คำถามจากรายการ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ ซีซั่น 2
ทำไมจึงเฉลยข้อ c เพราะหญ้าไม่อร่อย
มาดูการวิเคราะห์จากเพจอ.เจษฎา
(ดูคลิปที่
https://www.facebook.com/watch/?v=2008859879940562 )
ปัญหาคือ การใช้คำว่า "ผัก" เป็นโจทย์ทางชีววิทยา คู่กับคำว่า "หญ้า" นั้น มีความกำกวมในตัวเองสูง เพราะ "ผัก" แปลตามพจนานุกรมว่า "พืชที่ใช้เป็นอาหาร" ซึ่งกว้างมาก เพราะรวมพืชหลากหลายสปีชีส์ หลายหลากวงศ์ (family) ที่มนุษย์นำมาบริโภคทั้งจากธรรมชาติ และจากการเพาะปลูก
ขณะที่คำว่า "หญ้า" นั้น มีความหมายที่แคบกว่า โดยตามพจนานุกรม แปลว่า ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล (genus) ในวงศ์ Gramineae (วงศ์หญ้า ซึ่งปัจจุบัน นักพฤกษศาสตร์จะเรียกว่า วงศ์ Poaceae ) เช่น หญ้าคา หญ้าตีนกา หญ้าแพรก ฯลฯ .. แม้แต่ ข้าว ข้าวฟ่าง และ อ้อย ก็อยู่วงศ์ Gramineae
ดังนั้น การเปรียบเทียบเรื่องกินได้ กินไม่ได้ ระหว่าง "ผัก" กับ "หญ้า" นั้น ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะให้เป๊ะๆ ถูกตามหลักชีววิทยา .. แต่ถ้าเอาแบบง่ายๆ เด็กๆ คุยกัน ก็ควรยกตัวอย่างชนิดให้ชัด เช่น กินผักกาด กับ กินหญ้าคา ก็จะเคลียร์ขึ้น
ที่นี้ มาดูคำตอบ A. ที่บอกว่า "กระเพาะของคน ย่อยผัก(กาด)ได้ แต่ย่อยหญ้า(คา)ไม่ได้" ... อันนี้ "ผิด" ชัดเจน เพราะไม่ว่าจะผักกาด หรือหญ้าคา กระเพาะของคนเราก็ย่อยพืชผักทั้งหมดได้ยากคือกัน เนื่องจากเราไม่มีเอนไซม์สำหรับย่อย "เซลลูโลส (cellulose)" และ "ลิกนิน (lignin)" ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อพืช
ระบบย่อยอาหารของคนเรา ไม่เหมือนกับพวกสัตว์กินพืช ซึ่งจะอาศัยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในกระเพาะอาหารของพวกมัน เป็นจำนวนมาก ในการช่วยย่อยสลายเซลลูโลสและลิกนิน ทำให้เมื่อคนเรากินพืชผักเข้าไป ไม่ว่าผักหรือหญ้า ก็จะขับถ่ายออกมาเป็นกากอาหาร กับอุจจาระเกือบทั้งหมด
ไม่เหมือนพวกสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย ที่มีกระเพาะอาหารถึง 4 กระเพาะต่อกัน ช่วยย่อยหญ้าได้จนได้สารอาหารไปใช้ประโยชน์ คือ มีกระเพาะที่ 1 รูเมน (rumen) ซึ่งมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยหญ้าที่กินเข้าไป แล้วจะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 2 เรติคูลัม (reticulum) ที่สามารถช่วยขย้อนอาหาร กลับมาที่ปาก ให้เคี้ยวละเอียดได้มากขึ้น ก่อนจะกลืนหญ้าเข้าไปอีกครั้ง ส่งไปยังกระเพาะที่ 3 โอมาซัม (omasum) ทำหน้าที่กระจายอาหารให้เข้ากัน และสุดท้ายเคลื่อนไปยังกระเพาะที่ 4 อะโบมาซัม (abomasum) ซึ่งนับได้ว่า เป็นกระเพาะแท้ คล้ายกับของมนุษย์ เนื่องจากมีเอนไซม์ต่างๆ ในการย่อยอาหาร
ตัวเลือกต่อไป คือ B. "ฟันของคน วิวัฒนาการมาเพื่อกินเนื้อเท่านั้น" อันนี้ก็ผิดชัดเจนเช่นกัน เนื่องจากแรกเริ่มนั้น วิวัฒนาการของมนุษย์ ลิง และไพรเมตชนิดต่างๆ ในปัจจุบัน เริ่มมาจากกลุ่มของไพรเมตโบราณที่กินแมลง และพัฒนาไปจนกินเนื้อ กินผลไม้ หรือแม้แต่รากไม้ ใบหญ้า ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังตัวอย่างที่คนเรามีทั้งฟันเคี้ยว สำหรับการกัดฉีก (คล้ายสัตว์กินเนื้อ) และฟันกราม สำหรับการเคี้ยวบดอาหารนานๆ (คล้ายสัตว์กินผลไม้ กินพืช)
