คือเรารู้สึกว่าระบบบัตรทอง 30 บาทที่ใช้อยู่ทุกวันนี้มันถึงทางตันแล้วอะ งบก็ใกล้หมด โรงพยาบาลก็ขาดทุนกันระนาว แต่คนยังรู้สึกเหมือนว่ารักษาฟรีอยู่เลยจ่ายแค่ 30 บาทเอง ทั้งที่จริงๆเบื้องหลังตอนนี้มันหนักมาก
เราเลยคิดว่า... ถึงเวลาแล้วมั้ยที่ไทยควรเปลี่ยนระบบมาเป็นแบบ
Co-pay เหมือนที่หลายๆประเทศเขาทำกัน เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ สวีเดน ฝรั่งเศส และอีกหลายประเทศ
คือให้ประชาชนร่วมจ่ายกับรัฐบ้าง อย่างน้อย 10/90 หรือ 20/80 หรือ 30/70 ก็ยังดี
มันไม่ใช่การผลักภาระให้คนไทยนะ แต่เราว่ามันคือ “การปลุกความรับผิดชอบให้คนไทย”
ให้หลาย ๆ คนรู้สึกว่า
สุขภาพของตัวเอง เราก็ต้องดูแลเองด้วย
ไม่ใช่ป่วยแล้วมากดบัตรรักษาฟรี จ่ายแค่ 30 บาท แล้วพอหายก็กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ไม่สนใจสุขภาพเหมือนเดิม
ประมาณว่าเน้นใช้ชีวิต แต่ไม่เน้นมีชีวิต
ที่เราพูดถึงเรื่องโคเพย์นี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องจ่ายนะ
แน่นอนว่าต้องมีข้อยกเว้นให้กับประชาชนบางกลุ่ม เช่น
ผู้มีรายได้น้อยจริง ๆ เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ คนกลุ่มนี้ควร
ยกเว้นให้ไปเลย ไม่ต้องจ่าย
แล้วถ้าจะถามว่า
จะเอาเกณฑ์อะไรมาใช้ตัดสินว่าใครควรจ่าย ใครควรยกเว้น?
เบื้องต้นก็อิงจากข้อมูลของบัตรคนจนได้เลย เพราะรัฐมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว
แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์อย่างจริงจัง เพราะ “จนทิพย์” มีแฝงอยู่เยอะ
ซึ่งตรงนี้ท้องถิ่นกับสถานพยาบาลน่าจะต้องทำงานร่วมกัน
หรือจะทำระบบลงทะเบียนคัดกรองขึ้นมาใหม่ให้ทันสมัยไปเลยก็ยังได้
.
กลุ่มที่ควรร่วมจ่ายก็คือคนที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป
หรือคนที่ไม่ได้อยู่ในสิทธิ์ฟรีจากสวัสดิการบัตรคนจน/ผู้ลงทะเบียนขอสิทธิ์
อาจกำหนดร่วมจ่าย 5%–30% ของค่ารักษา (รวมยา) ขึ้นกับประเภทบริการ เช่น
อุบัติเหตุฉุกเฉิน – ฟรี 100% รัฐจ่ายให้
ผ่าตัด / ผู้ป่วยใน – รัฐจ่าย 80–90% ประชาชนจ่าย 10–20%
ยาโรคเรื้อรัง – ฟรี 100% แต่ถ้าเลือกยานอกบัญชี อาจต้องจ่ายเอง
ตรวจสุขภาพประจำปี – ประชาชนจ่ายเอง
ทำฟัน – ใช้สิทธิ์ร่วมจ่ายแบบขั้นบันได เช่น
ครั้งที่ 1: ประชาชนจ่าย 5%
ครั้งที่ 2: จ่าย 10%
ครั้งที่ 3: จ่าย 15%
พอครบปี ก็รีเซ็ตนับหนึ่งใหม่
ส่วนบริการอื่น ๆ อาจต้องตีกรอบให้ชัดเจนตามความเหมาะสม ข้างบนแค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
.
ด้วยสภาพแบบนี้ เราว่า Co-pay คือทางเลือกที่ดีที่สุด ณ จุดนี้
เรากล้าพูดเลยนะว่า...
คนบางคนไม่ค่อยเห็นคุณค่าของอะไรก็ตามที่ได้มาฟรี ๆ
บางคนใช้ชีวิตแบบ “ขอให้ตัวเองได้ประโยชน์ไว้ก่อน”
จะไปเป็นภาระใครก็ช่าง ไม่รู้ ไม่สน ฉันไม่รับผิดชอบอะไรเลย
บางคนก็เรียกร้องสิทธิเกินราคาที่จ่ายไปมาก
จนมันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังระบบ โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดอะไร
การทำระบบ Co-pay นี่แหละ
จะช่วยกระตุ้นให้คนรู้จัก “รับผิดชอบชีวิตตัวเอง” มากขึ้น
ดูแลตัวเองมากขึ้น เพราะชีวิตมันมีราคาที่ต้องจ่ายถ้าไม่ดูแล
ตอนนี้หลายคนละเลยสุขภาพมาก
เพราะมัน “ฟรี” ไง ก็เลยไม่ใส่ใจ
.
ส่วนกรณีเพื่อนบ้านควรเก็บค่ารักษาตามจริงประเทสไทยไม่ใช่สถานสงเคราะห์ค่ะ
ไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ มีความคิดเห็นยังไงกันบ้าง?
