ตลาดรถยนต์หืดจับลุ้นทั้งปี 5.5 แสนคัน ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ระส่ำดิ้นหนีตาย “เลิกกิจการ-ย้ายค่าย” อุตลุด
ศูนย์วิจัยกสิกรฯระบุปีนี้โชว์รูมปิดตัวอีกกว่า 50 แห่ง เผยเทรนด์โชว์รูมรถญี่ปุ่น-ยุโรปลดลงต่อเนื่อง วิเคราะห์ธุรกิจดีลเลอร์ตั้งแบกสต๊อกและต้นทุนเงินกู้อ่วม ขณะที่แบรนด์จีนเปิดสงครามราคาแข่งเดือด นักลงทุนคิดหนักผวาทุนหาย-กำไรหด ค่ายรถหรูก็ไม่รอด ดีลเลอร์เบนซ์เลิกกิจการอีก 2 ราย “เบนซ์-เมโทร ออโต้เฮาส์” ย้ายค่ายซบแบรนด์รถจีน ค่ายญี่ปุ่นตั้งการ์ดชูบริการเข้าสู้
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ครึ่งปีที่ผ่านมา ยังเผชิญปัจจัยลบรอบด้านทั้งสภาพเศรษฐกิจ และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อส่งผลกระทบตลาดรถยนต์โดยรวมอย่างมาก
ส.อ.ท.ลดเป้าผลิต 1.5 ล้านคัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันว่ายังยากที่จะประเมิน เนื่องจากยังมีปัจจัยเเวดล้อมหลายด้านที่ต้องจับตา ทั้งสภาพเศรษฐกิจโดยรวม นโยบายภาษีทรัมป์ที่จะส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในเวทีโลก โดยเชื่อว่าคงต้องมีการปรับลดยอดผลิตรถยนต์ลงอีก จากเดิมปีนี้ตั้งเป้ายอดผลิตอยู่ที่ 1.5 ล้านคัน เป็นส่งออก 1 ล้านคัน และตลาดในประเทศ 5 แสนคัน
“จากยอดผลิต 5 เดือนแรก ทำได้ 594,492 คัน ลดลง 7.83% คาดว่าปีนี้จะต้องปรับลดเป้าลงไม่ถึง 1.5 ล้านคันแน่นอน”
แม้ว่าตัวเลขผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ทำได้ 139,186 คัน โตขึ้น 10% ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน ส่วนสำคัญมาจากรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) โต 641.16% และปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) โต 130.49% เป็นผลมาจากค่ายอีวีที่เข้าร่วมมาตรการอีวีของภาครัฐเริ่มผลิตรถเพื่อชดเชย และความนิยมในตลาดที่เพิ่มขึ้น
ลุ้นตลาดไทย 5-6 แสนคัน
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ในประเทศ โดยก่อนหน้านี้ นายศุภกร รัตนวราหะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ประเมินภาพรวมตลาดรถในปีนี้ว่า อยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้จะมียอดขายรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้น 5% หรืออยู่ที่ 600,000 คัน ในส่วนของโตโยต้าตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 231,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5% มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 38.5%
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยอดขายรถยนต์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 545,000-570,000 คัน ลดลง 5% จากปี 2567 เล็กน้อย โดยปัจจัยหลักเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมและความผันผวนทางการเมืองส่งผลต่อความมั่นใจในการขยายธุรกิจของนักลงทุนให้ลดลงด้วย
ดีลเลอร์แบกต้นทุนอ่วม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า จากยอดขายรถยนต์ปีนี้ที่คาดว่าจะลดเหลือ 565,000 คัน ส่งผลธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ปี 2568 รายได้ของธุรกิจในภาพรวมคาดหดตัว 5.6% โดยธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ในไทยยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันต่อจากปีที่แล้ว จากยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศที่คาดว่าจะหดตัว และการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
ผนวกกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งสต๊อกรถยนต์ที่ยังขายไม่ได้และดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ดีลเลอร์รถยนต์ต้องเร่งปรับตัวต่อเพื่อหาช่องทางเพิ่มรายได้ ทั้งการปรับรูปแบบธุรกิจเหลือเพียงสำนักงานขายที่ไม่สต๊อกรถยนต์ เพิ่มรายได้ซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนไปทำดีลเลอร์ค่ายอื่นโดยเฉพาะค่ายรถจีน
โชว์รูมปิด 50 แห่ง-จีนเพิ่ม
จากรายได้ดีลเลอร์ที่ลดลงรวมกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า จากจำนวนดีลเลอร์รถยนต์ปี 2567 อยู่ที่ 2,197 แห่ง คาดว่าปีนี้ลดลงเหลือ 2,146 แห่งทั่วประเทศ หรือลดลงประมาณ 50 แห่ง โดยดีลเลอร์รถยนต์ค่ายญี่ปุ่น และตะวันตกมีโอกาสหดตัวสูงกว่า เนื่องจากทั้งยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถยนต์นั่งสันดาปมีแนวโน้มลดลง
ขณะที่ค่ายรถจีนที่ยังมีโอกาสขยายดีลเลอร์เพิ่มขึ้น ตามยอดขายรถยนต์นั่งกลุ่ม xEV โดยเฉพาะเมื่อ PHEV และ BEV ที่ค่ายจีนทำตลาดเป็นหลักกำลังได้รับความนิยมจากตลาด อย่างไรก็ดี ดีลเลอร์รถยนต์ค่ายจีนมีทิศทางขยายตัวแต่ในระดับชะลอลง
โดยในปี 2567 จำนวนโชว์รูม 2,197 แห่ง แบ่งเป็นโชว์รูมค่ายญี่ปุ่นและตะวันตก 1,660 แห่ง และเป็นค่ายจีน 537 แห่ง
สำหรับในปี 2568 คาดว่าโชว์รูมจะลดลงเหลือ 2,146 แห่ง โดยเป็นของค่ายญี่ปุ่นและตะวันตก 1,566 แห่ง ขณะที่ค่ายจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 580 แห่ง
สงครามราคา-ดีลเลอร์ระส่ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจีนจะมีการขยายตัว แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ตลาดรถยนต์ครึ่งปีแรกหดตัวต่อเนื่อง และสงครามราคาที่รุนแรงทำให้ดีลเลอร์ค่ายรถจีนก็ประสบปัญหาหลายด้านเช่นกัน ที่ชัดเจนที่สุดคือตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ เนต้า (NETA) ที่บริษัทแม่เผชิญปัญหาขาดสภาพคล่อง จนลุกลามมายังประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายด้าน ทั้งค้างชำระหนี้ให้กับดีลเลอร์
รวมถึงไม่มีอะไหล่ในการซ่อมบำรุง ทำให้ขณะนี้ดีลเลอร์ของเนต้าเร่งระบายรถที่ค้างอยู่ในสต๊อกเพื่อที่จะยุติการเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือเปลี่ยนไปทำรถยี่ห้ออื่นแทน ส่งผลให้ปัจจุบันจำนวนดีลเลอร์เนต้าลดลงจากกว่า 60 แห่ง เหลือประมาณ 20 แห่งเท่านั้น
ส่วนดีลเลอร์ค่ายรถอื่น ๆ ก็ยังมีการเปลี่ยนแบรนด์ให้เห็นทั้งจากค่ายญี่ปุ่นไปเป็นแบรนด์จีน หรือเปลี่ยนระหว่างแบรนด์จีนด้วยกัน
โดยแหล่งข่าวดีลเลอร์แบรนด์จีนยอมรับว่า เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การแข่งขันของตลาด รวมทั้งภาพลักษณ์ของรถแบรนด์จีนในประเทศไทย มีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยค่ายรถบางรายมีความยากง่ายในการหานักลงทุน (ดีลเลอร์) มาเข้าร่วมธุรกิจแตกต่างกัน
“จูนเหยา-ริดดารา” ยังสู้ต่อ 
