ในปัจจุบันการเทรดออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทรดเดอร์และนักลงทุนสามารถทำการเทรดได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเทรดได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงใช้การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็สามารถเทรดในตลาดการเงินได้แล้วครับ
แม้ว่าการเทรดออนไลน์จะสร้างความสะดวกสบายให้แก่เทรดเดอร์และนักลงทุนเป็นอย่างมาก แต่ทราบไหมว่า การใช้อินเทอร์เน็ตก็นำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์เช่นกันครับ ในวันนี้ทางทีมงาน Fxbrokerscam จะพาทุกท่านมารู้จักกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security คืออะไร? และมีความสำคัญอย่างไรต่อเทรดเดอร์และนักลงทุน เพื่อให้ทุกท่านเตรียมรับมือกับอาชญากรรมที่มาในรูปแบบออนไลน์ครับ
Cyber Security คืออะไร?
Cyber Security คือ ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ที่มีการป้องกันอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบในคอมพิวเตอร์, แหล่งข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ และโทรศัพท์มือถือ อีกทั้ง Cyber Security ยังป้องกันการถูกโจมตีทางข้อมูลที่สร้างความเสียหายให้แก่บุคคลได้อีกด้วยครับ
Cyber Security มีกี่ประเภท ?
Cyber Security สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Data Security
Data Security หรือความปลอดภัยด้านข้อมูล ทำหน้าที่ป้องกันและเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นส่วนตัว
2. Network Security
Network Security หรือความปลอดภัยด้านเครือข่าย ทำหน้าที่ป้องกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอก ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนระบบหากมีการเกิดความผิดปกติขึ้น
3. Application Security
Application Security หรือความปลอดภัยด้านแอปพลิเคชัน ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะมีการอัปเดตและทดสอบแอปพลิเคชันอยู่เสมอ
4. Internet Security
Internet Security หรือความปลอดภัยด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่ป้องกันการรับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
5. Operation Security
Operation Security หรือความปลอดภัยในการปฏิบัติ ทำหน้าที่จัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลให้มีความปลอดภัยในองค์กร
ภัยทางไซเบอร์สามารถแบ่งได้กี่ประเภท ?
ภัยทางไซเบอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. MALWARE (มัลแวร์)
MALWARE (มัลแวร์) ถูกย่อมาจากคำว่า Malicious และ Software ที่หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดย ปกติ MALWARE (มัลแวร์) จะรู้จักได้จาก 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
ไวรัส (Virus) มักทำงานเมื่อมีการรันโปรแกรมหรือเปิดไฟล์เกิดขึ้น โดยไวรัสจะแฝงตัวเองลงไปกับโปรแกรมหรือไฟล์ที่ถูกเปิด
เวิร์ม (Worm) จะทำงานโดยการกระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่าย
โทรจัน (Trojan) จะทำงานโดยการหลอกลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งโปรแกรมที่ผู้ใช้คิดว่าปลอดภัย แต่จริง ๆ แล้ว เป็นโปรแกรมอันตรายที่แฝงมา
สปายแวร์ (Spyware) จะทำงานโดยการแอบดูพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ โดยสปายแวร์มักจะขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ อย่างเช่น รหัสผ่านและบัญชีของผู้ใช้ เป็นต้น
แบล็กดอร์ (Backdoor) จะทำงานโดยการเปิดช่องให้คนอื่นเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราอย่างไม่รู้ตัว
รูทกิต (Rootkit) จะทำงานโดยการเปิดช่องให้คนอื่นเข้ามาติดตั้งโปรแกรมอื่น ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อควบคุมเครื่องและเป็นผู้ดูแลระบบแทน
รันซัมแวร์ (Ransomware) เป็นการเรียกค่าไถ่ให้ผู้ใช้งานที่ไม่สามารถเข้ารหัสหรือเปิดไฟล์ในคอมพิวเตอร์ของตัวเองได้จ่ายเงิน เพื่อแลกกับการกู้คืนข้อมูล
2. Phishing (ฟิชชิง)
Phishing (ฟิชชิง) เป็นไซเบอร์ที่พบบ่อยมากที่สุด เพราะเป็นการหลอกลวงที่มาในรูปแบบของการแอบอ้างว่า เป็นหน่วยงานหรือเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการและธนาคาร โดย Phishing (ฟิชชิง) จะสร้างลิงก์ปลอมขึ้นมา เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้งานกดเข้าไปในลิงก์นั้น ๆ จากนั้นแฮกเกอร์จะดึงเอาข้อมูลส่วนตัวไป ครอบคลุมไปถึงข้อมูลทางการทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
