การรับจำนำข้าว ตั้งอยู่บนหลักการแก้ปัญหาข้าวราคาต่ำ
ในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงที่ข้าวล้นตลาด
ยุครัฐบาลพลเอกเปรม
- ทำเพียง 10% จากปริมาณข้าวที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ
- รับจำนำข้าวเปลือก เพราะเก็บได้นานกว่าข้าวสาร
- รัฐรับจำนำในราคาต่ำกว่าตลาด 20% ชาวนานำเงินไปใช้ก่อน
- ชาวนาไม่ต้องนำข้าวมาให้รัฐ แต่รัฐตรวจ ว่ามีข้าวเก็บในยุ้งฉางของชาวนาเอง
- เมื่อถึงช่วงที่ราคาข้าวสูงขึ้น ชาวนาขายข้าวได้ นำเงินมาคืนรัฐ พร้อมดอกเบี้ย
ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์
- รับจำนำข้าวที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ โดยไม่จำกัด
- ชาวนาต้องนำข้าวมาให้รัฐ
รัฐรับจำนำในราคาสูงกว่าราคาตลาด 50%
- รับจำนำข้าวราคาเดียวกันทุกสายพันธุ์
- รับจำนำข้าวเปลือก แล้วรัฐจ้างโรงสี สีเป็นข้าวสาร (ข้าวสารเก็บได้ไม่นาน)
- รัฐเช่าโกดังเก็บข้าว
- ชาวนานำเงินไปใช้ มีแนวโน้มไม่นำเงินมาไถ่ข้าวคืน รัฐนำข้าวที่รับจำนำไปขายต่อ
- การเก็บข้าวไว้ของภาครัฐ อยู่บนแนวทาง รัฐเป็นผู้เก็งกำไรในอนาคตเอง
โดยมองข้าวเหมือน น้ำมัน ที่กลุ่มประเทศโอเปค ซึ่งผลิตน้ำมัน
กำหนดราคาในตลาดโลกได้ แต่ข้าวไม่เหมือนน้ำมัน ตรงที่
* น้ำมันมีผู้ผลิตไม่กี่ราย
ข้าวมีผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางจำนวนมาก มีความหลากหลาย ด้านสายพันธุ์ข้าว ระดับคุณภาพ
การรวมตัวกันเพื่อตั้งราคาในตลาดโลกทำได้ยาก
*ไม่ใช่ทุกประเทศที่เน้นการบริโภคข้าว ข้าวจึงไม่ใช่สินค้าที่ขาดไม่ได้ ขนาดตลาดข้าวจึงไม่ใหญ่ระดับโลก
* มีสิ่งทดแทนข้าวมากมาย เช่น เผือก-มัน ข้าวโพด ข้าวสาลี หากมีการขึ้นราคาข้าว ผู้บริโภคมีทางเลือกอื่น
* หลายประเทศในเอเชียที่ข้าวเป็นอาหารหลัก ปลูกเองเพียงพอ ด้วยเป็นอาชีพดั้งเดิม ไม่ต้องนำเข้าจากไทย
อาทิ ประเทศจีน (ประเทศในตะวันออกกลาง แม้ไม่ปลูกข้าวเอง แต่บริโภคข้าวบาสมาติ
ซึ่งปลูกในอินเดีย-ปากีสถาน คนละพันธุ์กับข้าวไทย -- ข้อมูลจาก ChatGPT)
* หากไทยเก็บข้าวไว้ ประเทศอื่นมีทางเลือก ซื้อจากแหล่งอื่น เช่น เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย
หรือ ขยายกำลังการผลิตในประเทศของตนเอง
ด้วยเหตุนี้ การเก็บข้าวไว้เพื่อให้ อุปสงค์เพิ่ม
อุปทานต่ำ (high demand, rare supply)
จนผู้ขายมีอำนาจขึ้นราคา จึงเป็นไปได้ยาก
ความเสี่ยงในระบบวิธีการจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์
1. การรับซื้อข้าวไว้โดยภาครัฐ ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะตรวจพันธุ์และคุณภาพข้าวอย่างละเอียด
2. โรงสี
อาจ รับสีข้าวเปลือกชั้นดี แต่ส่งข้าวสารคุณภาพต่ำค้างโรงสี คืนให้รัฐ
ปริมาณข้าวจำนวนมาก ไม่อาจตรวจภายในได้ทุกกระสอบ รัฐต้องแบกโอกาสขาดทุนไว้เอง