นอกจากนี้ ในวงการมีการจับตากรณีแบรนด์จีนน้องใหม่อย่าง “จูนเหยา” ที่อาจถอดใจจากตลาดประเทศไทย เนื่องจากยอดขายยังไม่เป็นไปตามคาด ขณะที่นายจาง ไห่โป อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท จูนเหยา ออโต (ประเทศไทย) จำกัด ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่ง รองประธานกลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่งผลให้จูนเหยาเกิดภาวะสุญญากาศ
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากบริษัทแม่ ที่จะเเต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่มารับดูแลประเทศไทย ขณะที่บริษัทยังคงเดินหน้าขยายตัวแทนจำหน่าย จากปัจจุบันโชว์รูม 3 แห่ง ได้แก่ สาขาสุวินทวงศ์, นวมินทร์, ชลบุรี และกำลังขยายเพิ่มสาขา อ่อนนุช-พัฒนาการ, เชียงใหม่, อุดรธานี และนครศรีธรรมราช
ด้านนายจาง ชง ผู้จัดการทั่วไป Geely Riddara ประเทศไทย ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ Riddara (ริดดารา) ในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทยังเดินหน้าหาพันธมิตรเพื่อร่วมธุรกิจเป็นผู้แทนจำหน่าย จากเดิมตั้งเป้าว่าจะมีจากโชว์รูมและศูนย์บริการ 50 แห่งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ขณะนี้ได้ปรับลดลงเหลือ 40 แห่ง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลง โดยปัจจุบันมีการเปิดโชว์รูม 18 แห่ง อยู่ในเขตกรุงเทพฯ 10 แห่ง และต่างจังหวัด 8 แห่ง
ดีลเลอร์ “เบนซ์” ปิด-ย้ายค่าย
แหล่งข่าวจากกลุ่มดีลเลอร์เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงที่ผ่านมามีดีลเลอร์เบนซ์ 2 รายหลัก ได้ตัดสินใจยุติการดำเนินธุรกิจลงไป คือ เบนซ์-สตาร์แฟลก (วิภาวดี) และเบนซ์-เมโทร ออโต้เฮาส์ (พระราม 2)
โดยบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แจ้งให้กับลูกค้าผู้ใช้รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป บริษัท เบนซ์ สตาร์แฟลก จำกัด ได้สิ้นสุดการเป็นตัวแทนจำหน่าย และศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยลูกค้าสามารถใช้บริการกับตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการอย่างเป็นทางการอื่น ๆ ที่สะดวก
สำหรับเบนซ์ สตาร์แฟลก เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2556 ตั้งอยู่บริเวณแยกดินแดงบนถนนวิภาวดีรังสิต เป็นผู้จำหน่ายที่มียอดขายสูงสุดหลายปีติดต่อกัน ทั้งยังเป็นผู้จำหน่ายที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นแฟลกชิปสโตร์ของเมอร์เซเดส-เอเอ็มจี แห่งแรกด้วย
รายงานข่าวระบุว่ากลุ่มทุนหลักของเบนซ์ สตาร์แฟลก คือ นายสุขุม ธรรมมณีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัท ไทยเร้นท์อะคาร์ โฮลดิ้ง จำกัด เจ้าของพื้นที่อาจปรับโชว์รูมเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์อื่น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นแบรนด์ “ออดี้” ที่มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่าง กลุ่มไทยเร้นท์ และอาวดี้ ไทยแลนด์
ดิ้นซบแบรนด์จีน
ขณะที่ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สอบถาม นายบุรินทร์ บุญวิสุทธ์ ผู้บริหาร เบนซ์-เมโทร ออโต้เฮาส์ ได้รับการยอมรับว่า บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แบรนด์จีน คือ “ซีคเกอร์” รวมถึงได้มีการเจรจาเป็นตัวแทนจำหน่าย “แบรนด์จีนน้องใหม่” ที่ยังไม่เปิดตัวในประเทศไทย และยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การตัดสินใจยุติกิจการของผู้แทนจำหน่ายทั้ง 2 ราย