JJNY : ขึ้นค่าแรงทั่วปท.ล่ม│"ไอติม"ย้อน"ทักษิณ"│เครือข่ายแรงงานโวย ขึ้นค่าแรงทั่วปท. ล่ม│เปิดรายได้ทหารเกาหลีเหนือร่วมรบ

ขึ้นค่าแรงทั่วปท.ล่ม บอร์ดไตรภาคี ถก 5 ชม.เคาะขึ้น 400 แค่ 4 จังหวัด 1 อำเภอ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4968508
 
 
ขึ้นค่าแรงทั่วปท.ล่ม บอร์ดไตรภาคี ถก 5 ชม.เคาะขึ้น 400 แค่ 4 จังหวัด 1 อำเภอ
 
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 ธันวาคม ที่กระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 11/2567 เพื่อพิจารณาปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามนโยบายรัฐบาล ที่ตั้งเป้าประกาศในอัตรา 400 บาททั่วประเทศ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน ปรากฏว่าการประชุมในครั้งนี้ กรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย ฝ่ายรัฐ จำนวน 5 คน
, ฝ่ายนายจ้าง จำนวน 5 คน และฝ่ายลูกจ้าง จำนวน 5 คน รวม 15 คน เข้าร่วมครบองค์ประชุม ใช้เวลาหารือนานกว่า 5 ชั่วโมง
 
นายบุญสงค์ แถลงผลการประชุมว่า บอร์ดค่าจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2567 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2567 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2568 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7 – 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) แบ่งเป็น 17 อัตรา ซึ่งพิจารณาจากค่าครองชีพและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมีอัตราสูงสุด คือ วันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ดังนี้
 
1. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
2. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 380 บาท ใน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
3. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราวันละ 372 บาท ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5)
4. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 67 จังหวัด ที่เหลือให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
 
การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไป แรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพ เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ จำนวน 3,760,697 คน” นายบุญสงค์ กล่าว

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำหรับ ปี 2568 คณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้กระจายอำนาจการพิจารณา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปยังภูมิภาค โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด รวม 77 คณะ เพื่อนำข้อเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดมาพิจารณาประกอบ ข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 87 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง กลุ่มที่ 2 ด้านความสามารถ ในการจ่ายของนายจ้าง กลุ่มที่ 3 ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยพิจารณาจากค่าครองชีพ ที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้ลูกจ้างมีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และพิจารณา อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะได้นำเรื่องนี้ เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
 
ผลการประชุมบอร์ดฯ ครั้งนี้ จะพยายามผลักดันเสนอเข้า ครม. ในวันพรุ่งนี้ (24 ธันวาคม 2567) เพื่อให้มีผลบังคับใช้ให้ทันเป็นของขวัญปีใหม่คนไทย ในวันที่ 1 มกราคม 2568” นายบุญสงค์ กล่าว
 


"ไอติม" ย้อน "ทักษิณ" ข้อกล่าวหา "พูดเก่ง แต่ทำไม่เป็น" ควรสื่อสารกับใคร
https://siamrath.co.th/n/589665

"ไอติม" ย้อน "ทักษิณ" ข้อกล่าวหา "พูดเก่ง แต่ทำไม่เป็น" ควรสื่อสารกับใคร
 
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.67 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.และโฆษกพรรคประชาชน ทวิตข้อความผ่านแอปพลิเคชั่น X (ทวิตเตอร์) ระบุว่า  
 
[ ข้อกล่าวหาเรื่อง “พูดเก่ง แต่ทำไม่เป็น” เป็นข้อกล่าวหาที่คุณทักษิณควรสื่อสารกับใคร? ]
 
ผมได้ฟังคุณทักษิณปราศรัยบนเวทีที่เชียงใหม่กล่าวหาว่าพรรคประชาชนเป็นพรรคที่ “พูดเก่ง” แต่ “ทำไม่เป็น” (ย๊ะบ่จ้าง) และก็ได้แต่สงสัยว่าคุณทักษิณได้ตั้งข้อสังเกตเดียวกันนี้กับรัฐบาลของคุณเศรษฐาและคุณแพทองธารหรือไม่
 
ผมขอยกให้เห็น 3 ตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่ถึง 1 เดือนที่ผ่านมา
 
[ ตัวอย่าง #1 : ค่าแรง ]
สิ่งที่พูด: ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน ทุกอาชีพ ทั่วประเทศ เริ่ม 1 ตุลาคม 2567 โดยจะประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ที่ยังไม่พร้อม ให้พร้อมภายในกรอบเวลาดังกล่าว (พูดไว้เมื่อ 2 พ.ค. 67) ( https://shorturl.at/lLFF9 )
 
