สวัสดีค่ะทุกคน ( ◠‿◠ ) ไม่ได้เขียนกระทู้มานาน กระทู้เก่าที่เคยเขียนไว้ก็ยังเขียนไม่จบ σ(^_^;) แต่ว่าช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมามีโอกาสไปฮาร์บินแล้วได้แวะเที่ยวที่เมืองเสิ่นหยาง 1 วัน เลยได้ไปพระราชวังเสิ่นหยางหรือเสิ่นหยางกู้กง (Mukden Palace) ระหว่างที่เขียนบันทึกท่องเที่ยวส่วนตัวรู้สึกว่าพระราชวังแห่งนี้ก็มีเรื่องราวน่าสนใจ ประกอบกับลองหาใน pantip ยังหากระทู้เกี่ยวกับพระราชวังนี้ไม่เจอ เลยอยากมาแบ่งปันประสบการณ์แบบสั้นๆค่ะ (^0^)
เสิ่นหยางเป็นศูนย์กลางของตงเป่ย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ของจีนซึ่งประกอบไปด้วย 3 มณฑลหลักคือเหลียวหนิง, จี๋หลิน, และเฮยหลงเจียง โดยเสิ่นหยางเป็นเมืองเอกของเหลียวหนิงมีประชากรประมาณ 9.2 ล้านคน คุณไกด์บอกว่าที่นี่เจริญกว่าฮาร์บิน
ช่วงเช้าจขกท.ไปเที่ยวจี๋หลินและนั่งรถไฟความเร็วสูงรอบสายๆมาที่เสิ่นหยางค่ะ หลังทานอาหารเที่ยงเราไปเที่ยวกันที่พระราชวังเสิ่นหยางกู้กง ซึ่งถือว่าเป็นพระราชวังแห่งแรกของราชวงศ์ชิง และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO เมื่อปีค.ศ. 2004 ถึงตรงนี้ขอเขียนเกี่ยวกับต้นราชวงศ์ชิงไว้หน่อยนะค่ะ ^o^ ฮ่องเต้คนแรกของราชวงศ์ชิงมีชื่อว่านู่เอ่อร์ฮาชื่อ (“นอฮช.”) นามสกุลคืออ้ายซินเจ๋อหลัว (คุ้นๆกันบ้างไหมคะ เคยได้ยินในซีรีส์จีน อิอิ) บรรพบุรุษของนอฮช.คือหนี่เจินเหรินหรือชาวแมนจูนั่นเอง ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงชาวหนี่เจินอาศัยอยู่ในเสิ่นหยาง ครั้นพอราชวงศ์หมิงเข้ามารุกรานบริเวณนี้ คุณปู่และคุณพ่อของนอฮช.ล้วนตายในสนามรบ ทำให้นอฮช.ต้องตั้งก๊กเล็กๆขึ้นมาชื่อว่าฮั่วจิง รวบรวมชาวหนี่เจินและตีเมืองเสิ่นหยางคืนมา จากนั้นก็บุกไปยังปักกิ่ง ตั้งราชวงศ์ชิง รบไปเรื่อย จนได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่และตายตอนอายุ 68 ปี (แค้นนี้ต้องชำระ ขำระเสร็จยังตั้งตนเป็นฮ่องเต้ได้อีก เก่งจริงๆ!)
