คุณจะอาศัยภูมิความรู้ใด มาเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข พระไตรปิฏก?


ความรู้ของศาสนาพุทธ ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการนั่งนึกจินตนาการ  
แต่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตนจนเข้าถึงธรรม ของผู้เป็นสัพพัญญู (ผู้รู้แจ้ง)
พอเข้าถึงแล้ว ก็ค่อยเอาความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเข้าถึงนั้น มาสอนต่ออีกที

เพราะฉนั้น คนปกติธรรมดาๆทั่วไป ย่อมเข้าไม่ถึงความรู้นั้น จนกว่าจะได้ปฏิบัติตนจนบรรลุเข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้า

และ  "แม้แต่เป็นพระอริยะเจ้าแล้ว ก็ยังมีความรู้ไม่เท่ากันในแต่ละระดับ"  เพราะมีการเข้าถึงต่างกัน

พระโสดาบัน   ไม่สามารถรู้วาระจิต และภูมิความรู้ของ พระสกิทาคามี
พระสกิทาคามี ไม่สามารถรู้วาระจิต และภูมิความรู้ของ พระอนาคามี
พระอนาคามี   ไม่สามารถรู้วาระจิต และภูมิความรู้ของ พระอรหันต์

สาเหตุก็เพราะว่า ถ้าพระอนาคามีรู้วาระจิต และรู้ภูมิความรู้ของ พระอรหันต์
พระอนาคามี ก็จะเป็นพระอรหันต์ไปเสียเอง จะเรียกว่า พระอนาคามี ทำไม

เพราะฉนั้น การที่คนธรรมดาๆ จะมานั่งนึกขบคิด แล้วหาเหตุ-หาผล  
นึกเท่าไรๆ ก็นึกไม่ออก ถ้าตนเองยังปฏิบัติตนไม่เข้าถึงธรรมในระดับนั้นๆ  

เพราะถ้าคนๆนั้น สามารถที่จะรู้เองได้ทั้งหมด คนๆนั้นก็จะเป็นสัพพัญญูไปเสียเอง (หรือว่าเป็น พระพุทธเจ้า ไปเสียเอง)

เพราะฉนั้นระดับความรู้และความเข้าใจใน (ศีล, สมาธิ, ปัญญา) ของคนธรรมดาๆทั่วไปนั้น จึงไม่เท่ากัน  ตามการเข้าถึงธรรมของคนแต่ละคน



ความรู้ในศาสนาพุทธ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ  "ศีล" , "สมาธิ" , "ปัญญา"

คนทั่วไปมักจะเข้าถึงได้ง่ายแค่ส่วนแรกก็คือเรื่อง  "ศีล"
เหตุก็เพราะว่า สามารถเอาเหตุการณ์จริงในชีวิตประจำวัน มาเปรียบเทียบให้เข้าใจในเรื่องศีลได้ง่าย
ว่าการมีศีลนั้น จะช่วยปกป้องคุณให้พ้นจากหนทางเสื่อมได้อย่างไร?
(เช่น ถ้าไม่ผิดลูก-ไม่ผิดเมีย ของผู้อื่น โอกาสที่จะโดนยิง, หรือโดนสาดน้ำกรด ก็จะมีน้อย)

เพราะฉนั้น......

การเข้าใจในเรื่องศีล หรือสอนธรรมะส่งต่อไปยังผู้อื่น ให้เข้าใจในเรื่องศีล จึงสามารถทำได้ง่าย เพราะตีความไม่ยาก และนึกภาพตามได้ง่าย
(การสอนธรรมะให้แก่ผู้ที่ไม่มีความรู้ในศาสนาพุทธเลย จะเริ่มต้นที่ "ศีล" เสมอ)