สิ่งที่ทำ: ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 337-400 บาทต่อวัน โดยจะขึ้นเป็น 400 บาทต่อวันเฉพาะ 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ เริ่ม 1 มกราคม 2568 (ตามมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการค่าจ้างในวันที่ 23 ธ.ค. 67) ( https://shorturl.at/rohCR )
 
[ ตัวอย่าง #2 : ค่าไฟ ]
 
สิ่งที่พูด: นายกฯ ขอให้ทุกฝ่ายช่วยดูเรื่องราคาพลังงานและค่าไฟ เพราะมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและเป็นต้นทุนในหลายด้านของครัวเรือน (พูดในที่ประชุม กพช. ในวันที่ 26 พ.ย. 67) ( https://tna.mcot.net/politics-1452115… )
 
สิ่งที่ทำ: นายกฯ ปล่อยปละละเลย ไม่ขอมติจากที่ประชุม กพช. เพื่อเป็นแนวทางให้ กกพ. ระงับการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน 3,600 MW (ที่มีปัญหาเรื่องการกีดกันการแข่งขัน ความไม่โปร่งใสของหลักเกณฑ์ และความซ้ำซ้อนกับนโยบาย Direct PPA) ทั้งๆที่การปล่อยให้สัญญาดังกล่าวเดินหน้าต่อไป จะทำให้ค่าไฟประชาชนแพงกว่าที่ควรจะเป็น (ถ้าจะอ้างว่านายกเป็นประธาน กพช. ที่มีแค่ 1 เสียงใน กพช. ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะประมาณ 2 ใน 3 ของคณะกรรมการคือรัฐมนตรีใน ครม. / หากจะบอกว่านายกฯไม่มีอำนาจกำหนดทิศทางของ กพช. ก็เทียบเท่ากับการบอกว่านายกฯไม่มีอำนาจกำหนดทิศทางของ ครม.) ( รายละเอียดปัญหา สรุปโดย สส.วรภพ: https://shorturl.at/6AmT2 )

[ ตัวอย่าง #3 : การปฏิรูปกองทัพ ]
 
สิ่งที่พูด: เพจพรรคเพื่อไทยประชาสัมพันธ์ว่าได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ. กลาโหม สู่สภาฯ (เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 67) ( https://shorturl.at/BFEZp ) หลังจากที่เคยประกาศในเพจพรรคไปแล้วในวันครบรอบ 10 ปีรัฐประหาร (22 พ.ค. 67) ว่า “วันนี้พรรคเพื่อไทยเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ รื้อผลพวงรัฐประหาร [และ] แก้กฎหมายกลาโหม ป้องกันรัฐประหาร-ฉีกรัฐธรรมนูญ” ( https://shorturl.at/q6YxO )
 
สิ่งที่ทำ: สส.พรรคเพื่อไทย ขอถอนร่าง พ.ร.บ. กลาโหม ออกมาแก้ไข โดยรองนายกฯภูมิธรรม (จากพรรคเพื่อไทย) ให้สัมภาษณ์ว่าร่างดังกล่าว “ไม่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย” (ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 67) ทั้งๆที่เสียงสนับสนุนของ สส. พรรคเพื่อไทย และ สส. พรรคประชาชน มีเพียงพอต่อการทำให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายดังกล่าว (ถ้าจะอ้างว่าร่างดังกล่าวอาจไม่ได้รับการสนับสนุนจาก สว. ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะ สว. ไม่ได้มีอำนาจปัดตกร่างกฎหมายของ สส. โดยทำได้มากที่สุดคือการคัดค้านจนนำไปสู่การยับยั้งไว้ 180 วัน) ( https://one31.net/news/detail/73086… )
 
รัฐบาลพรรคประชาชนจะทำนโยบายให้สำเร็จได้จริงตามที่พูดหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันในอนาคต แต่ 1 ปี 3 เดือนที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้ว ว่าหลายอย่างที่รัฐบาลชุดนี้ได้พูดไว้ ยังทำให้เป็นจริงไม่ได้ .
 
ป.ล.อย่าให้เหตุผลว่านายกฯและพรรคเพื่อไทยทำไม่ได้เพราะเป็นรัฐบาลผสม เพราะทั้ง 3 ตัวอย่างที่ผมยกมานี้ ล้วนเป็นคำสัญญาที่นายกฯและพรรคเพื่อไทยได้ให้ไว้กับประชาชน *หลัง* จากที่ได้ตั้งรัฐบาลผสมเข้ามาทำงานแล้ว และได้ทราบถึงข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว
  
https://x.com/paritw92/status/1871225767797141534

#ไอติม #ข่าววันนี้ #ทักษิณ #เพื่อไทย #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์ #พรรคประชาชน



เครือข่ายแรงงาน โวย ขึ้นค่าแรง 400 ทั่วปท. ล่ม ชี้ปมสิทธิยังล้าหลังโลกสากล ต้องแก้ที่ รธน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4968686