3. รัฐอ้างว่าขายให้รัฐบาลจีนในราคามิตรภาพ/ราคาต่ำ แต่ปรากฏหลักฐานขายให้นายทุน
แล้วนายทุนขายต่อภายในประเทศไทย ข้าวนั้นยังคงหมุนเวียนในตลาดไทย
ข้าวส่วนที่เหลือ ซึ่งเดิมเก็บไว้ขายในประเทศ ไม่เป็นที่ต้องการ
รัฐได้เงินคืนมาจากการจำนำข้าว น้อยกว่าที่จ่ายให้ชาวนา
4. ชาวนามีแนวโน้มขาดแรงจูงใจที่จะผลิตข้าวคุณภาพ ไร้สารพิษ
เพราะรัฐรับซื้อในราคาเดียวกับข้าวคุณภาพต่ำ
ทั้งที่ข้าวคุณภาพ คือ ข้าวหายาก ขายได้ราคาสูง
การจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นแบบเหมารวม
มีแนวโน้มได้ข้าวไม่มีคุณภาพเป็นส่วนใหญ่
เพราะชาวนาสามารถเอาข้าวคุณภาพ ราคาดี ออกขายก่อน
แล้วนำข้าวด้อยคุณภาพ มาจำนำในราคาแพง
เมื่อรัฐรับจำนำไว้จำนวนมาก การตรวจสอบอย่างทั่วถึงจึงทำได้ยาก
เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้สูงขึ้นจากการกักตุนข้าวของไทย
และความต้องการภายในประเทศไม่เพิ่มขึ้น เพราะข้าวไม่ได้ถูกขายออกไปจีน
ส่งผลให้การเก็งกำไรไม่เป็นตามที่คิด
การดำเนินการขาดทุน สูญเสียงบประมาณแผ่นดิน
แหล่งข้อมูล
แนวหน้าTAlk : "จำนำข้าว" บทเรียนจาก "ยิ่งลักษณ์" ถึง "แพทองธาร" 25/5/2568 (ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง)
Hashtag: สรุป #จำนำข้าว จบใน 20 นาที คืออะไรใครทุจริต ทำไมยิ่งลักษณ์รอด Ep.251
เปรียบเทียบวิธี "จำนำข้าว" ยุครัฐบาลพลเอกเปรม กับ ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์
ในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงที่ข้าวล้นตลาด
ยุครัฐบาลพลเอกเปรม
- ทำเพียง 10% จากปริมาณข้าวที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ
- รับจำนำข้าวเปลือก เพราะเก็บได้นานกว่าข้าวสาร
- รัฐรับจำนำในราคาต่ำกว่าตลาด 20% ชาวนานำเงินไปใช้ก่อน
- ชาวนาไม่ต้องนำข้าวมาให้รัฐ แต่รัฐตรวจ ว่ามีข้าวเก็บในยุ้งฉางของชาวนาเอง
- เมื่อถึงช่วงที่ราคาข้าวสูงขึ้น ชาวนาขายข้าวได้ นำเงินมาคืนรัฐ พร้อมดอกเบี้ย
ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์
- รับจำนำข้าวที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ โดยไม่จำกัด
- ชาวนาต้องนำข้าวมาให้รัฐ
รัฐรับจำนำในราคาสูงกว่าราคาตลาด 50%
- รับจำนำข้าวราคาเดียวกันทุกสายพันธุ์
- รับจำนำข้าวเปลือก แล้วรัฐจ้างโรงสี สีเป็นข้าวสาร (ข้าวสารเก็บได้ไม่นาน)
- รัฐเช่าโกดังเก็บข้าว
- ชาวนานำเงินไปใช้ มีแนวโน้มไม่นำเงินมาไถ่ข้าวคืน รัฐนำข้าวที่รับจำนำไปขายต่อ
- การเก็บข้าวไว้ของภาครัฐ อยู่บนแนวทาง รัฐเป็นผู้เก็งกำไรในอนาคตเอง
โดยมองข้าวเหมือน น้ำมัน ที่กลุ่มประเทศโอเปค ซึ่งผลิตน้ำมัน
กำหนดราคาในตลาดโลกได้ แต่ข้าวไม่เหมือนน้ำมัน ตรงที่
* น้ำมันมีผู้ผลิตไม่กี่ราย
