“ณัฐพงษ์” ซัดรัฐบาลเร่งรีบ น่าสงสัย ปมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ
.
.
“ณัฐพงษ์” นำทีมพรรคประชาชน แถลงอีกรอบ หลังแพ้โหวต “แผ่นดินไหว-เลื่อนเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์” ซัดรัฐบาลเร่งรีบ น่าสงสัย เชื่อกลุ่มทุนอิงแอบอยู่ข้างหลัง
.
เมื่อเวลา 16.50น. วันที่ 3 เม.ย. 2568 ที่รัฐสภา พรรคประชาชนนำโดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อหัวหน้าพรรค , นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค ,นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรค และสส.ของพรรค ร่วมแถลงภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเลื่อนระเบียบวาระร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เป็นเรื่องด่วนที่จะพิจารณาในวันที่ 9 เม.ย.
.
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตนได้เสนอญัตติด่วนให้มีการพิจารณาข้อเสนอในเรื่องผลกระทบกับเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นปัญหาที่ประชาชนรอคำตอบอยู่ ในขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยมีการเสนอญัตติให้เปลี่ยนระบเบียบวาระปาดหน้า การประชุมในวันนี้จะไม่มีปัญหาถ้าสส.ทั้ง 2 ฝั่งอยู่ประชุมสภาฯ ไม่ว่าจะดึกแค่ไหนทำหน้าที่รักษาองค์ประชุมและพิจารณาญัตติไปตามลำดับจะสามารถดำเนินการได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งทำให้เห็นว่า รัฐบาลมีข้อกังวลในส่วนขององค์ประชุม ที่หากอภิปรายเรื่องแผ่นดินไหวจนมืดเกินไปอาจจะมีองค์ประชุมไม่ครบ
.
“การกระทำที่เกิดขึ้นล้วนวะท้อนให้เห็นว่า การผลักดันเอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ของรัฐบาลมีความเร่งรีบ เกินความจำเป็นอย่างน่าสงสัยจริงๆ“ นายณัฐพงษ์กล่าว
.
ด้านนายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนมองว่าหากรัฐบาลไม่เสนอร่างเอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ แซงคิวร่างกฎหมายอื่นในสัปดาห์หน้ามีโอกาสน้อยมากที่จะพิจารณาถึงร่างดังกล่าว ยิ่งรีบยิ่งทำให้เห็นว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีผลการรายการความเป็นไปได้ที่ละเอียด รอบคอบและเป็นที่ยอมรับเพียงพอที่จะรับรองนโยบาย
.
นายรังสิมันต์ กล่าวว่าสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า ทำไมการประชุมสภาฯจึงไม่สามารถประชุมได้อย่างราบรื่น และทำไมถึงต้องมีการเสนอเปลี่ยนวาระเข้ามาแทรกก่อนที่จะมีการเข้าสู่การพิจารณาในเรื่องของญัตติการจัดการแผ่นดินไหว คือ สส.รัฐบาลอยากกลับบ้านเร็วแค่นั้น เพราะถ้าเกิดรอให้มีการพิจารณาญัตติแผ่นดินไหวเสร็จก่อน สส.รัฐบาล ก็คงจะไม่ได้อยู่ในการทำหน้าที่ในสภาแล้ว และก็คงจะเป็นห่วงว่า ถ้าเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงญัตติในเวลานั้น โหวตไปโหวตมา จะแพ้เสียงของฝ่ายค้าน เพราะฝ่ายค้านเราไม่ได้เห็นด้วย กับการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวาระแน่นอน เป็นแค่เพียงข้ออ้าง ที่ทำให้เกิดปัญหาเกิดบรรทัดฐานใหม่ๆ ความยุ่งยากใหม่ๆ หลายๆ นำไปสู่การสูญเสียเวลา
.
จากนั้นเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสอบถาม เมื่อถามว่าเรื่องนี้สะท้อนถึงดีลอะไรในรัฐบาล นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนเบื้องหลังกับกลุ่มทุนต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่จะมารับสัมปทานทำเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ สิ่งที่สะท้อนอย่างชัดเจนคือความพยายามเร่งรีบในการผลักดันร่างกฎหมายนี้ให้ทันภายในสมัยประชุม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราตั้งข้อสงสัยและสังคมสามารถสังเกตเว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องเร่งรีบ เพราะมีกฎหมายอื่นที่สำคัญไม่แพ้กันในสภา
.
ส่วนกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลัง นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ยังให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะเรายังไม่มีหลักฐาน ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ยังมีลักษณะการทำการเมืองที่อิงแอบผลประโยชน์ส่วนตัว
.
เมื่อถามว่าการปะทะกับฝ่ายรัฐบาลในวันนี้ จะทำให้สภาเสื่อมเสียหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตอนนี้เพื่อนๆ สส.ก็ยังทำหน้าที่อยู่ในสภา เชื่อว่าจะอยู่ดึกกว่าเดิม ในการพิจารณาเรื่องเหตุแผ่นดินไหว เหตุการณ์ที่ทำให้ล่าช้าหลายชั่วโมง ถ้าทุกคนต่างทำหน้าที่ของสภาให้สมเกียรติและพิจารณาไปตามลำดับ ก็จะไม่มีเหตุวุ่นวายแบบและความล่าช้า
.
เมื่อถามว่าไม่สามารถตกลงกันได้ในวิปฯ หรือ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า วิปก็ได้มีการพูดคุยกันอยู่แล้วว่าจะมีการเสนอญัตติแผ่นดินไหว และทราบว่ารัฐบาลจะเสนอญัตติเลื่อนเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์เป็นสัปดาห์หน้า แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามข้อบังคับ เมื่อการประชุมสภาในวันนี้ ตนได้เสนอญัตติด่วนเรื่องแผ่นดินไหวขึ้นมาก่อนและเราก็ไม่อยากทำอะไรให้การพิจารณาในสภาเสียมาตรฐาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นความผิดปกติของรัฐบาลที่พยายามเร่งรีบ ทั้งนี้ ฝ่ายค้านจะตรวจสอบทุกช่องทาง เพื่อสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลศึกษาอย่างรอบคอบ
.
เมื่อถามว่าวันที่ 9 เมษายน ทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาชนจะเสนอญัตติด่วนเรื่องการขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ จะไปตรงกับวันพิจารณาเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์พอดี จะซ้ำรอยวันนี้หรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ญัตติด่วนของพรรคจะยื่นวันพฤหัสดี (10 เม.ย. 68) ซึ่งจะไม่ชนกัน
.
ขณะที่นายพริษฐ์ อธิบายเพิ่มว่า มีฝ่ายรัฐบาลตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงไม่ยอม เพียงแค่ 5 นาทีในการเลื่อนระเบียบวาระ และเข้าสู่ญัตติแผ่นดินไหว เสมือนกับว่าฝ่ายค้านทำให้เสียเวลา ซึ่ง ณ เวลานี้ ไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราลดเนื้อหา ถ้าดึกขึ้นกว่าเดิมก็เป็นหน้าที่ สส. นอกจากนี้ การที่รัฐบาลบอกว่าการเลื่อนวาระใช้เวลาแค่ 5 นาที ไม่สมเหตุสมผล แม้รัฐบาลและฝ่ายค้านเห็นตรงกันว่าควรจะมีการเลื่อนระเบียบวาระใดก็ตาม แต่รัฐบาลก็รู้อยู่แล้วว่าเห็นต่างกัน ควรจะต้องเปิดให้อภิปราย ดังนั้น การเอาเข้ามาแทรก ไม่สมเหตุสมผล
.
นายพริษฐ์ ตั้งคำถามว่า ถ้ารัฐบาลอยากจะทำให้เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ทันตามไทม์ไลน์ ทำไมไม่สลับลำดับไปทำรายงานการศึกษาโดยละเอียด ตอนปิดสมัยประชุม แล้วค่อยเสนอตอนเปิดสมัยประชุมสภา ซึ่งน่าจะสมเหตุสมผลกว่า
.
.
อึดอัดไหมคะ? รักชนก โพสต์ถามใครจะตรวจสอบสตง.ได้ ปลุกเพื่อไทย แก้รัฐธรรมนูญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_5123804
.
อึดอัดไหมคะ? รักชนก โพสต์ถามใครจะตรวจสอบ สตง.ได้ ปลุกเพื่อไทย แก้รัฐธรรมนูญ
.
กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมเป็นวงกว้าง กรณีเกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 แล้วสะเทือนถึงประเทศไทย ทำให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่กำลังก่อสร้างเกิดถล่มลงมาทั้งตึก เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิตของคนงานที่ทำงานในไซต์ก่อสร้างดังกล่าวหลายสิบชีวิต
.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ถือเป็นหน่วยงานที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ต้องเฝ้ามอง และตรวจสอบหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเที่ยงธรรม แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น อาคารสำนักงานของ สตง.กลับพังถล่มเพียงอาคารเดียวในพื้นที่ที่ได้รับแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหว ซึ่งเกิดเป็นคำถามต่อมาว่า หน่วยงานไหนที่สามารถตรวจสอบองค์กรอิสระเหล่านี้ได้บ้าง
.
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 เมษายน
น.ส.รักชนก ศรีนอก ส.ส.กทม. พรรคประชาชน โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ไขข้อข้องใจที่มาของ สตง. ใครเป็นผู้เฟ้นหาผู้ที่จะมาทำหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเหล่านี้ พร้อมตั้งข้อสงสัย ใครจะตรวจสอบ สตง.ได้บ้าง ว่า
.
“อึดอัดไหมคะ?
.
1) คำถามที่อยู่ในใจประชาชนทั้งประเทศตอนนี้คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นแบบนี้นอกจากวิจารณ์แล้ว ประชาชนทำอะไรได้บ้าง? คำตอบ : ประชาชนทำอะไรไม่ได้เลย และ แม้กระทั่งตัวแทนจากประชาชนโดยตรง อย่าง ส.ส. ก็ทำอะไรไม่ได้
.
2) เพราะอะไร?
คำตอบ : คืองี้ ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน + สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในส่วนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ที่มาเริ่มจากการสรรหา แล้ว ส.ว. จะเป็นคนโหวตรับรองแต่งตั้ง ในส่วนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะเป็นข้าราชการที่รับนโยบายจากคณะกรรมการอีกที พูดง่ายๆ คือสำนักงานจะทำงานแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับแนวทางที่คณะกรรมการวางให้
.
ซึ่งรัฐธรรมนูญ 60 รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ฉบับคนดีย์ที่มาจากการรัฐประหาร กำหนดให้มีองค์กรอิสระ 5 องค์กร ได้แก่ 1.คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 2.ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 4.คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งทั้งหมดนี้จะแต่งตั้งโดย ส.ว ซึ่งไม่ได้มีที่มาจากประชาชน และ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ได้ให้อำนาจอะไรประชาชนหรือสภาผู้แทนราษฎรสามารถถอดถอนองค์กรอิสระได้เลย ! (ยกเว้น ป.ป.ช. ที่ถอดถอนได้ผ่านการเข้าชื่อแล้วส่งผ่านไปยังประธานสภา)
3) ทำไมถอดถอนองค์กรอิสระไม่ได้อะ มันเป็นแบบนี้มาตลอดเลยหรอ ?
คำตอบ : ไม่ใช่จ้า ในอดีตรัฐธรรมนูญฉบับคนธรรมดา 40/50 ให้อำนาจประชาชนและ ส.ส. ถอดถอนองค์กรอิสระได้
เช่น รัฐธรรมนูญ 2540 : ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องประธานวุฒิสภา เพื่อให้ ส.ว. มีมติถอดถอนบุคคลในองค์กรอิสระออกจากตําแหน่งได้
.
รัฐธรรมนูญ 2550 : ให้ประชาชนจำนวน 20,000 คนขึ้นไป และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถยื่นถอดถอนองค์กรอิสระโดยยื่นประธานวุฒิสภา
.
รัฐธรรมนูญ 2560 : ไม่ได้ให้อำนาจประชาชน
.
4) เอ้า ที่มาก็ไม่ยึดโยงกับประชาชน แถมประชาชนและผู้แทนที่มาจากประชาชนโดยตรงยังไม่สามารถถอดถอนได้อีกหรอเนี่ย !?
คำตอบ : โอ้ ใช่เลยจ้า
.
5) อ่าว แล้วแบบนี้ใครจะเป็นคนตรวจสอบองค์กรอิสระ ถ้าทำงานโหลยโท้ยใครจะจัดการ
คำตอบ : ก็นั่นน่ะสิ มันถึงเป็นแบบทุกวันนี้ไง มันไม่ใช่แค่ สตง. ทุกคนลองนึกดู กกต. จัดเลือกตั้งทุกครั้ง มีทุจริตทุกครั้ง มีเรื่องให้ด่าเต็มไปหมดทั้งความไม่โปร่งใสความไม่เป็นกลาง ทุจริตเอื้อประโยชน์บางกลุ่มกันฉ่ำ ทุกคนซึ้งแก่ใจหมด ถามว่าทำไร กกต. ได้ไหม ก็ไม่
ศาลรัฐธรรมนูญที่ยุบพรรคตัดสิทธิ์คนที่ประชาชนสนับสนุนมาเป็นว่าเล่น เอาแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีลงจากตำแหน่งก็ทำมาแล้ว ป.ป.ช.ที่มีประเด็นน่าสงสัยว่าไปคุยอะไรกับประธานสภา ป.ป.ช.ที่จ้องเล่นงานแค่บางพรรคบางคน คดีบางพรรคดองไว้เป็นชาติไม่ขยับไม่คืบ แต่คดีของบางพรรคกลับได้ Fast track แบบทำงานรวดเร็วฉับไว มีใครทำอะไรองค์กรพวกนี้ได้บ้าง คำตอบคือไม่มี!
.
JJNY : 5in1 “ณัฐพงษ์”ซัดเร่งรีบ น่าสงสัย│รักชนกถาม ใครจะตรวจสอบ│“สุดารัตน์”ห่วงไทย│ 'กัณวีร์' จี้แจง│ผู้นำโลกต่างประณาม
.
อึดอัดไหมคะ? รักชนก โพสต์ถามใครจะตรวจสอบสตง.ได้ ปลุกเพื่อไทย แก้รัฐธรรมนูญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_5123804
.
รัฐธรรมนูญ 2550 : ให้ประชาชนจำนวน 20,000 คนขึ้นไป และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถยื่นถอดถอนองค์กรอิสระโดยยื่นประธานวุฒิสภา