แต่!! ส่วนที่เป็นความรู้ 2 ส่วนหลังคือ "สมาธิ" กับ "ปัญญา" นั้น  จะต้องอาศัยการปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึง  จึงจะสามารถ  "รู้ตาม"  ได้
(จำเป็นจะต้องใช้ผลของการปฏิบัติของตนเองมายืนยันคำสอนของพระพุทธเจ้า  เพื่อที่จะสามารถ  "รู้ตาม"  คำสอนของพระพุทธเจ้าได้)

"ถ้าไม่เข้าถึง ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ ก็จะเข้าใจไม่ได้"  ก็จะ  "รู้ตาม"  ไม่ได้
(ต่อให้คุณจำตัวอักษรทั้งหมดในพระไตรปิฎกได้ แต่ถ้าคุณปฏิบัติตามนั้นไม่ได้ ความรู้ที่คุณมีก็จะเป็นเพียงแค่ความ "รู้จำ" เท่านั้น ไม่ใช่ความ "รู้ตาม")

เพราะฉนั้น ความแตกต่างในการเข้าใจ และในการสอนธรรมะส่งต่อไปยังผู้อื่น จึงมักจะเริ่มผิดเพี้ยนที่จุดนี้
(ซึ่งคนเข้าใจผิด มีมากกว่าคนเข้าใจถูก และบอกสอนต่อกันอยู่ทุกวันนี้)

อย่างเช่น....

คนที่ทำญาณต่างๆให้เกิดขึ้นแก่ตนไม่ได้ โอกาสที่จะคนๆนั้นจะเชื่อว่า นรกไม่มีจริง-สวรรค์ไม่มีจริง
ชาติก่อนไม่มีจริง-ชาติหน้าไม่มีจริง, การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีจริง, การใช้ฌานสมาธิเพื่อแสดงฤทธิ์ได้ไม่มีจริง มีอยู่สูง
และโอกาสที่คนๆนั้นจะเชื่อว่านิพพานไม่มีจริง(นิพพานสูญ) มีอยู่สูง
(เพราะว่าตัวเองไม่สามารถที่จะทำญาณทัศนะให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ได้ พอนานๆไปก็เลยคิดว่าเรื่องเหล่านี้ไม่มีจริง)

ตัวเองเชื่อแบบนั้นยังไม่พอ ยังบอกสอนต่อไปยังผู้อื่นอีกเสียด้วยว่าไม่มีจริง (ต้องระวัง)
(หนังสือพวกนี้จะไม่เขียนบอกออกมาตรงๆว่า การเวียนว่ายตายเกิดไม่มี, นรกไม่มี, สวรรค์ไม่มี, หรือว่านิพพานสูญ)
(แต่จะใช้การเขียนบอกเป็นนัยๆแบบอ้อมๆ ให้ผู้อ่านคิดเอาเองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มี จะต้องระมัดระวังให้มาก)

เพราะฉนั้น....  "อย่าคิดว่าหนังสือธรรมะทุกเล่มจะสอนตรงทางไปเสียหมด ควรจะใช้วิจารณญาณให้มาก"



การที่จะปรับปรุง-เปลี่ยนแปลง-แก้ไข-หรือตัดทอน พระไตรปิฏก
ซึ่งเป็นความรู้สูงสุดของศาสนาพุทธ (ซึ่งเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้า) จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง

เหตุเพราะว่า แม้แต่พระอรหันต์ ผู้ซึ่งเป็นพระอริยะเจ้าขั้นสูงสุด ยังมีความรู้ไม่เท่ากัน
(แล้วคนผู้นั้น จะอาศัยภูมิความรู้ใด มาเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข พระไตรปิฏก?)




แม้แต่พระอรหันต์ ผู้ซึ่งเป็นพระอริยะเจ้าขั้นสูงสุด ยังมีความรู้ไม่เท่ากัน (แต่จิตสะอาดเท่ากัน)
(แล้วคนผู้นั้น จะอาศัยภูมิความรู้ใด มาเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข พระไตรปิฏก?)

