ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มต้นเดือนกันยายน 2024 อย่างสาหัส เพิ่มน้ำหนักให้แก่สถิติที่บ่งชี้ว่า “กันยายนเป็นเดือนที่แย่ที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐ” ซึ่งมีคำเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “September Effect”
เดือนกันยายนไม่เพียงแค่เป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทำผลงานแย่ที่สุดเท่านั้น แต่ตามที่มีการอ้างถึงข้อมูลตลาดย้อนหลังเกือบ 100 ปี นับตั้งแต่ปี 1925 ถึงปี 2023 เดือนกันยายนยังเป็นเพียงเดือนเดียวของปีที่ตลาดหุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบด้วย โดยติดลบ -0.78% ต่อปี
น่าสนใจว่าอะไรเป็นสาเหตุหรือเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ตัวเลขบ่งชี้ว่าเดือนกันยายนเป็น “ฝันร้าย” ของตลาดหุ้นสหรัฐ ? แล้วที่ว่าแย่ที่สุด มันแย่ที่สุดจริงหรือไม่ ?
อะไรทำให้ “กันยายน” เป็นเดือนที่แย่สำหรับหุ้นสหรัฐ
ตามที่ อินเวสโทพีเดีย (Investopedia) รายงานจากการรวบรวมข้อมูล พบว่ามีการอธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์ September Effect เอาไว้หลายทฤษฎี ดังนี้
ทฤษฎีที่ 1 : เหล่าเทรดเดอร์ที่เพิ่มกลับมาทำงานหลังจากหยุดพักผ่อนในฤดูร้อนมักจะปรับสมดุลของพอร์ตใหม่ในเดือนกันยายน ทำให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นและกดดันราคาหุ้น ส่วนในช่วงฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงที่ปริมาณการซื้อขายต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงที่เห็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) เปลี่ยนมือน้อยที่สุด
ทฤษฎีที่ 2 : การเสนอขายตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน เนื่องจากวันหยุดฤดูร้อนกำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งตราสารหนี้เหล่านั้นจะดึงดูดเงินส่วนหนึ่งออกไปจากหุ้น จึงทำให้ราคาหุ้นร่วงลง
ทฤษฎีที่ 3 : กล่าวโทษว่าเป็นผลกระทบจากการดำเนินการทางเทคนิคของบรรดากองทุนรวมขนาดใหญ่ที่ขายหุ้นที่ถือครองอยู่ออกไปในช่วงเดือนกันยายน โดยหวังผลขาดทุนทางภาษีก่อนจบปีงบประมาณ
ทฤษฎีที่ 4 : เชื่อว่านักลงทุนรายย่อยจะนำเงินออกจากหุ้นในเดือนกันยายน เพื่อนำไปใช้จ่ายด้านการเรียนของบุตรหลาน
ทฤษฎีที่ 5 : เหตุผลทางจิตวิทยา เนื่องจาก September Effect มีชื่อเสียงมาแล้วหลายสิบปี นักลงทุนที่คาดว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกก็จะขายหุ้นออก ส่งผลให้เกิด September Effect ขึ้นมาจริง ๆ
กันยาฯปีนี้ “เลือกตั้งสหรัฐ” กดดัน
นอกจากปัจจัยที่เชื่อว่าเกิดขึ้นตามฤดูกาลแล้ว มีการวิเคราะห์ว่า สำหรับเดือนกันยายนปี 2024 นี้ ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะผันผวนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเลือกตั้งสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเป็นปัจจัยเพิ่มความผันผวน
แซม สโตวัลล์ (Sam Stovall) หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนของ ซีเอฟอาร์เอ รีเสิร์ช (CFRA Research) บอกกับมาร์เก็ตวอตช์ (MarketWatch) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า เพอร์ฟอร์แมนซ์ของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในช่วงปีเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าหุ้นสหรัฐอาจเจอกับช่วงเวลาที่ไม่สดใสและผันผวนในช่วงเดือนกันยายนนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้ง 5 พฤศจิกายน