ข้าวมีผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางจำนวนมาก มีความหลากหลาย ด้านสายพันธุ์ข้าว ระดับคุณภาพ
การรวมตัวกันเพื่อตั้งราคาในตลาดโลกทำได้ยาก
*ไม่ใช่ทุกประเทศที่เน้นการบริโภคข้าว ข้าวจึงไม่ใช่สินค้าที่ขาดไม่ได้ ขนาดตลาดข้าวจึงไม่ใหญ่ระดับโลก
* มีสิ่งทดแทนข้าวมากมาย เช่น เผือก-มัน ข้าวโพด ข้าวสาลี หากมีการขึ้นราคาข้าว ผู้บริโภคมีทางเลือกอื่น
* หลายประเทศในเอเชียที่ข้าวเป็นอาหารหลัก ปลูกเองเพียงพอ ด้วยเป็นอาชีพดั้งเดิม ไม่ต้องนำเข้าจากไทย
อาทิ ประเทศจีน (ประเทศในตะวันออกกลาง แม้ไม่ปลูกข้าวเอง แต่บริโภคข้าวบาสมาติ
ซึ่งปลูกในอินเดีย-ปากีสถาน คนละพันธุ์กับข้าวไทย -- ข้อมูลจาก ChatGPT)
* หากไทยเก็บข้าวไว้ ประเทศอื่นมีทางเลือก ซื้อจากแหล่งอื่น เช่น เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย
หรือ ขยายกำลังการผลิตในประเทศของตนเอง
ด้วยเหตุนี้ การเก็บข้าวไว้เพื่อให้ อุปสงค์เพิ่ม
อุปทานต่ำ (high demand, rare supply)
จนผู้ขายมีอำนาจขึ้นราคา จึงเป็นไปได้ยาก
ความเสี่ยงในระบบวิธีการจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์
1. การรับซื้อข้าวไว้โดยภาครัฐ ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะตรวจพันธุ์และคุณภาพข้าวอย่างละเอียด
2. โรงสี อาจ รับสีข้าวเปลือกชั้นดี แต่ส่งข้าวสารคุณภาพต่ำค้างโรงสี คืนให้รัฐ
ปริมาณข้าวจำนวนมาก ไม่อาจตรวจภายในได้ทุกกระสอบ รัฐต้องแบกโอกาสขาดทุนไว้เอง
3. รัฐอ้างว่าขายให้รัฐบาลจีนในราคามิตรภาพ/ราคาต่ำ แต่ปรากฏหลักฐานขายให้นายทุน
แล้วนายทุนขายต่อภายในประเทศไทย ข้าวนั้นยังคงหมุนเวียนในตลาดไทย
ข้าวส่วนที่เหลือ ซึ่งเดิมเก็บไว้ขายในประเทศ ไม่เป็นที่ต้องการ
รัฐได้เงินคืนมาจากการจำนำข้าว น้อยกว่าที่จ่ายให้ชาวนา
4. ชาวนามีแนวโน้มขาดแรงจูงใจที่จะผลิตข้าวคุณภาพ ไร้สารพิษ
เพราะรัฐรับซื้อในราคาเดียวกับข้าวคุณภาพต่ำ
ทั้งที่ข้าวคุณภาพ คือ ข้าวหายาก ขายได้ราคาสูง
การจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นแบบเหมารวม
มีแนวโน้มได้ข้าวไม่มีคุณภาพเป็นส่วนใหญ่
เพราะชาวนาสามารถเอาข้าวคุณภาพ ราคาดี ออกขายก่อน
แล้วนำข้าวด้อยคุณภาพ มาจำนำในราคาแพง
เมื่อรัฐรับจำนำไว้จำนวนมาก การตรวจสอบอย่างทั่วถึงจึงทำได้ยาก
เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้สูงขึ้นจากการกักตุนข้าวของไทย
และความต้องการภายในประเทศไม่เพิ่มขึ้น เพราะข้าวไม่ได้ถูกขายออกไปจีน
ส่งผลให้การเก็งกำไรไม่เป็นตามที่คิด
การดำเนินการขาดทุน สูญเสียงบประมาณแผ่นดิน
แหล่งข้อมูล
แนวหน้าTAlk : "จำนำข้าว" บทเรียนจาก "ยิ่งลักษณ์" ถึง "แพทองธาร" 25/5/2568 (ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง)
Hashtag: สรุป #จำนำข้าว จบใน 20 นาที คืออะไรใครทุจริต ทำไมยิ่งลักษณ์รอด Ep.251