ส่วนตัวเลือกที่ถูกต้องตามเฉลย คือ C. "เพราะหญ้าไม่อร่อย" นั้น แม้จะมีความกำกวมตรงคำว่า "อร่อย" ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกแต่ละบุคคล ตามรสชาติของอาหารที่กินเข้าไป แต่มีจุดหนึ่งที่เอามาอ้างอธิบายได้ คือ การที่เซลล์และเนื้อเยื่อของพืชวงศ์ Gramineae นั้น มี "ซิลิกา" สะสมอยู่มากครับ
สำหรับ ซิลิกา (silica) ก็คือธาตุชนิดหนึ่งที่ส่วนประกอบหลัก ในหิน ในทราย และในแก้ว มีความแข็งสูงมาก ดังนั้น ถ้าคนกินใบของพวกหญ้าเข้าไป (ไม่ใช่กินเนื้อเมล็ดข้าว) ก็จะทำให้เคี้ยวได้ยากมาก เมื่อยปาก เจ็บฟัน จนเคลือบฟันสึกหรอ ได้เลยทีเดียว
แตกต่างจากพวกสัตว์กินพืช สัตว์เคี้ยวเอื้อง ที่นอกจากจะมีกระเพาะ 4 กระเพาะช่วยในการย่อยเซลลูโลสแล้ว ยังมีลักษณะของฟันที่เหมาะสมกับการกินหญ้าด้วย โดยจะสังเกตได้ว่า สัตว์พวกนี้มักมีฟันหน้า ไปอยู่ที่กรามด้านล่าง ส่วนกรามบน กลับมีแผ่น dental pad เป็นแผ่นแข็งๆ มารับกับฟันที่อยู่ด้านล่าง
เวลาสัตว์พวกนี้กินหญ้า มันจะเคี้ยวหญ้าเป็นแนวขวาง ซ้าย-ขวา ส่งหญ้าจากฟันหน้า ไปบดเคี้ยวที่ฟันกรามด้านใน ซึ่งมีขนาดใหญ่และเรียงชิดติดกันเป็นท่อนใหญ่ สามารถบดใบหญ้าที่แข็งๆ นั้น ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ไม่ยาก แถมผิวฟันของสัตว์เคี้ยวเอื้องนั้น แม้จะสึกกร่อนจากการบดเคี้ยว ก็จะมีการซ่อมแซมได้เองอีกด้วย
ดังนั้น คำเฉลยที่ว่า "หญ้าไม่อร่อย(สำหรับคน)" จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ใน 3 ตัวเลือกนี้ครับ 😄
ทำไมคนกินผักได้แต่กินหญ้าไม่ได้
ทำไมจึงเฉลยข้อ c เพราะหญ้าไม่อร่อย
มาดูการวิเคราะห์จากเพจอ.เจษฎา
(ดูคลิปที่ https://www.facebook.com/watch/?v=2008859879940562 )
ปัญหาคือ การใช้คำว่า "ผัก" เป็นโจทย์ทางชีววิทยา คู่กับคำว่า "หญ้า" นั้น มีความกำกวมในตัวเองสูง เพราะ "ผัก" แปลตามพจนานุกรมว่า "พืชที่ใช้เป็นอาหาร" ซึ่งกว้างมาก เพราะรวมพืชหลากหลายสปีชีส์ หลายหลากวงศ์ (family) ที่มนุษย์นำมาบริโภคทั้งจากธรรมชาติ และจากการเพาะปลูก
ขณะที่คำว่า "หญ้า" นั้น มีความหมายที่แคบกว่า โดยตามพจนานุกรม แปลว่า ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล (genus) ในวงศ์ Gramineae (วงศ์หญ้า ซึ่งปัจจุบัน นักพฤกษศาสตร์จะเรียกว่า วงศ์ Poaceae ) เช่น หญ้าคา หญ้าตีนกา หญ้าแพรก ฯลฯ .. แม้แต่ ข้าว ข้าวฟ่าง และ อ้อย ก็อยู่วงศ์ Gramineae
ดังนั้น การเปรียบเทียบเรื่องกินได้ กินไม่ได้ ระหว่าง "ผัก" กับ "หญ้า" นั้น ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะให้เป๊ะๆ ถูกตามหลักชีววิทยา .. แต่ถ้าเอาแบบง่ายๆ เด็กๆ คุยกัน ก็ควรยกตัวอย่างชนิดให้ชัด เช่น กินผักกาด กับ กินหญ้าคา ก็จะเคลียร์ขึ้น
ที่นี้ มาดูคำตอบ A. ที่บอกว่า "กระเพาะของคน ย่อยผัก(กาด)ได้ แต่ย่อยหญ้า(คา)ไม่ได้" ... อันนี้ "ผิด" ชัดเจน เพราะไม่ว่าจะผักกาด หรือหญ้าคา กระเพาะของคนเราก็ย่อยพืชผักทั้งหมดได้ยากคือกัน เนื่องจากเราไม่มีเอนไซม์สำหรับย่อย "เซลลูโลส (cellulose)" และ "ลิกนิน (lignin)" ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อพืช