เป็นการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งลูกค้าของดีลเลอร์ทั้ง 2 แห่งสามารถมั่นใจได้ว่าเบนซ์ไทยแลนด์ยังคงสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ส่วนลูกค้าที่จองรถไว้กับโชว์รูมทั้ง 2 แห่ง เมอร์เซเดส-เบนซ์ พร้อมเข้ามารับผิดชอบและดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเบนซ์มีโชว์รูมและศูนย์บริการจาก 33 แห่ง เหลือ 31 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 15 แห่ง และต่างจังหวัด 16 แห่ง
ค่ายญี่ปุ่นชูบริการหลังขาย 
สำหรับค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ได้พยายามปรับแผนในช่วงตลาด “ขาลง” โดยหันมาเทน้ำหนักกับงานบริการหลังการขายมากขึ้น อาทิ ค่ายโตโยต้า ออกแคมเปญ “Toyota Trusted Services” จากศูนย์บริการกว่า 450 แห่ง และศูนย์บริการซ่อมตัวถังและสีกว่า 250 แห่ง
ขณะที่ค่ายซูซูกิ ช่วงที่ผ่านมาก็เผชิญปัญหาดีลเลอร์หนีไปทำแบรนด์อื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ “เเบรนด์จีน” เนื่องจากตลาดหดตัว ประกอบกับบริษัทไม่มีสินค้าใหม่ออกมาทำตลาด
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับว่า ช่วงที่ผ่านมาก็มีโชว์รูมที่ปิดตัวไปบ้าง แต่ขณะเดียวกันก็มีการเปิดใหม่ด้วย พร้อมกันนี้ บริษัทได้เน้นขยายเครือข่ายศูนย์บริการมาตรฐานซูซูกิ 2S (Service & Spare Parts) เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานเดียวกัน อย่างทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีนโยบายเพิ่มในจังหวัดพื้นที่ที่ไม่มีโชว์รูม
สำหรับโชว์รูมแบบ 3S (Sales, Service, Spare Parts) เปิดเพิ่มอีก 1 แห่งคือ บริษัท ซูซูกิ ออโต้ เชียงใหม่ จำกัด สาขาดอนจั่น โดยภายในปี 2568 ซูซูกิจะมีศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศ 95 แห่ง...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/motoring/news-1838452
ดีลเลอร์รถยนต์หนีตายกำไรหด ‘ปิดกิจการ-ย้ายค่าย’ อุตลุด
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ครึ่งปีที่ผ่านมา ยังเผชิญปัจจัยลบรอบด้านทั้งสภาพเศรษฐกิจ และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อส่งผลกระทบตลาดรถยนต์โดยรวมอย่างมาก
ส.อ.ท.ลดเป้าผลิต 1.5 ล้านคัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันว่ายังยากที่จะประเมิน เนื่องจากยังมีปัจจัยเเวดล้อมหลายด้านที่ต้องจับตา ทั้งสภาพเศรษฐกิจโดยรวม นโยบายภาษีทรัมป์ที่จะส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในเวทีโลก โดยเชื่อว่าคงต้องมีการปรับลดยอดผลิตรถยนต์ลงอีก จากเดิมปีนี้ตั้งเป้ายอดผลิตอยู่ที่ 1.5 ล้านคัน เป็นส่งออก 1 ล้านคัน และตลาดในประเทศ 5 แสนคัน
“จากยอดผลิต 5 เดือนแรก ทำได้ 594,492 คัน ลดลง 7.83% คาดว่าปีนี้จะต้องปรับลดเป้าลงไม่ถึง 1.5 ล้านคันแน่นอน”
แม้ว่าตัวเลขผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ทำได้ 139,186 คัน โตขึ้น 10% ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน ส่วนสำคัญมาจากรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) โต 641.16% และปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) โต 130.49% เป็นผลมาจากค่ายอีวีที่เข้าร่วมมาตรการอีวีของภาครัฐเริ่มผลิตรถเพื่อชดเชย และความนิยมในตลาดที่เพิ่มขึ้น
ลุ้นตลาดไทย 5-6 แสนคัน
