คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ถ้านับในโซนประเทศหมู่เกาะ Pacific Ocean Countries โดยเฉพาะประเทศในเขตหมู่เกาะ Polynesia เช่น หมู่เกาะมาร์แชล, ตูวาลู, ตองกา, หมู่เกาะคุก, นิวซีแลนด์ เป็นต้น

*ภาพประเทศในเขต Pacific Ocean Countries / wiki
ปัญหาจริงๆ มันเกิดจาก Culture Shock ครับ
ประชาชนพื้นเมืองในเขตประเทศเหล่านี้ พวกเค้าไม่ว่าจะหญิงหรือชาย เค้ามีวัฒนธรรมในการนิยมที่มีร่างกายแบบ "Big Body" มาตั้งแต่โบราณครับ เน้นชัดๆนะครับ "Big Body" นะครับ นั่นคือ การมีร่างกายที่ใหญ่โตบึกบึน เนื่องจากวิถีชีวิตในหมู่เกาะ ผู้ชาย ต้องมีร่างกายที่ใหญ่เพื่อใช้ในการทำงานหนักในงานประมง, เดินเรือ, รบพุ่ง-ปล้นชิง-ปกป้อง หมู่บ้าน และ อาจจะต้องเดินเรือออกไปกลางทะเลน้ำลึกนานๆ การมีร่างกายที่บึกบึน นอกงานมีกำลังมาก ยังมีข้อดีตรงมีไขมันสะสมในร่างกาย มากพอที่จะอดอาหารได้นานกว่า ส่วนผู้หญิง ร่างกายที่ใหญ่โต ยังสามารถเอามาใช้เป็นกำลังในการดูแลงานบ้าน, งานกสิกรรม, งานใช้แรงงานต่างๆ หรือแม้แต่การปกป้องความปลอดภัยในชุมชน ในขณะที่พวกผู้ชายไม่อยู่ในหมู่บ้านครับ

*ภาพนักรบชาวซามัว ในปี 1900s ดูจะมีร่างกายใหญ่โตบึกบึน กว่าคนในแถวๆหละงซึ่งอาจจะเป็นชาวบ้าน แต่ก็ถือว่าดูมีกล้ามบึกบึนกว่า ประชาชนชาวสยามในภาพถัดไป / Pinterest

*ภาพโปสการ์ดที่นักเดินทางชาวเยอรมัน ส่งกลับไปที่บ้านเกิดในปี 1900s เป็นภาพชาวซามัวท้องถิ่น / reserchgate.net

*ภาพประชาชนชาวสยาม ที่มีขนาดตัวไม่ใหญ่มาก / Postjung
ต่อมาในยุคปัจจุบัน การทำงานในชีวิตประจำวันจะมีเครื่องมือ, เครื่องยนต์ มาช่วยในการดำรงชีวิต ประกอบกับชาวบ้านพื้นเมืองนิยมเอาผลผลิตการประมงไปขายและแลกซื้ออาหารนำเข้าที่มีราคาถูกว่า เช่นข้าว, แป้ง, ขนมปัง, ปลาทูนากระป๋อง, เนย, เนื้อสัตว์พวกไก่, แกะ, หมู ยิ่งทำให้การบริโภคเติบโตอย่างมาก อย่างน้ำอัดลม และ เบียร์ ราคาแพ็คละ ราว 2.5 NZ ที่ถูกว่าน้ำดื่มมาก ที่ขนาดขวด 1.5 ลิตร มีราคาราว 4 NZ จนพากันบริโภคกลายเป็นโรคอ้วนกันเป็นส่วนมากของประชากรครับ / ข้อมูลราคาจาก cookislandpocketguide.com
ปัญหาโรคอ้วน ที่กลายมาจากวัฒนธรรม Big Body ได้มีนักศึกษาทำวิจัยไว้ครับ หาอ่านได้จาก The Lived Experience of Pacific Island Women with a “Big Body” Size Asian/pacific Island - Nursing Journal Volume 1(2): 10-23 ©Author(s) 2016 http://digitalscholarship.unlv.edu/apin/ โดย Nafanua Braginskya, Merle R. Kataoka-Yahiroa, & Jillian Inouyeb

