วันนี้เพื่อนๆ อาจจะอยากเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและลุกขึ้นมาซักปลอกหมอนก็ได้
หลังจากวันอันยาวนาน ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้ล้มตัวลงบนเตียงอุ่น ๆ [หรืออาจจะเย็น ๆ สำหรับประเทศเมืองร้อน] พิงศีรษะบนหมอนนุ่ม ๆ และพันตัวเองในผ้าห่มหนา ๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่มนุษย์เราเท่านั้นที่รู้สึกว่าเตียงนั้นนุ่มสบาย
หากลองดูใต้พื้นผิว คุณอาจตกใจเมื่อรู้ว่าผ้าปูที่นอนของคุณเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรีย เชื้อรา ไรฝุ่น และไวรัสนับล้าน ทุกชนิดต่างก็คิดว่าเตียงของคุณคือสวรรค์ที่อบอุ่น เต็มไปด้วยเหงื่อ น้ำลาย เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และเศษอาหารให้พวกมันได้กิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ให้สัตว์เลี้ยงขึ้นมานอนบนเตียงด้วย เพราะพวกน้อง ๆ จะเพิ่มจำนวนแบคทีเรียและเชื้อราขึ้นไปอีก
มนุษย์เราจะผลัดเซลล์ผิวประมาณ 500 ล้านเซลล์ต่อวัน ซึ่งถ้าคุณเป็นไรฝุ่นเล็ก ๆ นี่ก็เหมือนบุฟเฟต์กินไม่อั้น โชคร้ายที่ทั้งแมลงและมูลของมันสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ โรคหอบหืด และโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้
ผ้าปูที่นอนยังเป็นสวรรค์ของแบคทีเรียอีกด้วย ยกตัวอย่างในปี 2013 นักวิจัยจากสถาบันปาสเตอร์แห่งลีลล์ (Institut Pasteur de Lille) ในฝรั่งเศสได้วิเคราะห์ผ้าปูที่นอนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลและพบว่าผ้าปูที่นอนสกปรกเต็มไปด้วยแบคทีเรียสแตฟีโลคอคคัส (Staphylococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้บนผิวหนังของมนุษย์ แม้ว่าสแตฟีโลคอคคัสส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่บางชนิด เช่น S. aureus สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง สิว และแม้กระทั่งโรคปอดบวมในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
“ผู้คนมีแบคทีเรียเป็นส่วนหนึ่งของไมโครไบโอมผิวหนังและสามารถผลัดแบคทีเรียออกมาในปริมาณมาก” มานัล โมฮัมเหม็ด นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ในสหราชอาณาจักร กล่าว
“แม้ว่าแบคทีเรียเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตราย แต่พวกมันสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้หากเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ซึ่งมักเกิดขึ้นในโรงพยาบาล” โมฮัมเหม็ดกล่าว
ในขณะเดียวกัน ในปี 2006 ศ.เดนนิง และเพื่อนร่วมงานได้เก็บหมอนจำนวน 6 ใบ จากเพื่อนและครอบครัว หมอนเหล่านี้ถูกใช้งานเป็นประจำและมีอายุระหว่าง 18 เดือนถึง 20 ปี พบว่าหมอนทั้งหมดมีเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาทัส (Aspergillus fumigatus) ซึ่งเป็นชนิดที่มักพบในดิน
“ในแง่ของจำนวน คุณกำลังพูดถึงอนุภาคของเชื้อราหลายพันล้านหรือหลายล้านล้านในหมอนแต่ละใบ” ศ.เดนนิง กล่าว
“เราคิดว่าสาเหตุที่พบเชื้อราจำนวนมาก เป็นเพราะคนส่วนใหญ่มีเหงื่อออกจากศีรษะตอนกลางคืน นอกจากนี้เรายังมีไรฝุ่นอยู่ในเตียงของเรา และมูลของไรฝุ่นก็เป็นอาหารให้กับเชื้อรา และแน่นอนว่าหมอนจะอุ่นขึ้นทุกคืนเพราะศีรษะของคุณนอนอยู่บนนั้น ดังนั้น คุณจึงมีความชื้น อาหาร และความอบอุ่น”
เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยซักหมอน เชื้อราจึงอยู่ในสภาพที่สงบและสามารถอยู่รอดได้นานหลายปี ช่วงเดียวที่เชื้อราเหล่านี้ถูกรบกวนคือเวลาที่เราสะบัดหมอน ซึ่งอาจปล่อยสปอร์เชื้อราออกมาในห้องนอนของเรา แม้ว่าจะมีการซักหมอน แต่เชื้อราก็ยังสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส และการซักหมอนอาจทำให้หมอนชื้นมากขึ้น ซึ่งส่งเสริมการเติบโตของเชื้อรา
ศ.เดนนิง กล่าวว่า หากคุณไม่มีโรคหอบหืด โรคปอด หรือโรคไซนัส คุณควรพิจารณาเปลี่ยนหมอนทุกสองปี แต่สำหรับผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรเปลี่ยนหมอนทุก 3-6 เดือน
ส่วนในเรื่องของความถี่ในการซักผ้าปูที่นอน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ซักเป็นประจำทุกสัปดาห์ นอกจากการซักแล้ว การรีดผ้าปูที่นอนยังช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในผ้าได้อีกด้วย
เพื่อนๆหล่ะครับ ซักปลอกหมอนกันบ่อย กันถี่แค่ไหน
รู้หรือไม่ ปลอกหมอนที่ไม่ได้ซัก 1 สัปดาห์ มีแบคทีเรีย 3 ล้านตัว
หลังจากวันอันยาวนาน ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้ล้มตัวลงบนเตียงอุ่น ๆ [หรืออาจจะเย็น ๆ สำหรับประเทศเมืองร้อน] พิงศีรษะบนหมอนนุ่ม ๆ และพันตัวเองในผ้าห่มหนา ๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่มนุษย์เราเท่านั้นที่รู้สึกว่าเตียงนั้นนุ่มสบาย
หากลองดูใต้พื้นผิว คุณอาจตกใจเมื่อรู้ว่าผ้าปูที่นอนของคุณเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรีย เชื้อรา ไรฝุ่น และไวรัสนับล้าน ทุกชนิดต่างก็คิดว่าเตียงของคุณคือสวรรค์ที่อบอุ่น เต็มไปด้วยเหงื่อ น้ำลาย เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และเศษอาหารให้พวกมันได้กิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ให้สัตว์เลี้ยงขึ้นมานอนบนเตียงด้วย เพราะพวกน้อง ๆ จะเพิ่มจำนวนแบคทีเรียและเชื้อราขึ้นไปอีก
ผ้าปูที่นอนยังเป็นสวรรค์ของแบคทีเรียอีกด้วย ยกตัวอย่างในปี 2013 นักวิจัยจากสถาบันปาสเตอร์แห่งลีลล์ (Institut Pasteur de Lille) ในฝรั่งเศสได้วิเคราะห์ผ้าปูที่นอนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลและพบว่าผ้าปูที่นอนสกปรกเต็มไปด้วยแบคทีเรียสแตฟีโลคอคคัส (Staphylococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้บนผิวหนังของมนุษย์ แม้ว่าสแตฟีโลคอคคัสส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่บางชนิด เช่น S. aureus สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง สิว และแม้กระทั่งโรคปอดบวมในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
“ผู้คนมีแบคทีเรียเป็นส่วนหนึ่งของไมโครไบโอมผิวหนังและสามารถผลัดแบคทีเรียออกมาในปริมาณมาก” มานัล โมฮัมเหม็ด นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ในสหราชอาณาจักร กล่าว
“แม้ว่าแบคทีเรียเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตราย แต่พวกมันสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้หากเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลเปิด ซึ่งมักเกิดขึ้นในโรงพยาบาล” โมฮัมเหม็ดกล่าว