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ในประเทศ โดยก่อนหน้านี้ นายศุภกร รัตนวราหะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ประเมินภาพรวมตลาดรถในปีนี้ว่า อยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้จะมียอดขายรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้น 5% หรืออยู่ที่ 600,000 คัน ในส่วนของโตโยต้าตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 231,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5% มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 38.5%
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยอดขายรถยนต์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 545,000-570,000 คัน ลดลง 5% จากปี 2567 เล็กน้อย โดยปัจจัยหลักเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมและความผันผวนทางการเมืองส่งผลต่อความมั่นใจในการขยายธุรกิจของนักลงทุนให้ลดลงด้วย
ดีลเลอร์แบกต้นทุนอ่วม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า จากยอดขายรถยนต์ปีนี้ที่คาดว่าจะลดเหลือ 565,000 คัน ส่งผลธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ปี 2568 รายได้ของธุรกิจในภาพรวมคาดหดตัว 5.6% โดยธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ในไทยยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันต่อจากปีที่แล้ว จากยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศที่คาดว่าจะหดตัว และการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
ผนวกกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งสต๊อกรถยนต์ที่ยังขายไม่ได้และดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ดีลเลอร์รถยนต์ต้องเร่งปรับตัวต่อเพื่อหาช่องทางเพิ่มรายได้ ทั้งการปรับรูปแบบธุรกิจเหลือเพียงสำนักงานขายที่ไม่สต๊อกรถยนต์ เพิ่มรายได้ซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนไปทำดีลเลอร์ค่ายอื่นโดยเฉพาะค่ายรถจีน
โชว์รูมปิด 50 แห่ง-จีนเพิ่ม
จากรายได้ดีลเลอร์ที่ลดลงรวมกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า จากจำนวนดีลเลอร์รถยนต์ปี 2567 อยู่ที่ 2,197 แห่ง คาดว่าปีนี้ลดลงเหลือ 2,146 แห่งทั่วประเทศ หรือลดลงประมาณ 50 แห่ง โดยดีลเลอร์รถยนต์ค่ายญี่ปุ่น และตะวันตกมีโอกาสหดตัวสูงกว่า เนื่องจากทั้งยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถยนต์นั่งสันดาปมีแนวโน้มลดลง
ขณะที่ค่ายรถจีนที่ยังมีโอกาสขยายดีลเลอร์เพิ่มขึ้น ตามยอดขายรถยนต์นั่งกลุ่ม xEV โดยเฉพาะเมื่อ PHEV และ BEV ที่ค่ายจีนทำตลาดเป็นหลักกำลังได้รับความนิยมจากตลาด อย่างไรก็ดี ดีลเลอร์รถยนต์ค่ายจีนมีทิศทางขยายตัวแต่ในระดับชะลอลง
โดยในปี 2567 จำนวนโชว์รูม 2,197 แห่ง แบ่งเป็นโชว์รูมค่ายญี่ปุ่นและตะวันตก 1,660 แห่ง และเป็นค่ายจีน 537 แห่ง
สำหรับในปี 2568 คาดว่าโชว์รูมจะลดลงเหลือ 2,146 แห่ง โดยเป็นของค่ายญี่ปุ่นและตะวันตก 1,566 แห่ง ขณะที่ค่ายจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 580 แห่ง