นอฮช.เป็นผู้เริ่มสร้างเสิ่นหยางกู้กงแต่สร้างยังไม่เสร็จก็สวรรคตก่อน TT_TT จากนั้นลูกชายของนอฮช.ชื่อหวงไท่จี๋เป็นคนสร้างต่อจนเสร็จ (บางส่วนเฉียนหลงฮ่องเต้มีมาต่อเติมทีหลัง) ใช้เวลาสร้างรวม 11 ปี ตอนค.ศ. 1625-1636 ประกอบไปด้วย 114 ตึกที่มีห้องกว่า 500 ห้อง ฮ่องเต้ที่อยู่ที่วังนี้มีแค่ 2 คนคือหวงไท่จี๋และซุ่นจื้อ (ลูกหวงไท่จี๋) ตอนปี 1644 ซุ่นจื้อย้ายไปอยู่ที่ปักกิ่ง เสิ่นหยางกู้กงจึงใช้เป็นที่พำนักของฮ่องเต้ในช่วงที่กลับมาไหว้บรรพบุรุษเท่านั้น
เพื่อให้เห็นภาพเลยขอนำภาพจาก Wikipedia มาแปะไว้ให้ดูหน่อยค่ะ
แผนผังพระราชวังเสิ่นหยาง
แผนผังวังนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน พท.ตรงกลาง(พื้นหลังสีเขียว) พท.ทางตะวันตก (พื้นหลังสีม่วง) และพท.ทางตะวันออก (พื้นหลังสีเหลือง) โดยเปิดให้เข้าชมแค่ส่วนตรงกลางและทางตะวันออก ในส่วนของตรงกลางตึกแรกด้านหน้าที่เจอคือ 崇政殿 ฉงเจิ้งเตี้ยน (Chongzheng Hall) ท้องพระโรงที่ฮ่องเต้ใช้ออกว่าราชการ
ฉงเจิ้งเตี้ยน
ราวบันไดหินที่ใช้เดินขึ้นไปยังท้องพระโรงมีสิงโตประดับอยู่ซึ่งราวบันไดนี้มีอายุ 400 ปีใช้มาตั้งแต่สร้างเสร็จ
ราวบันไดหินอายุ 400 ปี
หากเรามองเข้าไปด้านในท้องพระโรงนอกจากจะเห็นบัลลังก์ตรงกลางแล้วจะสังเกตเห็นเสาอยู่ 4 เสา แล้วในแต่ละเสาจะมีลวดลายมังกรทองคำแท้เสาละ 2 ตัวเพราะฉะนั้นทั้งหมดมี 8 ตัว
เสาลายมังกร
แต่สัญลักษณ์การเป็นฮ่องเต้ต้องมีมังกร 9 ตัว (九五之尊 จิ๋วอู่จือจวน ราชาแห่งการปกครอง) ดังนั้นฮ่องเต้เวลาเข้ามาที่ท้องพระโรงจะเปรียบเหมือนมังกรตัวที่ 9 (เรียกว่าเป็น真龙天子เจินหลงเทียนจื่อ จักรพรรดิมังกรตัวจริง) นอกจากนี้เหนือบังลังก์ยังมีป้ายอักษรจีน 4 ตัวเขียนว่า 正大光明 (เจิ้นต้ากวงหมิง แต่ในรูปต้องอ่านจากซ้ายไปขวา) แปลว่าใหญ่โตและยุติธรรม ซึ่งหลังป้ายนี้จะเป็นที่ใช้เก็บกระดาษที่เขียนชื่อองค์รัชทายาทไว้ด้วย
บัลลังก์ภายในฉงเจิ้งเตี้ยน
ตัวบัลลังก์ทำจากทองเหลืองปิดทองด้านหน้ามีผีเซี๊ยะประดับอยู่สองตัว กระถางสีฟ้าตรงมุมยกพื้นที่ประทับบัลลังค์มีไว้สำหรับจุดฟืนเพื่อให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว สำหรับด้านนอกอาคารการประดับส่วนใหญ่จะเป็นมังกรแกะสลักแสดงถึงว่าเป็นที่ประทับของมังกรตัวจริง
กระถางจุดฟืนวางไว้ตรงมุมบัลลังก์
หลังจากดูท้องพระโรง เราก็เดินไปดูทางฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชื่อ 大政殿 ต้าเจิ้งเตี้ยน
ต้าเจิ้งเตี้ยน