*ภาพประเทศในเขต Pacific Ocean Countries / wiki
ปัญหาจริงๆ มันเกิดจาก Culture Shock ครับ
ประชาชนพื้นเมืองในเขตประเทศเหล่านี้ พวกเค้าไม่ว่าจะหญิงหรือชาย เค้ามีวัฒนธรรมในการนิยมที่มีร่างกายแบบ "Big Body" มาตั้งแต่โบราณครับ เน้นชัดๆนะครับ "Big Body" นะครับ นั่นคือ การมีร่างกายที่ใหญ่โตบึกบึน เนื่องจากวิถีชีวิตในหมู่เกาะ ผู้ชาย ต้องมีร่างกายที่ใหญ่เพื่อใช้ในการทำงานหนักในงานประมง, เดินเรือ, รบพุ่ง-ปล้นชิง-ปกป้อง หมู่บ้าน และ อาจจะต้องเดินเรือออกไปกลางทะเลน้ำลึกนานๆ การมีร่างกายที่บึกบึน นอกงานมีกำลังมาก ยังมีข้อดีตรงมีไขมันสะสมในร่างกาย มากพอที่จะอดอาหารได้นานกว่า ส่วนผู้หญิง ร่างกายที่ใหญ่โต ยังสามารถเอามาใช้เป็นกำลังในการดูแลงานบ้าน, งานกสิกรรม, งานใช้แรงงานต่างๆ หรือแม้แต่การปกป้องความปลอดภัยในชุมชน ในขณะที่พวกผู้ชายไม่อยู่ในหมู่บ้านครับ

*ภาพนักรบชาวซามัว ในปี 1900s ดูจะมีร่างกายใหญ่โตบึกบึน กว่าคนในแถวๆหละงซึ่งอาจจะเป็นชาวบ้าน แต่ก็ถือว่าดูมีกล้ามบึกบึนกว่า ประชาชนชาวสยามในภาพถัดไป / Pinterest

*ภาพโปสการ์ดที่นักเดินทางชาวเยอรมัน ส่งกลับไปที่บ้านเกิดในปี 1900s เป็นภาพชาวซามัวท้องถิ่น / reserchgate.net

*ภาพประชาชนชาวสยาม ที่มีขนาดตัวไม่ใหญ่มาก / Postjung
ต่อมาในยุคปัจจุบัน การทำงานในชีวิตประจำวันจะมีเครื่องมือ, เครื่องยนต์ มาช่วยในการดำรงชีวิต ประกอบกับชาวบ้านพื้นเมืองนิยมเอาผลผลิตการประมงไปขายและแลกซื้ออาหารนำเข้าที่มีราคาถูกว่า เช่นข้าว, แป้ง, ขนมปัง, ปลาทูนากระป๋อง, เนย, เนื้อสัตว์พวกไก่, แกะ, หมู ยิ่งทำให้การบริโภคเติบโตอย่างมาก อย่างน้ำอัดลม และ เบียร์ ราคาแพ็คละ ราว 2.5 NZ ที่ถูกว่าน้ำดื่มมาก ที่ขนาดขวด 1.5 ลิตร มีราคาราว 4 NZ จนพากันบริโภคกลายเป็นโรคอ้วนกันเป็นส่วนมากของประชากรครับ / ข้อมูลราคาจาก cookislandpocketguide.com
ปัญหาโรคอ้วน ที่กลายมาจากวัฒนธรรม Big Body ได้มีนักศึกษาทำวิจัยไว้ครับ หาอ่านได้จาก The Lived Experience of Pacific Island Women with a “Big Body” Size Asian/pacific Island - Nursing Journal Volume 1(2): 10-23 ©Author(s) 2016 http://digitalscholarship.unlv.edu/apin/ โดย Nafanua Braginskya, Merle R. Kataoka-Yahiroa, & Jillian Inouyeb
แสดงความคิดเห็น
ทำไมประเทศหมู่เกาะ ถึงมีสัดส่วนคนอ้วน น้ำหนักเกินเยอะมาก ๆครับ เพราะกรรมพันธฺุ์ ?
หรือน้ำหนักเกินกันเท่าไหร่
โดยวัดเป็นเปอร์เซ็น ( percentage )
1. ประเทศตองกา 70.54 %
2. ประเทศนาอูรู 70.18 %
3. ประเทศตูวาลู 63.93 %
4. ประเทศซามัว 61.24 %
5. ประเทศบาฮามาส 47.61 %
โดยเฉพาะ 4 ประเทศแรก
อ้วนเป็นส่วนใหญ่ของประชากรในประเทศ
และ เป็นประเทศหมู่เกาะทุกประเทศ
นาอูรูจำได้ว่าเคยอ่านในกระทู้ของท่านหนึ่ง
คนนาอูรูส่วนมากมีปัญหาสุขภาพเพราะน้ำหนักเกินจริง ๆ
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_obesity_rate