และต่อให้แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ที่ว่ามีความรู้ครอบคลุมทุกหมวดแล้ว
ก็ยังมีความรู้ไม่เท่าพระศาสดา หรือ พระพุทธเจ้า เลย  
(แล้วคนผู้นั้น จะอาศัยภูมิความรู้ใด มาเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข พระไตรปิฏก? ซึ่งเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้า?)



เพราะฉนั้น....

"การคิดว่าศาสนาพุทธเป็นเพียงแค่ปรัชญา เหมือนๆความรู้ทางโลกอื่นๆ จึงไม่ถูกต้อง"

คนทั่วไป จึงไม่ควรที่จะคิดว่าตัวเอง จะแค่ใช้หลักปรัชญาและหลักทักษะทั่วๆไป
มานั่งตีความขบคิดพระธรรมเหมือนความรู้ทางโลกอื่นๆ แล้วจะสามารถเข้าใจในพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้อย่างถ่องแท้
อย่างที่มีใครๆหลายคน พยายามคิดกัน พยายามตีความกัน (แถมบางคนยังคิดจะแก้ไขและชำระพระไตรปิฎกด้วยตนเองเสียอีกด้วย)
(จะต้องบรรลุ รู้ครบทุกหมวดแบบพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก่อน เหมือนตอนสังคายนาครั้งแรก คุณถึงจะมีดีพอที่จะมาพูดเรื่องชำระพระไตรปิฎกได้)

เพราะฉนั้น.....

พวกที่นั่งขบคิดเอง แล้วบอกว่า ควรจะตัดตรงนั้น-ตัดตรงนี้ ของพระไตรปิฎกทิ้งออกเสีย? (ต้องถามว่าคุณมีความรู้ครบถ้วนปฏิสัมภิทาญาณแล้วหรือ?)  
หรือ พวกที่นั่งขบคิดเอง แล้วบอกว่านิพพานสูญ? (เคยไปนิพพานมาแล้วหรือ?) (ถ้ามันสูญแล้วคุณกลับมาบอกได้อย่างไร?)
ถ้าไม่เคยยกจิตตัวเองให้ขึ้นไปถึงพระนิพพานได้ ก็อย่าเพิ่งรีบสรุปมั่นใจว่าสภาวะนิพพานเป็นเช่นไร นึกให้ตายก็นึกไม่ถูก

จะต้องเป็นความรู้จากการปฏิบัติ จากการเข้าถึงด้วยตนเองเท่านั้น ถึงจะ "รู้ตาม" ได้
ไม่ใช่แค่นั่งขบคิดตีความจากตัวอักษรในตำราเฉยๆ แล้วก็จะรู้ได้  
(ถ้ายังปฏิบัติตนเพื่อที่จะ "รู้ตาม" พระพุทธเจ้าไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งทำตน "รู้ดี")



เพราะฉนั้น การเปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น

"เกินวิสัยของคนธรรมดาๆ ที่จะกระทำได้" (ยกเว้นแต่ว่าคุณจะคิดว่าตัวเองไม่ธรรมดา)

ควรจะเอาเวลาเหล่านั้น ไปมุ่งขัดเกลากิเลสที่อยู่ภายในจิตใจของตนเองเสียดีกว่า

เพราะว่าพระไตรปิฎกที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั้น จะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอย่างไรก็ตาม
แต่ก็ทำให้มีผู้บรรลุมรรคผลมามากมายแล้วมิใช่หรือ? (เพราะฉนั้นเชื่อของเดิมๆไปก่อนจะเป็นไรไป?)

