
By : my_bb
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย AREA รายงานผลสำรวจ การเปลี่ยนแปลงราคาอาหาร ช่วง 13 ปี (พ.ศ. 2555 – 2568) จากร้านอาหาร เช่น ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ในพื้นที่สีลม สุรวงศ์ และสาทร หนึ่งในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจกรุงเทพ (CBD) ได้ดังนี้
> พ.ค. 55 ราคาเฉลี่ย 31 บาท
> พ.ค. 56 ราคาเฉลี่ย 31.8 บาท
> พ.ค. 57 ราคาเฉลี่ย 34.3 บาท
> พ.ย. 57 ราคาเฉลี่ย 36.1 บาท
> พ.ค. 58 ราคาเฉลี่ย 38.4 บาท
> พ.ย. 58 ราคาเฉลี่ย 40 บาท
> พ.ค. 59 ราคาเฉลี่ย 41.7 บาท
> พ.ย. 59 ราคาเฉลี่ย 43.1 บาท
> พ.ค. 60 ราคาเฉลี่ย 45.7 บาท
> พ.ย. 60 ราคาเฉลี่ย 47.1 บาท
> พ.ค. 61 ราคาเฉลี่ย 48.1 บาท
> พ.ย. 61 ราคาเฉลี่ย 49 บาท
> พ.ค. 62 ราคาเฉลี่ย 50.2 บาท
> พ.ค. 63 ราคาเฉลี่ย 51.4 บาท
> มิ.ย. 64 ราคาเฉลี่ย 53.5 บาท
> พ.ค. 65 ราคาเฉลี่ย 57 บาท
> พ.ค. 67 ราคาเฉลี่ย 62.8 บาท
> มิ.ย. 68 ราคาเฉลี่ย 64 บาท
เมื่อประเมินจากภาพรวมสะสม 13 ปี (พฤษภาคม 2555 – มิถุนายน 2568) ราคาเพิ่มจาก 31.0 บาท เป็น 64.0 บาท หรือเพิ่มขึ้น 106.5% และหากคิดเป็นการเพิ่มขึ้นต่อปี ก็เท่ากับเพิ่มขึ้นประมาณ 5.7% ต่อปี ส่วนปี 2568 เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปี 2567
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้น ส่วนสำคัญมาจาก ”ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกเพื่อการขายอาหาร“ เช่น ร้านอาหารบางแห่งเช่าพื้นที่ขนาดประมาณ 18 ตารางเมตร เป็นเงินถึง 60,000 บาทต่อเดือน (ตร.ม.ละ 3,333 บาท)
และด้วยเหตุที่ค่าเช่าพื้นที่ขายแพง ก็เลยมีร้านอาหารประเภท “อาหารกล่อง” คือให้ผู้ซื้อๆ กลับไปรับประทานที่อื่น จึงประหยัดค่าเช่าได้มาก ถือเป็นการปรับตัวครั้งสำคัญ
ดังนั้น รัฐบาลหรือกรุงเทพมหานคร อาจช่วยจัดหาพื้นที่ค้าขายในราคาถูก เพื่อให้ผู้ค้าสามารถยืนหยัดขายในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ประชาชน
สำหรับราคาอาหารในปี 2568-2569 น่าจะยังค่อนข้างทรงตัวเพราะเศรษฐกิจฝืดเคืองกันทั่วหน้า หากขึ้นราคาสินค้าอาหารอีก ก็คงยิ่งขายยาก ราคาอาหารจึงน่าจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2% เช่นกัน
ราคาอาหารต่อจานในไทย 13 ปี แพงขึ้น 106.5%
By : my_bb