สงครามราคา-ดีลเลอร์ระส่ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจีนจะมีการขยายตัว แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ตลาดรถยนต์ครึ่งปีแรกหดตัวต่อเนื่อง และสงครามราคาที่รุนแรงทำให้ดีลเลอร์ค่ายรถจีนก็ประสบปัญหาหลายด้านเช่นกัน ที่ชัดเจนที่สุดคือตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ เนต้า (NETA) ที่บริษัทแม่เผชิญปัญหาขาดสภาพคล่อง จนลุกลามมายังประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายด้าน ทั้งค้างชำระหนี้ให้กับดีลเลอร์
รวมถึงไม่มีอะไหล่ในการซ่อมบำรุง ทำให้ขณะนี้ดีลเลอร์ของเนต้าเร่งระบายรถที่ค้างอยู่ในสต๊อกเพื่อที่จะยุติการเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือเปลี่ยนไปทำรถยี่ห้ออื่นแทน ส่งผลให้ปัจจุบันจำนวนดีลเลอร์เนต้าลดลงจากกว่า 60 แห่ง เหลือประมาณ 20 แห่งเท่านั้น
ส่วนดีลเลอร์ค่ายรถอื่น ๆ ก็ยังมีการเปลี่ยนแบรนด์ให้เห็นทั้งจากค่ายญี่ปุ่นไปเป็นแบรนด์จีน หรือเปลี่ยนระหว่างแบรนด์จีนด้วยกัน
โดยแหล่งข่าวดีลเลอร์แบรนด์จีนยอมรับว่า เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การแข่งขันของตลาด รวมทั้งภาพลักษณ์ของรถแบรนด์จีนในประเทศไทย มีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ประกอบการมากขึ้น โดยค่ายรถบางรายมีความยากง่ายในการหานักลงทุน (ดีลเลอร์) มาเข้าร่วมธุรกิจแตกต่างกัน
“จูนเหยา-ริดดารา” ยังสู้ต่อ
นอกจากนี้ ในวงการมีการจับตากรณีแบรนด์จีนน้องใหม่อย่าง “จูนเหยา” ที่อาจถอดใจจากตลาดประเทศไทย เนื่องจากยอดขายยังไม่เป็นไปตามคาด ขณะที่นายจาง ไห่โป อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท จูนเหยา ออโต (ประเทศไทย) จำกัด ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่ง รองประธานกลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมเครือเจริญโภคภัณฑ์ ส่งผลให้จูนเหยาเกิดภาวะสุญญากาศ
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากบริษัทแม่ ที่จะเเต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่มารับดูแลประเทศไทย ขณะที่บริษัทยังคงเดินหน้าขยายตัวแทนจำหน่าย จากปัจจุบันโชว์รูม 3 แห่ง ได้แก่ สาขาสุวินทวงศ์, นวมินทร์, ชลบุรี และกำลังขยายเพิ่มสาขา อ่อนนุช-พัฒนาการ, เชียงใหม่, อุดรธานี และนครศรีธรรมราช
ด้านนายจาง ชง ผู้จัดการทั่วไป Geely Riddara ประเทศไทย ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ Riddara (ริดดารา) ในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทยังเดินหน้าหาพันธมิตรเพื่อร่วมธุรกิจเป็นผู้แทนจำหน่าย จากเดิมตั้งเป้าว่าจะมีจากโชว์รูมและศูนย์บริการ 50 แห่งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ขณะนี้ได้ปรับลดลงเหลือ 40 แห่ง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลง โดยปัจจุบันมีการเปิดโชว์รูม 18 แห่ง อยู่ในเขตกรุงเทพฯ 10 แห่ง และต่างจังหวัด 8 แห่ง
ดีลเลอร์ “เบนซ์” ปิด-ย้ายค่าย
แหล่งข่าวจากกลุ่มดีลเลอร์เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงที่ผ่านมามีดีลเลอร์เบนซ์ 2 รายหลัก ได้ตัดสินใจยุติการดำเนินธุรกิจลงไป คือ เบนซ์-สตาร์แฟลก (วิภาวดี) และเบนซ์-เมโทร ออโต้เฮาส์ (พระราม 2)
โดยบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แจ้งให้กับลูกค้าผู้ใช้รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป บริษัท เบนซ์ สตาร์แฟลก จำกัด ได้สิ้นสุดการเป็นตัวแทนจำหน่าย และศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยลูกค้าสามารถใช้บริการกับตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการอย่างเป็นทางการอื่น ๆ ที่สะดวก