ต้าเจิ้งเตี้ยนเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมหลังคาสองชั้น โดยหลังคาสองชั้นแสดงถึงว่าผู้ที่อาศัยอยู่ที่อาคารนี้มีสถานะสูงมาก สีของหลังคาเป็นสีเหลืองโดยมีขอบเป็นสีเขียว สีเหลืองคือสีของฮ่องเต้ ส่วนขอบสีเขียวแสดงถึงทุ่งหญ้า ระลึกถึงว่าบรรพบุรุษมาจากทุ่งหญ้า หลังคานี้ทำเลียนแบบหมวกของชาวมองโกเลียใน หากไปดูใกล้ๆบนหลังคาจะเห็นเชือกเป็นเส้นอยู่บนเหลี่ยมทั้ง 8 ของหลังคา นอกจากนี้ข้างบนแต่ละเหลี่ยมจะมีรูปปั้นคนอยู่เหลี่ยมละ 1 คนรวมทั้งหมดเป็น 8 คน ทำท่าทางกำลังดึงเชือกอยู่ เพื่อจะสื่อว่าคนแมนจูและคนมองโกเลียในเป็นพี่น้องกัน รักกัน อาคารต้าเจิ้งเตี้ยนนี้ใช้สำหรับทรงงานส่วนตัวของฮ่องเต้ ส่วนด้านซ้ายขวามีอาคาร 10 หลังเรียกว่า พลับพลาสิบอ๋อง หรือ สือหวางถิง (十王亭) เป็นที่ทำการของกองทัพแปดธง อันเป็นกองทัพหลักของราชวงศ์ชิง
ภายในต้าเจิ้งเตียนมีบัลลังก์อยู่ตรงกลาง
หลังฉากกั้นบัลลังก์มีป้ายอักษรจีนขนาดใหญ่ อักษรสีทองพื้นหลังสีน้ำเงิน อักษรเขียนโดยเฉียนหลงฮ่องเต้ความว่า 泰交景运 ไท่เจียวจิ่งยุ่น (ในรูปอักษรด้านซ้ายและขวาโดนบังไปข้างละตัว) อ่านมาจากเวปของวังนี้เค้าบอกต้องการสื่อว่า “เมื่อพลังแห่งสวรรค์และโลกบรรจบกัน ทุกสิ่งทุกอย่างก็เชื่อมโยงกัน และโชคชะตาอันยิ่งใหญ่ของชาติราชวงศ์ชิงก็ถือกำเนิดขึ้น” คุณไกด์บอกเขียนไว้เพื่อสื่อให้ประเทศจีนมีอนาคตที่ดี นอกจากนี้ยังมีรูปของนู่เอ่อร์ฮาชื่อตั้งไว้ให้ดูอีกด้วย (เสียดายถ่ายรูปมาแล้วแสงสะท้อน)
รูปของนู่เอ่อร์ฮาชื่อ
หลังจากตรงนี้เราก็เดินย้อนกลับไปเที่ยวพื้นที่ส่วนกลางอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไปดูหมู่อาคารหลังท้องพระโรงซึ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นในในสมัยของฮ่องเต้หวงไท่จี๋ขอเรียกสั้นๆว่าวังหลังละกันค่ะ พอเดินเข้าลานมาจะเจอกับอาคารสูงหลายชั้นชื่อ凤凰楼 เฟิ่งหวงโหลว หรือ Phoenix Tower
เฟิ่งหวงโหลว
เฟิ่งหวงโหลวนี้ตั้งอยู่หลังท้องพระโรงพอดี เป็นหลักของฮวงจุ้ยอย่างหนึ่งว่าหลังห้องทำงานต้องมีอาคารสูงไว้สำหรับให้พิงหลังได้ และถ้าเราเดินขึ้นบันไดผ่านเฟิ่งหวงโหลวไปจะเจอกับวังหลังพอดี อันนี้ก็หลักฮวงจุ้ย ว่าห้องทำงานอยู่ข้างหน้าส่วนพักผ่อนก็สร้างไว้ด้านหลัง เฟิ่งหวงโหลวเป็นอาคารที่สูงที่สุดในวัง ฮ่องเต้สามารถใช้สังเกตการณ์ในทุกบริเวณของวังได้จากที่นี้ นอกจากนี้ยังมีไว้ใช้ดูการแสดงร้องรำอีกด้วย
