
- ดูจบ คิดถึงตอนดูหนังสารคดีอยู่ 2 เรื่องระหว่าง The Recycling Myth (2022) ใน way การเสิร์ฟข้อมูลเชิงวิชาการแบบสายฟ้าแล่บ กับ Push (2019) ใน Part การดำเนินเรื่องผ่านมุมมอง First Person ที่มีตัวดำเนินเรื่องเป็นผู้หญิงเหมือนกัน แม้ทั้ง 2 จะอยู่คนละสายงานแต่การออกไปลุยหาข้อมูลตามที่ต่าง ๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นแบบถึงลูกถึงคน มันอดที่จะคิดถึงภาพลักษณ์ความเป็นหญิงเก่งหัวใจแกร่งไม่ได้เช่นกัน

- เปิดเรื่องมาหนังจู่โจมไปที่ประเด็นอย่างไวด้วยการเกริ่นนำว่า ไมโครพลาสติก คืออะไร ? มาจากไหน ? ทำไมถึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรเริ่มตระหนักอย่างจริงจังได้แล้วมั้ยว่าการมีของมันไม่ใช่ความคล้อยตามจากความเคยชินแต่มันได้ฝังเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็เพราะมันเป็นสิ่งที่คนสร้างขึ้นเพื่อรับรองพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ขยับไปตามโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยมีพลาสติกเป็น 1 ในองค์ประกอบสำคัญ แถมปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ผูกติดกับความสะดวกที่เกี่ยวพันกับระบบทุนนิยมในแง่ของการผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคมานานการจะเอ๊ะขึ้นมาแต่ละทีดูจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อวงกว้างอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนังจะอัดชุดความรู้ตั้งแต่ที่มายันปัญหาที่เกิดขึ้นใส่คนดูแบบ Non-Stop โดยไม่ทันตั้งสติให้เรียบร้อยว่าจะเริ่มรับสารอันไหนก่อน ? แถมข้อมูลที่ประเคนมาก็ไม่ได้เรียง Timeline เป็นการอ้างอิงสำทับว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ? มันเลยเกิดอาการมึนอย่างไวบวกกับอาการวูบเริ่มส่งสัญญาณตามมาแต่ยังพยายามติดตาม Mission ของคุณเซียกับทีมงานเดินทางไปสัมภาษณ์นักวิจัยไปสลับนั่งทดลองข้าวของที่มีอยู่ภายในบ้านไปโดยมีเสียงบรรยายพรรณนาให้รับทราบและค่อย ๆ เห็นภาพไปทีละนิดว่าเจ้าโมโครพลาสติกมันอยู่รอบและใกล้ตัวเรามากแค่ไหน ?

- เมื่อรู้ตัวว่าฝืนไม่ไหวเพราะวิ่งตามไม่ทันผมเลยขอตัววูบหลับโดยทันที ระหว่างนั้นก็ยังลืมตาขึ้นมาดูเป็นระยะแต่จำความไม่ได้ว่าเหตุการณ์ไปถึงไหนแล้ว ? จนมาเห็นฉากในห้องผ่าตัดเท่านั้นแหล่ะตื่นตาตั้งขึ้นมาทันทีที่เห็นบรรดาคุณหมอกำลังทำคลอดคนไข้คนหนึ่งในห้องผ่าตัดจนนำน้อนออกมาช่องคลอดพร้อมกับสายรกที่เปื้อนไปด้วยเลือดสด ๆ โดยไม่มีการ Censor ใด ๆ พร้อมกับเสียงบรรยายยังทำหน้าที่ของมันได้อย่างจริงใจจนผมค่อย ๆ เห็นภาพตามเลยว่าเจ้าไมโครพลาสติกเหมือนเป็นมรดกที่ถูกส่งต่อผ่านกระบวนการโซเดมาคอมกัน 2 ต่อ 2 โดยผู้รับไม่สามารถเลือกได้เลยว่ากูยินยอมหรือเปล่า ?

