19 เม.ย. 68 – ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กาญจนบุรี ได้รับถ่ายโอนภารกิจ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปจากกระทรวงสาธารณสุขครบทั้งจังหวัด รวม 144 แห่ง
และในปีงบประมาณ 2566 ได้ขอเป็นผู้บริหารงบเหมาจ่ายรายหัวจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนบริการผู้ป่วยนอก (OP) และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ทั้งหมดเอง ส่งผลให้ อบจ.กาญจนบุรี ต้องชำระค่าบริการทางการแพทย์กรณีประชาชนไปเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย ของปีงบประมาณ 2566
รวม 228.46 ล้านบาท แต่จ่ายมาเพียง 76.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.48
ยังค้างจ่ายอีก 152 ล้านบาท
ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า
🏥โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ยอดเรียกเก็บสูงสุด 75.02 ล้านบาท
- ได้รับเงินเพียง 8.91 ล้านบาท
โรงพยาบาล 4 แห่ง ที่ได้รับเงินไม่ถึงร้อยละ 1 คือ 🏥โรงพยาบาลไทรโยค ยอดเรียกเก็บ 5.84 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 4,081 บาท
🏥โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช ยอดเรียกเก็บ 28.82 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 12,106 บาท
🏥โรงพยาบาลสังขละบุรี ยอดเรียกเก็บ 2.1 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 1,275 บาท
🏥โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ยอดเรียกเก็บ 15.72 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 24,699 บาท
ภญ.สุภัทรา กล่าวต่อว่า สำหรับปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นผู้บริหารจัดการงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวแบบเหมาจ่าย จึงไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จาก อบจ.กาญจนบุรี
แต่ในปีงบประมาณ 2568 นี้ อบจ.กาญจนบุรี ขอเป็นผู้บริหารจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวฯ อีกครั้ง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาค้างจ่ายหนี้เช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2566
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอการสรุปข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเรียกเก็บเป็นรายไตรมาสต่อไป ส่งผลให้โรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรีหลายแห่งเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
โดยมีโรงพยาบาลแม่ข่าย 3 แห่ง ที่มีสถานะเงินบำรุงคงเหลือสุทธิติดลบ ได้แก่
- โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19
ติดลบ 34.51 ล้านบาท
- โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน
ติดลบ 7.86 ล้านบาท
- โรงพยาบาลหนองปรือ
ติดลบ 5.7 ล้านบาท
“ทำให้กระทบต่อการจ่ายหนี้ค่ายา ค่าวัสดุทางการแพทย์ และค่าตอบแทนบุคลากรของโรงพยาบาล ทั้งนี้ อบจ.กาญจนบุรีแจ้งว่าจะทยอยจ่ายเป็นรายอำเภอ แต่ไม่ระบุว่าจะจ่ายครบเมื่อไร จึงขอให้ อบจ.กาญจนบุรี เร่งทบทวนกระบวนการบริหารจัดการด้านงบประมาณ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการจัดบริการประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีของโรงพยาบาลในพื้นที่” ภญ.สุภัทรา กล่าว
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9723688#m9nxqpr0qbvjxn94qxj
สธ.ประกาศทวงหนี้ อบจ.กาญจนบุรี ค้างจ่าย152ล้าน หวั่นกระทบ ปชช.
19 เม.ย. 68 – ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กาญจนบุรี ได้รับถ่ายโอนภารกิจ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปจากกระทรวงสาธารณสุขครบทั้งจังหวัด รวม 144 แห่ง
และในปีงบประมาณ 2566 ได้ขอเป็นผู้บริหารงบเหมาจ่ายรายหัวจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนบริการผู้ป่วยนอก (OP) และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ทั้งหมดเอง ส่งผลให้ อบจ.กาญจนบุรี ต้องชำระค่าบริการทางการแพทย์กรณีประชาชนไปเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย ของปีงบประมาณ 2566 รวม 228.46 ล้านบาท แต่จ่ายมาเพียง 76.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.48 ยังค้างจ่ายอีก 152 ล้านบาท
ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า
🏥โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ยอดเรียกเก็บสูงสุด 75.02 ล้านบาท
- ได้รับเงินเพียง 8.91 ล้านบาท
โรงพยาบาล 4 แห่ง ที่ได้รับเงินไม่ถึงร้อยละ 1 คือ 🏥โรงพยาบาลไทรโยค ยอดเรียกเก็บ 5.84 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 4,081 บาท
🏥โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช ยอดเรียกเก็บ 28.82 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 12,106 บาท
🏥โรงพยาบาลสังขละบุรี ยอดเรียกเก็บ 2.1 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 1,275 บาท
🏥โรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ยอดเรียกเก็บ 15.72 ล้านบาท
- ได้รับเงิน 24,699 บาท
ภญ.สุภัทรา กล่าวต่อว่า สำหรับปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นผู้บริหารจัดการงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวแบบเหมาจ่าย จึงไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จาก อบจ.กาญจนบุรี
แต่ในปีงบประมาณ 2568 นี้ อบจ.กาญจนบุรี ขอเป็นผู้บริหารจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวฯ อีกครั้ง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาค้างจ่ายหนี้เช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2566
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอการสรุปข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเรียกเก็บเป็นรายไตรมาสต่อไป ส่งผลให้โรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรีหลายแห่งเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
โดยมีโรงพยาบาลแม่ข่าย 3 แห่ง ที่มีสถานะเงินบำรุงคงเหลือสุทธิติดลบ ได้แก่
- โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 ติดลบ 34.51 ล้านบาท
- โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน ติดลบ 7.86 ล้านบาท
- โรงพยาบาลหนองปรือ ติดลบ 5.7 ล้านบาท
“ทำให้กระทบต่อการจ่ายหนี้ค่ายา ค่าวัสดุทางการแพทย์ และค่าตอบแทนบุคลากรของโรงพยาบาล ทั้งนี้ อบจ.กาญจนบุรีแจ้งว่าจะทยอยจ่ายเป็นรายอำเภอ แต่ไม่ระบุว่าจะจ่ายครบเมื่อไร จึงขอให้ อบจ.กาญจนบุรี เร่งทบทวนกระบวนการบริหารจัดการด้านงบประมาณ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการจัดบริการประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีของโรงพยาบาลในพื้นที่” ภญ.สุภัทรา กล่าว
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9723688#m9nxqpr0qbvjxn94qxj