ย้ำ 25 มิ.ย. ลงทะเบียนผู้ประกอบการ เที่ยวไทยคนละครึ่ง ส่วนปชช.ทั่วไป เริ่มลงทะเบียน 1 ก.ค.นี้

สรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าท่องเที่ยวฯ เผยประชาชนลงทะเบียนจองที่พักโครงการ “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” ได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป ส่วนวันนี้ 25 มิ.ย. 68 ให้ผู้ประกอบการลงทะเบียน กรอกคอนเซนต์ฟอร์มยินยอมให้แบงก์ไทยตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์แฝง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ล่าสุดกระทรวงฯ ได้คุยกับธนาคารกรุงไทย ซึ่งทำระบบลงทะเบียนโครงการ “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” ยืนยันว่าประชาชนสามารถลงทะเบียนจองที่พักตามโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับวันนี้ เวลา 00.01 (25 มิถุนายน 2568) ผู้ประกอบการลงทะเบียนและกรอกคอนเซนต์ฟอร์มยินยอมให้ธนาคารกรุงไทยตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์และการหลอกลวงและบัญชี โดยธนาคารใช้เวลา 3 วันในการส่งข้อมูลกลับให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2568

หลังจากนั้น วันที่ 30 มิถุนายน 2568 ททท.จะนำเอาเผยแพร่บนเว็ปไซต์  และให้ประชาชนทั่วไปจองได้ในวันที่ 1 กรกฎคาม 2568 ตาม timeline และระบบของธนาคารกรุงไทยจะพร้อมในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้เช่นกัน

สำหรับรายละเอียดสิทธิประโยชน์ของโครงการนั้นนายสรวงศ์กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีจำนวนสิทธิ์ทั้งสิ้น 500,000 สิทธิ์ โดย 1 คนใช้ได้สูงสุด 5 สิทธิ (เมืองหลัก 3 สิทธิ / เมืองน่เที่ยว 2 สิทธิ) วงเงินค่าที่พัก ไม่เกิน 3,000 บาท/คืน/ห้อง

ส่วนรูปแบบการสนับสนุนจะแบ่งตามวันเดินทาง ประกอบด้วย วันธรรมดา (จันทร์–ศุกร์) รัฐบาลช่วย 50% (ไม่เกิน 3,000 บาท/คืน) วันหยุด (เสาร์–อาทิตย์/นักขัตฤกษ์) รัฐบาลช่วย 40% (ไม่เกิน 3,000 บาท/คืน) สำหรับคูปองจะได้รับจำนวน 500 บาทต่อ 1 สิทธิ จำนวน 500,000 สิทธิ

ประชาชนที่ลงทะเบียนได้ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป มีบัตรประชาชน และลงทะเบียนผ่าน Thai ID Application เพื่อยืนยันตัวตน โดยลงทะเบียนและจองได้ตั้งแต่วันที่1 กรกฎาคม 2568 ที่เวปไซต์ เที่ยวไทยคนละครึ่ง.com สามารถใช์สิทธิ์ (เดินทาง) ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2568

“ส่วนเงื่อไขอื่นๆ คือ ต้องชําระเงินก่อนเวลา 23.00 น. ของวันที่ทําการจอง กรณีไม่ชําระ สิทธิจะคืนการจองกลับสู่ระบบ ชําระค่าห้องพักอย่างนเอย 3 วันล่วงหน้าก่อนวันเดินทางจริง” นายสรวงศ์กล่าว และว่าส่วนคูปองดิจิทัลนั้นสามารถใช้จ่ายได้ในกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านค้า OTOP แหล่งท่องเที่ยว/กิจกรรมท่องเที่ยว สปา/นวดเพื่อสุขภาพและรถเช้า/เรือเช่า

สำหรับผู้ประกอบการนั้นต้องใช้บัญชีกรุงไทยสําหรับรับเงินจากนักท่องเที่ยว ส่วนนักท่องเที่ยว ชําระคาาสินค้า/บริการ ด้วยระบบ Prompt Pay ธนาคารใดก็ได้ และผู้ประกอบการจะได้รับเงินโอนจากรัฐ ภายใน 14 วันทําการ

นายสรวงศ์กล่าวด้วยว่า คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากมาตรการดังกล่าวนี้ 66.63 ล้านคน ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2568 (เพิ่มจากเดิม+2.67 ล้านคน) รวม 69.3 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยว (Direct Impact) 14,125 ล้านบาท...

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/economy/news_5245752


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่