Phishing (ฟิชชิง) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น โคลนฟิชชิง (Clone Phishing) ที่มักจะแนบไฟล์หรือเว็บไซต์ปลอม หากผู้ใช้เผลอกดเข้าไปจะติดไวรัสและสูญเสียข้อมูลส่วนตัวทันที อีกทั้งยังมีวาลลิง (Whaling) ที่มุ่งเป้าไปที่พนักงานอาวุโสในบริษัทต่าง ๆ โดยอาชญากรรมไซเบอร์จะเตรียมข้อมูลของเป้าหมายให้น่าเชื่อถือที่สุด เพื่อหลอกล่อข้อมูลทางการเงินโดยเฉพาะ
3. SQL Injection
SQL Injection เป็นการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นการแฮกผ่านระบบคำสั่ง SQL ที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ทำให้เทรดเดอร์ออนไลน์และผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลอยู่สม่ำเสมอ
ทำไมเทรดเดอร์และนักลงทุนถึงควรมี Cyber Security
จากที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับ Cyber Security จะเห็นได้ว่า Cyber Security เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์และนักลงทุนควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเทรดออนไลน์มักจะมีความเสี่ยงได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สภาวะของตลาด, ข่าวสารที่ส่งผลต่อตลาด และที่สำคัญ คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีช่องว่างให้เหล่าแฮกเกอร์สามารถเข้าฉกฉวยผลประโยชน์ได้ทุกเมื่อ
ดังนั้นแล้ว เทรดเดอร์และนักลงทุนทั้งหลายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี Cyber Security เพื่อให้การเทรดออนไลน์ของคุณมีความปลอดภัยมากที่สุด
นอกจากนี้ เทรดเดอร์และนักลงทุนสามารถถือหุ้นเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำ Cyber Security ได้อีกเช่นกัน เนื่องจากในอนาคตบริษัทลักษณะนี้จะมีแนวโน้มที่สามารถเติบโตได้ครับ ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ นั่นก็คือ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) : SECURE นั่นเองครับ
วิธีป้องกันภัยคุกคามโดย Cyber Security
วิธีป้องกันภัยคุกคามโดย Cyber Security สามารถปฏิบัติได้ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย
การตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย เป็นการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัว และช่วยลดการถูกโจมตีจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้
2. อัปเดตซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
บ่อยครั้งที่อาชญากรรมทางไซเบอร์มักหาช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้มีการ Patch ในการเข้าถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคุณ ดังนั้น การอัปเดตซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอจะช่วยให้คุณสามารถป้องกัน Patch ของคุณให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
3. เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยจะช่วยให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ยากยิ่งขึ้น และหากคุณจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ คุณควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินที่สำคัญและหลีกเลี่ยงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่คุณเห็นว่าไม่มีความปลอดภัยครับ
4. ตรวจสอบข้อมูลและไฟล์ก่อนเข้าถึงเสมอ
แฮกเกอร์มักใช้การแชร์ไฟล์หรือลิงก์ปลอมในการหลอกล่อผู้ใช้งานให้หลงเชื่อ โดยมักจะมาในรูปแบบของหน่วยงานราชการและธนาคารที่ต้องคลิกลิงก์เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นแล้ว คุณควรพิจาณาให้รอบคอบ ก่อนทำการคลิกลิงก์ที่น่าสงสัยครับ
สรุป
จากที่กล่าวมา Cyber Security คือ ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ที่เทรดเดอร์และนักลงทุนต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากครับ เนื่องจาก Cyber Security จะช่วยป้องกันความเสียหายจากการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของคุณให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นครับ
ที่มา: สำนักงานบริหารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บลจ. ไทยพาณิชย์
Cyber Security คืออะไร? มีความสำคัญต่อเทรดเดอร์และนักลงทุนในการเทรดอย่างไรให้ปลอดภัย
* กระทู้นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะผู้ที่มี Link นี้เท่านั้นค่ะCyber Security คืออะไร?