ระหว่างขึ้นบันไดเพื่อเดินผ่านเฟิ่งหวงโหลวจะเห็นป้ายๆหนึ่งอยู่บนหัว เขียนไว้ว่า 紫氣東来 จื่อชี่ตงไหล แปลตรงตัวคือ Purple Air from the East แต่คุณไกด์บอกว่าหมายถึง “สิริมงคลมาจากทิศตะวันออก” ป้ายนี้เขียนโดยเฉียนหลงฮ่องเต้อีกเช่นกัน
ป้ายสิริมงคลมาจากทิศตะวันออก
ในเขตพระราชฐานชั้นในในสมัยของฮ่องเต้หวงไท่จี๋ นอกจากพระราชวังหลักคือพระราชวังฉิงหนิง 清宁宫 ชิงหนิงกง Qingnigngong ที่ตั้งอยู่ตรงกลางแล้ว ยังมีพระตำหนักเสริมอีก 6 หลัง โดยในจำนวนนั้น 4 หลังตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกและตะวันตกด้านหน้าของพระราชวังฉิงหนิงข้างละ 2 หลัง
ภาพบางส่วนของวังหลัง
ในบรรดาพระตำหนักเสริมมีพระตำหนัก 3 หลังที่เป็นที่อยู่ของผญ 3 คนของฮ่องเต้หวงไท่จี๋ที่ได้รับการบันทึกในปวศคือ ฮองเฮาเจอเจอ พระสนมไห่หลางจู และพระสนมเสี้ยวจวง ฮองเฮาจริงๆมีศักดิ์เป็นอาหญิง(น้องสาวของพ่อ)ของพระสนมไห่หลางจู และพระสนมเสี้ยวจวง (ไห่หลางจูและเสี้ยวจวงเป็นพี่น้องกัน) ผญตระกูลนี้ต้องงามหนักเพราะฮ่องเต้เกี้ยวมาตั้ง 3 คน จากที่อ่านมาพระสนมเสี้ยวจวงอายุอ่อนกว่าฮ่องเต้ 21 ปี (°▽°) อิอิ
ชิงหนิงกงเป็นที่อยู่ของฮ่องเต้และฮองเฮา พระตำหนักอีก 4 หลังเป็นที่อยู่ของพระสนม หากหันหน้าเข้าหาชิงหนิงกง พระตำหนักด้านขวาที่ติดกับชิงหนิงกงเลยคือพระตำหนักของพระสนมไห่หลางจู (ในแผนที่ชื่อพระตำหนัก Guanju) และพระตำหนักทางซ้ายที่ไม่ได้ติดกับชิงหนิงกงคือพระตำหนักของพระสนมเสี้ยวจวง(ในแผนที่ชื่อพระตำหนัก Yongfu) วันที่ไปให้เข้าชมแค่ชิงหนิงกงและพระตำหนักของพระสนมเสี้ยวจู
ลักษณะของชิงหนิงกงจะแตกต่างจากอาคารที่อื่นโดยทางเข้าจะอยู่ทางด้านข้าง ตรงกลางพระตำหนักจะไม่มีประตู ภาษาจีนเรียกว่า口袋房โข่วไต้ฝาง แปลตรงตัวคือห้องกระเป๋า น่าจะหมายถึงห้องที่มีประตูด้านข้างเหมือนที่กระเป๋าเสื้อจะอยู่ด้านข้างเสื้อ (จินตนาการว่าเป็น jacket หรือเสื้อสูทละกันค่ะ) ประตูทางเข้าของชิงหนิงกงอยู่ทางตะวันออก (ทางขวาของอาคาร) ภายในไม่มีการกั้นเป็นห้องสามารถเดินถึงกันได้หมด
ภายในอาคารชิงหนิงกงจะแบ่งเป็นสองห้องใหญ่ ห้องทางซ้ายจะใหญ่กว่าห้องทางขวา ห้องทางขวาไม่ได้เปิดให้เข้าชม ดูได้โดยการมองผ่านกระจกซึ่งจะเป็นห้องนอนของฮ่องเต้ฮวงไท้จี๋และฮองเฮาเจอเจอ
สำหรับห้องทางซ้าย ภายในห้องทางทิศเหนือ ใต้และตะวันตกจะมีการ build in สิ่งที่เรียกว่า 万字炕
ว่านจื้อคั่ง คำว่าคั่งก็คือเตียง (ภาษาอังกฤษใช้ทับศัพท์ว่า Kang bed) ถ้าให้อธิบายคือเหมือนการยกพื้นส่วนที่ติดกำแพงให้สูงขึ้นเกือบถึงหน้าต่างและกว้างออกมาสักเมตรหรือกว้างกว่านั้นนิดหน่อย โดยด้านล่างจะมีการติดระบบกลไกการส่งความร้อนจากการเผาฟืนเพื่อให้ส่วนที่เป็นเตียงนี้อุ่นเมื่อนั่งหรือนอน