กันยายน เฉลี่ยแย่ที่สุด แต่ไม่ได้แย่ทุกปี
แม้ตัวเลขย้อนหลังบอกว่าเดือนกันยายนเป็นเดือนที่แย่ที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐ แต่เพื่อความยุติธรรมกับเดือนกันยายน ก็ต้องอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่ติดลบในเดือนกันยายนนั้นเป็นค่าเฉลี่ยภาพรวมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 100 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าตลาดหุ้นสหรัฐติดลบในเดือนกันยายนของทุก ๆ ปี
หากดูลงรายละเอียด สัดส่วนปีที่เดือนกันยายนให้ผลตอบแทนเป็น “บวก” ยังมากกว่าปีที่ให้ผลตอบแทนเป็น “ลบ” อยู่เล็กน้อยที่สัดส่วน 51% ต่อ 49%
นอกจากนั้น ยังมีบางปีที่เดือนกันยายนเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทำผลงานได้ดีที่สุดด้วย
ข้อโต้แย้ง กันยาฯไม่ผิด หุ้นตกไม่เกี่ยวกับฤดูกาล
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก และหลายสำนักหลายสถาบันการลงทุน ไม่เห็นด้วยกับการสรุปว่าเดือนกันยายนเป็นฤดูกาลที่ตลาดหุ้นแย่ที่สุด แม้จะมีตัวเลขยืนยันว่าผลตอบแทนเฉลี่ยแย่ที่สุดจริง ๆ ก็ตาม แต่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการพิจารณา หากเปลี่ยนช่วงเวลาการพิจารณาเป็นช่วงทศวรรษที่ 1800 ในสหรัฐอเมริกาไม่มี September Effect เกิดขึ้นเลย
บริษัทจัดการการเงินการลงทุน ฟิชเชอร์ อินเวสต์เมนต์ส (Fisher Investments) เป็นเจ้าหนึ่งโต้แย้งกับตัวเลขประวัติศาสตร์ร้อยปีที่บอกว่าตลาดหุ้นจะแย่ที่สุดเมื่อปฏิทินวนมาถึงเดือนกันยายน โดยมีเหตุผลโต้แย้งว่า ในบางปีที่เดือนกันยายนให้ผลตอบแทนย่ำแย้นั้นเป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในภาวะ “ตลาดหมี” อยู่ก่อนแล้ว และสาเหตุพื้นฐานก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเดือนกันยายนเลย ยังไม่นับว่าบางปีเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำด้วย ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับฤดูกาลหรือเดือนใด ๆ
“ในมุมมองของเรา ความยากลำบาก [ของตลาดหุ้น] ในเดือนกันยายนนั้นดูไม่น่าเชื่อถือเลย”
“หุ้นไม่สนใจปีปฏิทิน ไม่สนใจว่าเป็นเดือนไหน ไม่สนใจอาหารเช้าที่คุณกิน หุ้นเคลื่อนไหวไปตามความไม่สอดคล้องกันระหว่างความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและความคาดหวังของนักลงทุน โดยจับตาดูความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาทางการเมือง เว้นแต่ว่าคุณจะมีเหตุผลพื้นฐานรองรับที่หนักแน่นพอในการที่จะออกจากตลาดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง –ไม่ว่าจะเป็นเดือนใดก็ตาม– ซึ่งในมุมมองของเรา ต้นทุนโอกาสของการจับจังหวะตลาดในระยะสั้นนั้นสูงเกินไป”
นอกจากนั้น ฟิชเชอร์ อินเวสต์เมนต์ส ชี้ว่า หากมีหลักฐานและมีเหตุผลมากเพียงพอว่าหุ้นจะแย่ในเดือนกันยายนเสมอ ๆ ทุกปี นักลงทุนก็คงขายหุ้นออกล่วงหน้าและราคาหุ้นก็คงตกต่ำลงตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมแล้ว และวัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีร่องรอยของรูปแบบตามฤดูกาลหลงเหลืออยู่
อ้างอิง :
Investopedia [1]
Invetopedia [2]
MarketWatch
Fisher Investments...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/world-news/news-1645589
ตลาดหุ้นสหรัฐแย่สุดในเดือนกันยาฯ จริงไหม ทำไมตัวเลขบ่งชี้เช่นนั้น ?