ระบบย่อยอาหารของคนเรา ไม่เหมือนกับพวกสัตว์กินพืช ซึ่งจะอาศัยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในกระเพาะอาหารของพวกมัน เป็นจำนวนมาก ในการช่วยย่อยสลายเซลลูโลสและลิกนิน ทำให้เมื่อคนเรากินพืชผักเข้าไป ไม่ว่าผักหรือหญ้า ก็จะขับถ่ายออกมาเป็นกากอาหาร กับอุจจาระเกือบทั้งหมด
ไม่เหมือนพวกสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย ที่มีกระเพาะอาหารถึง 4 กระเพาะต่อกัน ช่วยย่อยหญ้าได้จนได้สารอาหารไปใช้ประโยชน์ คือ มีกระเพาะที่ 1 รูเมน (rumen) ซึ่งมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยหญ้าที่กินเข้าไป แล้วจะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 2 เรติคูลัม (reticulum) ที่สามารถช่วยขย้อนอาหาร กลับมาที่ปาก ให้เคี้ยวละเอียดได้มากขึ้น ก่อนจะกลืนหญ้าเข้าไปอีกครั้ง ส่งไปยังกระเพาะที่ 3 โอมาซัม (omasum) ทำหน้าที่กระจายอาหารให้เข้ากัน และสุดท้ายเคลื่อนไปยังกระเพาะที่ 4 อะโบมาซัม (abomasum) ซึ่งนับได้ว่า เป็นกระเพาะแท้ คล้ายกับของมนุษย์ เนื่องจากมีเอนไซม์ต่างๆ ในการย่อยอาหาร
ตัวเลือกต่อไป คือ B. "ฟันของคน วิวัฒนาการมาเพื่อกินเนื้อเท่านั้น" อันนี้ก็ผิดชัดเจนเช่นกัน เนื่องจากแรกเริ่มนั้น วิวัฒนาการของมนุษย์ ลิง และไพรเมตชนิดต่างๆ ในปัจจุบัน เริ่มมาจากกลุ่มของไพรเมตโบราณที่กินแมลง และพัฒนาไปจนกินเนื้อ กินผลไม้ หรือแม้แต่รากไม้ ใบหญ้า ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังตัวอย่างที่คนเรามีทั้งฟันเคี้ยว สำหรับการกัดฉีก (คล้ายสัตว์กินเนื้อ) และฟันกราม สำหรับการเคี้ยวบดอาหารนานๆ (คล้ายสัตว์กินผลไม้ กินพืช)
ส่วนตัวเลือกที่ถูกต้องตามเฉลย คือ C. "เพราะหญ้าไม่อร่อย" นั้น แม้จะมีความกำกวมตรงคำว่า "อร่อย" ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกแต่ละบุคคล ตามรสชาติของอาหารที่กินเข้าไป แต่มีจุดหนึ่งที่เอามาอ้างอธิบายได้ คือ การที่เซลล์และเนื้อเยื่อของพืชวงศ์ Gramineae นั้น มี "ซิลิกา" สะสมอยู่มากครับ
สำหรับ ซิลิกา (silica) ก็คือธาตุชนิดหนึ่งที่ส่วนประกอบหลัก ในหิน ในทราย และในแก้ว มีความแข็งสูงมาก ดังนั้น ถ้าคนกินใบของพวกหญ้าเข้าไป (ไม่ใช่กินเนื้อเมล็ดข้าว) ก็จะทำให้เคี้ยวได้ยากมาก เมื่อยปาก เจ็บฟัน จนเคลือบฟันสึกหรอ ได้เลยทีเดียว
แตกต่างจากพวกสัตว์กินพืช สัตว์เคี้ยวเอื้อง ที่นอกจากจะมีกระเพาะ 4 กระเพาะช่วยในการย่อยเซลลูโลสแล้ว ยังมีลักษณะของฟันที่เหมาะสมกับการกินหญ้าด้วย โดยจะสังเกตได้ว่า สัตว์พวกนี้มักมีฟันหน้า ไปอยู่ที่กรามด้านล่าง ส่วนกรามบน กลับมีแผ่น dental pad เป็นแผ่นแข็งๆ มารับกับฟันที่อยู่ด้านล่าง
เวลาสัตว์พวกนี้กินหญ้า มันจะเคี้ยวหญ้าเป็นแนวขวาง ซ้าย-ขวา ส่งหญ้าจากฟันหน้า ไปบดเคี้ยวที่ฟันกรามด้านใน ซึ่งมีขนาดใหญ่และเรียงชิดติดกันเป็นท่อนใหญ่ สามารถบดใบหญ้าที่แข็งๆ นั้น ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ไม่ยาก แถมผิวฟันของสัตว์เคี้ยวเอื้องนั้น แม้จะสึกกร่อนจากการบดเคี้ยว ก็จะมีการซ่อมแซมได้เองอีกด้วย
ดังนั้น คำเฉลยที่ว่า "หญ้าไม่อร่อย(สำหรับคน)" จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ใน 3 ตัวเลือกนี้ครับ 😄