รูปว่านจื้อคั่ง
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีเตาไว้ใส่ฟืนเผาไฟสำหรับทำให้คั่งในห้องอุ่น
เตาใส่ไฟเพื่อให้คั่งอุ่น
ขอไปเล่าต่อในช่องความคิดเห็นนะค่ะ ^^
พระราชวังต้องห้าม...ที่ไม่ใช่ในปักกิ่ง! พาเที่ยว Shenyang Palace (Mukden Palace) ฉบับมินิ ประวัติและสถาปัตย์คือที่สุด!
สวัสดีค่ะทุกคน ( ◠‿◠ ) ไม่ได้เขียนกระทู้มานาน กระทู้เก่าที่เคยเขียนไว้ก็ยังเขียนไม่จบ σ(^_^;) แต่ว่าช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมามีโอกาสไปฮาร์บินแล้วได้แวะเที่ยวที่เมืองเสิ่นหยาง 1 วัน เลยได้ไปพระราชวังเสิ่นหยางหรือเสิ่นหยางกู้กง (Mukden Palace) ระหว่างที่เขียนบันทึกท่องเที่ยวส่วนตัวรู้สึกว่าพระราชวังแห่งนี้ก็มีเรื่องราวน่าสนใจ ประกอบกับลองหาใน pantip ยังหากระทู้เกี่ยวกับพระราชวังนี้ไม่เจอ เลยอยากมาแบ่งปันประสบการณ์แบบสั้นๆค่ะ (^0^)
เสิ่นหยางเป็นศูนย์กลางของตงเป่ย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ของจีนซึ่งประกอบไปด้วย 3 มณฑลหลักคือเหลียวหนิง, จี๋หลิน, และเฮยหลงเจียง โดยเสิ่นหยางเป็นเมืองเอกของเหลียวหนิงมีประชากรประมาณ 9.2 ล้านคน คุณไกด์บอกว่าที่นี่เจริญกว่าฮาร์บิน
ช่วงเช้าจขกท.ไปเที่ยวจี๋หลินและนั่งรถไฟความเร็วสูงรอบสายๆมาที่เสิ่นหยางค่ะ หลังทานอาหารเที่ยงเราไปเที่ยวกันที่พระราชวังเสิ่นหยางกู้กง ซึ่งถือว่าเป็นพระราชวังแห่งแรกของราชวงศ์ชิง และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO เมื่อปีค.ศ. 2004 ถึงตรงนี้ขอเขียนเกี่ยวกับต้นราชวงศ์ชิงไว้หน่อยนะค่ะ ^o^ ฮ่องเต้คนแรกของราชวงศ์ชิงมีชื่อว่านู่เอ่อร์ฮาชื่อ (“นอฮช.”) นามสกุลคืออ้ายซินเจ๋อหลัว (คุ้นๆกันบ้างไหมคะ เคยได้ยินในซีรีส์จีน อิอิ) บรรพบุรุษของนอฮช.คือหนี่เจินเหรินหรือชาวแมนจูนั่นเอง ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงชาวหนี่เจินอาศัยอยู่ในเสิ่นหยาง ครั้นพอราชวงศ์หมิงเข้ามารุกรานบริเวณนี้ คุณปู่และคุณพ่อของนอฮช.ล้วนตายในสนามรบ ทำให้นอฮช.ต้องตั้งก๊กเล็กๆขึ้นมาชื่อว่าฮั่วจิง รวบรวมชาวหนี่เจินและตีเมืองเสิ่นหยางคืนมา จากนั้นก็บุกไปยังปักกิ่ง ตั้งราชวงศ์ชิง รบไปเรื่อย จนได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่และตายตอนอายุ 68 ปี (แค้นนี้ต้องชำระ ขำระเสร็จยังตั้งตนเป็นฮ่องเต้ได้อีก เก่งจริงๆ!)