เดือนกันยายนไม่เพียงแค่เป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทำผลงานแย่ที่สุดเท่านั้น แต่ตามที่มีการอ้างถึงข้อมูลตลาดย้อนหลังเกือบ 100 ปี นับตั้งแต่ปี 1925 ถึงปี 2023 เดือนกันยายนยังเป็นเพียงเดือนเดียวของปีที่ตลาดหุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบด้วย โดยติดลบ -0.78% ต่อปี
น่าสนใจว่าอะไรเป็นสาเหตุหรือเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ตัวเลขบ่งชี้ว่าเดือนกันยายนเป็น “ฝันร้าย” ของตลาดหุ้นสหรัฐ ? แล้วที่ว่าแย่ที่สุด มันแย่ที่สุดจริงหรือไม่ ?
อะไรทำให้ “กันยายน” เป็นเดือนที่แย่สำหรับหุ้นสหรัฐ
ตามที่ อินเวสโทพีเดีย (Investopedia) รายงานจากการรวบรวมข้อมูล พบว่ามีการอธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์ September Effect เอาไว้หลายทฤษฎี ดังนี้
ทฤษฎีที่ 1 : เหล่าเทรดเดอร์ที่เพิ่มกลับมาทำงานหลังจากหยุดพักผ่อนในฤดูร้อนมักจะปรับสมดุลของพอร์ตใหม่ในเดือนกันยายน ทำให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นและกดดันราคาหุ้น ส่วนในช่วงฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงที่ปริมาณการซื้อขายต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงที่เห็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) เปลี่ยนมือน้อยที่สุด
ทฤษฎีที่ 2 : การเสนอขายตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน เนื่องจากวันหยุดฤดูร้อนกำลังจะสิ้นสุดลง ซึ่งตราสารหนี้เหล่านั้นจะดึงดูดเงินส่วนหนึ่งออกไปจากหุ้น จึงทำให้ราคาหุ้นร่วงลง
ทฤษฎีที่ 3 : กล่าวโทษว่าเป็นผลกระทบจากการดำเนินการทางเทคนิคของบรรดากองทุนรวมขนาดใหญ่ที่ขายหุ้นที่ถือครองอยู่ออกไปในช่วงเดือนกันยายน โดยหวังผลขาดทุนทางภาษีก่อนจบปีงบประมาณ
ทฤษฎีที่ 4 : เชื่อว่านักลงทุนรายย่อยจะนำเงินออกจากหุ้นในเดือนกันยายน เพื่อนำไปใช้จ่ายด้านการเรียนของบุตรหลาน
ทฤษฎีที่ 5 : เหตุผลทางจิตวิทยา เนื่องจาก September Effect มีชื่อเสียงมาแล้วหลายสิบปี นักลงทุนที่คาดว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกก็จะขายหุ้นออก ส่งผลให้เกิด September Effect ขึ้นมาจริง ๆ
กันยาฯปีนี้ “เลือกตั้งสหรัฐ” กดดัน
นอกจากปัจจัยที่เชื่อว่าเกิดขึ้นตามฤดูกาลแล้ว มีการวิเคราะห์ว่า สำหรับเดือนกันยายนปี 2024 นี้ ตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะผันผวนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเลือกตั้งสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเป็นปัจจัยเพิ่มความผันผวน
แซม สโตวัลล์ (Sam Stovall) หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนของ ซีเอฟอาร์เอ รีเสิร์ช (CFRA Research) บอกกับมาร์เก็ตวอตช์ (MarketWatch) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า เพอร์ฟอร์แมนซ์ของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในช่วงปีเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าหุ้นสหรัฐอาจเจอกับช่วงเวลาที่ไม่สดใสและผันผวนในช่วงเดือนกันยายนนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้ง 5 พฤศจิกายน
กันยายน เฉลี่ยแย่ที่สุด แต่ไม่ได้แย่ทุกปี
