะได้ท่องเที่ยวเสวยสุขในวัฏสงสาร เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะฝืนความรู้สึก คล้ายกับว่าอวิชชาเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่พึงปรารถนา ส่วนบุญกุศล การเกิดในสวรรค์ ในพรหมโลก ถือว่าเป็นสิ่งพึงปรารถนา ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า สิ่งที่ดีจะเกิดจากสิ่งที่ไม่ดีได้อย่างไร หรือสิ่งที่พึงปรารถนาจะเกิดจากสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาได้อย่างไร คำตอบนั้นมีปรากฏให้เราเห็นอยู่ในสังคมทั่วไป เช่น ถ้าสมมติว่ากฎหมายเป็นสิ่งดีทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุข ก่อนจะมีกฎหมายก็จะต้องมีคนไม่ดีก่อกวนสังคมมาก่อนกฎหมายจึงเกิดขึ้น เจตนาในการสร้างกฎหมายก็เพื่อป้องกันมิให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้น ตำรวจเกิดมีขึ้นก็เพราะมีโจรผู้ร้าย ศาลยุติธรรมเกิดมีขึ้นเพราะมีการทุจริต ในกรณีนี้สิ่งไม่ดีจึงเป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งที่ดี17)
บุญ สวรรค์ หรือพรหมโลก เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่ออยู่ในภพภูมิที่ดีได้เสวยสุข แต่ในแง่ของการตัดวงจรสังสารวัฏ ในฐานะของพระอรหันต์ผู้หมดกิเลส การมีบุญ สวรรค์ หรือพรหมโลก ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะพระอรหันต์คือผู้ละบุญและบาปได้แล้ว ดังที่พุทธพจน์ที่ว่า
“ ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาปได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลี รู้โลกนี้และโลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คงที่เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นสมณะ”18)
สรุปแล้ว อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร หมายถึง ความไม่รู้ทำให้คนทำดีทำชั่ว การทำดีทำชั่วนั้นย่อมต้องมีวิบาก เพราะฉะนั้น สังขาร คือ เจตนา จึงเป็นทั้งกรรมและวิบาก แล้วสังขารฝ่ายวิบาก(เจตนาฝ่ายวิบาก) นี้เองที่เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณต่อไป
2.สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เมื่อมีสังขารหรือเจตนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ (ความคิด) เกิดขึ้นตามที่ได้เคยสั่งสมไว้ ในกระบวนการทางจิตจักมีวิญญาณมารับรู้สังขารหรือเจตนานั้น วิญญาณจึงทําหน้าที่คล้ายๆ ระบบประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกาย จิต และสิ่งแวดล้อม พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ” หมายความว่า สังขาร คือ บุญหรือบาปที่เราได้ทำไว้ จะเป็นชนกผู้ให้กำเนิดปฏิสนธิวิญญาณ พระพุทธองค์ยังได้กล่าวว่า เมื่อเวลาใกล้จะตาย สังขาร คือ บุญหรือบาปที่เป็นชนกนั้นก็จะมาปรากฏเป็นอารมณ์ โดยเป็นกรรมนิมิตหรือคตินิมิต ปรากฏในมโนทวาร จุติจิต คือ จิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพก็จะเกิดขึ้น พอจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตจะถูกกรรมผลักดันให้เกิดขึ้นในภพใหม่ทันที
ที่กล่าวมานั้นเป็นสังขารทำให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณ สำหรับสังขารเป็นปัจจัยให้เกิดปวัตติวิญญาณ คือ สังขารฝ่ายวิบากที่ดีเป็นปัจจัยให้เกิดการรับรู้ที่ดี คือ เจตนาฝ่ายวิบากที่ดีทำให้เกิดการรับรู้ผ่านทวารต่างๆ เป็นการรับรู้ที่ดี สังขารฝ่ายวิบากที่ชั่วเป็นปัจจัยให้เกิดการรับรู้ที่ไม่ดี คือ เจตนาฝ่ายวิบากที่ชั่ว ทำให้เกิดการรับผ่านทวารต่างๆ ที่ไม่ดี
3.วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป คือ ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ในภพใหม่ นั่นคือส่วนของรูป ซึ่งจะค่อยๆ มีการพัฒนาไปตามลำดับ จนกระทั่งเติบโตดังที่ พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ รูปนี้เป็นกลละก่อน จากกลละเป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น 5 ปุ่ม(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ(เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์ บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น”19)
กลละนี้ คือ ส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่ ในอรรถกถากล่าวว่า กลละมีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ 3 เส้น มีสีใสไม่ขุ่นมัว เหมือนหยาดน้ำมันงาหรือเนยใส20)
เมื่อมนุษย์เจริญเติบโตขึ้นตามลำดับวัย ปวัตติวิญญาณสามารถทำหน้าที่ทางทวาร 6 ได้อย่างเต็มที่ ช่วงนี้ทำให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ของกรณีที่ว่า สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป ได้อย่างชัดเจน สังขาร คือ เจตนาทางกาย วาจา ใจ วิญญาณ ได้แก่วิญญาณ 6 นามได้แก่ เจตสิก รูป ได้แก่ร่างกายส่วนที่เป็นรูปพร้อมทั้งคุณลักษณะอาการของรูปทั้งหมด เมื่อมนุษย์ทำสิ่งใดลงไป วิญญาณทางทวาร 6 ทางใดทางหนึ่งก็เกิดขึ้น พร้อมกับองค์ประกอบของตน เช่นนี้ วิญญาณจึงเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
4.นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เมื่อมีนามรูปครบองค์ของชีวิต คือ ทําหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ย่อมทําให้สฬายตนะ คือ อวัยวะส่วนต่างๆ ของนามรูป ที่ใช้สื่อกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 หรือเรียกว่า อายตนะภายใน อันเกิดร่วมมาด้วยโดยธรรมชาติ มีการเริ่มทําหน้าที่ของตน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดหรือมีสฬายตนะ หรือก็คืออายตนะ 6 นี้มีอยู่แล้ว แต่เริ่มทํางานตามหน้าที่คือ กระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ร่วมกับวิญญาณ ทำให้เกิดการรับรู้
5.สฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เมื่อมีสฬายตนะแล้ว ย่อมต้องมีการผัสสะ คือ การประจวบกระทบกันกับสิ่งที่ถูกรู้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ทั้ง 6 หรือเรียกว่า อายตนะภายนอก และมีการรับรู้ (วิญญาณ) เกิดขึ้น เช่น
ตา + รูป + จักขุวิญญาณ กระทบกัน »> ผัสสะ
สังเกตให้ดีว่า เป็นขบวนการธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรสสัมผัส กายกระทบสัมผัส ย่อมเกิดวิญญาณการรู้แจ้งในสิ่งที่สัมผัสหรือกระทบนั้นเป็นอาการธรรมดา แต่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดทุกข์ขึ้น
6.ผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น คือมีการกระทบกันของอายตนะภายในและภายนอก และมีการรับรู้ คือ วิญญาณ ก็จะบังเกิดเป็นเวทนา คือการเสวยอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (โผฏฐัพพะ) ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ โดยมีความจํา (สัญญา) มาจําแนกการรับรู้นั้นว่าเป็นถูกใจ ไม่ถูกใจ หรือเฉยๆ จึงแยกเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข หรือเฉยๆ ตามมาเป็นธรรมชาติ ผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา