วันนี้ (21 ก.ค. 68) นายอนกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
ปัจจุบันนี้ Social Media หรือ สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการวางจำหน่ายเครื่องมือขูดหินปูน Ultrasonic ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวกและประหยัด
แต่ความจริงแล้วการขูดหินปูน ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีใดก็ตาม เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานทางการแพทย์
โดยการขูดหินปูนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ตามมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อให้การขจัดหินปูนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ใช้หลักการสั่นสะเทือนด้วยคลื่นความถี่สูง และน้ำในการกำจัดคราบหินปูนที่สะสมอยู่บนผิวฟัน และใต้เหงือก
การใช้งานเครื่องมือชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น ต้องกระทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะการมองเห็น และความเข้าใจกายวิภาคของช่องปาก
เพื่อให้สามารถขจัดหินปูนได้อย่างหมดจด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปาก ซึ่งการใช้เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic ด้วยตัวเองที่บ้านนั้น ไม่ปลอดภัย เนื่องจากมีความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic ด้วยตนเอง ดังนี้
1.) การทำลายผิวเคลือบฟัน :
📌มุมการวางหัวขูดที่ไม่เหมาะสม การใช้แรงกดที่มากเกินไป การจิกของหัวขูดหรือการขูดซ้ำๆ อาจทำให้ผิวเคลือบฟันซึ่งเป็นชั้นนอกสุดที่ปกป้องฟันถูกทำลาย เกิดภาวะเสียวฟันและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุในอนาคต
2.) การบาดเจ็บต่อเหงือกและเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก :
📌การสอดหัวขูดเข้าไปใต้ขอบเหงือก อย่างไม่ถูกต้อง เนื่องจากการมองเห็นที่ชัดเจน และมุมของเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่การฉีกขาด บาดเจ็บ ของเหงือกได้
3.) โรคปริทันต์อักเสบลุกลามจากการหลงเหลือหินปูนใต้เหงือก :
📌เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic สำหรับใช้เองมักมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพ และไม่สามารถเข้าถึงบริเวณใต้เหงือกได้อย่างสมบูรณ์ การขจัดหินปูนที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะบริเวณใต้เหงือก จะส่งผลให้หินปูนยังคงสะสมตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ของโรคปริทันต์อักเสบ ที่อาจลุกลามทำลายกระดูกรองรับฟัน นำไปสู่การสูญเสียฟันได้ หากไม่ได้ รับการรักษาที่เหมาะสมจากทันตแพทย์
4.) ความเสี่ยงในการติดเชื้อ :
📌เครื่องมือที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อตามมาตรฐานทางการแพทย์ (Sterilization) จะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในช่องปาก อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้
เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและขูดหินปูนกับทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อมั่นใจได้ว่าการขจัดหินปูนที่เป็นสาเหตุของโรคปริทันต์นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย
รวมทั้งผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยปัญหาอื่นๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ รากฟันอักเสบ หรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งในช่องปากอย่างเหมาะสมด้วย
หรือสอบถามเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้ที่..
📍Facebook : สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์
📍LineOA : @iodforfun
สำหรับประชาชนสิทธิบัตรทอง สามารถขูดหินปูนที่..
📍คลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการ "30 บาทรักษาทุกที่"
📍หน่วยบริการประจำตามสิทธิ ได้ปีละ 3 ครั้ง ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ถูกเรียกเก็บเงินเพิ่ม
ที่มา : ช่อง7
ใช้เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic ด้วยตนเองที่บ้าน อันตราย เสี่ยงติดเชื้อ
วันนี้ (21 ก.ค. 68) นายอนกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
ปัจจุบันนี้ Social Media หรือ สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการวางจำหน่ายเครื่องมือขูดหินปูน Ultrasonic ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวกและประหยัด
แต่ความจริงแล้วการขูดหินปูน ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีใดก็ตาม เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานทางการแพทย์
โดยการขูดหินปูนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ตามมาตรฐานทางการแพทย์ เพื่อให้การขจัดหินปูนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ใช้หลักการสั่นสะเทือนด้วยคลื่นความถี่สูง และน้ำในการกำจัดคราบหินปูนที่สะสมอยู่บนผิวฟัน และใต้เหงือก
การใช้งานเครื่องมือชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น ต้องกระทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะการมองเห็น และความเข้าใจกายวิภาคของช่องปาก
เพื่อให้สามารถขจัดหินปูนได้อย่างหมดจด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปาก ซึ่งการใช้เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic ด้วยตัวเองที่บ้านนั้น ไม่ปลอดภัย เนื่องจากมีความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic ด้วยตนเอง ดังนี้
1.) การทำลายผิวเคลือบฟัน :
📌มุมการวางหัวขูดที่ไม่เหมาะสม การใช้แรงกดที่มากเกินไป การจิกของหัวขูดหรือการขูดซ้ำๆ อาจทำให้ผิวเคลือบฟันซึ่งเป็นชั้นนอกสุดที่ปกป้องฟันถูกทำลาย เกิดภาวะเสียวฟันและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุในอนาคต
2.) การบาดเจ็บต่อเหงือกและเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก :
📌การสอดหัวขูดเข้าไปใต้ขอบเหงือก อย่างไม่ถูกต้อง เนื่องจากการมองเห็นที่ชัดเจน และมุมของเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่การฉีกขาด บาดเจ็บ ของเหงือกได้
3.) โรคปริทันต์อักเสบลุกลามจากการหลงเหลือหินปูนใต้เหงือก :
📌เครื่องขูดหินปูน Ultrasonic สำหรับใช้เองมักมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพ และไม่สามารถเข้าถึงบริเวณใต้เหงือกได้อย่างสมบูรณ์ การขจัดหินปูนที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะบริเวณใต้เหงือก จะส่งผลให้หินปูนยังคงสะสมตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ของโรคปริทันต์อักเสบ ที่อาจลุกลามทำลายกระดูกรองรับฟัน นำไปสู่การสูญเสียฟันได้ หากไม่ได้ รับการรักษาที่เหมาะสมจากทันตแพทย์
4.) ความเสี่ยงในการติดเชื้อ :
📌เครื่องมือที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อตามมาตรฐานทางการแพทย์ (Sterilization) จะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในช่องปาก อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้
เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและขูดหินปูนกับทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อมั่นใจได้ว่าการขจัดหินปูนที่เป็นสาเหตุของโรคปริทันต์นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย
รวมทั้งผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยปัญหาอื่นๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ รากฟันอักเสบ หรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งในช่องปากอย่างเหมาะสมด้วย
หรือสอบถามเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้ที่..
📍Facebook : สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์
📍LineOA : @iodforfun
สำหรับประชาชนสิทธิบัตรทอง สามารถขูดหินปูนที่..
📍คลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการ "30 บาทรักษาทุกที่"
📍หน่วยบริการประจำตามสิทธิ ได้ปีละ 3 ครั้ง ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ถูกเรียกเก็บเงินเพิ่ม
ที่มา : ช่อง7