นอฮช.เป็นผู้เริ่มสร้างเสิ่นหยางกู้กงแต่สร้างยังไม่เสร็จก็สวรรคตก่อน TT_TT จากนั้นลูกชายของนอฮช.ชื่อหวงไท่จี๋เป็นคนสร้างต่อจนเสร็จ (บางส่วนเฉียนหลงฮ่องเต้มีมาต่อเติมทีหลัง) ใช้เวลาสร้างรวม 11 ปี ตอนค.ศ. 1625-1636 ประกอบไปด้วย 114 ตึกที่มีห้องกว่า 500 ห้อง ฮ่องเต้ที่อยู่ที่วังนี้มีแค่ 2 คนคือหวงไท่จี๋และซุ่นจื้อ (ลูกหวงไท่จี๋) ตอนปี 1644 ซุ่นจื้อย้ายไปอยู่ที่ปักกิ่ง เสิ่นหยางกู้กงจึงใช้เป็นที่พำนักของฮ่องเต้ในช่วงที่กลับมาไหว้บรรพบุรุษเท่านั้น
เพื่อให้เห็นภาพเลยขอนำภาพจาก Wikipedia มาแปะไว้ให้ดูหน่อยค่ะ
แผนผังวังนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน พท.ตรงกลาง(พื้นหลังสีเขียว) พท.ทางตะวันตก (พื้นหลังสีม่วง) และพท.ทางตะวันออก (พื้นหลังสีเหลือง) โดยเปิดให้เข้าชมแค่ส่วนตรงกลางและทางตะวันออก ในส่วนของตรงกลางตึกแรกด้านหน้าที่เจอคือ 崇政殿 ฉงเจิ้งเตี้ยน (Chongzheng Hall) ท้องพระโรงที่ฮ่องเต้ใช้ออกว่าราชการ
หากเรามองเข้าไปด้านในท้องพระโรงนอกจากจะเห็นบัลลังก์ตรงกลางแล้วจะสังเกตเห็นเสาอยู่ 4 เสา แล้วในแต่ละเสาจะมีลวดลายมังกรทองคำแท้เสาละ 2 ตัวเพราะฉะนั้นทั้งหมดมี 8 ตัว
แต่สัญลักษณ์การเป็นฮ่องเต้ต้องมีมังกร 9 ตัว (九五之尊 จิ๋วอู่จือจวน ราชาแห่งการปกครอง) ดังนั้นฮ่องเต้เวลาเข้ามาที่ท้องพระโรงจะเปรียบเหมือนมังกรตัวที่ 9 (เรียกว่าเป็น真龙天子เจินหลงเทียนจื่อ จักรพรรดิมังกรตัวจริง) นอกจากนี้เหนือบังลังก์ยังมีป้ายอักษรจีน 4 ตัวเขียนว่า 正大光明 (เจิ้นต้ากวงหมิง แต่ในรูปต้องอ่านจากซ้ายไปขวา) แปลว่าใหญ่โตและยุติธรรม ซึ่งหลังป้ายนี้จะเป็นที่ใช้เก็บกระดาษที่เขียนชื่อองค์รัชทายาทไว้ด้วย
ตัวบัลลังก์ทำจากทองเหลืองปิดทองด้านหน้ามีผีเซี๊ยะประดับอยู่สองตัว กระถางสีฟ้าตรงมุมยกพื้นที่ประทับบัลลังค์มีไว้สำหรับจุดฟืนเพื่อให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว สำหรับด้านนอกอาคารการประดับส่วนใหญ่จะเป็นมังกรแกะสลักแสดงถึงว่าเป็นที่ประทับของมังกรตัวจริง