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร สมัชชาคนจน ร่วมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคม จัดกิจกรรม ‘เบิกฟ้ารัฐธรรมนูญใหม่ ตอน คนจนเขียนรัฐธรรมนูญ’ ระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคมนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงานเมื่อเวลา 17.20 น. มีการปราศรัย “คนจนอยากเขียนรัฐธรรมนูญใหม่” โดย อัศวิน กลิ่นเทพเกษร ตัวแทนเครือข่ายแรงงาน, สุภาภรณ์ พันธ์ประสิทธิ์ ตัวแทนเครือข่ายแรงงานบอกระบบ, สมปอง เวียงจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายเขื่อน (ที่สร้างแล้ว), วัชรี จันทร์ช่วง  ตัวแทนเครือข่ายเขื่อน (ที่ยังไม่สร้าง), อุทุมพร กำมะลวน ตัวแทนเครือข่ายป่าไม้, ภัทราภรณ์ แก่งจำปา ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ และ ณัฐวุฒิ กรมภักดี ขบวนการประชาธิไตยอีสาน

ในตอนหนึ่ง นายอัศวิน ตัวแทนเครือข่ายแรงงาน กล่าวตอนหนึ่งว่า เพราะว่ารัฐธรรมนูญคือ ประชาชนและรัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน จึงต้องจับต้องได้ รัฐธรรมนูญใหม่ของเราจะต้องบรรจุในเรื่องของสิทธิแรงงาน เข้าไปในรัฐธรรมนูญด้วย เหมือนปี 2540 ซึ่งมี 2 ข้อที่ชัดเจน คือสิทธิในการรวมตัว มีเสรีภาพในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน ซึ่งข้อหนึ่งที่ตนชอบ คือรัฐจะต้องจัดให้ประชาชนในวัยทำงาน มีงานทำและได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมด้วย กระทั่ง มีรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่ใช้ในปัจจุบันนี้ สิทธิแรงงานในรัฐธรรมนูญก็ถูกตัดทิ้งทั้งหมด

นายอัศวินชี้ว่า ตาม อนุสัญญา ILO ถือว่าประเทศไทยยังล้าหลัง สากลเขาไกถึงไหนกันหมดแล้ว ตนอยากให้ในรัฐธรรมนูญของไทยระบุให้ชัดเจนเลยว่า สิทธิของแรงงานมีอะไรบ้าง รวมถึงแรงงานไทยในต่างประเทศ ก็ควรมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากรัฐด้วย เพราะมีโอกาสที่จะถูกกดขี่
 
ในประเทศไทย มีแรงงานในระบบอยู่ที่ 11 ล้านคน รวมๆ กันแล้วอยู่ที่ 35 ล้านคน เรามีผู้ที่มีงานทำ อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน อยู่ที่ 14 ล้านคน วัยชราอยู่ที่ 16 ล้านคนอันนี้ข้อมูลชัดเจน

แรงงานไทย 35 ล้านคน จ่ายภาษีให้ท่าน แต่ไม่มีความมั่นคงที่เพียงพอ ในกรุงเทพฯ ค่าแรงขั้นต่ำ 365 บาท/ วัน ทุกวันนี้กำลังคุยกันเรื่องปรับค่าจ้างเป็น 400 บาท แต่ก็หนีประชุมกันอุตลุด รัฐบาลไทยกลัวการขึ้นค่าแรงที่สุด สงสารนายทุน ประทานโทษแล้วพวกเราล่ะ?
ค่าแรงที่เป็นธรรม จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้สูงสุด’ เป็นเหตุผลที่สิทธิแรงงานต้องถูกเขียนในรัฐธรรมนูญ ถ้าประชาชนมั่นคง เสถียรภาพรัฐบาลจะยั่งยืน ประเทศจะไปต่อได้ รัฐธรรมนูญต้องรับรองสิทธิแรงงาน” นายอัศวินกล่าวทิ้งท้าย
 
ต่อมาเวลา 18.10 น. นายณัฐวุฒิ กรมภักดี ตัวแทนขบวนการประชาธิไตยอีสาน กล่าวว่า ปัญหารัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ไม่เป็นของประชาชน และกดหัวประชาชน มันคือเครื่องมือจัดสรรอำนาจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ที่ควรจะเท่าเทียมกัน

มันคือความจงใจให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องไกลตัวเรา ชาวบ้านมองเป็นเรื่องยาก ซึ่งควรจะกำหนดด้วยคำ หรือภาษาที่เรียบง่าย แต่บ้านเราเป็นรัฐธรรมนูญปะพุ ใส่เรื่อที่เข้าใจยากๆ เข้าไป เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า อย่าไปยุ่งเลยกับกฎหมายฉบับนี้ แต่มันคือเครื่องมือกำหนดว่าชีวิตเราจะดีขึ้นแบบไหน เราจึงต้องร่วมมือกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่