- ถึงไม่วูบหลับแล้วหลังจากนั้นแต่รู้แก่ใจดีว่าตามเรื่องที่สับไพ่ไปเรื่อยระหว่างช่วงที่คุณเซียคุยกับนักวิทยาศาสตร์ทาง Zoom แถมมีผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์แวะเวียนมานั่งสัมภาษณ์ให้ข้อมูลกันให้ปวดกบาลเหลือเกินไม่ติด 100% ด้วยเพราะความที่มีข้อมูลเยอะและตัวละครแยะแถมมีเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาทีที่คิดว่าไม่เพียงพอต่อการนำเสนอแต่แลกด้วยความไวจากการ Run ก็จัดว่าทำให้ตัวหนังกระชับขึ้นจากที่เป็นอยู่ในแนวนี้

- จนใกล้ถึงโค้งสุดท้ายช่วงที่คุณเซียเข้าร่วมประชุมมันเลยเกิดคำถามต่อว่าตกลงเจ้าไมโครพลาสติกมันเป็นคุณหรือเป็นภัย ? ถึงปฏิเสธไม่ได้ว่ายังไงมันเป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้แต่ทั้งนี้จะทำอย่างไรให้คนตระหนักกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วร่วมกันหาทางจัดการใช้มันอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าเท่าที่ทำได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติที่นับวันยิ่งหรอยหร่อลงไปทุกทีจากการขยันสร้างสิ่งปลูกสร้างขยันผลิตวัสดุเพื่อรองรับความต้องการคนจนกลายเป็นความล้นเกินของสินค้าที่เข้าไม่ถึงทุกคนหรือบางอย่างทำมาเพื่อใช้เสร็จแล้วทิ้งโดยไม่มีการคัดแยกขยะต่อว่าบางอย่างสามารถนำไปรีไซเคิลได้ มันเลยเป็นสาเหตุหลักทำให้ขยะล้นจนนำไปสู่ปัญหาอื่นตามมา อาทิเช่น โรคภัยไข้เจ็บ , สภาพอากาศแปรปรวนจากเดิมจนคาดการณ์ไม่ถูกว่าตอนไหนหน้าร้อนกี่โมงหน้าฝน ? พอผสมมั่วซั่วจนรับมือไม่ทันก็ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเอ่ย , ไฟป่าเอย , ฝุ่น PM เอย กระทั่งล่าสุด แผ่นดินไหว ที่เห็นในปัจจุบัน ถึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงตามที่อยากให้เป็นทั้งหมดแต่ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ถ้าไม่เริ่มสร้างจิตสำนึกจากตัวเรา

ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ : EMistique
[CR] No.153 Plastic People (2024) By Greenpeace Thailand
- ดูจบ คิดถึงตอนดูหนังสารคดีอยู่ 2 เรื่องระหว่าง The Recycling Myth (2022) ใน way การเสิร์ฟข้อมูลเชิงวิชาการแบบสายฟ้าแล่บ กับ Push (2019) ใน Part การดำเนินเรื่องผ่านมุมมอง First Person ที่มีตัวดำเนินเรื่องเป็นผู้หญิงเหมือนกัน แม้ทั้ง 2 จะอยู่คนละสายงานแต่การออกไปลุยหาข้อมูลตามที่ต่าง ๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้นแบบถึงลูกถึงคน มันอดที่จะคิดถึงภาพลักษณ์ความเป็นหญิงเก่งหัวใจแกร่งไม่ได้เช่นกัน
- เปิดเรื่องมาหนังจู่โจมไปที่ประเด็นอย่างไวด้วยการเกริ่นนำว่า ไมโครพลาสติก คืออะไร ? มาจากไหน ? ทำไมถึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรเริ่มตระหนักอย่างจริงจังได้แล้วมั้ยว่าการมีของมันไม่ใช่ความคล้อยตามจากความเคยชินแต่มันได้ฝังเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็เพราะมันเป็นสิ่งที่คนสร้างขึ้นเพื่อรับรองพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ขยับไปตามโลกที่ขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยมีพลาสติกเป็น 1 ในองค์ประกอบสำคัญ แถมปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ผูกติดกับความสะดวกที่เกี่ยวพันกับระบบทุนนิยมในแง่ของการผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคมานานการจะเอ๊ะขึ้นมาแต่ละทีดูจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อวงกว้างอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนังจะอัดชุดความรู้ตั้งแต่ที่มายันปัญหาที่เกิดขึ้นใส่คนดูแบบ Non-Stop โดยไม่ทันตั้งสติให้เรียบร้อยว่าจะเริ่มรับสารอันไหนก่อน ? แถมข้อมูลที่ประเคนมาก็ไม่ได้เรียง Timeline เป็นการอ้างอิงสำทับว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ? มันเลยเกิดอาการมึนอย่างไวบวกกับอาการวูบเริ่มส่งสัญญาณตามมาแต่ยังพยายามติดตาม Mission ของคุณเซียกับทีมงานเดินทางไปสัมภาษณ์นักวิจัยไปสลับนั่งทดลองข้าวของที่มีอยู่ภายในบ้านไปโดยมีเสียงบรรยายพรรณนาให้รับทราบและค่อย ๆ เห็นภาพไปทีละนิดว่าเจ้าโมโครพลาสติกมันอยู่รอบและใกล้ตัวเรามากแค่ไหน ?
- เมื่อรู้ตัวว่าฝืนไม่ไหวเพราะวิ่งตามไม่ทันผมเลยขอตัววูบหลับโดยทันที ระหว่างนั้นก็ยังลืมตาขึ้นมาดูเป็นระยะแต่จำความไม่ได้ว่าเหตุการณ์ไปถึงไหนแล้ว ? จนมาเห็นฉากในห้องผ่าตัดเท่านั้นแหล่ะตื่นตาตั้งขึ้นมาทันทีที่เห็นบรรดาคุณหมอกำลังทำคลอดคนไข้คนหนึ่งในห้องผ่าตัดจนนำน้อนออกมาช่องคลอดพร้อมกับสายรกที่เปื้อนไปด้วยเลือดสด ๆ โดยไม่มีการ Censor ใด ๆ พร้อมกับเสียงบรรยายยังทำหน้าที่ของมันได้อย่างจริงใจจนผมค่อย ๆ เห็นภาพตามเลยว่าเจ้าไมโครพลาสติกเหมือนเป็นมรดกที่ถูกส่งต่อผ่านกระบวนการโซเดมาคอมกัน 2 ต่อ 2 โดยผู้รับไม่สามารถเลือกได้เลยว่ากูยินยอมหรือเปล่า ?
- ถึงไม่วูบหลับแล้วหลังจากนั้นแต่รู้แก่ใจดีว่าตามเรื่องที่สับไพ่ไปเรื่อยระหว่างช่วงที่คุณเซียคุยกับนักวิทยาศาสตร์ทาง Zoom แถมมีผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์แวะเวียนมานั่งสัมภาษณ์ให้ข้อมูลกันให้ปวดกบาลเหลือเกินไม่ติด 100% ด้วยเพราะความที่มีข้อมูลเยอะและตัวละครแยะแถมมีเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาทีที่คิดว่าไม่เพียงพอต่อการนำเสนอแต่แลกด้วยความไวจากการ Run ก็จัดว่าทำให้ตัวหนังกระชับขึ้นจากที่เป็นอยู่ในแนวนี้
- จนใกล้ถึงโค้งสุดท้ายช่วงที่คุณเซียเข้าร่วมประชุมมันเลยเกิดคำถามต่อว่าตกลงเจ้าไมโครพลาสติกมันเป็นคุณหรือเป็นภัย ? ถึงปฏิเสธไม่ได้ว่ายังไงมันเป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้แต่ทั้งนี้จะทำอย่างไรให้คนตระหนักกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วร่วมกันหาทางจัดการใช้มันอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าเท่าที่ทำได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติที่นับวันยิ่งหรอยหร่อลงไปทุกทีจากการขยันสร้างสิ่งปลูกสร้างขยันผลิตวัสดุเพื่อรองรับความต้องการคนจนกลายเป็นความล้นเกินของสินค้าที่เข้าไม่ถึงทุกคนหรือบางอย่างทำมาเพื่อใช้เสร็จแล้วทิ้งโดยไม่มีการคัดแยกขยะต่อว่าบางอย่างสามารถนำไปรีไซเคิลได้ มันเลยเป็นสาเหตุหลักทำให้ขยะล้นจนนำไปสู่ปัญหาอื่นตามมา อาทิเช่น โรคภัยไข้เจ็บ , สภาพอากาศแปรปรวนจากเดิมจนคาดการณ์ไม่ถูกว่าตอนไหนหน้าร้อนกี่โมงหน้าฝน ? พอผสมมั่วซั่วจนรับมือไม่ทันก็ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเอ่ย , ไฟป่าเอย , ฝุ่น PM เอย กระทั่งล่าสุด แผ่นดินไหว ที่เห็นในปัจจุบัน ถึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงตามที่อยากให้เป็นทั้งหมดแต่ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ถ้าไม่เริ่มสร้างจิตสำนึกจากตัวเรา
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ : EMistique
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้