Cyber Security คือ ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ที่มีการป้องกันอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบในคอมพิวเตอร์, แหล่งข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ และโทรศัพท์มือถือ อีกทั้ง Cyber Security ยังป้องกันการถูกโจมตีทางข้อมูลที่สร้างความเสียหายให้แก่บุคคลได้อีกด้วยครับ
Cyber Security มีกี่ประเภท ?
Cyber Security สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Data Security
Data Security หรือความปลอดภัยด้านข้อมูล ทำหน้าที่ป้องกันและเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นส่วนตัว
2. Network Security
Network Security หรือความปลอดภัยด้านเครือข่าย ทำหน้าที่ป้องกันความปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอก ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนระบบหากมีการเกิดความผิดปกติขึ้น
3. Application Security
Application Security หรือความปลอดภัยด้านแอปพลิเคชัน ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะมีการอัปเดตและทดสอบแอปพลิเคชันอยู่เสมอ
4. Internet Security
Internet Security หรือความปลอดภัยด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่ป้องกันการรับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
5. Operation Security
Operation Security หรือความปลอดภัยในการปฏิบัติ ทำหน้าที่จัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลให้มีความปลอดภัยในองค์กร
ภัยทางไซเบอร์สามารถแบ่งได้กี่ประเภท ?
ภัยทางไซเบอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. MALWARE (มัลแวร์)
MALWARE (มัลแวร์) ถูกย่อมาจากคำว่า Malicious และ Software ที่หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดย ปกติ MALWARE (มัลแวร์) จะรู้จักได้จาก 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
ไวรัส (Virus) มักทำงานเมื่อมีการรันโปรแกรมหรือเปิดไฟล์เกิดขึ้น โดยไวรัสจะแฝงตัวเองลงไปกับโปรแกรมหรือไฟล์ที่ถูกเปิด
เวิร์ม (Worm) จะทำงานโดยการกระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่าย
โทรจัน (Trojan) จะทำงานโดยการหลอกลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งโปรแกรมที่ผู้ใช้คิดว่าปลอดภัย แต่จริง ๆ แล้ว เป็นโปรแกรมอันตรายที่แฝงมา
สปายแวร์ (Spyware) จะทำงานโดยการแอบดูพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ โดยสปายแวร์มักจะขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ อย่างเช่น รหัสผ่านและบัญชีของผู้ใช้ เป็นต้น
แบล็กดอร์ (Backdoor) จะทำงานโดยการเปิดช่องให้คนอื่นเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราอย่างไม่รู้ตัว
รูทกิต (Rootkit) จะทำงานโดยการเปิดช่องให้คนอื่นเข้ามาติดตั้งโปรแกรมอื่น ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อควบคุมเครื่องและเป็นผู้ดูแลระบบแทน
รันซัมแวร์ (Ransomware) เป็นการเรียกค่าไถ่ให้ผู้ใช้งานที่ไม่สามารถเข้ารหัสหรือเปิดไฟล์ในคอมพิวเตอร์ของตัวเองได้จ่ายเงิน เพื่อแลกกับการกู้คืนข้อมูล
2. Phishing (ฟิชชิง)
Phishing (ฟิชชิง) เป็นไซเบอร์ที่พบบ่อยมากที่สุด เพราะเป็นการหลอกลวงที่มาในรูปแบบของการแอบอ้างว่า เป็นหน่วยงานหรือเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการและธนาคาร โดย Phishing (ฟิชชิง) จะสร้างลิงก์ปลอมขึ้นมา เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้งานกดเข้าไปในลิงก์นั้น ๆ จากนั้นแฮกเกอร์จะดึงเอาข้อมูลส่วนตัวไป ครอบคลุมไปถึงข้อมูลทางการทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
Phishing (ฟิชชิง) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น โคลนฟิชชิง (Clone Phishing) ที่มักจะแนบไฟล์หรือเว็บไซต์ปลอม หากผู้ใช้เผลอกดเข้าไปจะติดไวรัสและสูญเสียข้อมูลส่วนตัวทันที อีกทั้งยังมีวาลลิง (Whaling) ที่มุ่งเป้าไปที่พนักงานอาวุโสในบริษัทต่าง ๆ โดยอาชญากรรมไซเบอร์จะเตรียมข้อมูลของเป้าหมายให้น่าเชื่อถือที่สุด เพื่อหลอกล่อข้อมูลทางการเงินโดยเฉพาะ
