อะไรอะไรก็โยนให้ไปคุยในชั้นกมธ ส่วนล่างที่จะให้ผ่านวาระหนึ่งในรัฐสภากลับเป็นร่างที่มีช่องโหว่เต็มไปหมดรายละเอียดก็ไม่เติมให้เต็ม
โดยหลักการแล้ว ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอเข้าสู่รัฐสภาควรมีเนื้อหาครบถ้วน ชัดเจน และมีหลักการที่เป็นรูปธรรมอยู่แล้ว เพราะกระบวนการตรากฎหมายควรมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายและพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกชั้นของการพิจารณา
การอ้างให้โหวตๆผ่านไปก่อนแล้วแก้ในชั้นกมธ มีปัญหสหลายอย่าง
1. ลดความโปร่งใส: การใส่เนื้อหาหลักในชั้นกมธ. ซึ่งไม่ได้ถ่ายทอดสดหรือเปิดเผยต่อสาธารณะเท่ากับการอภิปรายในสภา ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสติดตามตรวจสอบอย่างเต็มที่
2. ขาดการอภิปรายที่เพียงพอ: หากเนื้อหาสำคัญเพิ่งมาใส่ในชั้นกมธ. สมาชิกสภาฯ อาจไม่มีโอกาสอภิปรายหรือแสดงความเห็นต่อสาระสำคัญของกฎหมาย
3. เสี่ยงต่อการบิดเบือนเจตนารมณ์: เนื้อหาที่เติมเข้าไปในชั้นกมธ. อาจไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ร่าง หรือเปิดช่องให้มีการใส่สิ่งที่ขัดต่อหลักการที่ได้อภิปรายไว้ในวาระแรก
โดยปกติแล้ว ร่างกฎหมายที่เข้าสู่สภาควรผ่านการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องมาก่อนแล้วในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติได้อย่างมีคุณภาพ
ถ้ารัฐบาลยืนยันจะใช้วิธี “เติมเนื้อหาในชั้นกมธ.” ก็ต้องตั้งคำถามว่า เหตุใดถึงไม่มีความพร้อมหรือความโปร่งใสตั้งแต่แรก? และอาจสะท้อนถึงความเร่งรีบหรือเจตนาแฝงบางประการในทางนิติบัญญัติ
ฟังตัวแทนรัฐบาลพูดในรายการสรยุทธแล้วเหนื่อยใจ
โดยหลักการแล้ว ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอเข้าสู่รัฐสภาควรมีเนื้อหาครบถ้วน ชัดเจน และมีหลักการที่เป็นรูปธรรมอยู่แล้ว เพราะกระบวนการตรากฎหมายควรมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายและพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกชั้นของการพิจารณา
การอ้างให้โหวตๆผ่านไปก่อนแล้วแก้ในชั้นกมธ มีปัญหสหลายอย่าง
1. ลดความโปร่งใส: การใส่เนื้อหาหลักในชั้นกมธ. ซึ่งไม่ได้ถ่ายทอดสดหรือเปิดเผยต่อสาธารณะเท่ากับการอภิปรายในสภา ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสติดตามตรวจสอบอย่างเต็มที่
2. ขาดการอภิปรายที่เพียงพอ: หากเนื้อหาสำคัญเพิ่งมาใส่ในชั้นกมธ. สมาชิกสภาฯ อาจไม่มีโอกาสอภิปรายหรือแสดงความเห็นต่อสาระสำคัญของกฎหมาย
3. เสี่ยงต่อการบิดเบือนเจตนารมณ์: เนื้อหาที่เติมเข้าไปในชั้นกมธ. อาจไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ร่าง หรือเปิดช่องให้มีการใส่สิ่งที่ขัดต่อหลักการที่ได้อภิปรายไว้ในวาระแรก
โดยปกติแล้ว ร่างกฎหมายที่เข้าสู่สภาควรผ่านการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องมาก่อนแล้วในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติได้อย่างมีคุณภาพ
ถ้ารัฐบาลยืนยันจะใช้วิธี “เติมเนื้อหาในชั้นกมธ.” ก็ต้องตั้งคำถามว่า เหตุใดถึงไม่มีความพร้อมหรือความโปร่งใสตั้งแต่แรก? และอาจสะท้อนถึงความเร่งรีบหรือเจตนาแฝงบางประการในทางนิติบัญญัติ