หลังจากดูท้องพระโรง เราก็เดินไปดูทางฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชื่อ 大政殿 ต้าเจิ้งเตี้ยน
ต้าเจิ้งเตี้ยนเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมหลังคาสองชั้น โดยหลังคาสองชั้นแสดงถึงว่าผู้ที่อาศัยอยู่ที่อาคารนี้มีสถานะสูงมาก สีของหลังคาเป็นสีเหลืองโดยมีขอบเป็นสีเขียว สีเหลืองคือสีของฮ่องเต้ ส่วนขอบสีเขียวแสดงถึงทุ่งหญ้า ระลึกถึงว่าบรรพบุรุษมาจากทุ่งหญ้า หลังคานี้ทำเลียนแบบหมวกของชาวมองโกเลียใน หากไปดูใกล้ๆบนหลังคาจะเห็นเชือกเป็นเส้นอยู่บนเหลี่ยมทั้ง 8 ของหลังคา นอกจากนี้ข้างบนแต่ละเหลี่ยมจะมีรูปปั้นคนอยู่เหลี่ยมละ 1 คนรวมทั้งหมดเป็น 8 คน ทำท่าทางกำลังดึงเชือกอยู่ เพื่อจะสื่อว่าคนแมนจูและคนมองโกเลียในเป็นพี่น้องกัน รักกัน อาคารต้าเจิ้งเตี้ยนนี้ใช้สำหรับทรงงานส่วนตัวของฮ่องเต้ ส่วนด้านซ้ายขวามีอาคาร 10 หลังเรียกว่า พลับพลาสิบอ๋อง หรือ สือหวางถิง (十王亭) เป็นที่ทำการของกองทัพแปดธง อันเป็นกองทัพหลักของราชวงศ์ชิง
หลังฉากกั้นบัลลังก์มีป้ายอักษรจีนขนาดใหญ่ อักษรสีทองพื้นหลังสีน้ำเงิน อักษรเขียนโดยเฉียนหลงฮ่องเต้ความว่า 泰交景运 ไท่เจียวจิ่งยุ่น (ในรูปอักษรด้านซ้ายและขวาโดนบังไปข้างละตัว) อ่านมาจากเวปของวังนี้เค้าบอกต้องการสื่อว่า “เมื่อพลังแห่งสวรรค์และโลกบรรจบกัน ทุกสิ่งทุกอย่างก็เชื่อมโยงกัน และโชคชะตาอันยิ่งใหญ่ของชาติราชวงศ์ชิงก็ถือกำเนิดขึ้น” คุณไกด์บอกเขียนไว้เพื่อสื่อให้ประเทศจีนมีอนาคตที่ดี นอกจากนี้ยังมีรูปของนู่เอ่อร์ฮาชื่อตั้งไว้ให้ดูอีกด้วย (เสียดายถ่ายรูปมาแล้วแสงสะท้อน)
หลังจากตรงนี้เราก็เดินย้อนกลับไปเที่ยวพื้นที่ส่วนกลางอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไปดูหมู่อาคารหลังท้องพระโรงซึ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นในในสมัยของฮ่องเต้หวงไท่จี๋ขอเรียกสั้นๆว่าวังหลังละกันค่ะ พอเดินเข้าลานมาจะเจอกับอาคารสูงหลายชั้นชื่อ凤凰楼 เฟิ่งหวงโหลว หรือ Phoenix Tower