3. SQL Injection
SQL Injection เป็นการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นการแฮกผ่านระบบคำสั่ง SQL ที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ทำให้เทรดเดอร์ออนไลน์และผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องระมัดระวังและตรวจสอบข้อมูลอยู่สม่ำเสมอ
ทำไมเทรดเดอร์และนักลงทุนถึงควรมี Cyber Security
จากที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับ Cyber Security จะเห็นได้ว่า Cyber Security เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์และนักลงทุนควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเทรดออนไลน์มักจะมีความเสี่ยงได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สภาวะของตลาด, ข่าวสารที่ส่งผลต่อตลาด และที่สำคัญ คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีช่องว่างให้เหล่าแฮกเกอร์สามารถเข้าฉกฉวยผลประโยชน์ได้ทุกเมื่อ
ดังนั้นแล้ว เทรดเดอร์และนักลงทุนทั้งหลายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี Cyber Security เพื่อให้การเทรดออนไลน์ของคุณมีความปลอดภัยมากที่สุด
นอกจากนี้ เทรดเดอร์และนักลงทุนสามารถถือหุ้นเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำ Cyber Security ได้อีกเช่นกัน เนื่องจากในอนาคตบริษัทลักษณะนี้จะมีแนวโน้มที่สามารถเติบโตได้ครับ ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ นั่นก็คือ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) : SECURE นั่นเองครับ
วิธีป้องกันภัยคุกคามโดย Cyber Security
วิธีป้องกันภัยคุกคามโดย Cyber Security สามารถปฏิบัติได้ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย
การตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย เป็นการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัว และช่วยลดการถูกโจมตีจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้
2. อัปเดตซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
บ่อยครั้งที่อาชญากรรมทางไซเบอร์มักหาช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้มีการ Patch ในการเข้าถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคุณ ดังนั้น การอัปเดตซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอจะช่วยให้คุณสามารถป้องกัน Patch ของคุณให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
3. เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยจะช่วยให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ยากยิ่งขึ้น และหากคุณจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ คุณควรหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินที่สำคัญและหลีกเลี่ยงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่คุณเห็นว่าไม่มีความปลอดภัยครับ
4. ตรวจสอบข้อมูลและไฟล์ก่อนเข้าถึงเสมอ
แฮกเกอร์มักใช้การแชร์ไฟล์หรือลิงก์ปลอมในการหลอกล่อผู้ใช้งานให้หลงเชื่อ โดยมักจะมาในรูปแบบของหน่วยงานราชการและธนาคารที่ต้องคลิกลิงก์เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นแล้ว คุณควรพิจาณาให้รอบคอบ ก่อนทำการคลิกลิงก์ที่น่าสงสัยครับ
สรุป
จากที่กล่าวมา Cyber Security คือ ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ที่เทรดเดอร์และนักลงทุนต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากครับ เนื่องจาก Cyber Security จะช่วยป้องกันความเสียหายจากการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของคุณให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นครับ
ที่มา: สำนักงานบริหารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บลจ. ไทยพาณิชย์