บางสิ่งกำลังทำให้เอกภพขยายตัวด้วยอัตราเร็วขี้นกว่าที่เคย แต่เพราะไม่มีใครรู้ว่ามันคืออะไรหรือมันทำงานอย่างไร เราจึงเรียกมันว่า พลังงานมืด อย่างไรก็ตามการสังเกตการณ์แบบใหม่ที่แม่นยำสุดๆของกาแล็กซีใกล้เคียงอาจช่วยเปิดเผยมันได้บ้าง นักดาราศาสตร์ได้วัดระยะทางไปเมฆแมเจลแลนใหญ่ได้ดีกว่าเดิม และนี่เป็นก้าวสำคัญในการคำนวณพิเศษที่เรียกว่า ค่าคงที่ฮับเบิล ซึ่งช่วยนักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าจักรวาลกำลังแยกออกจากกันเร็วแค่ไหน

ในการวัดเอกภพ คุณจำเป็นต้องเริ่มจากจุดอ้างอิงนั่นคือไม้หลาระดับจักรวาล (cosmic yardstick) นักดาราศาสาตร์ได้วัดระยะทางไปยังวัตถุใกล้เคียงซึ่งถูกตั้งชื่อเล่นให้ว่า "เทียนมาตรฐาน" และใช้วัตถุเหล่านี้กับความสว่างของมันเพื่อวัดวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป แต่ถ้าไม้หลาอันแรกปรับค่าไม่ถูกต้อง ส่วนที่เหลือของการวัดของคุณก็ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นหนึ่งในเทียนมาตรฐานนั้น แต่ระยะห่างของมันจากเรายากที่จะกำหนดลงไปชัดเจน นักดาราศาสตร์ได้พยายามมาแล้วมากว่าศตวรรษ
กล้องโทรทรรศน์ในชิลี ฮาวายและที่อื่นๆทั่วโลกได้สำรวจคู่ของดาวฤกษ์ที่รู้จักกันว่าดาวคู่อุปราคา ในระบบดาวคู่อุปราคา ดาวฤกษ์โคจรรอบศูนย์กลางมวลร่วม โดยพวกมันบดบังแสงกันและกันเมื่อมองจากโลก เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นความสว่างโดยรวมของพวกมันลดลงเล็กน้อยในขณะที่ดาวดวงหนึ่งไปบังอีกดวงหนึ่ง โดยการติดตามความสว่างที่เปลี่ยนไป และดูว่ามันหมุนรอบกันเร็วแค่ไหน นักวิทยาศาสตร์สามารถรู้ขนาดของดาว เมื่อรวมสิ่งที่พบนี้กับข้อมูลสีและข้อมูลอื่นทำให้การวัดระยะทางได้ละเอียดอย่างเหลือเชื่อ

งานใหม่นี้ใช้เวลาสังเกตการณ์นาน 16 ปี เพื่อสร้างระยะทางที่แม่นยำล่าสุดไปเมฆแมเจลแลนใหญ่ นั่นคือมันอยู่ห่างออกไป 163,000 ปีแสง ตอนนี้นักดาราศาสตร์สามารถรู้ค่าคงที่ฮับเบิลได้ดีขึ้น หรือรู้อัตราที่จักรวาลกำลังขยายตัว สิ่งนี้จะช่วยพวกเขาค้นหาคุณสมบัติเชิงกายภาพของสาเหตุของการขยายตัวด้วยอัตราเร่งนั่นก็คือ พลังงานมืด
http://www.popsci.com/science/article/2013-03/rare-binary-stars-provide-better-yardstick-cosmos-and-could-help-illuminate-dark-energy
ดาวคู่อุปราคาให้ค่าระยะทางระดับจักรวาลแม่นยำขึ้นและอาจช่วยไขปริศนาพลังงานมืด
ในการวัดเอกภพ คุณจำเป็นต้องเริ่มจากจุดอ้างอิงนั่นคือไม้หลาระดับจักรวาล (cosmic yardstick) นักดาราศาสาตร์ได้วัดระยะทางไปยังวัตถุใกล้เคียงซึ่งถูกตั้งชื่อเล่นให้ว่า "เทียนมาตรฐาน" และใช้วัตถุเหล่านี้กับความสว่างของมันเพื่อวัดวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป แต่ถ้าไม้หลาอันแรกปรับค่าไม่ถูกต้อง ส่วนที่เหลือของการวัดของคุณก็ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นหนึ่งในเทียนมาตรฐานนั้น แต่ระยะห่างของมันจากเรายากที่จะกำหนดลงไปชัดเจน นักดาราศาสตร์ได้พยายามมาแล้วมากว่าศตวรรษ
กล้องโทรทรรศน์ในชิลี ฮาวายและที่อื่นๆทั่วโลกได้สำรวจคู่ของดาวฤกษ์ที่รู้จักกันว่าดาวคู่อุปราคา ในระบบดาวคู่อุปราคา ดาวฤกษ์โคจรรอบศูนย์กลางมวลร่วม โดยพวกมันบดบังแสงกันและกันเมื่อมองจากโลก เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นความสว่างโดยรวมของพวกมันลดลงเล็กน้อยในขณะที่ดาวดวงหนึ่งไปบังอีกดวงหนึ่ง โดยการติดตามความสว่างที่เปลี่ยนไป และดูว่ามันหมุนรอบกันเร็วแค่ไหน นักวิทยาศาสตร์สามารถรู้ขนาดของดาว เมื่อรวมสิ่งที่พบนี้กับข้อมูลสีและข้อมูลอื่นทำให้การวัดระยะทางได้ละเอียดอย่างเหลือเชื่อ
งานใหม่นี้ใช้เวลาสังเกตการณ์นาน 16 ปี เพื่อสร้างระยะทางที่แม่นยำล่าสุดไปเมฆแมเจลแลนใหญ่ นั่นคือมันอยู่ห่างออกไป 163,000 ปีแสง ตอนนี้นักดาราศาสตร์สามารถรู้ค่าคงที่ฮับเบิลได้ดีขึ้น หรือรู้อัตราที่จักรวาลกำลังขยายตัว สิ่งนี้จะช่วยพวกเขาค้นหาคุณสมบัติเชิงกายภาพของสาเหตุของการขยายตัวด้วยอัตราเร่งนั่นก็คือ พลังงานมืด
http://www.popsci.com/science/article/2013-03/rare-binary-stars-provide-better-yardstick-cosmos-and-could-help-illuminate-dark-energy