โครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิตปี 2556/2557 ที่กำลังจะเปิดโครงการในช่วงเดือนพ.ย.นี้
รัฐบาลยังไม่สรุปเกี่ยวกับราคารับจำนำที่แน่ชัดได้ หลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อนได้หารือกับสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมส่งเสริมชาวนา และสภาเกษตรกรแห่งชาติเรื่องราคารับจำนำข้าวเปลือกฤดูผลิตใหม่
เนื่องจากรัฐบาลมีแผนที่จะปรับลดราคาจำนำลงจาก15,000บาทต่อตัน เพื่อลดภาระขาดทุน ซึ่งจะส่งผลต่อฐานะทางการคลัง เนื่องจากผลการดำเนินงานในฤดูการผลิตปี 2554/255 และ
ปี 2555/2556 มีแนวโน้มที่จะขาดทุนสูงเกือบ 3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้รายงานนายกรัฐมนตรีว่า สามารถยอมให้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีผลขาดทุนได้ไม่เกินปีละ 60,000-70,000 ล้านบาท
เนื่องจากความสามารถในการจัดงบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ธ.ก.ส.ในแต่ละปีมีเพียง 70,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งคำนวณจากฐานที่สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยในปีงบประมาณ2557 ให้ธ.ก.ส.วงเงิน 70,000 ล้านบาท
หากรัฐบาลต้องตั้งงบชดเชยผลขาดทุนให้ธ.ก.ส.มากขึ้นทุกปีจะทำให้ไม่สามารถจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำแบบสมดุลได้ภายในปี 2560 ได้
เบื้องต้นในส่วนของธ.ก.ส. ได้ศึกษาทางเลือกไว้ 6 ทางเลือกประกอบด้วย
1. การกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 12,000 บาท ในปริมาณ15 ล้านตัน วงเงิน 210,500 ล้านบาท พร้อมประมาณการผลขาดทุน ไว้ 39,665 ล้านบาท
2. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 13,000 บาท ในปริมาณรับจำนำ 15 ล้านตัน วงเงิน220,100 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 49,265 ล้านบาท ทางเลือกที่
3. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 15,000 บาท ปริมาณรับจำนำ 15 ล้านตัน วงเงิน 241,300 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุนไว้ 70,465 ล้านบาท
4. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 12,000 บาท แต่ปริมาณรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 239,020 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 45,415 ล้านบาท
5. กำหนดราคาคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 13,000 บาท ปริมาณ 17 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 250,020 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 56,415 ล้านบาท
6. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 15,000 บาท ปริมาณรับจำนำ 17 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 274,620 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 81,015 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ยังได้ศึกษาถึงวงเงินรับจำนำต่อครัวเรือนเกษตรกร โดยระบุว่า…
>> กรณีวงเงินมากกว่า 300,000-350,000 บาทต่อราย จะมีเกษตรกรได้ประโยชน์สะสม 809,717 ราย คิดเป็น 93.52%
>> เทียบกับวงเงินมากกว่า 350,000-400,000 บาทต่อราย มีเกษตรกรได้ประโยชน์ 827,641 ราย คิดเป็น 95.59%
>> และวงเงิน 450,000-500,000 บาทต่อราย เกษตรกรได้ประโยชน์ 848,249 ราย คิดเป็น 97.97% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างของจำนวนเกษตรกรไม่มากนัก
รัฐบาลได้พิจารณาถึงประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากโครงการรับจำนำข้าวในราคาตันละ 15,000 บาท จากที่ดำเนินโครงการรับจำนำในปี 2554/2555 และ ปี 2555/2556 พบมีกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง อาทิ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย และภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์มาก เพราะปลูกข้าวได้ปีละมากกว่า 2 ครั้ง
เครดิต กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 23/07/2556
”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
เชิญชวนสมาชิกทุกท่านทุกฝ่ายพิ’ณาข้อเสนอของ ธกส.ทั้ง 6 ข้อ
ท่านจะเลือกข้อไหนดีคะ