ระหว่างขึ้นบันไดเพื่อเดินผ่านเฟิ่งหวงโหลวจะเห็นป้ายๆหนึ่งอยู่บนหัว เขียนไว้ว่า 紫氣東来 จื่อชี่ตงไหล แปลตรงตัวคือ Purple Air from the East แต่คุณไกด์บอกว่าหมายถึง “สิริมงคลมาจากทิศตะวันออก” ป้ายนี้เขียนโดยเฉียนหลงฮ่องเต้อีกเช่นกัน
ในเขตพระราชฐานชั้นในในสมัยของฮ่องเต้หวงไท่จี๋ นอกจากพระราชวังหลักคือพระราชวังฉิงหนิง 清宁宫 ชิงหนิงกง Qingnigngong ที่ตั้งอยู่ตรงกลางแล้ว ยังมีพระตำหนักเสริมอีก 6 หลัง โดยในจำนวนนั้น 4 หลังตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกและตะวันตกด้านหน้าของพระราชวังฉิงหนิงข้างละ 2 หลัง
ชิงหนิงกงเป็นที่อยู่ของฮ่องเต้และฮองเฮา พระตำหนักอีก 4 หลังเป็นที่อยู่ของพระสนม หากหันหน้าเข้าหาชิงหนิงกง พระตำหนักด้านขวาที่ติดกับชิงหนิงกงเลยคือพระตำหนักของพระสนมไห่หลางจู (ในแผนที่ชื่อพระตำหนัก Guanju) และพระตำหนักทางซ้ายที่ไม่ได้ติดกับชิงหนิงกงคือพระตำหนักของพระสนมเสี้ยวจวง(ในแผนที่ชื่อพระตำหนัก Yongfu) วันที่ไปให้เข้าชมแค่ชิงหนิงกงและพระตำหนักของพระสนมเสี้ยวจู
ลักษณะของชิงหนิงกงจะแตกต่างจากอาคารที่อื่นโดยทางเข้าจะอยู่ทางด้านข้าง ตรงกลางพระตำหนักจะไม่มีประตู ภาษาจีนเรียกว่า口袋房โข่วไต้ฝาง แปลตรงตัวคือห้องกระเป๋า น่าจะหมายถึงห้องที่มีประตูด้านข้างเหมือนที่กระเป๋าเสื้อจะอยู่ด้านข้างเสื้อ (จินตนาการว่าเป็น jacket หรือเสื้อสูทละกันค่ะ) ประตูทางเข้าของชิงหนิงกงอยู่ทางตะวันออก (ทางขวาของอาคาร) ภายในไม่มีการกั้นเป็นห้องสามารถเดินถึงกันได้หมด
ภายในอาคารชิงหนิงกงจะแบ่งเป็นสองห้องใหญ่ ห้องทางซ้ายจะใหญ่กว่าห้องทางขวา ห้องทางขวาไม่ได้เปิดให้เข้าชม ดูได้โดยการมองผ่านกระจกซึ่งจะเป็นห้องนอนของฮ่องเต้ฮวงไท้จี๋และฮองเฮาเจอเจอ
สำหรับห้องทางซ้าย ภายในห้องทางทิศเหนือ ใต้และตะวันตกจะมีการ build in สิ่งที่เรียกว่า 万字炕 ว่านจื้อคั่ง คำว่าคั่งก็คือเตียง (ภาษาอังกฤษใช้ทับศัพท์ว่า Kang bed) ถ้าให้อธิบายคือเหมือนการยกพื้นส่วนที่ติดกำแพงให้สูงขึ้นเกือบถึงหน้าต่างและกว้างออกมาสักเมตรหรือกว้างกว่านั้นนิดหน่อย โดยด้านล่างจะมีการติดระบบกลไกการส่งความร้อนจากการเผาฟืนเพื่อให้ส่วนที่เป็นเตียงนี้อุ่นเมื่อนั่งหรือนอน