ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค วันที่ 27 พ.ค. พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสม 204,965 คน ผู้ป่วยรายใหม่ รายงานวันที่ 25-27 พ.ค.2568 จำนวน 6,119 คน เสียชีวิตสะสม 51 คน จังหวัดที่มีผู้ป่วยมากสุดคือกรุงเทพมหานคร ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่สะสม 343,270 คน โดยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 667 คน เสียชีวิตสะสม 33 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ จังหวัดที่มีผู้ป่วยมากสุดคือ ชลบุรี
วันเดียวกันนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ทุกปีโรคโควิด-19 ที่เริ่มมาเดือน เม.ย.โดยจะระบาดสูงสุดหลังนักเรียนเปิดเทอม และเริ่มลดลงปลายเดือน มิ.ย.เข้าสู่เดือน ก.ค. ยอดผู้ป่วยปีนี้น่าจะสูงกว่าปีที่แล้วมาก อย่างไรก็ตามโควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว ทำให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลงอย่างมาก ยอดการเสียชีวิตปีนี้ลดน้อยลงกว่าปีที่แล้วมากซึ่งมีจำนวน 220 คน ปีนี้น่าจะต่ำกว่าร้อยคน ถึงแม้ว่าจะมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว หลังจากนี้เมื่อเปิดเรียนแล้ว 2-3 อาทิตย์สิ่งที่ตามมาก็คือไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดาหรือไรโนไวรัส (rhinovirus) จนถึงเดือน ก.ค. ก็จะมีเชื้ออาร์เอสวี (RSV) โดยจะระบาดถึงเดือน พ.ย.ก็จะครบวงรอบ
ด้าน นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงเปิดภาคเรียนนี้ เด็กเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กเล็ก ถึงแม้ความรุนแรงจะน้อยกว่าที่ผ่านมา ในการติดเชื้อของเด็กอายุ 5-11 ขวบ โดยตามปกติเด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูก เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก อาการอื่นๆ ที่ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง คือ อาการอ่อนเพลีย ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดง และกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ และเด็กที่มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ไตวาย หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็กโดยไม่จำเป็น เมื่อป่วยควรหยุดเรียนเพื่อพักผ่อนให้หายดีก่อน.
ข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/news/local/2861034
โควิดพุ่ง 2 แสนคน จี้รับไข้หวัดใหญ่-RSV
วันเดียวกันนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ทุกปีโรคโควิด-19 ที่เริ่มมาเดือน เม.ย.โดยจะระบาดสูงสุดหลังนักเรียนเปิดเทอม และเริ่มลดลงปลายเดือน มิ.ย.เข้าสู่เดือน ก.ค. ยอดผู้ป่วยปีนี้น่าจะสูงกว่าปีที่แล้วมาก อย่างไรก็ตามโควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว ทำให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลงอย่างมาก ยอดการเสียชีวิตปีนี้ลดน้อยลงกว่าปีที่แล้วมากซึ่งมีจำนวน 220 คน ปีนี้น่าจะต่ำกว่าร้อยคน ถึงแม้ว่าจะมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว หลังจากนี้เมื่อเปิดเรียนแล้ว 2-3 อาทิตย์สิ่งที่ตามมาก็คือไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดาหรือไรโนไวรัส (rhinovirus) จนถึงเดือน ก.ค. ก็จะมีเชื้ออาร์เอสวี (RSV) โดยจะระบาดถึงเดือน พ.ย.ก็จะครบวงรอบ
ด้าน นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงเปิดภาคเรียนนี้ เด็กเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กเล็ก ถึงแม้ความรุนแรงจะน้อยกว่าที่ผ่านมา ในการติดเชื้อของเด็กอายุ 5-11 ขวบ โดยตามปกติเด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูก เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก อาการอื่นๆ ที่ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง คือ อาการอ่อนเพลีย ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดง และกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ และเด็กที่มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ไตวาย หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็กโดยไม่จำเป็น เมื่อป่วยควรหยุดเรียนเพื่อพักผ่อนให้หายดีก่อน.
ข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/news/local/2861034