ลองมาแชร์มุมมองกันดูได้ค่ะ อยากฟังทุกความเห็นจริง ๆ
Co-pay (โคเพย์) คือทางออกแก้ปัญหาบัตรทอง 30 บาท เหมือนต่างประเทศ
เราเลยคิดว่า... ถึงเวลาแล้วมั้ยที่ไทยควรเปลี่ยนระบบมาเป็นแบบ Co-pay เหมือนที่หลายๆประเทศเขาทำกัน เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ สวีเดน ฝรั่งเศส และอีกหลายประเทศ
คือให้ประชาชนร่วมจ่ายกับรัฐบ้าง อย่างน้อย 10/90 หรือ 20/80 หรือ 30/70 ก็ยังดี
มันไม่ใช่การผลักภาระให้คนไทยนะ แต่เราว่ามันคือ “การปลุกความรับผิดชอบให้คนไทย”
ให้หลาย ๆ คนรู้สึกว่า สุขภาพของตัวเอง เราก็ต้องดูแลเองด้วย
ไม่ใช่ป่วยแล้วมากดบัตรรักษาฟรี จ่ายแค่ 30 บาท แล้วพอหายก็กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ไม่สนใจสุขภาพเหมือนเดิม
ประมาณว่าเน้นใช้ชีวิต แต่ไม่เน้นมีชีวิต
ที่เราพูดถึงเรื่องโคเพย์นี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องจ่ายนะ
แน่นอนว่าต้องมีข้อยกเว้นให้กับประชาชนบางกลุ่ม เช่น
ผู้มีรายได้น้อยจริง ๆ เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ คนกลุ่มนี้ควร ยกเว้นให้ไปเลย ไม่ต้องจ่าย
แล้วถ้าจะถามว่า จะเอาเกณฑ์อะไรมาใช้ตัดสินว่าใครควรจ่าย ใครควรยกเว้น?
เบื้องต้นก็อิงจากข้อมูลของบัตรคนจนได้เลย เพราะรัฐมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว
แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์อย่างจริงจัง เพราะ “จนทิพย์” มีแฝงอยู่เยอะ
ซึ่งตรงนี้ท้องถิ่นกับสถานพยาบาลน่าจะต้องทำงานร่วมกัน
หรือจะทำระบบลงทะเบียนคัดกรองขึ้นมาใหม่ให้ทันสมัยไปเลยก็ยังได้
.
กลุ่มที่ควรร่วมจ่ายก็คือคนที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป
หรือคนที่ไม่ได้อยู่ในสิทธิ์ฟรีจากสวัสดิการบัตรคนจน/ผู้ลงทะเบียนขอสิทธิ์
อาจกำหนดร่วมจ่าย 5%–30% ของค่ารักษา (รวมยา) ขึ้นกับประเภทบริการ เช่น
อุบัติเหตุฉุกเฉิน – ฟรี 100% รัฐจ่ายให้
ผ่าตัด / ผู้ป่วยใน – รัฐจ่าย 80–90% ประชาชนจ่าย 10–20%
ยาโรคเรื้อรัง – ฟรี 100% แต่ถ้าเลือกยานอกบัญชี อาจต้องจ่ายเอง
ตรวจสุขภาพประจำปี – ประชาชนจ่ายเอง
ทำฟัน – ใช้สิทธิ์ร่วมจ่ายแบบขั้นบันได เช่น
ครั้งที่ 1: ประชาชนจ่าย 5%
ครั้งที่ 2: จ่าย 10%
ครั้งที่ 3: จ่าย 15%
พอครบปี ก็รีเซ็ตนับหนึ่งใหม่
ส่วนบริการอื่น ๆ อาจต้องตีกรอบให้ชัดเจนตามความเหมาะสม ข้างบนแค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
.
ด้วยสภาพแบบนี้ เราว่า Co-pay คือทางเลือกที่ดีที่สุด ณ จุดนี้
เรากล้าพูดเลยนะว่า...
คนบางคนไม่ค่อยเห็นคุณค่าของอะไรก็ตามที่ได้มาฟรี ๆ
บางคนใช้ชีวิตแบบ “ขอให้ตัวเองได้ประโยชน์ไว้ก่อน”
จะไปเป็นภาระใครก็ช่าง ไม่รู้ ไม่สน ฉันไม่รับผิดชอบอะไรเลย
บางคนก็เรียกร้องสิทธิเกินราคาที่จ่ายไปมาก
จนมันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังระบบ โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดอะไร
การทำระบบ Co-pay นี่แหละ
จะช่วยกระตุ้นให้คนรู้จัก “รับผิดชอบชีวิตตัวเอง” มากขึ้น
ดูแลตัวเองมากขึ้น เพราะชีวิตมันมีราคาที่ต้องจ่ายถ้าไม่ดูแล
ตอนนี้หลายคนละเลยสุขภาพมาก
เพราะมัน “ฟรี” ไง ก็เลยไม่ใส่ใจ
.
ส่วนกรณีเพื่อนบ้านควรเก็บค่ารักษาตามจริงประเทสไทยไม่ใช่สถานสงเคราะห์ค่ะ
ไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ มีความคิดเห็นยังไงกันบ้าง?
ลองมาแชร์มุมมองกันดูได้ค่ะ อยากฟังทุกความเห็นจริง ๆ