เรามาช่วยรัฐบาลเลือกกันค่ะ
“เลือกเพื่อชาติ”
๐๐๐๐๐ คลังตีกรอบจำนำข้าว...เลือกแบบไหนดี? ๐๐๐๐๐
รัฐบาลยังไม่สรุปเกี่ยวกับราคารับจำนำที่แน่ชัดได้ หลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อนได้หารือกับสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมส่งเสริมชาวนา และสภาเกษตรกรแห่งชาติเรื่องราคารับจำนำข้าวเปลือกฤดูผลิตใหม่
เนื่องจากรัฐบาลมีแผนที่จะปรับลดราคาจำนำลงจาก15,000บาทต่อตัน เพื่อลดภาระขาดทุน ซึ่งจะส่งผลต่อฐานะทางการคลัง เนื่องจากผลการดำเนินงานในฤดูการผลิตปี 2554/255 และ ปี 2555/2556 มีแนวโน้มที่จะขาดทุนสูงเกือบ 3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้รายงานนายกรัฐมนตรีว่า สามารถยอมให้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีผลขาดทุนได้ไม่เกินปีละ 60,000-70,000 ล้านบาท
เนื่องจากความสามารถในการจัดงบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ธ.ก.ส.ในแต่ละปีมีเพียง 70,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งคำนวณจากฐานที่สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยในปีงบประมาณ2557 ให้ธ.ก.ส.วงเงิน 70,000 ล้านบาท
หากรัฐบาลต้องตั้งงบชดเชยผลขาดทุนให้ธ.ก.ส.มากขึ้นทุกปีจะทำให้ไม่สามารถจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำแบบสมดุลได้ภายในปี 2560 ได้
เบื้องต้นในส่วนของธ.ก.ส. ได้ศึกษาทางเลือกไว้ 6 ทางเลือกประกอบด้วย
1. การกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 12,000 บาท ในปริมาณ15 ล้านตัน วงเงิน 210,500 ล้านบาท พร้อมประมาณการผลขาดทุน ไว้ 39,665 ล้านบาท
2. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 13,000 บาท ในปริมาณรับจำนำ 15 ล้านตัน วงเงิน220,100 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 49,265 ล้านบาท ทางเลือกที่
3. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 15,000 บาท ปริมาณรับจำนำ 15 ล้านตัน วงเงิน 241,300 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุนไว้ 70,465 ล้านบาท
4. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 12,000 บาท แต่ปริมาณรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 239,020 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 45,415 ล้านบาท
5. กำหนดราคาคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 13,000 บาท ปริมาณ 17 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 250,020 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 56,415 ล้านบาท
6. กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าที่ตันละ 15,000 บาท ปริมาณรับจำนำ 17 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 274,620 ล้านบาท ประมาณการผลขาดทุน 81,015 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ยังได้ศึกษาถึงวงเงินรับจำนำต่อครัวเรือนเกษตรกร โดยระบุว่า…
>> กรณีวงเงินมากกว่า 300,000-350,000 บาทต่อราย จะมีเกษตรกรได้ประโยชน์สะสม 809,717 ราย คิดเป็น 93.52%
>> เทียบกับวงเงินมากกว่า 350,000-400,000 บาทต่อราย มีเกษตรกรได้ประโยชน์ 827,641 ราย คิดเป็น 95.59%
>> และวงเงิน 450,000-500,000 บาทต่อราย เกษตรกรได้ประโยชน์ 848,249 ราย คิดเป็น 97.97% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างของจำนวนเกษตรกรไม่มากนัก
รัฐบาลได้พิจารณาถึงประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากโครงการรับจำนำข้าวในราคาตันละ 15,000 บาท จากที่ดำเนินโครงการรับจำนำในปี 2554/2555 และ ปี 2555/2556 พบมีกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง อาทิ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย และภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์มาก เพราะปลูกข้าวได้ปีละมากกว่า 2 ครั้ง
เครดิต กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 23/07/2556
”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
เชิญชวนสมาชิกทุกท่านทุกฝ่ายพิ’ณาข้อเสนอของ ธกส.ทั้ง 6 ข้อ
ท่านจะเลือกข้อไหนดีคะ
เรามาช่วยรัฐบาลเลือกกันค่ะ
“เลือกเพื่อชาติ”