และ การมุ่งสนใจขัดเกลาผู้อื่นหรือสิ่งอื่น ยิ่งกว่ามุ่งขัดเกลาตนเองนั้น ถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะกลายเป็นการ "ติดดี" ไปได้
(เช่น การมุ่งสนใจขัดเกลาพระไตรปิฎก ยิ่งกว่ามุ่งสนใจขัดเกลากิเลสภายในจิตใจของตนเอง)
(หรือ การถามหาความสมบูรณ์พร้อมของพระไตรปิฎก ว่าควรจะต้อง ตัดตรงนั้น-เพิ่มตรงนี้ ตามทิฏฐิของตนเอง ฯลฯ)
(หรือ การจ้องหาข้อตำหนิจุดบกพร่องของพระไตรปิฎก เพื่ออยากจะให้คนอื่นดูว่าเราฉลาด ดูว่าเราเป็นผู้ที่มีปัญญามาก)

"ติดดี" คำๆนี้หมายถึง (การคิดว่าความเคร่งเกินปกติเป็นความดีงาม)
ต้องการให้คนอื่นดูว่าเราเคร่ง ดูว่าเราเลิศ ดูว่าเราฉลาดกว่าผู้อื่น ดูว่าเราตรงทางกว่าผู้อื่น

"จิตจึงไม่ยอมรับผู้ที่มีการปฏิบัติไม่เหมือนตน จะต้องเป็นเหมือนตนเท่านั้น"

เป็นอุปกิเลสชนิดหนึ่ง ที่ขวางกั้นความดี และฉุดให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
ติดสังโยชน์ข้อที่ 8 "มานะ" (การถือตัวถือตน คิดว่าเราสูงกว่าเขา เราเสมอเขา เราต่ำกว่าเขา)
จึงทำให้จิตไม่สะอาด ไปไม่ถึงนิพพาน

เพราะฉนั้นอย่าเสียเวลากับเรื่องนี้อีกเลย  

"ควรจะถามหาความสมบูรณ์พร้อมในตน มากกว่าที่จะถามหาความสมบูรณ์พร้อมของพระไตรปิฎก"



พระธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ปรัชญาทางโลก เหมือนความรู้อื่นๆ
จึงไม่สามารถที่จะใช้หลักปรัชญา หรือหลักทักษะแนวคิดทั่วๆไปทางโลก มาตีความพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้

จะต้องอาศัยการปฏิบัติตนให้ "เข้าถึง" จึงจะสามารถ "รู้ตาม" ได้

ผู้ที่เข้าถึงระดับ พระอรหันต์     ก็จะมีความรู้ในระดับ อรหันต์      หรือต่ำกว่านั้นลงไป
ผู้ีที่เข้าถึงระดับ พระอนาคามี   ก็จะมีความรู้ในระดับ อนาคามี    หรือต่ำกว่านั้นลงไป  
ผู้ที่เข้าถึงระดับ พระสกิทาคามี ก็จะมีความรู้ในระดับ สกิทาคามี  หรือต่ำกว่านั้นลงไป
ผู้ที่เข้าถึงระดับ พระโสดาบัน   ก็จะมีความรู้ในระดับ โสดาบัน    หรือต่ำกว่านั้นลงไป

เพราะฉนั้น ผู้ที่เข้าถึงในระดับใด ก็จะเข้าใจได้แค่ในระดับนั้น หรือต่ำกว่านั้นลงไป จะไม่สูงไปกว่านั้น

เมื่อคนผู้นั้น ได้มาอ่านและศึกษา พระธรรมของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏก นั้น
ผู้ที่ศึกษานั้น ก็จะเข้าใจได้แค่ในระดับที่ตัวเองเข้าถึงเท่านั้น

ระดับที่สูงกว่าที่ตนเองเข้าถึง  "จะไม่สามารถเข้าใจได้"  หรือ  "เข้าใจได้ไม่ครบ"

เพราะฉนั้น ผู้ศึกษาพระธรรม จึงไม่ควรที่จะคิดเขียนตำราใหม่ หรือ เขียนหลักสูตรใหม่
หรือไม่ควรที่จะไป เปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไข หรือ ตัดทอน สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้บัญญัติเอาไว้ดีแล้ว




[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่