แม้ตัวเลขย้อนหลังบอกว่าเดือนกันยายนเป็นเดือนที่แย่ที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐ แต่เพื่อความยุติธรรมกับเดือนกันยายน ก็ต้องอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่ติดลบในเดือนกันยายนนั้นเป็นค่าเฉลี่ยภาพรวมปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 100 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าตลาดหุ้นสหรัฐติดลบในเดือนกันยายนของทุก ๆ ปี
หากดูลงรายละเอียด สัดส่วนปีที่เดือนกันยายนให้ผลตอบแทนเป็น “บวก” ยังมากกว่าปีที่ให้ผลตอบแทนเป็น “ลบ” อยู่เล็กน้อยที่สัดส่วน 51% ต่อ 49%
นอกจากนั้น ยังมีบางปีที่เดือนกันยายนเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นทำผลงานได้ดีที่สุดด้วย
ข้อโต้แย้ง กันยาฯไม่ผิด หุ้นตกไม่เกี่ยวกับฤดูกาล
นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก และหลายสำนักหลายสถาบันการลงทุน ไม่เห็นด้วยกับการสรุปว่าเดือนกันยายนเป็นฤดูกาลที่ตลาดหุ้นแย่ที่สุด แม้จะมีตัวเลขยืนยันว่าผลตอบแทนเฉลี่ยแย่ที่สุดจริง ๆ ก็ตาม แต่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการพิจารณา หากเปลี่ยนช่วงเวลาการพิจารณาเป็นช่วงทศวรรษที่ 1800 ในสหรัฐอเมริกาไม่มี September Effect เกิดขึ้นเลย
บริษัทจัดการการเงินการลงทุน ฟิชเชอร์ อินเวสต์เมนต์ส (Fisher Investments) เป็นเจ้าหนึ่งโต้แย้งกับตัวเลขประวัติศาสตร์ร้อยปีที่บอกว่าตลาดหุ้นจะแย่ที่สุดเมื่อปฏิทินวนมาถึงเดือนกันยายน โดยมีเหตุผลโต้แย้งว่า ในบางปีที่เดือนกันยายนให้ผลตอบแทนย่ำแย้นั้นเป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในภาวะ “ตลาดหมี” อยู่ก่อนแล้ว และสาเหตุพื้นฐานก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเดือนกันยายนเลย ยังไม่นับว่าบางปีเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำด้วย ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับฤดูกาลหรือเดือนใด ๆ
“ในมุมมองของเรา ความยากลำบาก [ของตลาดหุ้น] ในเดือนกันยายนนั้นดูไม่น่าเชื่อถือเลย”
“หุ้นไม่สนใจปีปฏิทิน ไม่สนใจว่าเป็นเดือนไหน ไม่สนใจอาหารเช้าที่คุณกิน หุ้นเคลื่อนไหวไปตามความไม่สอดคล้องกันระหว่างความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและความคาดหวังของนักลงทุน โดยจับตาดูความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาทางการเมือง เว้นแต่ว่าคุณจะมีเหตุผลพื้นฐานรองรับที่หนักแน่นพอในการที่จะออกจากตลาดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง –ไม่ว่าจะเป็นเดือนใดก็ตาม– ซึ่งในมุมมองของเรา ต้นทุนโอกาสของการจับจังหวะตลาดในระยะสั้นนั้นสูงเกินไป”
นอกจากนั้น ฟิชเชอร์ อินเวสต์เมนต์ส ชี้ว่า หากมีหลักฐานและมีเหตุผลมากเพียงพอว่าหุ้นจะแย่ในเดือนกันยายนเสมอ ๆ ทุกปี นักลงทุนก็คงขายหุ้นออกล่วงหน้าและราคาหุ้นก็คงตกต่ำลงตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมแล้ว และวัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีร่องรอยของรูปแบบตามฤดูกาลหลงเหลืออยู่
อ้างอิง :
Investopedia [1]
Invetopedia [2]
MarketWatch
Fisher Investments...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/world-news/news-1645589