กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 2545 : จุดจบของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของทุกคน เท่าเทียม ทั่วถึง ทั่วไทย

กระทู้คำถาม
กรณีศึกษา: โรงเรียนสมเด็จพระศรีฯ – โรงเรียนวิทยาศาสตร์ของทุกคน กับชะตากรรมที่คล้ายราชภัฏ

1. ที่มาและเจตนารมณ์: มหิดลวิทยานุสรณ์โมเดล เพื่อทุกคน เท่าเทียม ทั่วถึง ทั่วไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2538–2540 ซึ่งเป็นยุคของ “การอภิวัฒน์การศึกษาไทย” ภายใต้การนำของ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรง ในการลงนามรับรอง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งก่อตั้งโดย คุณลุงหมออรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

จากประสบการณ์นั้น คุณพ่อสุขวิช  รังสิตพล ได้นำ “มหิดลวิทยานุสรณ์โมเดล” มาใช้ก่อตั้ง “โรงเรียนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” ทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เป็น “โรงเรียนวิทยาศาสตร์” ของ ทุกคน เท่าเทียม ทั่วถึง ทั่วไทย


ปรัชญาของโรงเรียนสมเด็จพระศรี ฯ “โรงเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับทุกคน เท่าเทียม ทั่วถึง ทั่วไทย”
— คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล

2. ความเชื่อมโยงกับ “ราชภัฏโมเดล”: โครงสร้างเพื่อพัฒนาคนทั้งระบบ

แนวคิดโรงเรียนสมเด็จพระศรีฯ มีรากฐานเช่นเดียวกับการปฏิรูปสถาบันราชภัฏในยุคเดียวกัน ซึ่งเปลี่ยนจาก “วิทยาลัยครู” สู่ “สถาบันราชภัฏ” โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็น สถาบันด้านวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ สถาบัน MIT   โดยใช้ ธรรมศาสตร์โมเดล ซึ่งขยายสถาบันอุดมศึกษาด้านสังคม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ  ในยุคคุณพ่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคมมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากการก่อตั้ง โรงพยาบาล ซึ่งคุณพ่อช่วยจัดหางบประมาณให้ 60 ล้านบาทในฐานะนายกสมาคมธรรมศาสตร์

โรงเรียนสมเด็จพระศรีฯ จะเด็กจาก โรงเรียนขยายโอกาส เพื่อเตรียมพัฒนาเป็น นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และแพทย์

สถาบันราชภัฏ ในศักยภาพ MIT จะรับเด็กจาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อ ศึกษาต่อ ในสาขา แพทย์ พยาบาล วิศวกร นักวิจัย ฯลฯ
สองกลไกนี้ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2020

3. ปัญหาและผลกระทบ: เมื่อเป้าหมายถูกเบี่ยงเบน

กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 2545 ส่งผลกระทบ กับ โรงเรียนสมเด็จพระศรีฯ โรงเรียนมัธยมปลาย และสถาบันอาชีวะ ทั่วประเทศ
การเปลี่ยนการนับ “การศึกษาพื้นฐาน 12 ปี” จากเดิม ป.1–ม.6 หรือ อาชีวะ/มัธยมปลาย มาเป็น อนุบาล–ม.3 ทำให้มัธยมปลายและอาชีวะ ไม่ใช่ สิทธิการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี 

มาตรา 43 รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้ การศึกษาพื้นฐาน 12 ปี การเตรียมพร้อมพัฒนาตามวัยตาม มาตรา 80 หรือ อนุบาล เป็นสิทธิของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ตามเจตนารมณ์ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล เรื่อง อนุบาลคือการพัฒนาเด็ก ไม่ใช่การศึกษา กลับกลายเป็นช่องโหว่ ทางกฎหมาย และ ประชาชนคือผู้รับเคราะห์

การเบี่ยงเบนเจตนารมณ์นี้ เปิดช่องให้มีเงินทอน เนื่องจากตัดสิทธิการศึกษาพื้นฐาน ที่แท้จริง 

ผลที่ตามมาคือ:

โรงเรียนมัธยมปลาย และ สถาบันอาชีวะ ไม่ใช่สิทธิของการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี   เพราะเปลี่ยนไปนับตั้งแต่อนุบาล ถึงมัธยมต้น หลังจาก ประกาศใช้ กฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี เมื่อปี 2545 และ กฎหมายเด็กเล็ก 3 ปี เมื่อปี 2548 = 12 ปี

4. สะท้อนชะตากรรมแบบราชภัฏ: โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่ง โดนตัดงบประมาณและการสนับสนุน เนื่องจากโดนตัดออกจากสิทธิการศึกษา 12 ปี ตั้งแต่ปี 2545

เช่นเดียวกับสถาบันราชภัฏซึ่งถูกลดบทบาทจากสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่กับสังคมศาสตร์  จนกระทั่งถูกด้อยค่า ในปัจจุบัน โรงเรียนสมเด็จพระศรีฯ จึงเทียบไม่ได้กับ มหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนอันต้นๆของประเทศไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่