สำหรับเบนซ์ สตาร์แฟลก เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2556 ตั้งอยู่บริเวณแยกดินแดงบนถนนวิภาวดีรังสิต เป็นผู้จำหน่ายที่มียอดขายสูงสุดหลายปีติดต่อกัน ทั้งยังเป็นผู้จำหน่ายที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นแฟลกชิปสโตร์ของเมอร์เซเดส-เอเอ็มจี แห่งแรกด้วย
รายงานข่าวระบุว่ากลุ่มทุนหลักของเบนซ์ สตาร์แฟลก คือ นายสุขุม ธรรมมณีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัท ไทยเร้นท์อะคาร์ โฮลดิ้ง จำกัด เจ้าของพื้นที่อาจปรับโชว์รูมเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์อื่น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นแบรนด์ “ออดี้” ที่มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่าง กลุ่มไทยเร้นท์ และอาวดี้ ไทยแลนด์
ดิ้นซบแบรนด์จีน
ขณะที่ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สอบถาม นายบุรินทร์ บุญวิสุทธ์ ผู้บริหาร เบนซ์-เมโทร ออโต้เฮาส์ ได้รับการยอมรับว่า บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แบรนด์จีน คือ “ซีคเกอร์” รวมถึงได้มีการเจรจาเป็นตัวแทนจำหน่าย “แบรนด์จีนน้องใหม่” ที่ยังไม่เปิดตัวในประเทศไทย และยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การตัดสินใจยุติกิจการของผู้แทนจำหน่ายทั้ง 2 ราย เป็นการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งลูกค้าของดีลเลอร์ทั้ง 2 แห่งสามารถมั่นใจได้ว่าเบนซ์ไทยแลนด์ยังคงสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ส่วนลูกค้าที่จองรถไว้กับโชว์รูมทั้ง 2 แห่ง เมอร์เซเดส-เบนซ์ พร้อมเข้ามารับผิดชอบและดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเบนซ์มีโชว์รูมและศูนย์บริการจาก 33 แห่ง เหลือ 31 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 15 แห่ง และต่างจังหวัด 16 แห่ง
ค่ายญี่ปุ่นชูบริการหลังขาย
สำหรับค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ได้พยายามปรับแผนในช่วงตลาด “ขาลง” โดยหันมาเทน้ำหนักกับงานบริการหลังการขายมากขึ้น อาทิ ค่ายโตโยต้า ออกแคมเปญ “Toyota Trusted Services” จากศูนย์บริการกว่า 450 แห่ง และศูนย์บริการซ่อมตัวถังและสีกว่า 250 แห่ง
ขณะที่ค่ายซูซูกิ ช่วงที่ผ่านมาก็เผชิญปัญหาดีลเลอร์หนีไปทำแบรนด์อื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ “เเบรนด์จีน” เนื่องจากตลาดหดตัว ประกอบกับบริษัทไม่มีสินค้าใหม่ออกมาทำตลาด
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับว่า ช่วงที่ผ่านมาก็มีโชว์รูมที่ปิดตัวไปบ้าง แต่ขณะเดียวกันก็มีการเปิดใหม่ด้วย พร้อมกันนี้ บริษัทได้เน้นขยายเครือข่ายศูนย์บริการมาตรฐานซูซูกิ 2S (Service & Spare Parts) เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานเดียวกัน อย่างทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีนโยบายเพิ่มในจังหวัดพื้นที่ที่ไม่มีโชว์รูม
สำหรับโชว์รูมแบบ 3S (Sales, Service, Spare Parts) เปิดเพิ่มอีก 1 แห่งคือ บริษัท ซูซูกิ ออโต้ เชียงใหม่ จำกัด สาขาดอนจั่น โดยภายในปี 2568 ซูซูกิจะมีศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศ 95 แห่ง...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/motoring/news-1838452