เดินทางมาถึงช่วงปลายฤดูร้อนของปี 2568 กันแล้ว และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าฤดูร้อนปีนี้โดยภาพรวมทั้งประเทศอากาศร้อนน้อยกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากเกิดเมฆฝนรวมทั้งพายุฤดูร้อนแทรกมาเป็นช่วงๆ (มีบางสัปดาห์ที่ฝนขาดช่วงไปก็จะเริ่มร้อนหน่อย) ต่างกับปีที่แล้วที่แทบจะไม่มีฝนแทรกมาเลย ร้อนแล้งสุดๆ
ช่วงนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ลมมรสุมประจำฤดูฝน)เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับช่วงวันที่ 9-12 พ.ค. มีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากจีนแผ่ลงมา ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้าปกคลุม ซึ่งในหลายพื้นที่ของไทยตอนบนยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดอยู่ ทำให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในหลายพื้นที่ และฝนจะเพิ่มขึ้นทั่วไทย
[1] อุณหภูมิที่ต่างจากค่าปกติที่ระดับ 850 hPa (ความสูง 1500 ม.)
ช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. บ่งบอกถึงการแผ่มาของมวลอากาศเย็นกำลังจากจีน เมื่อมาเจอกับอากาศร้อนชื้นของไทยช่วงนี้ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น
[2] แนวลมที่ระดับ 850 hPa (ความสูง 1500 ม.)
ช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. จะเห็นได้ว่าทิศทางลมค่อนข้างจะแปรปรวนเหมือนร่องมรสุม ให้เฝ้าระวังไว้ ฝนอาจจะตกชุกได้
[3] พยากรณ์ปริมาณฝนสะสม 24 ชม.รายวัน ช่วงวันที่ 9-18 พ.ค.
เปรียบเทียบระหว่าง 2 เจ้าใหญ่ ระหว่าง ECMWF และ GFS
โดย ECMWF จะพยากรณ์ให้ฝนเยอะกว่า
ส่วน GFS จะพยากรณ์ให้ลมจะแรงกว่า
--- ECMWF
--- GFS
[4] พยากรณ์ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ช่วงวันที่ 10-16 พ.ค.
เปรียบเทียบระหว่าง 2 เจ้าใหญ่ ระหว่าง ECMWF และ GFS
โดย ECMWF จะพยากรณ์ให้ฝนเยอะกว่าในภาคกลาง
ส่วน GFS จะพยากรณ์ให้ฝนมากกว่าทางจังหวัดแนวฝั่งตะวันตก
[5] กลุ่มเมฆที่เริ่มปกคลุมทั่วไทย ช่วงวันที่ 9-15 พ.ค.
ปกคลุมต่อเนื่องเกือบทั้งสัปดาห์และแทบจะทุกพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิสูงสุดช่วงกลางวันจะลดลง
[6] แนวคลื่นลม ช่วงวันที่ 10-16 พ.ค.
คลื่นลมฝั่งทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และทางด้านทะเลจีนใต้และอ่าวไทยจะเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมวลอากาศเย็นจากจีน(ในบางช่วง)
[7] พยากรณ์อากาศของกรุงเทพ ระยะ 10 วันจากนี้
- ช่วงต้นสัปดาห์แนวลมจะแปรปรวน มีเมฆปกคลุมและมีโอกาสเกิดฝนได้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ทำให้อุณหภูมิสูงสุดในช่วงกลางวันจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ คาดว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่กรุงเทพจะไม่ร้อน
จากประกาศฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 5) ของกรมอุตุฯ เกี่ยวกับพายุฤดูร้อนรอบนี้และลมมรสุมในภาคใต้
- ไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ช่วงวันที่ 9-12 พ.ค.
- ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน
ปล. เรื่องการพยากรณ์ฝนจะแนบให้ดูเปรียบเทียบ 2 เจ้าใหญ่ เนื่องจากมันค่อนข้างที่จะ Dynamic มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามแนวลมที่แปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู แต่โดยภาพรวมที่แน่นอนเลยคือฝนจะเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่
...ข้อมูลการพยากรณ์จาก ECMWF, GFS และกรมอุตุนิยมวิทยา...
...ข้อมูลการพยากรณ์ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2568...
พายุฤดูร้อนช่วงวันที่ 9-12 พ.ค. และช่วงรอยต่อก่อนเข้าสู่ฤดูฝนปี 2568
ช่วงนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ลมมรสุมประจำฤดูฝน)เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับช่วงวันที่ 9-12 พ.ค. มีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากจีนแผ่ลงมา ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้าปกคลุม ซึ่งในหลายพื้นที่ของไทยตอนบนยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดอยู่ ทำให้เกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในหลายพื้นที่ และฝนจะเพิ่มขึ้นทั่วไทย
[1] อุณหภูมิที่ต่างจากค่าปกติที่ระดับ 850 hPa (ความสูง 1500 ม.)
ช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. บ่งบอกถึงการแผ่มาของมวลอากาศเย็นกำลังจากจีน เมื่อมาเจอกับอากาศร้อนชื้นของไทยช่วงนี้ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น
[2] แนวลมที่ระดับ 850 hPa (ความสูง 1500 ม.)
ช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. จะเห็นได้ว่าทิศทางลมค่อนข้างจะแปรปรวนเหมือนร่องมรสุม ให้เฝ้าระวังไว้ ฝนอาจจะตกชุกได้
[3] พยากรณ์ปริมาณฝนสะสม 24 ชม.รายวัน ช่วงวันที่ 9-18 พ.ค.
เปรียบเทียบระหว่าง 2 เจ้าใหญ่ ระหว่าง ECMWF และ GFS
โดย ECMWF จะพยากรณ์ให้ฝนเยอะกว่า
ส่วน GFS จะพยากรณ์ให้ลมจะแรงกว่า
--- ECMWF
--- GFS
[4] พยากรณ์ปริมาณฝนสะสม 7 วัน ช่วงวันที่ 10-16 พ.ค.
เปรียบเทียบระหว่าง 2 เจ้าใหญ่ ระหว่าง ECMWF และ GFS
โดย ECMWF จะพยากรณ์ให้ฝนเยอะกว่าในภาคกลาง
ส่วน GFS จะพยากรณ์ให้ฝนมากกว่าทางจังหวัดแนวฝั่งตะวันตก
[5] กลุ่มเมฆที่เริ่มปกคลุมทั่วไทย ช่วงวันที่ 9-15 พ.ค.
ปกคลุมต่อเนื่องเกือบทั้งสัปดาห์และแทบจะทุกพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิสูงสุดช่วงกลางวันจะลดลง
[6] แนวคลื่นลม ช่วงวันที่ 10-16 พ.ค.
คลื่นลมฝั่งทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และทางด้านทะเลจีนใต้และอ่าวไทยจะเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมวลอากาศเย็นจากจีน(ในบางช่วง)
[7] พยากรณ์อากาศของกรุงเทพ ระยะ 10 วันจากนี้
- ช่วงต้นสัปดาห์แนวลมจะแปรปรวน มีเมฆปกคลุมและมีโอกาสเกิดฝนได้ตลอดทั้งสัปดาห์
- ทำให้อุณหภูมิสูงสุดในช่วงกลางวันจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ คาดว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่กรุงเทพจะไม่ร้อน
จากประกาศฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 5) ของกรมอุตุฯ เกี่ยวกับพายุฤดูร้อนรอบนี้และลมมรสุมในภาคใต้
- ไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ช่วงวันที่ 9-12 พ.ค.
- ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน
ปล. เรื่องการพยากรณ์ฝนจะแนบให้ดูเปรียบเทียบ 2 เจ้าใหญ่ เนื่องจากมันค่อนข้างที่จะ Dynamic มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามแนวลมที่แปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู แต่โดยภาพรวมที่แน่นอนเลยคือฝนจะเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่
...ข้อมูลการพยากรณ์จาก ECMWF, GFS และกรมอุตุนิยมวิทยา...
...ข้อมูลการพยากรณ์ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2568...