"...สำหรับผู้ที่บริกรรมภาวนา แล้วจิตไม่สงบ บริกรรมอย่างไรจิตก็ไม่สงบ
ก็ควรจะเปลี่ยนเป็นวิธีนี้ คือนั่งหลับตาก็ตาม ลืมตาก็ตาม ให้คอยจ้องดูความคิดของเราเองว่า มันคิดอะไรขึ้น
พอคิดอะไรขึ้นมาปั๊บ กำหนดรู้ เมื่อเราทำอย่างนี้มันจะได้ประโยชน์อะไร เพราะเราดูทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยความตั้งใจด้วยความมีสติ จะทำให้สติของเราเด่นขึ้น มีกำลังขึ้น แล้วเราจะสามารถรู้ทันความคิดของเราเอง เมื่อเรารู้ทันความคิดของเราเอง ต่อไปเราจะคิดอะไร คิดด้วยความรู้เท่าทัน สิ่งที่เราคิดนั้น มันจะไม่สามารถดึงเอาจิตใจของเราให้เกิดทุกข์ทรมาน
ความจริงคำว่ารู้ตาม ความหมายของคำว่ารู้ในสมาธิ หรือ สมาธิปัญญานั้น ก็หมายถึงจิตรู้ทันอารมณ์ต่างๆ ที่เราเคยนึกคิดว่ามันวุ่นวายมาแต่ก่อน โดยปกติที่เรายังไม่มีสมาธิ ไม่มีสติปัญญารู้เท่าทันอารมณ์ เราดูอะไร เราได้ยินได้ฟังอะไรหรือสัมผัสอะไร ในทาง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่พึงจะเกิดขึ้น มันก็มีอยู่สองอย่าง คือพอใจ ไม่พอใจ นอกจากจะเกิดความพอใจไม่พอใจแล้ว มันยังจะต้องปรุงแต่งไปอีก แล้วก็หาเรื่องไปเรื่อยๆ จนตัวเองต้องเกิดทุกข์ เกิดวุ่นวายขึ้นมา
แต่ถ้าเรามีสมาธิ มีสติปัญญารู้เท่าทัน เรามองดูอะไรทางตา ได้ยินอะไรทางหู รู้อะไรทางจมูก รู้รสทางลิ้น สัมผัสทางกาย แม้จะนึกคิดในใจ เรามีสติคอยจ้องดูอยู่ไม่เผลอ ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น มันจะกลายเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึก ของสติ เพราะอาศัยความรู้เท่าทันอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา สิ่งใดที่เรารู้เท่าทัน สิ่งนั้นไม่สามารถที่จะดึงใจของเราไปทรมานให้เกิดทุกข์ได้ นี่คือผลที่จะพึงเกิดขึ้น..."
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา
ใครทำสมาธิแล้วจิตไม่สงบ หลวงพ่อพุทธสอนแก้จิตให้
ก็ควรจะเปลี่ยนเป็นวิธีนี้ คือนั่งหลับตาก็ตาม ลืมตาก็ตาม ให้คอยจ้องดูความคิดของเราเองว่า มันคิดอะไรขึ้น
พอคิดอะไรขึ้นมาปั๊บ กำหนดรู้ เมื่อเราทำอย่างนี้มันจะได้ประโยชน์อะไร เพราะเราดูทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยความตั้งใจด้วยความมีสติ จะทำให้สติของเราเด่นขึ้น มีกำลังขึ้น แล้วเราจะสามารถรู้ทันความคิดของเราเอง เมื่อเรารู้ทันความคิดของเราเอง ต่อไปเราจะคิดอะไร คิดด้วยความรู้เท่าทัน สิ่งที่เราคิดนั้น มันจะไม่สามารถดึงเอาจิตใจของเราให้เกิดทุกข์ทรมาน
ความจริงคำว่ารู้ตาม ความหมายของคำว่ารู้ในสมาธิ หรือ สมาธิปัญญานั้น ก็หมายถึงจิตรู้ทันอารมณ์ต่างๆ ที่เราเคยนึกคิดว่ามันวุ่นวายมาแต่ก่อน โดยปกติที่เรายังไม่มีสมาธิ ไม่มีสติปัญญารู้เท่าทันอารมณ์ เราดูอะไร เราได้ยินได้ฟังอะไรหรือสัมผัสอะไร ในทาง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่พึงจะเกิดขึ้น มันก็มีอยู่สองอย่าง คือพอใจ ไม่พอใจ นอกจากจะเกิดความพอใจไม่พอใจแล้ว มันยังจะต้องปรุงแต่งไปอีก แล้วก็หาเรื่องไปเรื่อยๆ จนตัวเองต้องเกิดทุกข์ เกิดวุ่นวายขึ้นมา
แต่ถ้าเรามีสมาธิ มีสติปัญญารู้เท่าทัน เรามองดูอะไรทางตา ได้ยินอะไรทางหู รู้อะไรทางจมูก รู้รสทางลิ้น สัมผัสทางกาย แม้จะนึกคิดในใจ เรามีสติคอยจ้องดูอยู่ไม่เผลอ ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น มันจะกลายเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึก ของสติ เพราะอาศัยความรู้เท่าทันอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา สิ่งใดที่เรารู้เท่าทัน สิ่งนั้นไม่สามารถที่จะดึงใจของเราไปทรมานให้เกิดทุกข์ได้ นี่คือผลที่จะพึงเกิดขึ้น..."
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมา