ความผันผวนของราคาน้ำมันท่ามกลางปัจจัยที่ผกผัน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบ Brent มีความ ผันผวนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของอุปทาน โดยเฉพาะจากผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศยังคงเป็นแรงกดดันต่อการขยายตัวของอุปสงค์พลังงาน โดยรวมส่งผลให้บรรยากาศในตลาดน้ำมัน (market sentiment) มีแนวโน้มเป็นลบ
.
รายงาน Wealth Insight ของทีม Wealth Research จากหลักทรัพย์บัวหลวง ระบุว่า แม้ในช่วงต้นปี 2025 ราคาน้ำมัน Brent จะปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหกเดือนที่ 81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงกลางเดือนมกราคม
.
จากแรงหนุนของสภาพอากาศหนาวจัดในซีกโลกเหนือที่กระตุ้นความต้องการใช้พลังงานเพื่อทำความร้อน รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรที่เข้มงวดยิ่งขึ้นของสหรัฐฯ ต่อรัสเซียและอิหร่าน
.
ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวของอุปทานในระยะสั้น กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าสู่ตลาดเพื่อเก็งกำไร และดันราคาปรับขึ้นถึง 15% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคม 2024 อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ราคาน้ำมันดิบ Brent ได้อ่อนตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
.
โดยปรับตัวลดลงถึง 13% สะท้อนถึงความกังวลต่อทิศทางตลาดน้ำมันโลกในอนาคต ทั้งนี้ผลสำรวจของ Reuters ชี้ว่าราคาน้ำมัน Brent ตลอดปี 2025 อาจเฉลี่ยอยู่ที่ 74.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งสะท้อนถึงขีดจำกัดของการปรับขึ้นของราคา
.
ความเสี่ยงขาลงของราคาน้ำมันดิบยังไม่หมดไป ในระยะสั้นตลาดน้ำมันยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ทั้งจากฝั่งอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่อยู่ในระดับต่ำ และรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มเชิงลบราคาน้ำมัน Brent จึงอาจยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ sideways down ซึ่งดำเนินมาตลอดช่วงปีที่ผ่านมา
.
ข้อมูลจากตลาดซื้อขายล่วงหน้าสะท้อนภาพเชิงลบ โดยอัตราส่วน long-to-short ratio ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 1.6 เท่า จากระดับ 7.6 เท่าในช่วง 1 ปีก่อนหน้า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 5.6 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขนี้บ่งชี้ ถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงของเทรดเดอร์ต่อตลาดน้ำมันในปัจจุบัน
.
แนวโน้มของอุปทานน้ำมันมีโอกาสเข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยในช่วงที่ “โจ ไบเดน” ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างเข้มงวด เพื่อลดรายได้ของมอสโกจากภาคพลังงานและจำกัดศักยภาพ ของรัสเซียในการทำสงคราม อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” รับตำแหน่งประธานาธิบดี มีแนวโน้มว่านโยบายดังกล่าวอาจถูกผ่อนปรน
.
โดยแหล่งข่าวจาก Reuters ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณายกเลิกบางมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตและผลักดันให้เกิดการเจรจาสันติภาพในยูเครน หากการคว่ำบาตรถูกยกเลิกอุปทานน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสามของโลกอาจกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
.
นอกจากนี้ อุปทานน้ำมันจากกลุ่มผู้ผลิตนอก OPEC คาดว่าจะเติบโตถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2025 ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลก และเป็นอีกปัจจัยที่อาจสร้างแรงกดดันต่อราคา ทั้งนี้การผลิตน้ำมันจากลิเบีย คาซัคสถานและอิรัก ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่ OPEC ยังคงมีกำลังการผลิตส่วนเกิน (spare capacity) ถึง 4.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวตั้งแต่ปี 2024 ที่ 3.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน
.
ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงมีความเป็นไปได้ที่ชาติสมาชิก OPEC บางรายอาจเลือกผลิตน้ำมันเกินโควต้าที่ได้รับการจัดสรร เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หากเกิดการผลิตส่วนเกินในลักษณะนี้อุปทานนน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ และกดดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงไปอีก
.
การบริโภคน้ำมันโลกมีโอกาสชะลอตัวมากกว่าคาด แม้ว่า International Energy Agency (IEA) คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันโลกจะขยายตัว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2025 แต่การเติบโตดังกล่าวถือว่าชะลอตัวลงอย่างมาก จากระดับเฉลี่ย 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงปี 2022- 2023 และยังมีโอกาสถูกปรับลดลงในอนาคต
.
เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ซึ่งอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแบบอ่อนในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 ขณะที่นโยบายภาษีนำเข้าและการตอบโต้ทางการค้าภายใต้รัฐบาลทรัมป์อาจส่งผลกระทบต่อภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานหลัก
.
สำหรับจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ความต้องการน้ำมันยังถูกกดดันจากปัญหาเงินฝืด รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะการใช้ LNG แทนน้ำมันดีเซลในภาคขนส่ง และยอดขายรถยนต์ พลังงานใหม่ (NEV) ที่เพิ่มขึ้นถึง 40%-50% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันของจีนชะลอตัวลง ซึ่งนับว่า มีความสำคัญ เนื่องจากจีนเป็นหนึ่งในประเทศหลักที่จะหนุนการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้
สรุป ตลาดน้ำมันดิบ Brent ยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ "sideways down"
.
โดยมีปัจจัยลบจากอุปสงค์และอุปทาน ที่ยังไม่เอื้อให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากระดับปัจจุบัน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาล “โดนัลด์ ทรัมป์” จะผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่ม Non-OPEC ยังมีศักยภาพการผลิตมากขึ้น ส่วนเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่อาจเผชิญภาวะถดถอยแบบอ่อนจะยิ่งเป็นแรงกดดันต่ออุปสงค์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่งปรับตัวลงต่ำกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
.
ซึ่งเป็นระดับแนวรับทางจิตวิทยาที่สำคัญ และอาจลดลงไปทดสอบระดับ 62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นกรณี bear case ของเรา สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2568
PTT PTTEP ราคาจะเป็นยังไงต่อ เห็นขึ้นมาแรงมากเลย หรือแค่ rebound
ราคาน้ำมันดิบจะไปทางไหน ท่ามกลางแรงกดดัน ทั้งกำลังซื้อ และ การผลิต
ความผันผวนของราคาน้ำมันท่ามกลางปัจจัยที่ผกผัน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบ Brent มีความ ผันผวนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของอุปทาน โดยเฉพาะจากผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศยังคงเป็นแรงกดดันต่อการขยายตัวของอุปสงค์พลังงาน โดยรวมส่งผลให้บรรยากาศในตลาดน้ำมัน (market sentiment) มีแนวโน้มเป็นลบ
.
รายงาน Wealth Insight ของทีม Wealth Research จากหลักทรัพย์บัวหลวง ระบุว่า แม้ในช่วงต้นปี 2025 ราคาน้ำมัน Brent จะปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหกเดือนที่ 81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงกลางเดือนมกราคม
.
จากแรงหนุนของสภาพอากาศหนาวจัดในซีกโลกเหนือที่กระตุ้นความต้องการใช้พลังงานเพื่อทำความร้อน รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรที่เข้มงวดยิ่งขึ้นของสหรัฐฯ ต่อรัสเซียและอิหร่าน
.
ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวของอุปทานในระยะสั้น กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าสู่ตลาดเพื่อเก็งกำไร และดันราคาปรับขึ้นถึง 15% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคม 2024 อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ราคาน้ำมันดิบ Brent ได้อ่อนตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
.
โดยปรับตัวลดลงถึง 13% สะท้อนถึงความกังวลต่อทิศทางตลาดน้ำมันโลกในอนาคต ทั้งนี้ผลสำรวจของ Reuters ชี้ว่าราคาน้ำมัน Brent ตลอดปี 2025 อาจเฉลี่ยอยู่ที่ 74.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งสะท้อนถึงขีดจำกัดของการปรับขึ้นของราคา
.
ความเสี่ยงขาลงของราคาน้ำมันดิบยังไม่หมดไป ในระยะสั้นตลาดน้ำมันยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ทั้งจากฝั่งอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่อยู่ในระดับต่ำ และรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มเชิงลบราคาน้ำมัน Brent จึงอาจยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ sideways down ซึ่งดำเนินมาตลอดช่วงปีที่ผ่านมา
.
ข้อมูลจากตลาดซื้อขายล่วงหน้าสะท้อนภาพเชิงลบ โดยอัตราส่วน long-to-short ratio ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 1.6 เท่า จากระดับ 7.6 เท่าในช่วง 1 ปีก่อนหน้า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 5.6 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขนี้บ่งชี้ ถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงของเทรดเดอร์ต่อตลาดน้ำมันในปัจจุบัน
.
แนวโน้มของอุปทานน้ำมันมีโอกาสเข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยในช่วงที่ “โจ ไบเดน” ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างเข้มงวด เพื่อลดรายได้ของมอสโกจากภาคพลังงานและจำกัดศักยภาพ ของรัสเซียในการทำสงคราม อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” รับตำแหน่งประธานาธิบดี มีแนวโน้มว่านโยบายดังกล่าวอาจถูกผ่อนปรน
.
โดยแหล่งข่าวจาก Reuters ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพิจารณายกเลิกบางมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตและผลักดันให้เกิดการเจรจาสันติภาพในยูเครน หากการคว่ำบาตรถูกยกเลิกอุปทานน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสามของโลกอาจกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
.
นอกจากนี้ อุปทานน้ำมันจากกลุ่มผู้ผลิตนอก OPEC คาดว่าจะเติบโตถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2025 ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลก และเป็นอีกปัจจัยที่อาจสร้างแรงกดดันต่อราคา ทั้งนี้การผลิตน้ำมันจากลิเบีย คาซัคสถานและอิรัก ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่ OPEC ยังคงมีกำลังการผลิตส่วนเกิน (spare capacity) ถึง 4.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวตั้งแต่ปี 2024 ที่ 3.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน
.
ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงมีความเป็นไปได้ที่ชาติสมาชิก OPEC บางรายอาจเลือกผลิตน้ำมันเกินโควต้าที่ได้รับการจัดสรร เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หากเกิดการผลิตส่วนเกินในลักษณะนี้อุปทานนน้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ และกดดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงไปอีก
.
การบริโภคน้ำมันโลกมีโอกาสชะลอตัวมากกว่าคาด แม้ว่า International Energy Agency (IEA) คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันโลกจะขยายตัว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2025 แต่การเติบโตดังกล่าวถือว่าชะลอตัวลงอย่างมาก จากระดับเฉลี่ย 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงปี 2022- 2023 และยังมีโอกาสถูกปรับลดลงในอนาคต
.
เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ ซึ่งอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแบบอ่อนในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 ขณะที่นโยบายภาษีนำเข้าและการตอบโต้ทางการค้าภายใต้รัฐบาลทรัมป์อาจส่งผลกระทบต่อภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานหลัก
.
สำหรับจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ความต้องการน้ำมันยังถูกกดดันจากปัญหาเงินฝืด รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะการใช้ LNG แทนน้ำมันดีเซลในภาคขนส่ง และยอดขายรถยนต์ พลังงานใหม่ (NEV) ที่เพิ่มขึ้นถึง 40%-50% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันของจีนชะลอตัวลง ซึ่งนับว่า มีความสำคัญ เนื่องจากจีนเป็นหนึ่งในประเทศหลักที่จะหนุนการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้
สรุป ตลาดน้ำมันดิบ Brent ยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ "sideways down"
.
โดยมีปัจจัยลบจากอุปสงค์และอุปทาน ที่ยังไม่เอื้อให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากระดับปัจจุบัน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาล “โดนัลด์ ทรัมป์” จะผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งอาจทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่ม Non-OPEC ยังมีศักยภาพการผลิตมากขึ้น ส่วนเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่อาจเผชิญภาวะถดถอยแบบอ่อนจะยิ่งเป็นแรงกดดันต่ออุปสงค์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่งปรับตัวลงต่ำกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
.
ซึ่งเป็นระดับแนวรับทางจิตวิทยาที่สำคัญ และอาจลดลงไปทดสอบระดับ 62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นกรณี bear case ของเรา สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2568
PTT PTTEP ราคาจะเป็นยังไงต่อ เห็นขึ้นมาแรงมากเลย หรือแค่ rebound