"ยอดเขาเอเวอเรสต์" กับปัญหาการจราจร(มนุษย์)ติดขัด
หลังจากที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้เมื่อกว่า 60 ปีก่อน นับตั้งแต่นั้น นักปีนเขาก็เริ่มบ่นอุบว่ายอดเขาแห่งนี้ เริ่มเต็มไปด้วยผู้อยากท้าทายความสูงและความหนาวเย็น
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 1953 เซอร์เอ็ดมันด์ ฮิลารี และเทนซิง นอร์เก สามารถปีกถึงยอดของยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อเทคนิคและอุปกรณ์ด้านการปีนเขา รวมถึงทักษะของไกด์ชาวเชอร์ปาได้รับการพัฒนา ก็เริ่มมีนักปีนเขาทยอยเดินทางขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี
ตามข้อมูลของนิตยสารเนชันแนล จีโอกราฟฟิคพบว่า เมื่อปี 1990 มีเพียงร้อยละ 18 ของนักปีนเขาเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ขณะที่ในปีที่แล้ว อัตราการประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นะเป็นร้อยละ 56 อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าพอใจนัก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เส้นทางสู่ยอดเขาเริ่มเต็มไปด้วยนักเดินทาง จนกลายเป็นเสมือนถนน 5 เลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดยาว
สถิติค่าเฉลี่ยผู้ที่ประสบความสำเร็จในการปีนขึ้นสู่ความสูง 8,848 เมตร ต่อวัน เมื่อปีที่แล้วทำสถิติสูงสุดอยู่ที่ 234 คน ขณะที่ย้อนกลับไปปี 1983 มีนักปีนเขาที่ประสบความสำเร็จเพียง 8 คนต่อวันเท่านั้น และในอีก 10 ปีต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 40 ราย
ขณะที่ในปีนี้ มีรายงานการร้องเรียนของนักปีนเขาหลายราย ที่ระบุว่า พวกเขาต้องรอบริเวณจุดคอขวดก่อนขึ้นสู่ยอดเขานานถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยเมื่อปีที่แล้ว ราล์ฟ ดุจโมวิตซ์ นักปีนเขาชาวเยอรมัน ได้ถ่ายภาพนักปีนเขาที่ต่อคิวที่ยาวเหยียดเพื่อรอขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่่งก่อให้เกิดการถกเถียงว่า การปล่อยให้เกิดภาพเช่นนี้ ได้ทำลายบรรยากาศความสนุกในการปีนเขาไปแล้วหรือไม่
"ยอดเขาเอเวอเรสต์" ในวันนี้เป็นอย่างไร ?
หลังจากที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้เมื่อกว่า 60 ปีก่อน นับตั้งแต่นั้น นักปีนเขาก็เริ่มบ่นอุบว่ายอดเขาแห่งนี้ เริ่มเต็มไปด้วยผู้อยากท้าทายความสูงและความหนาวเย็น
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 1953 เซอร์เอ็ดมันด์ ฮิลารี และเทนซิง นอร์เก สามารถปีกถึงยอดของยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อเทคนิคและอุปกรณ์ด้านการปีนเขา รวมถึงทักษะของไกด์ชาวเชอร์ปาได้รับการพัฒนา ก็เริ่มมีนักปีนเขาทยอยเดินทางขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี
ตามข้อมูลของนิตยสารเนชันแนล จีโอกราฟฟิคพบว่า เมื่อปี 1990 มีเพียงร้อยละ 18 ของนักปีนเขาเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ขณะที่ในปีที่แล้ว อัตราการประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นะเป็นร้อยละ 56 อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าพอใจนัก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เส้นทางสู่ยอดเขาเริ่มเต็มไปด้วยนักเดินทาง จนกลายเป็นเสมือนถนน 5 เลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดยาว
สถิติค่าเฉลี่ยผู้ที่ประสบความสำเร็จในการปีนขึ้นสู่ความสูง 8,848 เมตร ต่อวัน เมื่อปีที่แล้วทำสถิติสูงสุดอยู่ที่ 234 คน ขณะที่ย้อนกลับไปปี 1983 มีนักปีนเขาที่ประสบความสำเร็จเพียง 8 คนต่อวันเท่านั้น และในอีก 10 ปีต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 40 ราย
ขณะที่ในปีนี้ มีรายงานการร้องเรียนของนักปีนเขาหลายราย ที่ระบุว่า พวกเขาต้องรอบริเวณจุดคอขวดก่อนขึ้นสู่ยอดเขานานถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยเมื่อปีที่แล้ว ราล์ฟ ดุจโมวิตซ์ นักปีนเขาชาวเยอรมัน ได้ถ่ายภาพนักปีนเขาที่ต่อคิวที่ยาวเหยียดเพื่อรอขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่่งก่อให้เกิดการถกเถียงว่า การปล่อยให้เกิดภาพเช่นนี้ ได้ทำลายบรรยากาศความสนุกในการปีนเขาไปแล้วหรือไม่